ASTVผู้จัดการรายวัน- ส่งออกไตรมาสแรกปีนี้ยังโคม่า หลายประเทศชะลอการนำเข้า ส่งผลต่อการส่งออกไทยโดยตรง “พาณิชย์”หวังแผนอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกของ จี 20 วงเงิน 40 ล้านล้านบาท ช่วยฟื้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง “พรทิวา” สั่งอัดกิจกรรมดันส่งออก ลุยเจาะตลาดใหม่- โรดโชว์ ขณะที่เอกชนชี้ยังไม่เห็นทางสว่าง ร้องรัฐต้องมีมาตรการช่วยมากกว่านี้ ด้านผู้ประกอบการยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กัดฟันรักษาแรงงานประจำเอาไว้ให้นานสุด หลังล่าสุดชิ้นส่วนฯปลดไปแล้ว 2 หมื่นคน แต่หากคำสั่งซื้อครึ่งปีหลังยังไม่ฟื้น ยอมรับต้องปลดพนักงาน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) จะยังคงติดลบต่อเนื่องตัวเลข 2 หลัก เพราะในเดือนม.ค. การส่งออกติดลบ 26.5% เดือนก.พ.ติดลบ 11.3% เฉลี่ย 2 เดือนส่งออกติดลบแล้ว19.2% และในเดือนมี.ค.ที่จะมีการประกาศตัวเลขในปลายเดือนเม.ย.นี้ คงจะติดลบอีก เนื่องจากไม่มีการส่งออกทองคำที่สูงมากมาช่วยทำให้ยอดการส่งออกติดลบต่ำเหมือนเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากการประเมินหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในหลายๆ กลุ่มสินค้า ก็ออกมายอมรับว่า การส่งออกในปีนี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวติดลบ โดยเฉพาะภาคยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก ขณะที่สินค้าที่มีแนวโน้มยังคงส่งออกได้ดี เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไม่สูงมากนัก เช่น อาหาร ขณะที่สินค้าเกษตรของไทยที่เป็นความหวัง แม้จะส่งออกได้ดี แต่ราคาคงไม่ดีนัก
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการประเมินภาวการณ์นำเข้าของประเทศต่างๆในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่าหลายๆ ประเทศมีการนำเข้าลดลงอย่างมาก ซึ่งข้อมูลจาก Economic Intelligence Unit : EIU ล่าสุด ระบุว่า ปีนี้การนำเข้าของประเทศต่างๆ จะชะลอตัวลงมาก เช่น สหรัฐฯ นำเข้าติดลบ 19.8% จีน นำเข้า ติดลบ 7.9% ญี่ปุ่น นำเข้า ติดลบ 23.9% มาเลเซีย นำเข้าติดลบ 23.6% ฟิลิปปินส์ นำเข้า ติดลบ 25.1% สิงคโปร์ นำเข้าติดลบ 25.8% เวียดนาม นำเข้าติดลบ 42.1% ซึ่งผลจากการนำเข้าที่ลดลงนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะประเทศเหล่านี้ถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย
แนวโน้มการนำเข้าของหลายๆ ประเทศที่ติดลบ จะส่งผลให้ไทยส่งออกไปประเทศเหล่านั้นได้ลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกก็ยังไม่หมดหวังที่จะฟื้นตัว เพราะขณะนี้หลายๆ ประเทศได้มีมาตรการในการอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีเม็ดเงินลงไปมาก โอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวก็คงมีมากตามไปด้วย การบริโภคก็น่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และส่งผลทำให้มีความต้องการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ไทยก็จะกลับมาส่งออกได้มากขึ้น
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 2 กระทรวงพาณิชย์จะมีมาตรการผลักดันการส่งออกเพิ่มเติมออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะดำเนินการภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และจะพยายามของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล รวมทั้งจะหามาตรการใหม่ๆ มาช่วยสนับสนุนภาคการส่งออก เพื่อผลักดันการส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะขยายตัว 0-3%
สำหรับมาตรการใหม่ที่จะเร่งดำเนินการ เช่น การจัดทำโครงการ Thailand Best Friend เป็นการเชิญผู้นำเข้ารายใหญ่ ที่สั่งซื้อสินค้าไทยเดินทางมาไทย มาพบกับภาครัฐบาล และเอกชนของไทย ซึ่งจะมีการต้อนรับเป็นอย่างดี และกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น กำหนดจัดงานในวันที่ 22-27 มิ.ย.นี้ การจัดทำโครงการ New Market for Exporters (NME) เพื่อเพิ่มหรือทดแทนตลาดเก่าที่หายไป โดยจะมีการจัดคณะผู้แทนการค้าไปบุกเจาะตลาดใน 24 ประเทศ รวม 36 กิจกรรม รวมทั้งจะมีการจัดโรดโชว์ สร้างความเชื่อมั่นในไปยังประเทศต่างๆ 5 ครั้ง ได้แก่ กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ไนจีเรียและแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ จะเร่งดูแลในเรื่องสภาพคล่องให้กับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และกำลังจะให้มีความชัดเจนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป
หวังเงินอัดฉีดศก.โลกช่วยกระตุ้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ผลความสำเร็จจากการประชุม จี 20 ที่แต่ละประเทศจะมีการอัดเม็ดเงิน 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 40 ล้านล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก จะส่งผลดีต่อภาวะการส่งออกของประเทศไทยในไตรมาสหลังของปี และต่อเนื่องถึงปีหน้า แม้ว่าการส่งออกไตรมาสแรกมีแนวโน้มที่จะติดลบสูง แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะกระเตื้องขึ้นตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป โดยกลางเดือนเม.ย.นี้ จะประเมินตัวเลขการส่งออกอีกครั้ง
“ขณะนี้ยังมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หยุดซ้ำเติมประเทศไทย ด้วยการปลุกปั่นประชาชนให้เกิดความไม่สงบ เพราะจะเป็นการสร้างวิกฤตซ้อนวิกฤต ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน ในสภาวะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกร้ายแรงที่สุดในรอบ 70 ปี และจะทำให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนยากลำบาก ซึ่งผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ประชาชนในระดับรากหญ้า”นายอลงกรณ์กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกจะยังคงซบเซาไปตลาดไตรมาสที่ 1 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 2 เพราะไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้า ขณะที่สินค้าที่ค้างอยู่ในสต๊อก ผู้ส่งออกก็พยายามที่จะผลักดันการส่งออกให้หมด ซึ่งภาคเอกชนหวังที่ภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือภาคการส่งออกอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการดูแลเศรษฐกิจภายใน โดยต้องการให้ใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาช่วย การเสริมสภาพคล่อง การหาทางช่วยระบายสินค้าที่ค้างสต๊อก การบุกเจาะตลาดใหม่อย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมา รัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุนการส่งออกเพิ่มเติมเลย
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออกในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องมีกลยุทธ์และวิธีการใหม่ๆ มาเสริม เพราะผู้นำเข้าหลายๆ ประเทศเริ่มมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ทำให้การสั่งซื้อสินค้ามีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งไทยควรจะหาทางผลักดันการส่งออกผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่น การขายผ่านห้างสรรพสินค้า เช่น เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น โดยเจรจาให้มีการซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น เน้นสินค้าอาหารและเสื้อผ้า เพราะยังไงคนก็ต้องกินต้องใช้สินค้าเหล่านี้
ยานยนต์-ชิ้นส่วนฯจ่อปลดคน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ยังคงพยายามรักษาระดับแรงงานเอาไว้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะแรงงานฝีมือเนื่องจากหากเศรษฐกิจฟื้นตัวจะมีปัญหาในการฝึกอบรมแรงงานใหม่ อย่างไรก็ตาม หากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังไม่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปี หลังผู้ประกอบการก็อาจจะต้องเลิกจ้างพนักงานประจำลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย
"ถ้าเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง หรือประมาณไตรมาส 3-4 และในประเทศเองแรงซื้อก็ยังคงไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร ในที่สุดก็คงจะต้องเลิกจ้างพนักงานประจำลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีพนักงานในระบบมากสุดถึง 3.5 แสนคน และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกที่ต่อเนื่องทั้งยาง เหล็ก จึงต้องการให้รัฐเร่งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดการใช้จ่ายจริง เพราะเท่าที่ดูคนมีเงินพร้อมจะซื้อรถ แต่ยังไม่กล้า เพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ประกอบกับมีการเรียกงินดาวน์สูง ซึ่งเราเคยขอให้รัฐเข้ามาช่วยในเรื่องการค้ำประกันเงินดาวน์แล้ว" นายสุรพงษ์กล่าว
นายถาวร ชลัษเฐียร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ในขณะนี้ ได้รับผลกระทบอย่างมาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหายไปถึง 50 % ส่งผลทำให้บริษัทต่างๆ ต้องเลิกจ้างพนักงานชั่วคราวมากกว่า 2 หมื่นคนแล้ว จากพนักงานประจำและชั่วคราวที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 3.5 แสนคน นอกจากนี้ บางบริษัทยังได้ปรับลดเวลาการผลิตลง จากเคยทำ 6 วันต่อสัปดาห์เหลือ 3 -4 วันต่อสัปดาห์
"แม้เจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ และกลางยังคงจ่ายเงินให้พนักงาน แต่โดยภาพรวมพนักงานคงอยู่ลำบาก เพราะส่วนใหญ่ได้เงินเดือนประมาณ 5 - 6 พันบาท แต่ค่าใช้จ่ายภาพรวมไม่ได้ลดลงที่ผ่านมาอยู่ได้เพราะเงินโอที และส่วนหนึ่งก็ต้องการให้นายจ้างบอกให้ออกเขาจะได้ออกไปรับเงินประกันการว่างงาน 8 เดือนๆ ละ 2 พันบาท ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และไปเข้าโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลต่อ ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นว่ารัฐบาลควรจะเข้ามาดูแลเราโดยตรงหากต้องการรักษาแรงงาน" นายถาวรกล่าว
นายถาวร กล่าว่า หากเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวมีความกังวลว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยจะไม่สามารถสู้ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามได้ เพราะเราจะต้องรับพนักงานใหม่เข้ามาและต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เพื่อสร้างความชำนาญในการผลิตชิ้นส่วน ขณะนี้อินโดนีเซียและมาเลเซียกำลังผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้มาก เพราะต้องการแย่งฐานอำนาจการผลิตจากไทยเหมือนกัน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) จะยังคงติดลบต่อเนื่องตัวเลข 2 หลัก เพราะในเดือนม.ค. การส่งออกติดลบ 26.5% เดือนก.พ.ติดลบ 11.3% เฉลี่ย 2 เดือนส่งออกติดลบแล้ว19.2% และในเดือนมี.ค.ที่จะมีการประกาศตัวเลขในปลายเดือนเม.ย.นี้ คงจะติดลบอีก เนื่องจากไม่มีการส่งออกทองคำที่สูงมากมาช่วยทำให้ยอดการส่งออกติดลบต่ำเหมือนเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากการประเมินหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในหลายๆ กลุ่มสินค้า ก็ออกมายอมรับว่า การส่งออกในปีนี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวติดลบ โดยเฉพาะภาคยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก ขณะที่สินค้าที่มีแนวโน้มยังคงส่งออกได้ดี เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไม่สูงมากนัก เช่น อาหาร ขณะที่สินค้าเกษตรของไทยที่เป็นความหวัง แม้จะส่งออกได้ดี แต่ราคาคงไม่ดีนัก
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการประเมินภาวการณ์นำเข้าของประเทศต่างๆในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่าหลายๆ ประเทศมีการนำเข้าลดลงอย่างมาก ซึ่งข้อมูลจาก Economic Intelligence Unit : EIU ล่าสุด ระบุว่า ปีนี้การนำเข้าของประเทศต่างๆ จะชะลอตัวลงมาก เช่น สหรัฐฯ นำเข้าติดลบ 19.8% จีน นำเข้า ติดลบ 7.9% ญี่ปุ่น นำเข้า ติดลบ 23.9% มาเลเซีย นำเข้าติดลบ 23.6% ฟิลิปปินส์ นำเข้า ติดลบ 25.1% สิงคโปร์ นำเข้าติดลบ 25.8% เวียดนาม นำเข้าติดลบ 42.1% ซึ่งผลจากการนำเข้าที่ลดลงนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะประเทศเหล่านี้ถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย
แนวโน้มการนำเข้าของหลายๆ ประเทศที่ติดลบ จะส่งผลให้ไทยส่งออกไปประเทศเหล่านั้นได้ลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกก็ยังไม่หมดหวังที่จะฟื้นตัว เพราะขณะนี้หลายๆ ประเทศได้มีมาตรการในการอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีเม็ดเงินลงไปมาก โอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวก็คงมีมากตามไปด้วย การบริโภคก็น่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และส่งผลทำให้มีความต้องการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ไทยก็จะกลับมาส่งออกได้มากขึ้น
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 2 กระทรวงพาณิชย์จะมีมาตรการผลักดันการส่งออกเพิ่มเติมออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะดำเนินการภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และจะพยายามของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล รวมทั้งจะหามาตรการใหม่ๆ มาช่วยสนับสนุนภาคการส่งออก เพื่อผลักดันการส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะขยายตัว 0-3%
สำหรับมาตรการใหม่ที่จะเร่งดำเนินการ เช่น การจัดทำโครงการ Thailand Best Friend เป็นการเชิญผู้นำเข้ารายใหญ่ ที่สั่งซื้อสินค้าไทยเดินทางมาไทย มาพบกับภาครัฐบาล และเอกชนของไทย ซึ่งจะมีการต้อนรับเป็นอย่างดี และกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น กำหนดจัดงานในวันที่ 22-27 มิ.ย.นี้ การจัดทำโครงการ New Market for Exporters (NME) เพื่อเพิ่มหรือทดแทนตลาดเก่าที่หายไป โดยจะมีการจัดคณะผู้แทนการค้าไปบุกเจาะตลาดใน 24 ประเทศ รวม 36 กิจกรรม รวมทั้งจะมีการจัดโรดโชว์ สร้างความเชื่อมั่นในไปยังประเทศต่างๆ 5 ครั้ง ได้แก่ กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ไนจีเรียและแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ จะเร่งดูแลในเรื่องสภาพคล่องให้กับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และกำลังจะให้มีความชัดเจนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป
หวังเงินอัดฉีดศก.โลกช่วยกระตุ้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ผลความสำเร็จจากการประชุม จี 20 ที่แต่ละประเทศจะมีการอัดเม็ดเงิน 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 40 ล้านล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก จะส่งผลดีต่อภาวะการส่งออกของประเทศไทยในไตรมาสหลังของปี และต่อเนื่องถึงปีหน้า แม้ว่าการส่งออกไตรมาสแรกมีแนวโน้มที่จะติดลบสูง แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะกระเตื้องขึ้นตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป โดยกลางเดือนเม.ย.นี้ จะประเมินตัวเลขการส่งออกอีกครั้ง
“ขณะนี้ยังมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หยุดซ้ำเติมประเทศไทย ด้วยการปลุกปั่นประชาชนให้เกิดความไม่สงบ เพราะจะเป็นการสร้างวิกฤตซ้อนวิกฤต ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน ในสภาวะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกร้ายแรงที่สุดในรอบ 70 ปี และจะทำให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนยากลำบาก ซึ่งผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ประชาชนในระดับรากหญ้า”นายอลงกรณ์กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกจะยังคงซบเซาไปตลาดไตรมาสที่ 1 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 2 เพราะไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้า ขณะที่สินค้าที่ค้างอยู่ในสต๊อก ผู้ส่งออกก็พยายามที่จะผลักดันการส่งออกให้หมด ซึ่งภาคเอกชนหวังที่ภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือภาคการส่งออกอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการดูแลเศรษฐกิจภายใน โดยต้องการให้ใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาช่วย การเสริมสภาพคล่อง การหาทางช่วยระบายสินค้าที่ค้างสต๊อก การบุกเจาะตลาดใหม่อย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมา รัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุนการส่งออกเพิ่มเติมเลย
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออกในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องมีกลยุทธ์และวิธีการใหม่ๆ มาเสริม เพราะผู้นำเข้าหลายๆ ประเทศเริ่มมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ทำให้การสั่งซื้อสินค้ามีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งไทยควรจะหาทางผลักดันการส่งออกผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่น การขายผ่านห้างสรรพสินค้า เช่น เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น โดยเจรจาให้มีการซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น เน้นสินค้าอาหารและเสื้อผ้า เพราะยังไงคนก็ต้องกินต้องใช้สินค้าเหล่านี้
ยานยนต์-ชิ้นส่วนฯจ่อปลดคน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ยังคงพยายามรักษาระดับแรงงานเอาไว้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะแรงงานฝีมือเนื่องจากหากเศรษฐกิจฟื้นตัวจะมีปัญหาในการฝึกอบรมแรงงานใหม่ อย่างไรก็ตาม หากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังไม่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปี หลังผู้ประกอบการก็อาจจะต้องเลิกจ้างพนักงานประจำลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย
"ถ้าเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง หรือประมาณไตรมาส 3-4 และในประเทศเองแรงซื้อก็ยังคงไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร ในที่สุดก็คงจะต้องเลิกจ้างพนักงานประจำลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีพนักงานในระบบมากสุดถึง 3.5 แสนคน และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกที่ต่อเนื่องทั้งยาง เหล็ก จึงต้องการให้รัฐเร่งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดการใช้จ่ายจริง เพราะเท่าที่ดูคนมีเงินพร้อมจะซื้อรถ แต่ยังไม่กล้า เพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ประกอบกับมีการเรียกงินดาวน์สูง ซึ่งเราเคยขอให้รัฐเข้ามาช่วยในเรื่องการค้ำประกันเงินดาวน์แล้ว" นายสุรพงษ์กล่าว
นายถาวร ชลัษเฐียร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ในขณะนี้ ได้รับผลกระทบอย่างมาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหายไปถึง 50 % ส่งผลทำให้บริษัทต่างๆ ต้องเลิกจ้างพนักงานชั่วคราวมากกว่า 2 หมื่นคนแล้ว จากพนักงานประจำและชั่วคราวที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 3.5 แสนคน นอกจากนี้ บางบริษัทยังได้ปรับลดเวลาการผลิตลง จากเคยทำ 6 วันต่อสัปดาห์เหลือ 3 -4 วันต่อสัปดาห์
"แม้เจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ และกลางยังคงจ่ายเงินให้พนักงาน แต่โดยภาพรวมพนักงานคงอยู่ลำบาก เพราะส่วนใหญ่ได้เงินเดือนประมาณ 5 - 6 พันบาท แต่ค่าใช้จ่ายภาพรวมไม่ได้ลดลงที่ผ่านมาอยู่ได้เพราะเงินโอที และส่วนหนึ่งก็ต้องการให้นายจ้างบอกให้ออกเขาจะได้ออกไปรับเงินประกันการว่างงาน 8 เดือนๆ ละ 2 พันบาท ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และไปเข้าโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลต่อ ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นว่ารัฐบาลควรจะเข้ามาดูแลเราโดยตรงหากต้องการรักษาแรงงาน" นายถาวรกล่าว
นายถาวร กล่าว่า หากเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวมีความกังวลว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยจะไม่สามารถสู้ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามได้ เพราะเราจะต้องรับพนักงานใหม่เข้ามาและต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เพื่อสร้างความชำนาญในการผลิตชิ้นส่วน ขณะนี้อินโดนีเซียและมาเลเซียกำลังผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้มาก เพราะต้องการแย่งฐานอำนาจการผลิตจากไทยเหมือนกัน