ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลสั่งขัง “วีระ-ณัฐวุฒิ-หมอเหวง” ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คำร้องฝากขังชี้ชัด ตัวการสร้างความรุนแรง ทนายยังหวังคิดประกันอีกครั้ง หลังศาลยกคำร้อง ขณะที่แก๊งสุภรณ์ ถูกหมายจับฐานทำร้าย “นิพนธ์ พร้อมพันธุ์” ทุบรถนายกรัฐมนตรี พร้อมหมายจับเพิ่ม 27 แกนนำ กทม.สรุปเสียหายนับสิบล้าน เตรียมจัดกิจกรรมปลูกฝังเด็กรักสถาบัน ทำบุญล้างซวย 26 เม.ย.นี้
วานนี้ (16 เม.ย.) เวลา 07.30 น.ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำโดย พล.ต.ต.เจตต์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น.พร้อมกำลังตำรวจควบคุมตัว นายวีระ มุสิกพงศ์ , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นพ. เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาที่ 1-3 คดีก่อความไม่สงบ เดินทาง มายื่นคำร้องฝากขังครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 – 27 เม.ย.52 เนื่องจากต้องรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร และอื่นๆ หลังจากที่พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสาม ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสาม เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนหลังจากการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ตามคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวด้วย
สำหรับการรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลอาญา มีกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.1 , บก.น.2 และ บก.ตปพ..หรือ191 ประมาณ 3 กองร้อย และกองกำลังจากกองพลทหารราบที่ 11 รอ. กองพล ม.2 จำนวน 3 กองร้อย ประมาณ 450 นาย ในชุดพรางพร้อมรถหุ้มเกราะ รถยีเอ็มซี วางกำลังรอบบริเวณอาคารศาลอาญา และบริเวณใกล้เคียง
ส่วนกลุ่มเสื้อแดงประมาณ 200 คน ได้ทยอย เดินทางมาให้กำลังใจผู้ต้องหาทั้งสาม โดยกลุ่มผู้สนับสนุนดังกล่าวได้แต่งกายสวมเสื้อสีอื่น ไม่ใช่เสื้อสีแดง เดินทางมาศาล โดยระหว่างที่รอการฝากขัง นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย , นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาให้กำลังใจด้วย
**คำร้องยันตัวการก่อความรุนแรง**
คำร้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งสาม ระบุพฤติการณ์สรุปว่า สืบเนื่องจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ได้ชุมชุมนุมเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ , พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง รวมทั้งเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ลาออกจากตำแหน่ง อันมิใช่เป็นการกระทำภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ . หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยวันที่ 9 เม.ย. 52 เวลา12.30น. กลุ่มวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ ได้ร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. นำรถแท็กซี่มาปิดสถานที่สำคัญอาทิถนนรอบ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนสุขุมวิท แยกสุขุมวิท 71 โดยกลุ่ม นปช.บางส่วน ไปชุมนุมรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปิดเส้นทางจราจร โดยชุมนุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เมือมีการปิดเส้นทางจราจรดังกล่าวแล้ว ผู้ต้องหาทั้งสามมีส่วนร่วมในการชุมนุมสั่งการปิดเส้นทางจราจรดังกล่าว
โดยนายวีระผู้ต้องหาที่ 1 มีพฤติการณ์กล่าวคือ โดยในวันที่ 9 เม.ย.52 เวลา 21.00น. ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ปราศรัยผ่านจอภาพระบบวิดีโอลิงก์ ผ่านภาพและเสียง ซึ่งติดตั้งอยู่ทำเนียบรัฐบาล นายวีระ อยู่บนเวทีปราศรัย บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ์ หน้าทำเนียบรัฐบาล ได้พูดปลุกระดม ให้ผู้ชุมนุมล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยขอให้ไปสมทบ กันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิบริเวณเพื่อปิดเส้นทางให้มากขึ้น โดยมีผู้ต้องหาอื่น ๆ ร่วมกันกับนายวีระ นำไปสู่เหตุการณ์ไม่สงบบริเวณถนนหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร จนรัฐบาลได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุการณ์ กระทั่งวันที่ 14 เม.ย.เวลา 15.30 น. พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ได้ทำตามคำสั่ง บช.น.ที่ 115/52 ลงวันที่ 26 มี.ค.52 และคำสั่งที่ 169/52 ลงวันที่ 10 เม.ย.52 ได้ร่วมกันแจ้งข้อหาและจับกุมตัวนายวีระ ผู้ต้องหาที่ 1 นายณัฐวุฒิ ผู้ต้องหาที่ 2 และ นพ.เหวง ผู้ต้องหาที่ 3 ตามหมายจับศาลอาญา ชั้นสอบสวนผู้ต้องทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
**ศาลส่งคุมขัง ตชด.ภาค 1**
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว พร้อมหลักทรัพย์เป็นสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์สัมพันธ์ รวม 1.5 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้ง 3 คนคนละ 5 แสนบาท รวมทั้งยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขังโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแกนนำ นปช.โดยมิชอบ
ต่อมาเวลา 13.00 น.ศาลได้เปิดห้องพิจารณา 906 ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ต้องหา และคำร้องฝากขัง ก่อนมีคำสั่งว่า การใช้อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสาม เป็นการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 12 ซึ่งให้อำนาจ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัว ได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ซึ่งกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกครั้งละ 7 วัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่า 30 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว หากจะต้องควบคุมตัวต่อไป ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องทั้งหมด
ต่อมาเวลา 15.00 น.ที่กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากศาลอาญา มีคำสั่งให้ผลัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งสามแล้ว ทางด้าน พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.พร้อมกำลังตำรวจได้ควบคุมตัวทั้งหมดมาขึ้นเฮลิปคอปเตอร์ซึ่งจอดรออยู่ที่สนามฟุตบอลด้านหลังกองบังคับการปราบปราม เพื่อไปควบคุมตัวไว้ที่ ตชด.ภาค 1 คลอง 5 จ.ปทุมธานี โดยมีกำลังตำรวจคุ้มกันอย่างแน่นหนา
สำหรับการควบคุมตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ครั้งนี้ เนื่องจากตำรวจต้องการหลีกเลี่ยงกลุ่มผู้ติดตามที่อาจจะตามมากดดันการทำงานของตำรวจ โดยการควบคุมตัวทั้ง 3 เป็นไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นเวลา 7 วัน และหากพนักงานสอบสวนจะพิจารณาดำเนินคดีในฐานความผิดอื่นเพิ่มเติมก็จะต้องมาขออำนาจศาลฝากขังอีกครั้ง
**ออกหมายจับสุภรณ์และพวก**
พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. กล่าวถึงความคืบหน้าคดีกลุ่มคนเสื้อแดงบุกเข้าไปในกระทรวงมหาดไทย ไล่ทุบรถนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และทำร้ายนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จนได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาว่า เมื่อวันที่ 14-15 เมษายนที่ผ่านมา ศาลอาญาได้อนุมัติออกหมายจับ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย พร้อมด้วยกลุ่มผู้ชุมนุมปรากฏในภาพถ่ายที่บันทึกได้ อีก 9 ราย รวม 10 ราย ซึ่งมี 3 ข้อหาคือ มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, บุกรุกสถานที่ราชการ และทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการออกหมายจับตามภาพถ่าย และภาพจากสื่อมวลชนที่บันทึกได้ โดยคดีนี้ยังไม่มีใครเข้ามอบตัว อย่างไรก็ตาม ก่อนที่มีการออกหมายจับตำรวจได้ควบคุมตัวนายฉัตรชัย ไหมเหลือง ได้ในวันเกิดเหตุ และคุมตัวฝากขังศาลอาญาไปแล้ว
**หมายจับอีก 27 แกนนำ นปช.**
พล.ต.ท.สุพร พันธุ์เสือ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ส่วนกรณี พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับผู้ต้องสงสัย จำนวน 27 คน ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ระบุว่า เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นายจักรภพ เพ็ญแข นายอดิศร เพียงเกษ นายเหวง โตจิราการ นายสิรวิชญ์ พิมพ์กลาง นายพีระ พริ้งกลาง นายณรงค์ศักดิ์ มณี นายณัฐพงศ์ อินทะนาง นายชิณวัฒน์ หาบุญพาด นายอริมันต์ พงศ์เรืองรอง พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ นายนิสิต สินธุไพร นายนพพร นามเชียงใต้ นายสำเริง ประจำเรือ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ นายธนกฤต หรือ วันชน ชะเอมน้อย นายสิงห์ทอง บัวชุม นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายศักดา นพสิทธิ์ นางศิริวรรณ นิมิตศิลปะ นายธรชัย ศักดิ์มังกร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายวรชน เหมะ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ลงวันที่ 16 เม.ย. 2552
รอง ผบช.น. กล่าวต่อว่า ผู้ต้องสงสัยดังกล่าว เป็นกลุ่มผู้ที่พูดปราศัยบนเวทีหลังจากที่มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉินไปแล้ว ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามหมายได้ครั้งละ 7 วัน รวมไม่เกิน30 วัน หากภายใน 30 วัน มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็สามารถปล่อยตัวได้
"เจ้าหน้าที่ส่งชุดสืบสวนประกบตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดแล้ว และสามารถจับกุมได้ทันที โดยจะนำตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดไปสอบสวนที่ ตชด.ภาค1 จังหวัดปทุมธานี" โฆษกนครบาลกล่าว
**ตรวจสอบ 2 ศพลอยน้ำเจ้าพระยา**
นอกจากนี้ พล.ต.ต.สุพร ยังกล่าวถึงกรณี นายชัยพร หรือ “โจ” กันทัง อายุ 29 ปี นายนัฐพงษ์ หรือ “แก๊ป” ปองดี อายุ 23 ปี ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต และโยนศพทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลทางนิติเวชว่าผู้ตายเสียชีวิตก่อนหรือหลังจมน้ำ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ไม่ตัดประเด็นใดทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้ามาชุมนุม หรือเป็นเรื่องส่วนตัว จากการสืบสวนพบว่ารถจักรยายนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะของผู้ตายได้หายไป เจ้าหน้าที่เน้นประเด็นชิงทรัพย์เป็นหลัก ขณะนี้ขอเวลาให้พนักงานสอบสวนซักระยะ
**กทม.เสียหายเกือบ 10 ล้านบาท**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงมาตรการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบภายในพื้นที่ กทม.ว่า จากการสำรวจทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ของ กทม.ที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,490,630 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินด้านการโยธา จำนวน 744,000 บาท ด้านสิ่งแวดล้อมจำนวน 780,000 บาท ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คิดเป็นเงิน 2 ล้านบาท ด้านการจราจรและขนส่งจำนวน 4,820,630 บาท นอกจากนี้ เป็นความเสียหายตามสำนักงานเขตต่างๆ
ยังมีความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ คือ ภาพลักษณ์ของประเทศ ผลกระทบด้านจิตใจของคนไทย และผลกระทบต่อครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต ทั้งหมดต้องเร่งเยียวยา กทม.จะจัดพิธีทำบุญล้างซวยทั่ว กทม. โดยจะหารือกับเกจิชื่อดัง เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมโดยจะเป็นพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ พร้อมทั้งจะขอความร่วมมือไปยังศาสนสถานต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัด โบสถ์ หรือมัสยิด ที่สำคัญจะจัด “โครงการเด็ก กทม. เด็กฉลาด รักชาติ รักสามัคคี” เพื่อลบภาพที่อาจทำให้เด็กและเยาวชนเข้าใจผิด เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีภาพข่าวออกมาให้เห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมแสดงความรักชาติด้วยการโบกธงชาติ แต่กลับไปเผารถ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะทุกคนก็รักชาติ แต่ต้องรักอย่างถูกต้อง ดังนั้น กทม.จะให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดกทม.ทั้ง 435 แห่งโดยอาจจะสอดแทรกในวิชาพละศึกษาหรือกิจกรรมต่างๆที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เด็กๆ ของเรามีความเข้าใจรักชาติ รักสถาบัน มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ส่วนเหตุการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกรุกทำลายมัสยิดที่ถนนเพชรบุรี ซอย 7 ซึ่งถือว่าน่ากลัวมาก เพราะขนาดยามศึกสงครามนานาอารยะประเทศเขาจะเว้นไม่ทำลายศาสนสถานแต่นี้แค่คนไทยขัดแย้งกันเอง ทำไมถึงทำกันขนาดนี้ตนว่ามันน่าห่วงมากซึ่งในจุดนี้ กทม.จะติดตั้งกล้อง CCTV ให้ยังมัสยิดดังกล่าวส่วนมัสยิดแห่งอื่นจะพิจารณาตามความเหมาะสมเพราะส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. กล่าวว่า ในส่วนของการปรับบทบาทภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจนั้น เบื้องต้นจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักเทศกิจใหม่ และเพิ่มภารกิจด้านความมั่นคงเข้าไป รวมถึงแก้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงภายใน ทั้งนี้จะมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ระดับกองขึ้นมาเพื่อรองรับภารกิจส่วนนี้โดยเฉพาะ
ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้นตนได้มอบหมายให้สำนักงานกฎหมายและคดีดำเนินการแล้ว ขณะที่การทำบุญใหญ่ล้างซวยคาดว่าจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 26 เม.ย.นี้.
วานนี้ (16 เม.ย.) เวลา 07.30 น.ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำโดย พล.ต.ต.เจตต์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น.พร้อมกำลังตำรวจควบคุมตัว นายวีระ มุสิกพงศ์ , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นพ. เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาที่ 1-3 คดีก่อความไม่สงบ เดินทาง มายื่นคำร้องฝากขังครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 – 27 เม.ย.52 เนื่องจากต้องรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร และอื่นๆ หลังจากที่พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสาม ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสาม เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนหลังจากการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ตามคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวด้วย
สำหรับการรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลอาญา มีกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.1 , บก.น.2 และ บก.ตปพ..หรือ191 ประมาณ 3 กองร้อย และกองกำลังจากกองพลทหารราบที่ 11 รอ. กองพล ม.2 จำนวน 3 กองร้อย ประมาณ 450 นาย ในชุดพรางพร้อมรถหุ้มเกราะ รถยีเอ็มซี วางกำลังรอบบริเวณอาคารศาลอาญา และบริเวณใกล้เคียง
ส่วนกลุ่มเสื้อแดงประมาณ 200 คน ได้ทยอย เดินทางมาให้กำลังใจผู้ต้องหาทั้งสาม โดยกลุ่มผู้สนับสนุนดังกล่าวได้แต่งกายสวมเสื้อสีอื่น ไม่ใช่เสื้อสีแดง เดินทางมาศาล โดยระหว่างที่รอการฝากขัง นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย , นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาให้กำลังใจด้วย
**คำร้องยันตัวการก่อความรุนแรง**
คำร้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งสาม ระบุพฤติการณ์สรุปว่า สืบเนื่องจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ได้ชุมชุมนุมเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ , พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง รวมทั้งเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ลาออกจากตำแหน่ง อันมิใช่เป็นการกระทำภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ . หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยวันที่ 9 เม.ย. 52 เวลา12.30น. กลุ่มวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ ได้ร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. นำรถแท็กซี่มาปิดสถานที่สำคัญอาทิถนนรอบ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนสุขุมวิท แยกสุขุมวิท 71 โดยกลุ่ม นปช.บางส่วน ไปชุมนุมรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปิดเส้นทางจราจร โดยชุมนุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เมือมีการปิดเส้นทางจราจรดังกล่าวแล้ว ผู้ต้องหาทั้งสามมีส่วนร่วมในการชุมนุมสั่งการปิดเส้นทางจราจรดังกล่าว
โดยนายวีระผู้ต้องหาที่ 1 มีพฤติการณ์กล่าวคือ โดยในวันที่ 9 เม.ย.52 เวลา 21.00น. ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ปราศรัยผ่านจอภาพระบบวิดีโอลิงก์ ผ่านภาพและเสียง ซึ่งติดตั้งอยู่ทำเนียบรัฐบาล นายวีระ อยู่บนเวทีปราศรัย บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ์ หน้าทำเนียบรัฐบาล ได้พูดปลุกระดม ให้ผู้ชุมนุมล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยขอให้ไปสมทบ กันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิบริเวณเพื่อปิดเส้นทางให้มากขึ้น โดยมีผู้ต้องหาอื่น ๆ ร่วมกันกับนายวีระ นำไปสู่เหตุการณ์ไม่สงบบริเวณถนนหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร จนรัฐบาลได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุการณ์ กระทั่งวันที่ 14 เม.ย.เวลา 15.30 น. พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ได้ทำตามคำสั่ง บช.น.ที่ 115/52 ลงวันที่ 26 มี.ค.52 และคำสั่งที่ 169/52 ลงวันที่ 10 เม.ย.52 ได้ร่วมกันแจ้งข้อหาและจับกุมตัวนายวีระ ผู้ต้องหาที่ 1 นายณัฐวุฒิ ผู้ต้องหาที่ 2 และ นพ.เหวง ผู้ต้องหาที่ 3 ตามหมายจับศาลอาญา ชั้นสอบสวนผู้ต้องทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
**ศาลส่งคุมขัง ตชด.ภาค 1**
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว พร้อมหลักทรัพย์เป็นสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาซอยอารีย์สัมพันธ์ รวม 1.5 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้ง 3 คนคนละ 5 แสนบาท รวมทั้งยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขังโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแกนนำ นปช.โดยมิชอบ
ต่อมาเวลา 13.00 น.ศาลได้เปิดห้องพิจารณา 906 ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ต้องหา และคำร้องฝากขัง ก่อนมีคำสั่งว่า การใช้อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสาม เป็นการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 12 ซึ่งให้อำนาจ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัว ได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ซึ่งกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกครั้งละ 7 วัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่า 30 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว หากจะต้องควบคุมตัวต่อไป ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องทั้งหมด
ต่อมาเวลา 15.00 น.ที่กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากศาลอาญา มีคำสั่งให้ผลัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งสามแล้ว ทางด้าน พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.พร้อมกำลังตำรวจได้ควบคุมตัวทั้งหมดมาขึ้นเฮลิปคอปเตอร์ซึ่งจอดรออยู่ที่สนามฟุตบอลด้านหลังกองบังคับการปราบปราม เพื่อไปควบคุมตัวไว้ที่ ตชด.ภาค 1 คลอง 5 จ.ปทุมธานี โดยมีกำลังตำรวจคุ้มกันอย่างแน่นหนา
สำหรับการควบคุมตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ครั้งนี้ เนื่องจากตำรวจต้องการหลีกเลี่ยงกลุ่มผู้ติดตามที่อาจจะตามมากดดันการทำงานของตำรวจ โดยการควบคุมตัวทั้ง 3 เป็นไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นเวลา 7 วัน และหากพนักงานสอบสวนจะพิจารณาดำเนินคดีในฐานความผิดอื่นเพิ่มเติมก็จะต้องมาขออำนาจศาลฝากขังอีกครั้ง
**ออกหมายจับสุภรณ์และพวก**
พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. กล่าวถึงความคืบหน้าคดีกลุ่มคนเสื้อแดงบุกเข้าไปในกระทรวงมหาดไทย ไล่ทุบรถนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และทำร้ายนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จนได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาว่า เมื่อวันที่ 14-15 เมษายนที่ผ่านมา ศาลอาญาได้อนุมัติออกหมายจับ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย พร้อมด้วยกลุ่มผู้ชุมนุมปรากฏในภาพถ่ายที่บันทึกได้ อีก 9 ราย รวม 10 ราย ซึ่งมี 3 ข้อหาคือ มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, บุกรุกสถานที่ราชการ และทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการออกหมายจับตามภาพถ่าย และภาพจากสื่อมวลชนที่บันทึกได้ โดยคดีนี้ยังไม่มีใครเข้ามอบตัว อย่างไรก็ตาม ก่อนที่มีการออกหมายจับตำรวจได้ควบคุมตัวนายฉัตรชัย ไหมเหลือง ได้ในวันเกิดเหตุ และคุมตัวฝากขังศาลอาญาไปแล้ว
**หมายจับอีก 27 แกนนำ นปช.**
พล.ต.ท.สุพร พันธุ์เสือ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ส่วนกรณี พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับผู้ต้องสงสัย จำนวน 27 คน ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ระบุว่า เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นายจักรภพ เพ็ญแข นายอดิศร เพียงเกษ นายเหวง โตจิราการ นายสิรวิชญ์ พิมพ์กลาง นายพีระ พริ้งกลาง นายณรงค์ศักดิ์ มณี นายณัฐพงศ์ อินทะนาง นายชิณวัฒน์ หาบุญพาด นายอริมันต์ พงศ์เรืองรอง พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ นายนิสิต สินธุไพร นายนพพร นามเชียงใต้ นายสำเริง ประจำเรือ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ นายธนกฤต หรือ วันชน ชะเอมน้อย นายสิงห์ทอง บัวชุม นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายศักดา นพสิทธิ์ นางศิริวรรณ นิมิตศิลปะ นายธรชัย ศักดิ์มังกร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายวรชน เหมะ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ลงวันที่ 16 เม.ย. 2552
รอง ผบช.น. กล่าวต่อว่า ผู้ต้องสงสัยดังกล่าว เป็นกลุ่มผู้ที่พูดปราศัยบนเวทีหลังจากที่มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉินไปแล้ว ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามหมายได้ครั้งละ 7 วัน รวมไม่เกิน30 วัน หากภายใน 30 วัน มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็สามารถปล่อยตัวได้
"เจ้าหน้าที่ส่งชุดสืบสวนประกบตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดแล้ว และสามารถจับกุมได้ทันที โดยจะนำตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดไปสอบสวนที่ ตชด.ภาค1 จังหวัดปทุมธานี" โฆษกนครบาลกล่าว
**ตรวจสอบ 2 ศพลอยน้ำเจ้าพระยา**
นอกจากนี้ พล.ต.ต.สุพร ยังกล่าวถึงกรณี นายชัยพร หรือ “โจ” กันทัง อายุ 29 ปี นายนัฐพงษ์ หรือ “แก๊ป” ปองดี อายุ 23 ปี ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต และโยนศพทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลทางนิติเวชว่าผู้ตายเสียชีวิตก่อนหรือหลังจมน้ำ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ไม่ตัดประเด็นใดทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้ามาชุมนุม หรือเป็นเรื่องส่วนตัว จากการสืบสวนพบว่ารถจักรยายนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะของผู้ตายได้หายไป เจ้าหน้าที่เน้นประเด็นชิงทรัพย์เป็นหลัก ขณะนี้ขอเวลาให้พนักงานสอบสวนซักระยะ
**กทม.เสียหายเกือบ 10 ล้านบาท**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงมาตรการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบภายในพื้นที่ กทม.ว่า จากการสำรวจทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ของ กทม.ที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,490,630 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินด้านการโยธา จำนวน 744,000 บาท ด้านสิ่งแวดล้อมจำนวน 780,000 บาท ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คิดเป็นเงิน 2 ล้านบาท ด้านการจราจรและขนส่งจำนวน 4,820,630 บาท นอกจากนี้ เป็นความเสียหายตามสำนักงานเขตต่างๆ
ยังมีความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ คือ ภาพลักษณ์ของประเทศ ผลกระทบด้านจิตใจของคนไทย และผลกระทบต่อครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต ทั้งหมดต้องเร่งเยียวยา กทม.จะจัดพิธีทำบุญล้างซวยทั่ว กทม. โดยจะหารือกับเกจิชื่อดัง เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมโดยจะเป็นพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ พร้อมทั้งจะขอความร่วมมือไปยังศาสนสถานต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัด โบสถ์ หรือมัสยิด ที่สำคัญจะจัด “โครงการเด็ก กทม. เด็กฉลาด รักชาติ รักสามัคคี” เพื่อลบภาพที่อาจทำให้เด็กและเยาวชนเข้าใจผิด เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีภาพข่าวออกมาให้เห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมแสดงความรักชาติด้วยการโบกธงชาติ แต่กลับไปเผารถ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะทุกคนก็รักชาติ แต่ต้องรักอย่างถูกต้อง ดังนั้น กทม.จะให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดกทม.ทั้ง 435 แห่งโดยอาจจะสอดแทรกในวิชาพละศึกษาหรือกิจกรรมต่างๆที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เด็กๆ ของเรามีความเข้าใจรักชาติ รักสถาบัน มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ส่วนเหตุการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกรุกทำลายมัสยิดที่ถนนเพชรบุรี ซอย 7 ซึ่งถือว่าน่ากลัวมาก เพราะขนาดยามศึกสงครามนานาอารยะประเทศเขาจะเว้นไม่ทำลายศาสนสถานแต่นี้แค่คนไทยขัดแย้งกันเอง ทำไมถึงทำกันขนาดนี้ตนว่ามันน่าห่วงมากซึ่งในจุดนี้ กทม.จะติดตั้งกล้อง CCTV ให้ยังมัสยิดดังกล่าวส่วนมัสยิดแห่งอื่นจะพิจารณาตามความเหมาะสมเพราะส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. กล่าวว่า ในส่วนของการปรับบทบาทภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจนั้น เบื้องต้นจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักเทศกิจใหม่ และเพิ่มภารกิจด้านความมั่นคงเข้าไป รวมถึงแก้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงภายใน ทั้งนี้จะมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ระดับกองขึ้นมาเพื่อรองรับภารกิจส่วนนี้โดยเฉพาะ
ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้นตนได้มอบหมายให้สำนักงานกฎหมายและคดีดำเนินการแล้ว ขณะที่การทำบุญใหญ่ล้างซวยคาดว่าจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 26 เม.ย.นี้.