ASTVผู้จัดการรายวัน - "อภิสิทธิ์"แจงทูต เหตุจลาจลในประเทศไทย ระบุใช้ความนุ่มนวลที่สุด ล็อบบี้"ปู่ชัย" ขอเปิดประชุม 2 สภา เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนแนวทางแก้ปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง ชี้หลังยกเลิก พ.ร.ก.หากเสื้อแดงสู้ใต้ดินก็ไร้ประโยชน์ ด้านทูตอังกฤษเชื่อมั่นไทย หลังฟังชี้แจง ชี้การต่อสู้บนท้องถนนเป็นโศกนาฏกรรม โฆษก ปชป.แฉ 4 แผนใต้ดินกลุ่มเสื้อแดง ด้านแกนนำพรรคเพื่อไทยยังปลุกระดมเรื่องคนตาย มั่วนิ่มมีการเผาศพที่วัดย่านลาดพร้าว ขณะที่ญาติผู้ตายยันผู้ตายไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุม
เมื่อเวลา 15.00 น.วานนี้ (16 เม.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญเอกอัคราชทูตประจำประเทศไทย และผู้แทนประเทศต่างๆ 70 ประเทศ เข้ารับฟังการชี้แจงถึงสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศไทย ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงภายหลังการชี้แจงเอกอัคราชทูต และผู้แทนประเทศต่างๆว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการดำเนินมาตราการต่างๆ เพื่อให้การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ และการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในเรื่องความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ขณะเดียวกันยังคงมีเรื่องข่าวสารต่างๆรวมถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจำเป็น จะต้องคลี่คลายไปเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามขอเรียนว่า ในภาพรวมในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เชื่อว่าพี่น้องประชาชนคงจะเห็นภาพพี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งไปฉลองเทศกาลสงกรานต์ เล่นน้ำ หรือทำอย่างอื่นกันเป็นภาพที่ตนคิดว่า ทำให้พวกเราทุกคนมีความสุข พึงพอใจ ขณะเดียวกันการหยุดราชการในช่วงนี้ จะมีส่วนสำคัญในการทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากกยิ่งขึ้น
ในส่วนของความเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็น กทม.ปริมณฑล หรือในต่างจังหวัด ขณะนี้เจ้าหน้าที่และรัฐบาลได้ใช้วิธีการพูดคุย เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า สภาวะการณ์ที่เราประกาศภาวะฉุกเฉิน ขณะนี้เป็นสภาวะการชั่วคราว ในที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญย่อมต้องกลับมาใช้ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่กิจกรรมใดๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการยั่วยุ ให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย อันนี้จะต้องหยุด และถ้าเราสามารถที่จะหยุดสิ่งเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยทุกสิ่งทุกอย่าง จะกลับเข้าสู่ภาวะปกกติ และกระบวนการในการพูดคุยเพื่อหาทางออกในเรื่องความปรองดองสมานฉันท์จะทำได้ อย่างรวดเร็ว
โอกาสนี้ ตนได้เชิญทูตจากทุกประเทศ มารับทราบสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งจุดยืน นโยบายของรัฐบาล ตลอดจนมีการพูดคุยซักถามในสิ่งที่ยังเป็นความสงสัยของบรรดา ทูตานุทูตประเทศต่างๆ และในวันนี้ (17เม.ย.) ได้นัดประชุม ครม. เพื่อพิจารณา เรื่องการดำเนินการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้รัฐมนตรี ได้รับทราบรายละเอียดถึงเหตุการณ์และการตัดสินใจของตน และครม. ที่มีการประชุม โดยวิธีการตามพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่ใช่พร้อมกันทั้งคณะทั้งหมด รวมถึงการตกลงแนวทางการทำงานกันต่อไป การประชุม ครม.ครั้งนี้ จะเป็นการประชุมเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ อาจจะมีวาระอื่นที่มีความจำเป็น เช่น การพิจารณา การประกาศ พระราชกำหนดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเวลานี้มีการเสนอว่า จะต่ออายุหรือไม่ เพราะจะหมดอายุในวันที่ 19 เม.ย.นี้
**ประชุมร่วม2 สภาชี้แจงสถานการณ์
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ว่าหลังจาการประชุม ครม. ตนจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้ประธานนัดประชุมสภา เป็นการประชุมร่วมเพื่อให้รัฐบาลได้เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกของทั้ง 2 สภา ในเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นคาดว่าในวันที่ 22-23 เม.ย.นี้ จะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็น ถือเป็นกลไกหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิ์ของนายกฯและ ครม. ที่จะขอทางสภาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางทูตได้สนใจประเด็นใดบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการสอบถามทั้งหมดในเรื่องของมาตรการที่เราใช้ ทั้งที่ พัทยาและที่ กทม.ว่าเป็นอย่างไร เป็นเหตุการณ์ที่ลุกลามจะควบคุมให้กลับมาอยู่ภาวะที่เห็นปัจจุบัน จะต้องทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนในแง่ความคิดเห็น และการแสดงความห่วงใยต่างๆ
เมื่อถามว่า ทางทูตได้สอบถามเรื่องที่กลุ่มเสื้อแดง ออกมาระบุว่า มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการสลายผู้ชุมนุม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ถามเป็นการเจาะจง กรณีของ 2 ศพ ที่พบในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจากการที่ตนตรวจสอบข้อเท็จจริงมา บุคลลทั้งสองยังมีชีวิตในคืนวันที่13 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งตนกำลังให้เจ้าหน้าที่ยืนยันมาอีกครั้งในรายงานต่างๆ หากเขามีชีวิตอยู่ในคืนวันที่ 13 เม.ย. คิดว่าทุกคนคงจำได้ว่า ตั้งแต่ช่วงดึกของวันที่ 13 เม. ย.ไปจนถึงเช้า ไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเพิ่มเติม นอกจากขยับกำลังต่างๆ เข้ามา พอรุ่งเช้าก็มีการยุติของกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่มีเหตุผลอะไรที่บุคคลทั้งสองจะมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
เมื่อถามว่าบรรดาทูตได้สะท้อนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อสถานการณ์นี้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องย้อนกลับไปที่เหตุการณ์ที่ พัทยา มาตราการที่ดูแลเรื่องการชุมนุม อาจจะดูเข้มน้อยไป ซึ่งเป็นมุมมองที่เราเข้าใจ และประเด็นการดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะโดยเฉพาะเวลาที่มีบุคลลสำคัญหรือมีการประชุมะหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่คงจะต้องมาทบทวนกัน
ส่วนจะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อใดนั้น จะต้องประเมินดูว่า ขณะนี้มีการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ในเรื่องใดบ้าง และหมดความจำเป็นเมื่อใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี พ.ร.ก.หรือไม่ ก็มีงานทางด้านการเมือง และงานทางด้านกฎหมายที่รัฐบาลต้องทำต่อไป ทั้งนี้ หลังจากยกเลิกพ.ร.ก. แล้วการชุมนุมทางการเมืองทำได้ และการแสดงความคิดเห็นโดยความสงบ ปราศจากอาวุธทำได้ แต่เรื่องการไปยุยง ปลุกปั่น ให้ใครทำผิดกฎหมาย ทำไม่ได้ แนวทางนี้เป็นแนวทางที่เราใช้อยู่ ฉะนั้นสิ่งที่จะเห็นคือ คนที่มาชุมนุมหลังการประกาศ พ.ร.ก.แล้ว จริงๆ ต้องถือว่าทำผิดกฎหมายทุกคน แต่รัฐบาลยังถือว่า คนส่วนใหญ่คงไม่มีเจตนา ที่จะสร้างความวุ่นวายขึ้น จะเจาะจงเฉพาะบุคคลที่แสดงออกอย่างชัดเจนในการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย จะขีดวงตรงนั้น พี่น้องประชาชนจะได้สบายใจ ถ้ามาด้วยความสุจริตใจ ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายก่อนหน้ามี พ.ร.ก. ก็ไม่ต้องห่วง
เมื่อถามว่าห่วงการที่เสื้อแดงจะเคลื่อนไหวใต้ดิน แทนการที่จะปฏิบัติอย่างที่เห็นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ต้องการให้คนไทยจะใต้ดิน หรือบนดิน ทำร้ายประเทศ ฉะนั้นยืนยันว่า เชื่อว่าคนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไม่ได้คิดร้าย และยืนยันว่า ตนเชิญชวนเขาเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุย ว่าจะแก้ปัญหาทางการเมืองที่เห็นไม่ตรง กันอย่างไร ส่วนคนที่ทำผิดกฎหมาย หรือมีความตั้งใจที่จะใช้วิธีผิดกฎหมาย จะอยู่บนดินหรือใต้ดินไม่มีประโยชน์กับใครทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแล ซึ่งเมื่อสถานการณ์ และวิธีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป รัฐบาลก็ต้องปรับวิธีการแก้ไขปัญหาด้วย เป็นความรับผิดชอบของเราที่ต้องดูแลให้ได้
**เตือน "วรวัจน์" เลิกยุยงก่อความรุนแรง
ส่วนกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า ถ้านายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ที่มีคนเสื้อแดงอยู่อาจถูกยิงนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบเจตนาของผู้พูด คืออะไร แต่อยากจะชวนในฐานะนักการเมืองด้วยกันว่า เรามาช่วยสร้างวัฒนธรรมความไม่รุนแรง ในเรื่องการแข่งขันต่อสู้ทางการเมืองจะดีกว่า การแก้ปัญหาก็ยังคงใช้ความสุภาพ ในการนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา เพราะหากใช้ความกร้าวเข้าหากัน ความสงบจะไม่เกิดขึ้น
"ผมคิดว่าจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง ที่ผ่านมาถือว่าแก้เหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ ตอนนี้ต้องหมุนกลับไปที่ต้นเหตุ ซึ่งผมเรียนตามตรงว่า เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรก เพียงแต่ผมตั้งใจว่าอยากให้การประชุมอาเซียนผ่านไปได้ด้วยดี เราก็สามารถจะกลับมาดูเรื่องนี้ได้ และเรื่องเศรษฐกิจ ก็เดินไปพอสมควร เมื่อมาถึงจังหวะเวลานี้ ต้องกลับมาดูอีกครั้ง เพราะทราบว่าความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล หรือต่อสภาพการเมืองในปัจจุบันจำนวนหนึ่ง เป็นความรู้สึกที่เราควรต้องรับฟัง และตอบสนอง ส่วนการปรับเปลี่ยนด้านความมั่นคง ขอให้เรื่องเรียบร้อยก่อนแล้วจะมาทบทวนกันอีกครั้ง" นายกรัฐมนตรีกล่าว
**หารือจัดประชุมอาเซียนอีก
สำหรับ การประชุมอาเซียนบวกประเทศคู่เจรจา จะจัดได้อีกครั้งหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กำลังปรึกษาอยู่ คิดว่าภายในสองวันนี้จะได้ข้อยุติ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่ และเลขาธิการอาเซียน จะพบตนภายใน สองวันนี้ โดยทั้งสิบหกประเทศ ได้สัมผัสเหตุการณ์ด้วยตัวเองอยู่แล้ว และติดตามสถานการณ์ซึ่งวันนี้ก็มีทูตและผู้แทนประเทศเหล่านี้มาร่วมฟังอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลคงปล่อยให้ล้มเหลวไม่ได้ ดังนั้นจะต้องทบทวนและแก้ไขจุดที่เป็นข้อบกพร่องให้ได้
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ตั้งแต่เริ่มต้น จนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนต้องประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และยืนยันว่า การสลายการชุมนุมไม่มีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติการจากเจ้าหน้าที่
หลังการชี้แจงนายอภิสิทธิ์ ได้เปิดโอกาสให้ทูตต่างๆ สอบถาม โดยทูตหลายประเทศได้สอบถามถึงระยะเวลาที่รัฐบาลจะประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยนายอภิสิทธิ์ได้อธิบายถึงความจำเป็นเหตุผลในการประกาศใช้ จนทำให้ทูตหลาย ประเทศพอใจ และพอใจกับการจัดการกับผู้ชุมนุมของรัฐบาล ซึ่งบางประเทศได้ให้คำชื่นชมต่อรัฐบาลที่ไม่ใช้ความรุนแรง แต่ก็มีบางประเทศถามว่า ทำไมไม่ดำเนินการแบบนี้กับการที่มีผู้ชุมนุมไปบุกล้มการประชุมที่พัทยา เพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น น่าจะมีการมาตรการที่ดีกว่านี้ เหมือนรัฐบาลใช้มาตรการเบาๆ กับผู้ชุมนุมเท่านั้น
รายงานข่าวแจ้งว่าบรรยากาศการพบทูตครั้งนี้ เป็นไปด้วยดี โดยทูตส่วนใหญ่พอใจกับการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี เพราะตอบคำถามได้อย่างชัดเจน และฉะฉาน
**ทูตอังกฤษเชื่อมั่นไทยหลังฟังชี้แจง
นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการรับฟังการชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาไทยว่า นายกฯได้ให้ความเชื่อมั่นในสถานการณ์ และอธิบายว่าควบคุมสถานการณ์อย่างไร ซึ่งนายกฯ ให้ความมั่นใจว่าจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกใน อนาคต และตนก็เห็นด้วยว่าควรเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ส่วนตัวก็รู้สึกหนักใจต่อสถานการณ์ที่มีคนบาดเจ็บ และล้มตาย เพราะในฐานะที่คนหนึ่งที่รักประเทศไทย ก็รู้สึกว่าการที่เกิดกลางถนน ถือเป็น โศกนาฏกรรม ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และขอให้กระบวน การสันติวิธี ด้วยการเจรจากันอย่างปรองดอง สำหรับนักท่องเที่ยวของประเทศตน และนักลงทุนนั้น เขาก็ต้องการให้ทุกฝ่ายหยุดใช้ ความรุนแรง
"อยากให้เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน การใช้ความรุนแรงทั้งการปิดสนามบิน หรือการบุกรุกที่พัทยา เป็นการใช้ความรุนแรงที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งอยากขอให้รัฐบาลเน้นความปรองดอง ไม่อยากให้คนไทยสู้กันแบบนี้ และหวังว่าเรื่องนี้จะจบลงด้วยดี หลังรับทราบการชี้แจง ก็เชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทย" นายเควลย์กล่าว
**แฉ 4 แผนใต้ดินกลุ่มเสื้อแดง
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้ประเมินสถานการณ์บ้านเมืองหลังจากนี้ว่าอาจจะมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงและแนวร่วมที่อยูเบื้องหลังเพื่อก่อความไม่สงบ ใน 4 รูปแบบคือ
1 .การเคลื่อนไหวจะลงสู่ใต้ดินมากขึ้น เพราะเห็นได้จากโฆษกพรรคเพื่อไทย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล และพ.ต.ททักษิณ ชินวัตร ที่พูดผ่านสื่อต่างประเทศ ปลุกระดมให้ต่อต้านอำนาจรัฐ
2. มีการบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิด และให้เกิดการเผชิญหน้า เช่น กรณีมีการปล่อยข่าวว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ และมีการพยายามสร้างกระแสข่าว และเตรียมการสร้างสถานการณ์ว่ามีคนหายขึ้นมา
3 . ความพยายามกดดันของส.ส.เพื่อไทย และสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ที่นำกฎหมายปรองดอง เข้าพิจารณา เพื่อนิรโทษกรรมความผิดให้กับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และสมาชิกบ้านเลขที่ 111
4 มีการแย่งชิงพื้นที่สื่อต่างประเทศ ทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และรัฐบาล ซึ่งมีการดำเนินการต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
โฆษพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า พรรคจะจัดกิจกรรม เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาสู่ความสงบ คือ
1. พรรคยังคงสนับสนุนใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป จนกว่าจะมีการประเมินในการประชุม ครม.นัดพิเศษ ในวันที่ 17 เม.ย. นี้ และสนับสนุน กอฉ. ควบคุมสถานการณ์และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ร่วมก่อการ และผู้สนับสนุนที่ร่วมก่อการ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เด็ดขาด เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำลงไป รวมถึง การขยายผลสืบค้นผู้ที่ร่วมมือก่อการจลาจล ที่ถูกบันทึกไว้ ทั้งสื่อและเจ้าหน้าที่ให้มาลงโทษ ส่วนผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยความบริสุทธิ์ใจ และไม่ได้ร่วมการก่อการใดๆ ก็ถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการชุมนุม
2. เยียวยาฟื้นฟูผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเสื้อสีใด โดยจะเน้นการสมานฉันท์ภายใต้กรอบกฎหมาย
3.ให้สังคม และทุกภาคส่วนร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
4. แสวงหาความร่วมมือกับมิตรประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้ง ติดตาม พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษในประเทศไทย โดยจะเน้นขอร่วมมือจาก 3 ประเทศ คือ กัมพูชา สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และ นิการากัว ที่ก่อนหน้านี้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปิดเผยว่า มีพาสปอรต์ในประเทศดังกล่าว
**ปชป.ท้าตรวจสอบสลายการชุมนุม
นพ.วรงค์ เดชกิวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองโฆษกพรรค กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 ชุด เพื่อหาข้อเท็จจริง และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า เรายินดีให้ความร่วมมือและท้าให้ตรวจสอบได้เลย แต่พรรคเพื่อไทย ต้องพร้อมแสดงหลักฐานยืนยันในสิ่งที่พยายามพูดว่ามีคนตายจำนวนหลายสิบคน เพราะเหตุการณ์วันดังกล่าว สื่อมวลชนจำนวนมากก็อยู่ในที่เกิดเหตุ และมีถ่ายทอดสดอยู่โดยตลอด หากมีคนตายต้องมีคนเห็นแล้ว นอกจากนี้ อยากเตือนน้องๆนิสิตนักศึกษา ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ที่ออกมาบอกว่า มีคนตาย 60 คน ว่าอย่าตกเป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองกลุ่มนี้
**อ้างนำศพไปเผาที่วัดย่านลาดพร้าว
ส่วนความเคลื่อนไหวที่พรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ และพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก สมาชิกพรรค ร่วมแถลงข่าว โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่าจากเหตุการณ์ความไม่เรียบร้อยที่เกิดขึ้นใน กทม.จนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหายที่ไม่ทราบว่ามีมากน้อยเพียงใดนั้น พรรคจึงมีมติตั้งคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบความไม่เรียบร้อยและการสลายการชุมนุม ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการฯ 4 คณะ คือ 1.คณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และเยียวยา มี นพ.สุรวิทย์ เป็นประธาน 2.คณะอนุกรรมการไต่สวนหาข้อเท็จจริงมีพล.ต.ท.ชัจจ์ เป็นประธาน
3.คณะอนุกรรมการรับข้อมูลและประมวลข่าวสาร มีนายวรวัจน์เป็นประธาน 4.คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย มีนายพีรพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ
ด้านนายวรวัจน์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผู้เสียชีวิต และปรากฎว่าศพถูกนำไปทิ้งแม่น้ำ จึงต้องพิสูจน์ว่าเกิดจากอะไร และเชื่อว่า ยังมีผู้สูญหาย ที่ยังไม่พบว่าไปอยู่ที่ใดอีก ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดมีเหตุมาจากการไปร่วมชุมนุมทั้งสิ้น
พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ พรรคจะไปตรวจวัดภายในซอยลาดพร้าว 71 ที่มีข่าวว่า มีการเผาศพตลอดคืน และมีทหารอยู่บริเวณวัดเป็นจำนวนมากจึงต้องไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลและทหารระบุว่า ไม่มีใครเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า เหตุผลที่พรรคแต่งตั้งกรรมการขึ้นมานั้น เพราะข้อมูลสับสน เชื่อถือไม่ได้ และขัดแย้งกัน เพราะเหตุการณ์นี้มีการลับ ลวง พรางอยู่ จึงต้องรอสักพักแล้วจะรับทราบข้อเท็จจริง
**โวยเสื้อแดงมั่วนิ่มอ้างชื่อคนตาย
ด้าน พ.อ.สุริยา ปาวรีย์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 พระครูธรรมธร บุญเหลือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสาครประชาสรรค์ พร้อมด้วยญาติของ นางยุคล กำปั่นทอง ศพที่ถูกเผาภายในวัดร่วมกันแถลงข่าว กรณีมีกระแสข่าวว่ามีการนำศพนางยุคล ซึ่งถูกพาดพิงว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่13 เม.ย. นำมาเผาที่วัดดังกล่าว
น.ส.ฐารวิณัฐ มิ่งขวัญไกรสุร อายุ 31 ปี บุตรสาว นางยุคล กล่าวว่าตนมีอาชีพเป็นครูอนุบาล โรงเรียนอนุบาลนวลทอง ซึ่งตนเป็นบุตรสาวคนที่ 4 ของนางยุคล เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมานางยุคล มารดาซึ่งป่วยเป็นอำมพฤก ได้เสียชีวิตด้วยอาการสงบ ตนพร้อมพี่น้องและญาติได้นำร่างนางยุคล มาบำเพ็ญกุศลที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. และฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา
น.ส.ฐารวิณัฐ กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ตนและญาติพี่น้องได้มาเก็บกระดูก เมื่อมาถึงก็พบกับสัปเหร่อได้พูดคุยกัน จึงทราบว่ามารดาของตน มีชื่อปรากฏอยู่ในข่าวว่ามีการเสียชีวิตจากการชุมนุม ตอนแรกก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ต่อมามีการนำชื่อและนามสกุล ออกเผยแพร่จึงรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมามารดาได้บวชชีมา 20 กว่าปี อยู่ที่วัดเทพมงคลวรราม อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี และเพิ่งป่วยเป็นอำมพฤก เมื่อ 2 เดือนก่อน
"ที่สำคัญตลอดเวลาที่มารดาเป็นแม่ชี ก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง หรือการชุมนุมของกลุ่มใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นดิฉัน หรือญาติพี่น้อง ก็ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองแต่อย่างใด มีแต่ประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ำ และรอวันที่บ้านเมืองจะสงบสุข อยากจะขอฝากไปยังทุกฝ่ายว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้น ไม่เป็นความจริงและอย่าเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับครอบครัว" น.ส.ฐารวิณัฐกล่าว
ด้านพระครูธรรมธร กล่าวว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากในการเผาศพผู้เสียชีวิตจะต้องใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง หากมีผู้เสียชีวิตตามที่มีการที่กล่าวอ้าง จะต้องใช้เวลาในการเผาข้ามวันข้ามคืนก็ยังไม่หมด อีกทั้งเตาเผามีเพียง 2 เตา และสามารถใช้การได้เพียงเตาเดียว จึงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งศพสุดท้าย ที่มีการฌาปนกิจเป็นศพของนางยุคล ส่วนอีกศพ ตั้งสวดพระอภิธรรมอยู่
พระครูธรรมธร กล่าวอีกว่า ส่วนทหารที่อยู่ภายในบริเวณวัด นั้นเนื่องจากทางทหารไม่ได้มีการประสานงานมาก่อน ว่าจะมีการตั้งกองกำลังไว้ในวัด แต่ทั้งนี้เมื่อครั้งปฏิวัติ เมื่อ 19 ก.ย. ก็เคยมีทหารมาอยู่ในพื้นที่นี้เช่นกัน แต่ที่ชาวบ้านเข้าใจผิด อาจจะเป็นเพราะการเคลื่อนกำลังมาในตอนกลางคืน
ขณะที่นายอิทธิพล พลศักดิ์อายุ 65 ปี ประธานชุมชน พูนศิริ ที่อยู่ข้างวัด กล่าวว่า ทางชุมชนรู้สึกไม่สบายใจที่มีทหารเข้ามาตั้งกองกำลังอยู่ในบริเวณวัด และมาในช่วงกลางดึก เมื่อมาถึงก็มีการปิดพื้นที่ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับความสะดวก รวมทั้งเกิดความหวาดระแวงโดยเฉพาะช่วงที่มีเหตุการณ์การเมืองรุนแรงประกอบกับเมื่อมีกระแสข่าวการนำศพมาเผา ก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านไม่สบายใจมากยิ่งขึ้น
พ.อ.สุริยา ชี้แจงว่าเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ซึ่งในช่วงนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ส่วนตัวแล้วก็รู้สึกไม่สบายใจกับข่าวที่เกิดขึ้นจึงได้ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงข้อเท็จจริง สำหรับกำลังทหารที่อยู่ในพื้นที่นี้จำนวน 1 กองร้อย ส่วนที่เลือกพื้นที่ดังกล่าว เห็นว่าวัดเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และที่ต้องเดินทางมากันกลางดึกเนื่องจากไม่ต้องการให้ชาวบ้านแตกตื่นตกใจ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านพักผ่อน ทั้งนี้ก็ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่ทำให้รู้สึกหวาดระแวง.
เมื่อเวลา 15.00 น.วานนี้ (16 เม.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญเอกอัคราชทูตประจำประเทศไทย และผู้แทนประเทศต่างๆ 70 ประเทศ เข้ารับฟังการชี้แจงถึงสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศไทย ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงภายหลังการชี้แจงเอกอัคราชทูต และผู้แทนประเทศต่างๆว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการดำเนินมาตราการต่างๆ เพื่อให้การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ และการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในเรื่องความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ขณะเดียวกันยังคงมีเรื่องข่าวสารต่างๆรวมถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจำเป็น จะต้องคลี่คลายไปเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามขอเรียนว่า ในภาพรวมในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เชื่อว่าพี่น้องประชาชนคงจะเห็นภาพพี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งไปฉลองเทศกาลสงกรานต์ เล่นน้ำ หรือทำอย่างอื่นกันเป็นภาพที่ตนคิดว่า ทำให้พวกเราทุกคนมีความสุข พึงพอใจ ขณะเดียวกันการหยุดราชการในช่วงนี้ จะมีส่วนสำคัญในการทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากกยิ่งขึ้น
ในส่วนของความเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็น กทม.ปริมณฑล หรือในต่างจังหวัด ขณะนี้เจ้าหน้าที่และรัฐบาลได้ใช้วิธีการพูดคุย เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า สภาวะการณ์ที่เราประกาศภาวะฉุกเฉิน ขณะนี้เป็นสภาวะการชั่วคราว ในที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญย่อมต้องกลับมาใช้ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่กิจกรรมใดๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการยั่วยุ ให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย อันนี้จะต้องหยุด และถ้าเราสามารถที่จะหยุดสิ่งเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยทุกสิ่งทุกอย่าง จะกลับเข้าสู่ภาวะปกกติ และกระบวนการในการพูดคุยเพื่อหาทางออกในเรื่องความปรองดองสมานฉันท์จะทำได้ อย่างรวดเร็ว
โอกาสนี้ ตนได้เชิญทูตจากทุกประเทศ มารับทราบสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งจุดยืน นโยบายของรัฐบาล ตลอดจนมีการพูดคุยซักถามในสิ่งที่ยังเป็นความสงสัยของบรรดา ทูตานุทูตประเทศต่างๆ และในวันนี้ (17เม.ย.) ได้นัดประชุม ครม. เพื่อพิจารณา เรื่องการดำเนินการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้รัฐมนตรี ได้รับทราบรายละเอียดถึงเหตุการณ์และการตัดสินใจของตน และครม. ที่มีการประชุม โดยวิธีการตามพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่ใช่พร้อมกันทั้งคณะทั้งหมด รวมถึงการตกลงแนวทางการทำงานกันต่อไป การประชุม ครม.ครั้งนี้ จะเป็นการประชุมเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ อาจจะมีวาระอื่นที่มีความจำเป็น เช่น การพิจารณา การประกาศ พระราชกำหนดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเวลานี้มีการเสนอว่า จะต่ออายุหรือไม่ เพราะจะหมดอายุในวันที่ 19 เม.ย.นี้
**ประชุมร่วม2 สภาชี้แจงสถานการณ์
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ว่าหลังจาการประชุม ครม. ตนจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้ประธานนัดประชุมสภา เป็นการประชุมร่วมเพื่อให้รัฐบาลได้เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกของทั้ง 2 สภา ในเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นคาดว่าในวันที่ 22-23 เม.ย.นี้ จะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็น ถือเป็นกลไกหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิ์ของนายกฯและ ครม. ที่จะขอทางสภาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางทูตได้สนใจประเด็นใดบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการสอบถามทั้งหมดในเรื่องของมาตรการที่เราใช้ ทั้งที่ พัทยาและที่ กทม.ว่าเป็นอย่างไร เป็นเหตุการณ์ที่ลุกลามจะควบคุมให้กลับมาอยู่ภาวะที่เห็นปัจจุบัน จะต้องทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนในแง่ความคิดเห็น และการแสดงความห่วงใยต่างๆ
เมื่อถามว่า ทางทูตได้สอบถามเรื่องที่กลุ่มเสื้อแดง ออกมาระบุว่า มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการสลายผู้ชุมนุม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ถามเป็นการเจาะจง กรณีของ 2 ศพ ที่พบในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจากการที่ตนตรวจสอบข้อเท็จจริงมา บุคลลทั้งสองยังมีชีวิตในคืนวันที่13 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งตนกำลังให้เจ้าหน้าที่ยืนยันมาอีกครั้งในรายงานต่างๆ หากเขามีชีวิตอยู่ในคืนวันที่ 13 เม.ย. คิดว่าทุกคนคงจำได้ว่า ตั้งแต่ช่วงดึกของวันที่ 13 เม. ย.ไปจนถึงเช้า ไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเพิ่มเติม นอกจากขยับกำลังต่างๆ เข้ามา พอรุ่งเช้าก็มีการยุติของกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่มีเหตุผลอะไรที่บุคคลทั้งสองจะมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
เมื่อถามว่าบรรดาทูตได้สะท้อนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อสถานการณ์นี้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องย้อนกลับไปที่เหตุการณ์ที่ พัทยา มาตราการที่ดูแลเรื่องการชุมนุม อาจจะดูเข้มน้อยไป ซึ่งเป็นมุมมองที่เราเข้าใจ และประเด็นการดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะโดยเฉพาะเวลาที่มีบุคลลสำคัญหรือมีการประชุมะหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่คงจะต้องมาทบทวนกัน
ส่วนจะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อใดนั้น จะต้องประเมินดูว่า ขณะนี้มีการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ในเรื่องใดบ้าง และหมดความจำเป็นเมื่อใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี พ.ร.ก.หรือไม่ ก็มีงานทางด้านการเมือง และงานทางด้านกฎหมายที่รัฐบาลต้องทำต่อไป ทั้งนี้ หลังจากยกเลิกพ.ร.ก. แล้วการชุมนุมทางการเมืองทำได้ และการแสดงความคิดเห็นโดยความสงบ ปราศจากอาวุธทำได้ แต่เรื่องการไปยุยง ปลุกปั่น ให้ใครทำผิดกฎหมาย ทำไม่ได้ แนวทางนี้เป็นแนวทางที่เราใช้อยู่ ฉะนั้นสิ่งที่จะเห็นคือ คนที่มาชุมนุมหลังการประกาศ พ.ร.ก.แล้ว จริงๆ ต้องถือว่าทำผิดกฎหมายทุกคน แต่รัฐบาลยังถือว่า คนส่วนใหญ่คงไม่มีเจตนา ที่จะสร้างความวุ่นวายขึ้น จะเจาะจงเฉพาะบุคคลที่แสดงออกอย่างชัดเจนในการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย จะขีดวงตรงนั้น พี่น้องประชาชนจะได้สบายใจ ถ้ามาด้วยความสุจริตใจ ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายก่อนหน้ามี พ.ร.ก. ก็ไม่ต้องห่วง
เมื่อถามว่าห่วงการที่เสื้อแดงจะเคลื่อนไหวใต้ดิน แทนการที่จะปฏิบัติอย่างที่เห็นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ต้องการให้คนไทยจะใต้ดิน หรือบนดิน ทำร้ายประเทศ ฉะนั้นยืนยันว่า เชื่อว่าคนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไม่ได้คิดร้าย และยืนยันว่า ตนเชิญชวนเขาเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุย ว่าจะแก้ปัญหาทางการเมืองที่เห็นไม่ตรง กันอย่างไร ส่วนคนที่ทำผิดกฎหมาย หรือมีความตั้งใจที่จะใช้วิธีผิดกฎหมาย จะอยู่บนดินหรือใต้ดินไม่มีประโยชน์กับใครทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแล ซึ่งเมื่อสถานการณ์ และวิธีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป รัฐบาลก็ต้องปรับวิธีการแก้ไขปัญหาด้วย เป็นความรับผิดชอบของเราที่ต้องดูแลให้ได้
**เตือน "วรวัจน์" เลิกยุยงก่อความรุนแรง
ส่วนกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า ถ้านายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ที่มีคนเสื้อแดงอยู่อาจถูกยิงนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบเจตนาของผู้พูด คืออะไร แต่อยากจะชวนในฐานะนักการเมืองด้วยกันว่า เรามาช่วยสร้างวัฒนธรรมความไม่รุนแรง ในเรื่องการแข่งขันต่อสู้ทางการเมืองจะดีกว่า การแก้ปัญหาก็ยังคงใช้ความสุภาพ ในการนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา เพราะหากใช้ความกร้าวเข้าหากัน ความสงบจะไม่เกิดขึ้น
"ผมคิดว่าจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง ที่ผ่านมาถือว่าแก้เหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ ตอนนี้ต้องหมุนกลับไปที่ต้นเหตุ ซึ่งผมเรียนตามตรงว่า เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรก เพียงแต่ผมตั้งใจว่าอยากให้การประชุมอาเซียนผ่านไปได้ด้วยดี เราก็สามารถจะกลับมาดูเรื่องนี้ได้ และเรื่องเศรษฐกิจ ก็เดินไปพอสมควร เมื่อมาถึงจังหวะเวลานี้ ต้องกลับมาดูอีกครั้ง เพราะทราบว่าความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล หรือต่อสภาพการเมืองในปัจจุบันจำนวนหนึ่ง เป็นความรู้สึกที่เราควรต้องรับฟัง และตอบสนอง ส่วนการปรับเปลี่ยนด้านความมั่นคง ขอให้เรื่องเรียบร้อยก่อนแล้วจะมาทบทวนกันอีกครั้ง" นายกรัฐมนตรีกล่าว
**หารือจัดประชุมอาเซียนอีก
สำหรับ การประชุมอาเซียนบวกประเทศคู่เจรจา จะจัดได้อีกครั้งหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กำลังปรึกษาอยู่ คิดว่าภายในสองวันนี้จะได้ข้อยุติ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่ และเลขาธิการอาเซียน จะพบตนภายใน สองวันนี้ โดยทั้งสิบหกประเทศ ได้สัมผัสเหตุการณ์ด้วยตัวเองอยู่แล้ว และติดตามสถานการณ์ซึ่งวันนี้ก็มีทูตและผู้แทนประเทศเหล่านี้มาร่วมฟังอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลคงปล่อยให้ล้มเหลวไม่ได้ ดังนั้นจะต้องทบทวนและแก้ไขจุดที่เป็นข้อบกพร่องให้ได้
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ตั้งแต่เริ่มต้น จนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนต้องประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และยืนยันว่า การสลายการชุมนุมไม่มีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติการจากเจ้าหน้าที่
หลังการชี้แจงนายอภิสิทธิ์ ได้เปิดโอกาสให้ทูตต่างๆ สอบถาม โดยทูตหลายประเทศได้สอบถามถึงระยะเวลาที่รัฐบาลจะประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยนายอภิสิทธิ์ได้อธิบายถึงความจำเป็นเหตุผลในการประกาศใช้ จนทำให้ทูตหลาย ประเทศพอใจ และพอใจกับการจัดการกับผู้ชุมนุมของรัฐบาล ซึ่งบางประเทศได้ให้คำชื่นชมต่อรัฐบาลที่ไม่ใช้ความรุนแรง แต่ก็มีบางประเทศถามว่า ทำไมไม่ดำเนินการแบบนี้กับการที่มีผู้ชุมนุมไปบุกล้มการประชุมที่พัทยา เพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น น่าจะมีการมาตรการที่ดีกว่านี้ เหมือนรัฐบาลใช้มาตรการเบาๆ กับผู้ชุมนุมเท่านั้น
รายงานข่าวแจ้งว่าบรรยากาศการพบทูตครั้งนี้ เป็นไปด้วยดี โดยทูตส่วนใหญ่พอใจกับการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี เพราะตอบคำถามได้อย่างชัดเจน และฉะฉาน
**ทูตอังกฤษเชื่อมั่นไทยหลังฟังชี้แจง
นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการรับฟังการชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาไทยว่า นายกฯได้ให้ความเชื่อมั่นในสถานการณ์ และอธิบายว่าควบคุมสถานการณ์อย่างไร ซึ่งนายกฯ ให้ความมั่นใจว่าจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกใน อนาคต และตนก็เห็นด้วยว่าควรเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ส่วนตัวก็รู้สึกหนักใจต่อสถานการณ์ที่มีคนบาดเจ็บ และล้มตาย เพราะในฐานะที่คนหนึ่งที่รักประเทศไทย ก็รู้สึกว่าการที่เกิดกลางถนน ถือเป็น โศกนาฏกรรม ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และขอให้กระบวน การสันติวิธี ด้วยการเจรจากันอย่างปรองดอง สำหรับนักท่องเที่ยวของประเทศตน และนักลงทุนนั้น เขาก็ต้องการให้ทุกฝ่ายหยุดใช้ ความรุนแรง
"อยากให้เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน การใช้ความรุนแรงทั้งการปิดสนามบิน หรือการบุกรุกที่พัทยา เป็นการใช้ความรุนแรงที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งอยากขอให้รัฐบาลเน้นความปรองดอง ไม่อยากให้คนไทยสู้กันแบบนี้ และหวังว่าเรื่องนี้จะจบลงด้วยดี หลังรับทราบการชี้แจง ก็เชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทย" นายเควลย์กล่าว
**แฉ 4 แผนใต้ดินกลุ่มเสื้อแดง
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้ประเมินสถานการณ์บ้านเมืองหลังจากนี้ว่าอาจจะมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงและแนวร่วมที่อยูเบื้องหลังเพื่อก่อความไม่สงบ ใน 4 รูปแบบคือ
1 .การเคลื่อนไหวจะลงสู่ใต้ดินมากขึ้น เพราะเห็นได้จากโฆษกพรรคเพื่อไทย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล และพ.ต.ททักษิณ ชินวัตร ที่พูดผ่านสื่อต่างประเทศ ปลุกระดมให้ต่อต้านอำนาจรัฐ
2. มีการบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิด และให้เกิดการเผชิญหน้า เช่น กรณีมีการปล่อยข่าวว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ และมีการพยายามสร้างกระแสข่าว และเตรียมการสร้างสถานการณ์ว่ามีคนหายขึ้นมา
3 . ความพยายามกดดันของส.ส.เพื่อไทย และสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ที่นำกฎหมายปรองดอง เข้าพิจารณา เพื่อนิรโทษกรรมความผิดให้กับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และสมาชิกบ้านเลขที่ 111
4 มีการแย่งชิงพื้นที่สื่อต่างประเทศ ทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และรัฐบาล ซึ่งมีการดำเนินการต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
โฆษพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า พรรคจะจัดกิจกรรม เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาสู่ความสงบ คือ
1. พรรคยังคงสนับสนุนใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป จนกว่าจะมีการประเมินในการประชุม ครม.นัดพิเศษ ในวันที่ 17 เม.ย. นี้ และสนับสนุน กอฉ. ควบคุมสถานการณ์และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ร่วมก่อการ และผู้สนับสนุนที่ร่วมก่อการ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เด็ดขาด เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำลงไป รวมถึง การขยายผลสืบค้นผู้ที่ร่วมมือก่อการจลาจล ที่ถูกบันทึกไว้ ทั้งสื่อและเจ้าหน้าที่ให้มาลงโทษ ส่วนผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยความบริสุทธิ์ใจ และไม่ได้ร่วมการก่อการใดๆ ก็ถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการชุมนุม
2. เยียวยาฟื้นฟูผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเสื้อสีใด โดยจะเน้นการสมานฉันท์ภายใต้กรอบกฎหมาย
3.ให้สังคม และทุกภาคส่วนร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
4. แสวงหาความร่วมมือกับมิตรประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้ง ติดตาม พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษในประเทศไทย โดยจะเน้นขอร่วมมือจาก 3 ประเทศ คือ กัมพูชา สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และ นิการากัว ที่ก่อนหน้านี้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปิดเผยว่า มีพาสปอรต์ในประเทศดังกล่าว
**ปชป.ท้าตรวจสอบสลายการชุมนุม
นพ.วรงค์ เดชกิวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองโฆษกพรรค กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 ชุด เพื่อหาข้อเท็จจริง และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า เรายินดีให้ความร่วมมือและท้าให้ตรวจสอบได้เลย แต่พรรคเพื่อไทย ต้องพร้อมแสดงหลักฐานยืนยันในสิ่งที่พยายามพูดว่ามีคนตายจำนวนหลายสิบคน เพราะเหตุการณ์วันดังกล่าว สื่อมวลชนจำนวนมากก็อยู่ในที่เกิดเหตุ และมีถ่ายทอดสดอยู่โดยตลอด หากมีคนตายต้องมีคนเห็นแล้ว นอกจากนี้ อยากเตือนน้องๆนิสิตนักศึกษา ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ที่ออกมาบอกว่า มีคนตาย 60 คน ว่าอย่าตกเป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองกลุ่มนี้
**อ้างนำศพไปเผาที่วัดย่านลาดพร้าว
ส่วนความเคลื่อนไหวที่พรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ และพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก สมาชิกพรรค ร่วมแถลงข่าว โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่าจากเหตุการณ์ความไม่เรียบร้อยที่เกิดขึ้นใน กทม.จนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหายที่ไม่ทราบว่ามีมากน้อยเพียงใดนั้น พรรคจึงมีมติตั้งคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบความไม่เรียบร้อยและการสลายการชุมนุม ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการฯ 4 คณะ คือ 1.คณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และเยียวยา มี นพ.สุรวิทย์ เป็นประธาน 2.คณะอนุกรรมการไต่สวนหาข้อเท็จจริงมีพล.ต.ท.ชัจจ์ เป็นประธาน
3.คณะอนุกรรมการรับข้อมูลและประมวลข่าวสาร มีนายวรวัจน์เป็นประธาน 4.คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย มีนายพีรพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ
ด้านนายวรวัจน์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผู้เสียชีวิต และปรากฎว่าศพถูกนำไปทิ้งแม่น้ำ จึงต้องพิสูจน์ว่าเกิดจากอะไร และเชื่อว่า ยังมีผู้สูญหาย ที่ยังไม่พบว่าไปอยู่ที่ใดอีก ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดมีเหตุมาจากการไปร่วมชุมนุมทั้งสิ้น
พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ พรรคจะไปตรวจวัดภายในซอยลาดพร้าว 71 ที่มีข่าวว่า มีการเผาศพตลอดคืน และมีทหารอยู่บริเวณวัดเป็นจำนวนมากจึงต้องไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลและทหารระบุว่า ไม่มีใครเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า เหตุผลที่พรรคแต่งตั้งกรรมการขึ้นมานั้น เพราะข้อมูลสับสน เชื่อถือไม่ได้ และขัดแย้งกัน เพราะเหตุการณ์นี้มีการลับ ลวง พรางอยู่ จึงต้องรอสักพักแล้วจะรับทราบข้อเท็จจริง
**โวยเสื้อแดงมั่วนิ่มอ้างชื่อคนตาย
ด้าน พ.อ.สุริยา ปาวรีย์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 พระครูธรรมธร บุญเหลือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสาครประชาสรรค์ พร้อมด้วยญาติของ นางยุคล กำปั่นทอง ศพที่ถูกเผาภายในวัดร่วมกันแถลงข่าว กรณีมีกระแสข่าวว่ามีการนำศพนางยุคล ซึ่งถูกพาดพิงว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่13 เม.ย. นำมาเผาที่วัดดังกล่าว
น.ส.ฐารวิณัฐ มิ่งขวัญไกรสุร อายุ 31 ปี บุตรสาว นางยุคล กล่าวว่าตนมีอาชีพเป็นครูอนุบาล โรงเรียนอนุบาลนวลทอง ซึ่งตนเป็นบุตรสาวคนที่ 4 ของนางยุคล เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมานางยุคล มารดาซึ่งป่วยเป็นอำมพฤก ได้เสียชีวิตด้วยอาการสงบ ตนพร้อมพี่น้องและญาติได้นำร่างนางยุคล มาบำเพ็ญกุศลที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. และฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา
น.ส.ฐารวิณัฐ กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ตนและญาติพี่น้องได้มาเก็บกระดูก เมื่อมาถึงก็พบกับสัปเหร่อได้พูดคุยกัน จึงทราบว่ามารดาของตน มีชื่อปรากฏอยู่ในข่าวว่ามีการเสียชีวิตจากการชุมนุม ตอนแรกก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ต่อมามีการนำชื่อและนามสกุล ออกเผยแพร่จึงรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมามารดาได้บวชชีมา 20 กว่าปี อยู่ที่วัดเทพมงคลวรราม อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี และเพิ่งป่วยเป็นอำมพฤก เมื่อ 2 เดือนก่อน
"ที่สำคัญตลอดเวลาที่มารดาเป็นแม่ชี ก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง หรือการชุมนุมของกลุ่มใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นดิฉัน หรือญาติพี่น้อง ก็ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองแต่อย่างใด มีแต่ประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ำ และรอวันที่บ้านเมืองจะสงบสุข อยากจะขอฝากไปยังทุกฝ่ายว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้น ไม่เป็นความจริงและอย่าเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับครอบครัว" น.ส.ฐารวิณัฐกล่าว
ด้านพระครูธรรมธร กล่าวว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากในการเผาศพผู้เสียชีวิตจะต้องใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง หากมีผู้เสียชีวิตตามที่มีการที่กล่าวอ้าง จะต้องใช้เวลาในการเผาข้ามวันข้ามคืนก็ยังไม่หมด อีกทั้งเตาเผามีเพียง 2 เตา และสามารถใช้การได้เพียงเตาเดียว จึงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งศพสุดท้าย ที่มีการฌาปนกิจเป็นศพของนางยุคล ส่วนอีกศพ ตั้งสวดพระอภิธรรมอยู่
พระครูธรรมธร กล่าวอีกว่า ส่วนทหารที่อยู่ภายในบริเวณวัด นั้นเนื่องจากทางทหารไม่ได้มีการประสานงานมาก่อน ว่าจะมีการตั้งกองกำลังไว้ในวัด แต่ทั้งนี้เมื่อครั้งปฏิวัติ เมื่อ 19 ก.ย. ก็เคยมีทหารมาอยู่ในพื้นที่นี้เช่นกัน แต่ที่ชาวบ้านเข้าใจผิด อาจจะเป็นเพราะการเคลื่อนกำลังมาในตอนกลางคืน
ขณะที่นายอิทธิพล พลศักดิ์อายุ 65 ปี ประธานชุมชน พูนศิริ ที่อยู่ข้างวัด กล่าวว่า ทางชุมชนรู้สึกไม่สบายใจที่มีทหารเข้ามาตั้งกองกำลังอยู่ในบริเวณวัด และมาในช่วงกลางดึก เมื่อมาถึงก็มีการปิดพื้นที่ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับความสะดวก รวมทั้งเกิดความหวาดระแวงโดยเฉพาะช่วงที่มีเหตุการณ์การเมืองรุนแรงประกอบกับเมื่อมีกระแสข่าวการนำศพมาเผา ก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านไม่สบายใจมากยิ่งขึ้น
พ.อ.สุริยา ชี้แจงว่าเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ซึ่งในช่วงนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ส่วนตัวแล้วก็รู้สึกไม่สบายใจกับข่าวที่เกิดขึ้นจึงได้ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงข้อเท็จจริง สำหรับกำลังทหารที่อยู่ในพื้นที่นี้จำนวน 1 กองร้อย ส่วนที่เลือกพื้นที่ดังกล่าว เห็นว่าวัดเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และที่ต้องเดินทางมากันกลางดึกเนื่องจากไม่ต้องการให้ชาวบ้านแตกตื่นตกใจ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านพักผ่อน ทั้งนี้ก็ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่ทำให้รู้สึกหวาดระแวง.