วันนี้จะเป็น “วันเผด็จศึก” ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือมักเรียกกันว่า “กลุ่มเสื้อแดง” ดังที่ “ขย่ม” กันมาตลอด 10 กว่าวันได้หรือไม่ หรือจะเป็น “วันปฏิวัติประชาชน” ดังที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง “ประกาศ-โหม-ปลุกระดม” ให้ประชาชนคนไทย “ลุกฮือ” โค่นล้มรัฐบาล และอาจจะเลยเถิดไปจนถึงสถาบันอื่นๆ ได้หรือไม่ เราคงต้องติดตามกันว่า “วันที่ 8 เมษายน 2552” จะเป็นวันที่ “ประชาชนคนไทย” ทั้งประเทศ เปลี่ยนจาก “สีเหลือง” เป็น “สีแดง!”
นึกไปนึกมา คล้ายๆ กับจะประกาศเป็น “การปฏิวัติ (Revolution)” ที่เคยเกิดขึ้นมาในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัส แห่งรัสเซีย เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ “การโค่นล้มสถาบันราชวงศ์จีน” ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.1949 ที่เรียกว่า “ปฏิวัติวัฒนธรรม (Culteral Revolution)” จากพรรคคุมมินตั๋ง หรือ “คอมมิวนิสต์จีน” ที่เป็น “การปฏิวัติประชาชน” เฉกเช่นที่คุณทักษิณ ประกาศปลุกระดมเมื่อวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จะเกิดขึ้นถึงขั้นรุนแรงแตกหักขนาดนั้นหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับ “ความรู้สึก” ของประชาชนคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พลังเงียบ” ที่ต้องพิจารณา พินิจพิเคราะห์ใช้วิจารณญาณให้ดีที่สุด เพราะถ้า “การปฏิวัติประชาชน” เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย “โฉมหน้าใหม่” ของประเทศชาติบ้านเมือง ทุกมิติสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ “ระบอบการเมืองการปกครอง” น่าจะมีโอกาสเปลี่ยนไปค่อนข้างแน่นอน
ประเทศไทยจะลงเอยด้วยเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้หรือไม่ อย่างไร ก็คงต้องติดตามกันต่อไป เนื่องด้วยสภาวการณ์เช่นนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนว่า “กลุ่มเสื้อแดง” คิดอะไรกันอยู่กับ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” โดยเฉพาะคุณทักษิณ!
เอาล่ะ! มาว่ากันในเดือนเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยกันดีกว่า เนื่องด้วยเดือนเมษายน เป็นเดือนที่คนไทยทั่วไปจะถือเป็น “เดือนพักร้อน-เดือนพักผ่อน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมี “วันหยุด” ยาวหลายวัน
เริ่มตั้งแต่ “วันจักรี-วันที่ 6 เมษายน” ของทุกปี จะเป็นวันรำลึกถึง “ราชวงศ์จักรี” ซึ่งเป็นราชวงศ์ ครองราชย์อยู่กับสมัยรัตนโกสินทร์มายาวนาน 200 กว่าปี เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับพสกนิกรชาวไทยได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข พร้อมทั้งเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปกปักรักษาอธิปไตยไม่ตกเป็น “เมืองขึ้น-อาณานิคม” ให้กับชาติใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง “เอกราช” ที่ประเทศไทยรักษาไว้ ก็เพราะพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
วันหยุดยาวที่ผ่านมา คนไทยได้สบโอกาสพักผ่อน หรือไม่ก็เดินทางออกจากบ้านไปจับจ่ายใช้สอย เที่ยวกับสารพัดงานใหญ่ๆ ที่จัดขึ้น อาทิ “ไทยรวมพลัง กู้เศรษฐกิจชาติ” ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยกระทรวงพาณิชย์เป็น “แม่งาน” หรือไม่ก็งานกาชาด
บางครอบครัวต่างก็ออกมาท่องเที่ยว “ทำบุญไหว้พระ 9 วัด” ตามการรณรงค์ของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง หรือใครจะคิดล้มล้างชาติบ้านเมือง เพื่อสถาปนาใครหรือกลุ่มใดก็ตามแต่ แต่ ททท.มิเคยหยุดยั้งที่เพียรพยายามจะให้ประเทศเป็น “สยามเมืองยิ้ม!” ให้จงได้ ตลอดจนเชิญชวนให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เที่ยวไทยให้จงได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” ด้วยการให้ “คนไทยเที่ยวไทย” ไม่ว่าจะออกไปเดินเล่นชอปปิ้งตามศูนย์การค้า หรือท่องเที่ยวภายในกรุงเทพมหานคร และ/หรือจังหวัดใกล้เคียง เดินทางเช้าไปเย็นกลับ ก็สามารถกระตุ้นการหมุนเวียนของเม็ดเงินให้เกิดแก่ “ภาคการผลิต-ภาคบริโภค-ภาคบริการ” ได้อย่างเพียงพอแล้ว
ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น แทบไม่ต้องกล่าวถึง ที่ ททท.ได้เดินสายไปทั่วโลก ไม่เว้นสัปดาห์ จนปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นกับประเทศไทย จึงเริ่มทยอยเดินทางกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยเฉพาะชาวยุโรป ที่เที่ยวบินของ “การบินไทย” แน่นเอียดทุกเที่ยวบิน ทั้งขาเข้าและขาออก
นักท่องเที่ยวชาวจีน ก็เริ่มทยอยเดินทางกลับมาท่องเที่ยวที่บ้านเราเยอะกว่าเดิม แต่ที่แปลกใจคือ นักท่องเที่ยว “ชาวแดนภารตะ-อินเดีย” ก็มาท่องเที่ยวบ้านเรามากกว่าในอดีต ด้วยการมารักษาพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ เนื่องด้วย “มาตรฐานการบริการ” จะมีคุณภาพมากกว่าบ้านเมืองเขา แม้แต่ชาวตะวันออกกลาง ที่มักใช้บริการโรงพยาบาลไทยพร้อมท่องเที่ยวอย่างไม่เคยขาดสาย ยาวนานประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
ทั้งหลายทั้งปวง ที่ทำให้ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” กลับมาสู่เกือบสภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว ก็ต้องเรียนตามตรงว่า การทำงานอย่างหนักของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ทั้งนี้ น่าเสียดายอย่างมากที่ท่านผู้ว่าฯ พรศิริ มโนหาญ ได้ผ่านพ้นการปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯ ไปแล้ว เนื่องด้วยการเกษียณอายุ ทั้งๆ ที่ท่านผู้ว่าฯ พรศิริ ยังฟิตทำงานให้ ททท.ไปได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
นับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป ชาวไทยทุกคนจะร่วมเฉลิมฉลอง “เทศกาลสงกรานต์” หรือ “ปีใหม่ไทย” ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีทางการคำนวณตามหลักคัมภีร์สุริยยาตร์ กำหนดวันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช และเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก”
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า “สงครามน้ำ”
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์ องค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว มีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันเกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ดังที่ได้กล่าวกันไปแล้วว่า “วันสงกรานต์” นอกเหนือจากจะเป็นวันปีใหม่ไทยแล้ว ยังนับว่าเป็น “วันครอบครัว” ไปด้วย เพื่อให้ทุกคนในสมาชิกครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งรดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อาทิ ปู่ย่าตายาย บุพการี (พ่อแม่) และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตลอดจนครูบาอาจารย์
การทำพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ด้วยการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ และการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุษด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น “วันสงกรานต์” นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่ทุกคนจะต้องกลับภูมิลำเนาเพื่อไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ และทำบุญไหว้พระ
คำขวัญวันสงกรานต์เพิ่งจะเริ่มใช้ในปี 2552 เป็นปีแรก โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า “สงกรานต์ประสานสามัคคี สืบทอดประเพณี ทุกชีวีปลอดภัย” จากคำขวัญข้างต้น เราแทบไม่ต้องแปลเลยว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ เรียกร้องอะไรจากคนไทย
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ได้รณรงค์ “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” เพื่อให้คนไทยได้ท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งจากใกล้บ้านและไกลบ้านออกไป โดยกระจายจุดท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ โดยที่กรุงเทพฯ จะเน้นที่ถนนราชดำเนิน ท้องสนามหลวง และถนนข้าวสาร ที่ได้รับทราบมาว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจองที่พักเต็มหมดเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ททท.ได้โหมโรงให้ไปขอพรทำบุญไหว้พระตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เท่ากับเป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเมืองไทย ก็ต้องขอขอบคุณ “การทำงานที่แข็งขัน-ไม่ย่อท้อ!” ของ ททท.มาโดยตลอด
น่าเสียดายอย่างเดียวที่ “วิกฤตการเมือง” ที่กำลังถูกปลุกระดมประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมกับ “กับดักการเมือง” กับ “กลุ่มเสื้อแดง” เพื่อก่อให้เกิดการเผชิญหน้า จนถึงขั้นอาจมีการปะทะกันเกิดขึ้นระหว่างคนไทยกันเอง แทนที่จะร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลอันเป็นมงคลของปีใหม่ไทย ที่ต้อง “ร่วมรักสามัคคี” เป็นการ “สาดน้ำขอพร” แทน “การสาดเลือด!”
อย่างไรก็ตาม ต้องขอวิงวอนให้คนไทยอย่าได้หลงแก่ “ความคิด” กับ “การปฏิวัติประชาชน” ที่มีความพยายามก่อให้เกิดขึ้น โดยอาจเห็นแก่อามิสสินจ้าง หรือการล้างสมองด้วย “ข้อมูลผิด!”
ก็ขอให้คนไทยรักกัน พร้อมร่วมเฉลิมฉลอง “ความเป็นไทย” โดยไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น จากความพยายามยั่วยุปลุกระดมของ “คนไร้แผ่นดิน”
ขอขอบคุณ ททท.!
นึกไปนึกมา คล้ายๆ กับจะประกาศเป็น “การปฏิวัติ (Revolution)” ที่เคยเกิดขึ้นมาในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัส แห่งรัสเซีย เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ “การโค่นล้มสถาบันราชวงศ์จีน” ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.1949 ที่เรียกว่า “ปฏิวัติวัฒนธรรม (Culteral Revolution)” จากพรรคคุมมินตั๋ง หรือ “คอมมิวนิสต์จีน” ที่เป็น “การปฏิวัติประชาชน” เฉกเช่นที่คุณทักษิณ ประกาศปลุกระดมเมื่อวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จะเกิดขึ้นถึงขั้นรุนแรงแตกหักขนาดนั้นหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับ “ความรู้สึก” ของประชาชนคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พลังเงียบ” ที่ต้องพิจารณา พินิจพิเคราะห์ใช้วิจารณญาณให้ดีที่สุด เพราะถ้า “การปฏิวัติประชาชน” เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย “โฉมหน้าใหม่” ของประเทศชาติบ้านเมือง ทุกมิติสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ “ระบอบการเมืองการปกครอง” น่าจะมีโอกาสเปลี่ยนไปค่อนข้างแน่นอน
ประเทศไทยจะลงเอยด้วยเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้หรือไม่ อย่างไร ก็คงต้องติดตามกันต่อไป เนื่องด้วยสภาวการณ์เช่นนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนว่า “กลุ่มเสื้อแดง” คิดอะไรกันอยู่กับ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” โดยเฉพาะคุณทักษิณ!
เอาล่ะ! มาว่ากันในเดือนเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยกันดีกว่า เนื่องด้วยเดือนเมษายน เป็นเดือนที่คนไทยทั่วไปจะถือเป็น “เดือนพักร้อน-เดือนพักผ่อน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมี “วันหยุด” ยาวหลายวัน
เริ่มตั้งแต่ “วันจักรี-วันที่ 6 เมษายน” ของทุกปี จะเป็นวันรำลึกถึง “ราชวงศ์จักรี” ซึ่งเป็นราชวงศ์ ครองราชย์อยู่กับสมัยรัตนโกสินทร์มายาวนาน 200 กว่าปี เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับพสกนิกรชาวไทยได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข พร้อมทั้งเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปกปักรักษาอธิปไตยไม่ตกเป็น “เมืองขึ้น-อาณานิคม” ให้กับชาติใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง “เอกราช” ที่ประเทศไทยรักษาไว้ ก็เพราะพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
วันหยุดยาวที่ผ่านมา คนไทยได้สบโอกาสพักผ่อน หรือไม่ก็เดินทางออกจากบ้านไปจับจ่ายใช้สอย เที่ยวกับสารพัดงานใหญ่ๆ ที่จัดขึ้น อาทิ “ไทยรวมพลัง กู้เศรษฐกิจชาติ” ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยกระทรวงพาณิชย์เป็น “แม่งาน” หรือไม่ก็งานกาชาด
บางครอบครัวต่างก็ออกมาท่องเที่ยว “ทำบุญไหว้พระ 9 วัด” ตามการรณรงค์ของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง หรือใครจะคิดล้มล้างชาติบ้านเมือง เพื่อสถาปนาใครหรือกลุ่มใดก็ตามแต่ แต่ ททท.มิเคยหยุดยั้งที่เพียรพยายามจะให้ประเทศเป็น “สยามเมืองยิ้ม!” ให้จงได้ ตลอดจนเชิญชวนให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เที่ยวไทยให้จงได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” ด้วยการให้ “คนไทยเที่ยวไทย” ไม่ว่าจะออกไปเดินเล่นชอปปิ้งตามศูนย์การค้า หรือท่องเที่ยวภายในกรุงเทพมหานคร และ/หรือจังหวัดใกล้เคียง เดินทางเช้าไปเย็นกลับ ก็สามารถกระตุ้นการหมุนเวียนของเม็ดเงินให้เกิดแก่ “ภาคการผลิต-ภาคบริโภค-ภาคบริการ” ได้อย่างเพียงพอแล้ว
ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น แทบไม่ต้องกล่าวถึง ที่ ททท.ได้เดินสายไปทั่วโลก ไม่เว้นสัปดาห์ จนปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นกับประเทศไทย จึงเริ่มทยอยเดินทางกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยเฉพาะชาวยุโรป ที่เที่ยวบินของ “การบินไทย” แน่นเอียดทุกเที่ยวบิน ทั้งขาเข้าและขาออก
นักท่องเที่ยวชาวจีน ก็เริ่มทยอยเดินทางกลับมาท่องเที่ยวที่บ้านเราเยอะกว่าเดิม แต่ที่แปลกใจคือ นักท่องเที่ยว “ชาวแดนภารตะ-อินเดีย” ก็มาท่องเที่ยวบ้านเรามากกว่าในอดีต ด้วยการมารักษาพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ เนื่องด้วย “มาตรฐานการบริการ” จะมีคุณภาพมากกว่าบ้านเมืองเขา แม้แต่ชาวตะวันออกกลาง ที่มักใช้บริการโรงพยาบาลไทยพร้อมท่องเที่ยวอย่างไม่เคยขาดสาย ยาวนานประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
ทั้งหลายทั้งปวง ที่ทำให้ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” กลับมาสู่เกือบสภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว ก็ต้องเรียนตามตรงว่า การทำงานอย่างหนักของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ทั้งนี้ น่าเสียดายอย่างมากที่ท่านผู้ว่าฯ พรศิริ มโนหาญ ได้ผ่านพ้นการปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯ ไปแล้ว เนื่องด้วยการเกษียณอายุ ทั้งๆ ที่ท่านผู้ว่าฯ พรศิริ ยังฟิตทำงานให้ ททท.ไปได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
นับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป ชาวไทยทุกคนจะร่วมเฉลิมฉลอง “เทศกาลสงกรานต์” หรือ “ปีใหม่ไทย” ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีทางการคำนวณตามหลักคัมภีร์สุริยยาตร์ กำหนดวันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช และเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก”
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า “สงครามน้ำ”
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์ องค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว มีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันเกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ดังที่ได้กล่าวกันไปแล้วว่า “วันสงกรานต์” นอกเหนือจากจะเป็นวันปีใหม่ไทยแล้ว ยังนับว่าเป็น “วันครอบครัว” ไปด้วย เพื่อให้ทุกคนในสมาชิกครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งรดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อาทิ ปู่ย่าตายาย บุพการี (พ่อแม่) และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตลอดจนครูบาอาจารย์
การทำพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ด้วยการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ และการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุษด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น “วันสงกรานต์” นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่ทุกคนจะต้องกลับภูมิลำเนาเพื่อไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ และทำบุญไหว้พระ
คำขวัญวันสงกรานต์เพิ่งจะเริ่มใช้ในปี 2552 เป็นปีแรก โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า “สงกรานต์ประสานสามัคคี สืบทอดประเพณี ทุกชีวีปลอดภัย” จากคำขวัญข้างต้น เราแทบไม่ต้องแปลเลยว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ เรียกร้องอะไรจากคนไทย
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ได้รณรงค์ “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” เพื่อให้คนไทยได้ท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งจากใกล้บ้านและไกลบ้านออกไป โดยกระจายจุดท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ โดยที่กรุงเทพฯ จะเน้นที่ถนนราชดำเนิน ท้องสนามหลวง และถนนข้าวสาร ที่ได้รับทราบมาว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจองที่พักเต็มหมดเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ททท.ได้โหมโรงให้ไปขอพรทำบุญไหว้พระตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เท่ากับเป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเมืองไทย ก็ต้องขอขอบคุณ “การทำงานที่แข็งขัน-ไม่ย่อท้อ!” ของ ททท.มาโดยตลอด
น่าเสียดายอย่างเดียวที่ “วิกฤตการเมือง” ที่กำลังถูกปลุกระดมประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมกับ “กับดักการเมือง” กับ “กลุ่มเสื้อแดง” เพื่อก่อให้เกิดการเผชิญหน้า จนถึงขั้นอาจมีการปะทะกันเกิดขึ้นระหว่างคนไทยกันเอง แทนที่จะร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลอันเป็นมงคลของปีใหม่ไทย ที่ต้อง “ร่วมรักสามัคคี” เป็นการ “สาดน้ำขอพร” แทน “การสาดเลือด!”
อย่างไรก็ตาม ต้องขอวิงวอนให้คนไทยอย่าได้หลงแก่ “ความคิด” กับ “การปฏิวัติประชาชน” ที่มีความพยายามก่อให้เกิดขึ้น โดยอาจเห็นแก่อามิสสินจ้าง หรือการล้างสมองด้วย “ข้อมูลผิด!”
ก็ขอให้คนไทยรักกัน พร้อมร่วมเฉลิมฉลอง “ความเป็นไทย” โดยไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น จากความพยายามยั่วยุปลุกระดมของ “คนไร้แผ่นดิน”
ขอขอบคุณ ททท.!