xs
xsm
sm
md
lg

ดัชนีเชื่อมั่นจัดสรรพุ่ง6%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน – ศูนย์ข้อมูลฯ เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยไตรมาสแรกปี52 พบสัญญาความเชื่อมั่นการเมือง เศรษฐกิจในประเทศดีดตัวสูงขึ้นกว่า 6% จากไตรมาส4ปี51 ขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงกว่าค่ากลางมาอยู่ที่ 50.8%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) กล่าวว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 149 บริษัท พบว่า ดัชนีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยประจำไตรมาส 1 ปี 2552 ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.2% ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4ปี2551 ที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีเท่ากับ 36.3% สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 4ปี2551 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่4 ที่ค่าเฉลี่ยดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง
ทั้งนี้ เมื่อแยกประเภทบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าบริษัทจดทะเบียนมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในไตรมาส1ปี52 เท่ากับ 50.8% ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4ปี2551 ที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 41.4% สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดังกล่าวว่า มีการปรับตัวดีขึ้นมาก
ขณะที่ ผลการสำรวจค่าเฉลี่ยดัชนีบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสแรกของปีเท่ากับ 33.5% ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4ปี2551 ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 31.2% สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดังกล่าวว่า ฟื้นตัวกลับมาสู่ทิศทางที่ดีเพิ่มขึ้นเช่นกัน
“ มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 149 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 29 บริษัท และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 120 บริษัท สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย มีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50% ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี และหากดัชนีมีค่าสูงกว่าเดิม สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการว่า เป็นภาวะที่ดีขึ้นจากเดิม ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี และหากดัชนีมีค่าต่ำกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่แย่ลงจากเดิม”
นอกจากนี้ ผลการสำรวจแนวโน้มความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ของผู้ประกอบการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.4% ซึ่งปรับตัวจากไตรมาส 4ปี51 ที่มีค่าเท่ากับ 40.2% กว่า 10.02% โดยในส่วนของบริษัทจดทะเบียนมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่น 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 57.7% ปรับตัวสูงขึ้นมากจากการสำรวจในไตรมาส 4ของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 42.8% ขณะที่บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 43.1% จากเดิมที่ค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่4ของปี51ซึ่งมีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 37.6%
จากอัตราค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี52 ดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาส1ปี52นี้ปรับตัวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยและสถานการณ์การเมืองมีการปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในไตรมาส 4 ปี 51 โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์การเมืองไทยตกต่ำมากที่สุด และสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มส่งผลกระทบประเทศไทยอย่างรุนแรง แต่หลังจากการมีรัฐบาลใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีขึ้นเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ความรู้สึกเชื่อมั่นกลับคืนมาได้พอสมควร ในขณะที่ผลการสำรวจดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยและสถานการณ์การเมืองในครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น