การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และอาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายน 2552 นั้น เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอาเซียนและไทย โดยการประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างอาเซียนกับจีนในข้อบทว่าด้วยการลงทุน หลังจากที่อาเซียนได้ลงนามความตกลง FTA ไปแล้วกับประเทศออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ในการประชุมอาเซียนซัมมิตเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2552 ณ ชะอำ-หัวหิน
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียนทั้งในกรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3 หรืออาเซียน+6 เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของอาเซียนและไทยที่จะพยายามลดอุปสรรคทางการค้าการลงทุนเพื่อช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัว แต่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้กระตุ้นให้ชาติต่างๆ รวมทั้งประเทศในอาเซียนและประเทศคู่เจรจานำนโยบายกีดกันทางการค้ามาใช้มากขึ้น และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการค้าภายในอาเซียนและประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการภาคการส่งออกเป็นหลัก ยิ่งวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้รุนแรงและใช้เวลาในการฟื้นตัวนานเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มว่าประเทศต่างๆ จะนำมาตรการใหม่ๆ ออกมาปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างในประเทศเพิ่มขึ้น โดยกำหนดเงื่อนไขในการเปิดเสรีมากขึ้น เช่น เพิ่มรายการสินค้าอ่อนไหว เลื่อนระยะเวลาการลดภาษีในสินค้าแต่ละรายการออกไป ดังเช่นที่อินเดียขอเลื่อนระยะเวลาการลดภาษีสินค้าในกรอบ FTA อาเซียน-อินเดีย การเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าหรือเรียกร้องให้ไทยลดภาษีในอัตราที่มากขึ้นหรือเพิ่มรายการสินค้าที่จะลดภาษี อาจเป็นอุปสรรคให้การเจรจาที่ยังคงดำเนินการอยู่อาจต้องล่าช้าออกไป
นอกจากนี้หากพิจารณาจากการลงนามให้สัตยาบันของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ หรือกลุ่มจี 20 ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินโดนีเซีย ที่จะหลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากการสำรวจของธนาคารโลกกลับพบว่า มีเพียง 3 จาก 20 ประเทศเท่านั้นไม่ได้เพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าคือ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้และซาอุดิอาระเบีย สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจภายในของแต่ละประเทศที่รุนแรงจนทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มจี 20 ต้องละเมิดคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐฯ ออกมาตรการ Buy American ทำให้นโยบายการกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศทั่วโลกจะมีความกังวลว่า มาตรการกีดกันทางการค้าที่แพร่หลายในปัจจุบันอาจจะซ้ำเติมวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ แม้ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันย้ำถึงการขจัดมาตรการทางการค้าเพื่อฟื้นฟูการค้าโลกในการประชุมกลุ่มจี 20 ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แต่คาดว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็ยังคงมีแรงจูงใจค่อนข้างมากที่จะนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างแรงงานในประเทศและทำให้แน่ใจว่า เงินงบประมาณมหาศาลที่ได้ทุ่มเทลงไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไหลเวียนอยู่ในประเทศอย่างแท้จริง
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของกลุ่มอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะขยายไปสู่การจัดทำความตกลง FTA ในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 คงต้องใช้ระยะเวลากว่าจะได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีการค้า ภาคบริการและการลงทุนของอาเซียนโดยการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และการเปิดเสรีการค้าในกรอบอาเซียน+1 ที่มีความคืบหน้าค่อนข้างมากในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีและการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้า ทำให้คาดว่าน่าจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยไปประเทศคู่เจรจาต่างๆ ขยายตัวได้ดีขึ้น เช่น ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น แต่สำหรับมาตรการทางการค้าอื่นๆ เช่น โควตาภาษี การอุดหนุนทางการค้าและการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อกีดกันทางการค้า อาจต้องใช้เวลาในการเจรจาและประสานความร่วมมืออีกระยะหนึ่ง ส่วนมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มาตรการเหล่านี้จะถูกพัฒนาและยกระดับให้มีความเข้มงวดและครอบคลุมสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประเทศผู้นำเข้าจะออกมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องคุ้มครองประชากรในประเทศของตน แต่ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะต้องมีความสมเหตุสมผลและสามารถพิสูจน์ผลกระทบได้จริง ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยควรเร่งปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อลดโอกาสที่จะถูกกีดกันการนำเข้าจากตลาดส่งออกเนื่องจากคุณภาพของสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ การเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกันด้านมาตรฐานสินค้า (Mutual Recognition Agreements : MRAs) ภายใต้ความตกลง FTA น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการกำหนดมาตรฐานสินค้าในระดับสูงของประเทศคู่เจรจาได้บ้าง โดยเฉพาะมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืขและสัตว์สำหรับสินค้าอาหาร
หากการประชุมผู้นำระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10-12 เมษายน 2552 นี้ ที่พัทยา สามารถกระตุ้นให้กลุ่มประเทศอาเซียน+3 และอาเซียน+6 รวมกลุ่มทางการค้าได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนการขยายการค้าระหว่างกัน ร่วมมือกันลดอุปสรรคทางการค้า และหลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ออกมาใช้ ประกอบกับนโยบายด้านการเงินและการคลังของประเทศต่างๆ ที่นำออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียนต้านทานผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ และสามารถพยุงเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2553
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียนทั้งในกรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3 หรืออาเซียน+6 เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของอาเซียนและไทยที่จะพยายามลดอุปสรรคทางการค้าการลงทุนเพื่อช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัว แต่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้กระตุ้นให้ชาติต่างๆ รวมทั้งประเทศในอาเซียนและประเทศคู่เจรจานำนโยบายกีดกันทางการค้ามาใช้มากขึ้น และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการค้าภายในอาเซียนและประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการภาคการส่งออกเป็นหลัก ยิ่งวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้รุนแรงและใช้เวลาในการฟื้นตัวนานเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มว่าประเทศต่างๆ จะนำมาตรการใหม่ๆ ออกมาปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างในประเทศเพิ่มขึ้น โดยกำหนดเงื่อนไขในการเปิดเสรีมากขึ้น เช่น เพิ่มรายการสินค้าอ่อนไหว เลื่อนระยะเวลาการลดภาษีในสินค้าแต่ละรายการออกไป ดังเช่นที่อินเดียขอเลื่อนระยะเวลาการลดภาษีสินค้าในกรอบ FTA อาเซียน-อินเดีย การเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าหรือเรียกร้องให้ไทยลดภาษีในอัตราที่มากขึ้นหรือเพิ่มรายการสินค้าที่จะลดภาษี อาจเป็นอุปสรรคให้การเจรจาที่ยังคงดำเนินการอยู่อาจต้องล่าช้าออกไป
นอกจากนี้หากพิจารณาจากการลงนามให้สัตยาบันของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ หรือกลุ่มจี 20 ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินโดนีเซีย ที่จะหลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากการสำรวจของธนาคารโลกกลับพบว่า มีเพียง 3 จาก 20 ประเทศเท่านั้นไม่ได้เพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าคือ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้และซาอุดิอาระเบีย สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจภายในของแต่ละประเทศที่รุนแรงจนทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มจี 20 ต้องละเมิดคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐฯ ออกมาตรการ Buy American ทำให้นโยบายการกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศทั่วโลกจะมีความกังวลว่า มาตรการกีดกันทางการค้าที่แพร่หลายในปัจจุบันอาจจะซ้ำเติมวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ แม้ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันย้ำถึงการขจัดมาตรการทางการค้าเพื่อฟื้นฟูการค้าโลกในการประชุมกลุ่มจี 20 ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แต่คาดว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็ยังคงมีแรงจูงใจค่อนข้างมากที่จะนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างแรงงานในประเทศและทำให้แน่ใจว่า เงินงบประมาณมหาศาลที่ได้ทุ่มเทลงไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไหลเวียนอยู่ในประเทศอย่างแท้จริง
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของกลุ่มอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะขยายไปสู่การจัดทำความตกลง FTA ในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 คงต้องใช้ระยะเวลากว่าจะได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีการค้า ภาคบริการและการลงทุนของอาเซียนโดยการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และการเปิดเสรีการค้าในกรอบอาเซียน+1 ที่มีความคืบหน้าค่อนข้างมากในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีและการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้า ทำให้คาดว่าน่าจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยไปประเทศคู่เจรจาต่างๆ ขยายตัวได้ดีขึ้น เช่น ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น แต่สำหรับมาตรการทางการค้าอื่นๆ เช่น โควตาภาษี การอุดหนุนทางการค้าและการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อกีดกันทางการค้า อาจต้องใช้เวลาในการเจรจาและประสานความร่วมมืออีกระยะหนึ่ง ส่วนมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มาตรการเหล่านี้จะถูกพัฒนาและยกระดับให้มีความเข้มงวดและครอบคลุมสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประเทศผู้นำเข้าจะออกมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องคุ้มครองประชากรในประเทศของตน แต่ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะต้องมีความสมเหตุสมผลและสามารถพิสูจน์ผลกระทบได้จริง ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยควรเร่งปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อลดโอกาสที่จะถูกกีดกันการนำเข้าจากตลาดส่งออกเนื่องจากคุณภาพของสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ การเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกันด้านมาตรฐานสินค้า (Mutual Recognition Agreements : MRAs) ภายใต้ความตกลง FTA น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการกำหนดมาตรฐานสินค้าในระดับสูงของประเทศคู่เจรจาได้บ้าง โดยเฉพาะมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืขและสัตว์สำหรับสินค้าอาหาร
หากการประชุมผู้นำระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10-12 เมษายน 2552 นี้ ที่พัทยา สามารถกระตุ้นให้กลุ่มประเทศอาเซียน+3 และอาเซียน+6 รวมกลุ่มทางการค้าได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนการขยายการค้าระหว่างกัน ร่วมมือกันลดอุปสรรคทางการค้า และหลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ออกมาใช้ ประกอบกับนโยบายด้านการเงินและการคลังของประเทศต่างๆ ที่นำออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียนต้านทานผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ และสามารถพยุงเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2553