บอร์ดใหญ่กบข. เล็งล้อมคอก"วิสิฐ-บอร์ดลงทุน" เตรียมเสนอออกกฏห้ามผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุน มีข้อผูกพันกับผลประโยชน์ของตัวเอง หวังสร้างความโปร่งใส ต่อสายตาสาธารณะ ส่วนผลสอบล่าสุด ยังไม่คืบ คาดสรุปผลไม่ทัน 30 วัน ขณะที่การตรวจสอบเบื้องต้น พบผลขาดทุนเกิดจากการลงทุนของกบข.เอง ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่สตง. แจงงบการเงินมีปัญหาขาดทุนหุ้นเป็นหลัก ลือ "วิสิฐ" ไม่ต่ออายุเก้าอี้เลขาฯ
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ดได้เห็นชอบตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยมี นายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานของ กบข. ขณะนี้ ยังไม่มีการรายงานความคืบหน้าแต่อย่างใด เพราะการตรวจสอบดังกล่าว กำหนดระยะเวลาให้ต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งในวันที่ 24 เมษายนนี้ จะมีการประชุมบอร์ด กบข. อีกครั้ง
ดังนั้น จึงเชื่อว่าน่าจะมีการรายงานความคืบหน้าผลการตรวจสอบให้บอร์ดทราบด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่า การตรวจสอบดังกล่าว คงไม่ทัน 30 วัน ตามที่กำหนด
ทั้งนี้ การดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาทำงานอีก 1 ชุดจำนวน 7 คนโดยมีตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และตัวแทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งในส่วนของป.ป.ท.นั้น เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์เท่านั้น
ส่วนตัวแทนจากหน่วยงานอื่นๆ จะทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบหลักฐานในเชิงลึก เพื่อสรุปผลการตรวจสอบเสนอให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาอีกครั้ง ก่อนจะเสนอให้บอร์ดกบข. พิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
โดยอนุกรรมการทั้ง 7 คนดังกล่าว เป็นตัวแทนจากหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจที่มีคุณวุฒิ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเป็นอย่างดี และไม่อยู่ในอาณัติของใคร ดังนั้น จึงมีความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งต่างจากคณะกรรมการที่ป.ป.ท. แต่งตั้งขึ้นมาไม่รู้ว่ามาจากส่วนไหน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การที่ ป.ป.ท. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบด้วยนั้น โดยส่วนตัวมองว่าก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน จะได้มีการเปรียบเทียบว่าใครมีข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งในขณะนี้เอง ในส่วนของป.ป.ท. เอง ก็ยังไม่มีการรายงานผลการตรวจสอบให้บอร์ดทราบเช่นกัน
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์ของกบข. ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นปั่นนั้น ในส่วนนี้ต้องรอผลสอบออกมาก่อนว่า ความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไร หรือคณะกรรมการลงทุนหรือเลขาธิการ หรือขั้นตอนการลงทุนใดจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับหรือไม่ ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่โปร่งใสดังกล่าว ทำให้บอร์ดเริ่มพูดถึงการให้ความสำคัญต่อตัวคณะกรรมการลงทุน และบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ซึ่งรวมถึงตัวเลขาธิการ กบข. ด้วย ว่าจะต้องมีข้อบังคับ ไม่ให้บุคคลเหล่านี้มีข้อผูกพันกับผลประโยชน์ที่ตัวเองมี เพราะที่ผ่านมา ข้อบังคับดังกล่าวไม่มีเลย
" ต้องยอมรับว่า เรามีจุดอ่อนที่ไม่มีข้อบังคับว่า บุคคลที่มีส่วนกับการตัดสินใจลงทุน จะต้องไม่เป็นคนที่เล่นหุ้นเอง หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นตัวนั้น หรือไม่ได้เป็นที่ปรึกษาในบริษัทนั้น แต่หลังจากมีข้อสังเกตุดังกล่าว ทำให้บอร์ดเริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้ และแม้ว่าปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดจากตรงนี้ แต่ก็ควรมีเครื่องมือที่สามารถแสดงความโปร่งใสเอาไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาสงสัยภายหลัง แต่ปัจจุบัน
กบข.เองก็มีบอร์ดที่ดูแลด้านธรรมาภิบาลที่คอยสอดส่องดูแลอยู่แล้ว" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์เอง เป็นการลงทุนในช่วงระหว่างปี 2546-2547 ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น คุณวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. เอง ได้ชี้แจงว่า การตัดสินใจลงทุนดังกล่าว เนื่องจาก กบข.เอง เห็นว่าเป็นนวัตกรรมการลงทุนใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอะไหล่ยนต์ ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต จากจำนวนรถที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงน่าจะมีโอกาสทำกำไรได้ในช่วงที่ราคาถูก แต่หลังจากประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงถูกแขวนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากมีการปั่นหุ้นสร้างราคา ทำให้ราคาหุ้นปรับลดลงมาค่อนข้างมาก
ส่วนการลงทุนทั้งหมดของกบข. จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ในส่วนที่เป็นปัญหาขาดทุน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในสัดส่วน 40% เป็นหลัก ซึ่งในส่วนนี้ กบข.ลงทุนเอง 20% และจ้างให้บริษัทจัดการกองทุนบริหารอีก 20% โดยในสัดส่วน 40% นี้ พบว่า การลงทุนเองของ กบข. เป็นการลงทุนที่ประสบกับปัญหาขาดทุนมากที่สุด ทั้งพอร์ตการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีการประกันความเสี่ยงเหมือนกับกับจ้างผู้จัดการกองทุนบริหาร ที่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าต้องไม่ให้ขาดทุนเกิน 2% เพราะหากเสียหายเกินกว่านั้น จะต้องมีการชดเชย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการตรวจสอบดังกล่าว การลงทุนของกบข.เอง ยังดำเนินไปตามปกติ เพราะหน้าที่ของ กบข.คือ สร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับสมาชิก แต่การลงทุนหลังจากนี้ คงต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะเหลือช่องทางให้ลงทุนไม่มาก เพราะหากฝากเงินไว้อย่างเดียว ก็ไม่ได้ผลตอบแทน และไม่ถือว่าเป็นการลงทุน ซึ่งในการลงทุนนี้เอง จะเป็นการวัดความสามารถและความฉับไว ของผู้บริหารในการจับจังหวะการลงทุนได้เช่นกัน
ด้านแหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยว่า สำหรับหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์ มีการตั้งข้อสังเกตุว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองชื่อดัง นั่นคือนายวิชัย ทองแตง ซึ่งหลังจากที่ กบข. เข้าไปซื้อแล้ว ก็ถูกเทกโอเวอร์จากทายาทตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นหุ้นที่มีปัญหาแต่งบัญชี และการสร้างราคาจนถูกตลาดหลักทรัพย์สั่งแขวนด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่รู้ว่าก่อนลงทุน กบข.เอง รู้หรือเปล่า หรือมีใครกำกับการลงทุนอยู่เบื้องหลังหรือไม่
สตง.พบลงทุนหุ้นมีปัญหา
แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยถึงการตรวจสอบบัญชีจากงบการเงินของ กบข. ในปี 2551 ที่ผ่านมาว่าขณะนี้ตรวจสอบงบการเงินของกบข.เอง ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และคาดว่าในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม น่าจะสมบูรณ์ 100% ซึ่งการตรวจสอบบัญชีของสตง.นั้น เป็นการตรวจสอบตามมาตรฐานบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองบัญชีเป็นหลักว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หรือมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นและลดลง มีการบันทึกถูกต้องตามหลักบัญชีทั่วไปหรือไม่ แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีรับรองเท่านั้น
ส่วนข้อมูลในเชิงลึก เกี่ยวกับการลงทุน หากเราเห็นว่ามีปัญหา หรือมีความผิดปกติ ทางสตง.ก็จะทำหน้าที่ในการตั้งข้อสังเกตุเพื่อชี้แจงไปเท่านั้น เพราะไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเชิงลึก อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นพบว่า ส่วนที่เป็นการลงทุนในหุ้นนั้น เป็นการลงทุนที่มีปัญหาขาดทุนเป็นหลัก ซึ่งเราเองจะตั้งข้อสังเกตุกลับไปในงบการเงินด้วย
ลือ "วิสิฐ"ไม่นั่งเก้าอี้เลขาฯ ต่อ
ขณะที่แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมกองทุนรวม เปิดเผยว่า กรณีการบริหารงานของกบข.นั้น ตนเองมีความเข้าใจดีว่าที่ผ่านมาเป็นช่วงวิกฤตที่ส่งผลต่อการบริหารงานของทุกกองทุน โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ซึ่งมันเป็นความเสี่ยงของตลาดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มากกว่า แต่หากมองในเรื่องของการพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆแล้ว การลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องทางการเมืองอย่างหุ้นในกลุ่มยานภัณฑ์แล้ว ตนเองไม่แน่ใจเช่นกันว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือเปล่า
"มันน่าจะมีส่วนของการเมืองมาเกี่ยวข้อง แต่การตัดสินใจลงทุนในหุ้นปั่นก็น่าสงสัย เพราะถ้าจะบอกว่าตำแหน่งการบริหารงานกองทุนกบข.ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศนั้นมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับนิสัยและพฤติกรรมของผู้บริหารแต่ละคนมากกว่า ส่วนคุณวิสิฐนั้นผมไม่มีความเห็น ส่วนจะต้องลาออกเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบหรือไม่นั้น ตอนนี้มีข่าวเช่นกันว่าเมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้แล้วเขาจะไม่ต่ออายุต่อไป และคงต้องหาผู้ดำรงตำแหน่งคนใหม่เข้ามาแทน"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ดได้เห็นชอบตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยมี นายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานของ กบข. ขณะนี้ ยังไม่มีการรายงานความคืบหน้าแต่อย่างใด เพราะการตรวจสอบดังกล่าว กำหนดระยะเวลาให้ต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งในวันที่ 24 เมษายนนี้ จะมีการประชุมบอร์ด กบข. อีกครั้ง
ดังนั้น จึงเชื่อว่าน่าจะมีการรายงานความคืบหน้าผลการตรวจสอบให้บอร์ดทราบด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่า การตรวจสอบดังกล่าว คงไม่ทัน 30 วัน ตามที่กำหนด
ทั้งนี้ การดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาทำงานอีก 1 ชุดจำนวน 7 คนโดยมีตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และตัวแทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งในส่วนของป.ป.ท.นั้น เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์เท่านั้น
ส่วนตัวแทนจากหน่วยงานอื่นๆ จะทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบหลักฐานในเชิงลึก เพื่อสรุปผลการตรวจสอบเสนอให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาอีกครั้ง ก่อนจะเสนอให้บอร์ดกบข. พิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
โดยอนุกรรมการทั้ง 7 คนดังกล่าว เป็นตัวแทนจากหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจที่มีคุณวุฒิ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเป็นอย่างดี และไม่อยู่ในอาณัติของใคร ดังนั้น จึงมีความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งต่างจากคณะกรรมการที่ป.ป.ท. แต่งตั้งขึ้นมาไม่รู้ว่ามาจากส่วนไหน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การที่ ป.ป.ท. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบด้วยนั้น โดยส่วนตัวมองว่าก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน จะได้มีการเปรียบเทียบว่าใครมีข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งในขณะนี้เอง ในส่วนของป.ป.ท. เอง ก็ยังไม่มีการรายงานผลการตรวจสอบให้บอร์ดทราบเช่นกัน
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์ของกบข. ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นปั่นนั้น ในส่วนนี้ต้องรอผลสอบออกมาก่อนว่า ความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไร หรือคณะกรรมการลงทุนหรือเลขาธิการ หรือขั้นตอนการลงทุนใดจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับหรือไม่ ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่โปร่งใสดังกล่าว ทำให้บอร์ดเริ่มพูดถึงการให้ความสำคัญต่อตัวคณะกรรมการลงทุน และบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ซึ่งรวมถึงตัวเลขาธิการ กบข. ด้วย ว่าจะต้องมีข้อบังคับ ไม่ให้บุคคลเหล่านี้มีข้อผูกพันกับผลประโยชน์ที่ตัวเองมี เพราะที่ผ่านมา ข้อบังคับดังกล่าวไม่มีเลย
" ต้องยอมรับว่า เรามีจุดอ่อนที่ไม่มีข้อบังคับว่า บุคคลที่มีส่วนกับการตัดสินใจลงทุน จะต้องไม่เป็นคนที่เล่นหุ้นเอง หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นตัวนั้น หรือไม่ได้เป็นที่ปรึกษาในบริษัทนั้น แต่หลังจากมีข้อสังเกตุดังกล่าว ทำให้บอร์ดเริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้ และแม้ว่าปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดจากตรงนี้ แต่ก็ควรมีเครื่องมือที่สามารถแสดงความโปร่งใสเอาไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาสงสัยภายหลัง แต่ปัจจุบัน
กบข.เองก็มีบอร์ดที่ดูแลด้านธรรมาภิบาลที่คอยสอดส่องดูแลอยู่แล้ว" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์เอง เป็นการลงทุนในช่วงระหว่างปี 2546-2547 ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น คุณวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. เอง ได้ชี้แจงว่า การตัดสินใจลงทุนดังกล่าว เนื่องจาก กบข.เอง เห็นว่าเป็นนวัตกรรมการลงทุนใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอะไหล่ยนต์ ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต จากจำนวนรถที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงน่าจะมีโอกาสทำกำไรได้ในช่วงที่ราคาถูก แต่หลังจากประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงถูกแขวนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากมีการปั่นหุ้นสร้างราคา ทำให้ราคาหุ้นปรับลดลงมาค่อนข้างมาก
ส่วนการลงทุนทั้งหมดของกบข. จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ในส่วนที่เป็นปัญหาขาดทุน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในสัดส่วน 40% เป็นหลัก ซึ่งในส่วนนี้ กบข.ลงทุนเอง 20% และจ้างให้บริษัทจัดการกองทุนบริหารอีก 20% โดยในสัดส่วน 40% นี้ พบว่า การลงทุนเองของ กบข. เป็นการลงทุนที่ประสบกับปัญหาขาดทุนมากที่สุด ทั้งพอร์ตการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีการประกันความเสี่ยงเหมือนกับกับจ้างผู้จัดการกองทุนบริหาร ที่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าต้องไม่ให้ขาดทุนเกิน 2% เพราะหากเสียหายเกินกว่านั้น จะต้องมีการชดเชย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการตรวจสอบดังกล่าว การลงทุนของกบข.เอง ยังดำเนินไปตามปกติ เพราะหน้าที่ของ กบข.คือ สร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับสมาชิก แต่การลงทุนหลังจากนี้ คงต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะเหลือช่องทางให้ลงทุนไม่มาก เพราะหากฝากเงินไว้อย่างเดียว ก็ไม่ได้ผลตอบแทน และไม่ถือว่าเป็นการลงทุน ซึ่งในการลงทุนนี้เอง จะเป็นการวัดความสามารถและความฉับไว ของผู้บริหารในการจับจังหวะการลงทุนได้เช่นกัน
ด้านแหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยว่า สำหรับหุ้นกลุ่มยานภัณฑ์ มีการตั้งข้อสังเกตุว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองชื่อดัง นั่นคือนายวิชัย ทองแตง ซึ่งหลังจากที่ กบข. เข้าไปซื้อแล้ว ก็ถูกเทกโอเวอร์จากทายาทตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นหุ้นที่มีปัญหาแต่งบัญชี และการสร้างราคาจนถูกตลาดหลักทรัพย์สั่งแขวนด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่รู้ว่าก่อนลงทุน กบข.เอง รู้หรือเปล่า หรือมีใครกำกับการลงทุนอยู่เบื้องหลังหรือไม่
สตง.พบลงทุนหุ้นมีปัญหา
แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยถึงการตรวจสอบบัญชีจากงบการเงินของ กบข. ในปี 2551 ที่ผ่านมาว่าขณะนี้ตรวจสอบงบการเงินของกบข.เอง ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และคาดว่าในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม น่าจะสมบูรณ์ 100% ซึ่งการตรวจสอบบัญชีของสตง.นั้น เป็นการตรวจสอบตามมาตรฐานบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองบัญชีเป็นหลักว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หรือมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นและลดลง มีการบันทึกถูกต้องตามหลักบัญชีทั่วไปหรือไม่ แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีรับรองเท่านั้น
ส่วนข้อมูลในเชิงลึก เกี่ยวกับการลงทุน หากเราเห็นว่ามีปัญหา หรือมีความผิดปกติ ทางสตง.ก็จะทำหน้าที่ในการตั้งข้อสังเกตุเพื่อชี้แจงไปเท่านั้น เพราะไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเชิงลึก อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นพบว่า ส่วนที่เป็นการลงทุนในหุ้นนั้น เป็นการลงทุนที่มีปัญหาขาดทุนเป็นหลัก ซึ่งเราเองจะตั้งข้อสังเกตุกลับไปในงบการเงินด้วย
ลือ "วิสิฐ"ไม่นั่งเก้าอี้เลขาฯ ต่อ
ขณะที่แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมกองทุนรวม เปิดเผยว่า กรณีการบริหารงานของกบข.นั้น ตนเองมีความเข้าใจดีว่าที่ผ่านมาเป็นช่วงวิกฤตที่ส่งผลต่อการบริหารงานของทุกกองทุน โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ซึ่งมันเป็นความเสี่ยงของตลาดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มากกว่า แต่หากมองในเรื่องของการพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆแล้ว การลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องทางการเมืองอย่างหุ้นในกลุ่มยานภัณฑ์แล้ว ตนเองไม่แน่ใจเช่นกันว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือเปล่า
"มันน่าจะมีส่วนของการเมืองมาเกี่ยวข้อง แต่การตัดสินใจลงทุนในหุ้นปั่นก็น่าสงสัย เพราะถ้าจะบอกว่าตำแหน่งการบริหารงานกองทุนกบข.ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศนั้นมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับนิสัยและพฤติกรรมของผู้บริหารแต่ละคนมากกว่า ส่วนคุณวิสิฐนั้นผมไม่มีความเห็น ส่วนจะต้องลาออกเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบหรือไม่นั้น ตอนนี้มีข่าวเช่นกันว่าเมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้แล้วเขาจะไม่ต่ออายุต่อไป และคงต้องหาผู้ดำรงตำแหน่งคนใหม่เข้ามาแทน"แหล่งข่าวกล่าว