ASTVผู้จัดการรายวัน - "โฆสิต" เผยแบงก์กรุงเทพยังยืนเป้าหมายจีดีพีเดิม 0% ถึงติดลบ 2% เหตุยังไม่มีปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ย้ำชัดนโยบายดอกเบี้ยไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จับตาท่าทีทางการเมือง ชี้เกิดเหตุรุนแรงกระทบเศรษฐกิจแน่ ด้านเอ็มดีแบงก์กรุงไทยคาด กนง.ลดดอกเบี้ย 0.50% โชว์สินเชื่อไตรมาสแรกโตตามเป้าได้สินเชื่อรัฐหนุน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารกรุงเทพยังไม่มีการพิจารณาปรับประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลงแต่อย่างใด โดยยังคงมองอยู่ที่ 0% ถึงติดลบ 2 % เนื่องจากขณะนี้มองว่าปัจจัยที่ชี้วัดการขยายตัวของจีดีพียังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยในขณะนี้ธนาคารไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องทบทวนจีดีพีทุกไตรมาสแต่การทบทวนนั้นจะทำตามปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากกว่า
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ในซีกของภาคธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวกันมากขึ้น และการขับเคลื่อนจะมาจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก
แต่ปัจจัยภายในประเทศที่จะเป็นแรงช่วยผลักดันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นง่าย
"การกระตุ้นให้คนใช้จ่ายในประเทศนั้นมันเป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังเป็นนโยบายที่ต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือก แม้ว่ามันจะได้ผลเพียงชั่วคราวก็ตาม แต่ในช่วงที่ผมเป็นรัฐมนตรีแต่ไม่ได้ใช้มาตรการพวกนี้เพราะมันไม่เหมาะสมในช่วงเวลานั้น แต่ตอนนี้มันจำเป็นแม้จะรู้ว่าจะได้ผลไม่มากก็ตาม"
ส่วนเรื่องของดอกเบี้ยจะไปทางไหน นั้นที่ผ่านมาก็เห็นกันแล้วว่าการใช้นโนบายอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะในขณะนี้ทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยจนเต็มเพดานไปหมดแล้ว ซึ่งในที่สุดของผลของนโยบายนี้ประเทศไทยก็คงจะเป็นเหมือนประเทศอื่น
ส่วนปัญหาในภาคการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันเศรษฐกิจ แต่จะทำให้แย่มากแค่ไหนก็ต้องดูในเรื่องของความขัดแย้งว่าจะมีความรุนแรงขนาดไหน ซึ่งหากรุนแรงมากก็ย่อมจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน
นายโฆสิตกล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้มีการปรับค่าธรรมเนียมการให้บริการใด ๆ แต่ที่ผ่านมาก็มีบ้าง เพราะหน้าที่ของธนาคารคือการดูแลลูกค้าเงินฝาก ส่วนการเติบโตของสินเชื่อก็ยอมรับว่าติดลบ โดยธนาคารยังได้มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสำนักธุรกิจให้เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจกับลูกค้า เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
ส่วนการทำธุรกิจเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) เพิ่มนั้น ธนาคารยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีความสนใจที่จะทำธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีความเร่งด่วน แต่สิ่งที่ธนาคารต้องการทำคือการเปลี่ยนแปลงยกระดับขีดความสามารถของธนาคารและการเป็นธนาคารท้องถิ่นในประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายน ที่จะถึงนี้ว่าที่ประชุมน่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% ส่วนจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของปีนี้หรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องติดตามและรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
**โชว์สินเชื่อไตรมาส 1 โตสวน ศก.**
ส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารไตรมาสแรกของปี ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ที่ระดับ 2% จากเป้าสินเชื่อทั้งปี 2552 ตั้งไว้ที่ 5-6% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมียอดการเติบโตสินเชื่อหดตัว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารเนื่องมาจาก ธนาคารยังคงปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ และยอดการขอสินเชื่อจะลดลงบ้าง
"สินเชื่อของธนาคารที่เติบโตขึ้นไตรมาสแรกนั้นมาจาก 3 ส่วน คือ ส่วนของสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตเฉลี่ย 10% เงินกู้ที่ธนาคารปล่อยไปเมื่อปลายปี 2551 แล้วมีลูกค้าได้ทยอยเบิกใช้เพิ่มขึ้น และสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาครัฐจากการที่ธนาคารสามารถเข้าไปประมูลโครงการต่างๆของภาครัฐได้ โดยขณะนี้ธนาคารมียอดสินเชื่อภาครัฐอยู่ในฐานประมาณ 10% ดังนั้น จึงทำให้สินเชื่อรวมของธนาคารเติบโตได้ตามแผนที่ธนาคารวางไว้"นายอภิศักดิ์กล่าว
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารนั้น ขณะนี้ธนาคารยังสามารถรักษาสัดส่วนของหนี้หลังหักสำรอง ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2551 ที่มีอยู่ประมาณ 5% กว่าๆ โดยในส่วนของปริมาณหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารนั้น ถือว่าเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งสาเหตุของการเพิ่มขึ้นก็มาจากการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ขณะที่เอ็นพีแอลทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ก็เชื่อว่าธนาคารเหล่านั้นจะสามารถจัดการได้
สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาโดยการยืดหนี้นั้น ขณะนี้ธนาคารก็ยังดำเนินการตามวิธีดังกล่าวให้กับลูกค้าที่เข้ามาเจรจาอยู่ โดยส่วนใหญ่ระยะเวลาการยืดหนี้จะอยู่ในช่วง 2-3 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจน่าจะชะลอไปประมาณ 2-3 ปี ซึ่งแนวทางในการปรับโครงสร้างนั้นก็ต้องพิจารณาเป็นรากรณีไป
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจุบันพบว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจส่งออกมีลูกค้ามาคืนหนี้มากขึ้น เพราะลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา จึงทำให้ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้สินเชื่อ นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อเพื่อการส่งออกก็ชะลอตัวลงด้วย แต่ธนาคารก็พยายามช่วยเหลือลูกค้าในการหาตลาดใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการทำธุรกิจ
**ยันพร้อมปล่อยกู้การบินไทย**
อย่างไรก็ตามในส่วนของการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI นั้นทางธนาคารก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาแต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการเจรจาอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวประกอบกับธนาคารยังไม่เห็นแผนการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยเลย ซึ่งหากพิจารณาแผนที่ออกมาแล้วมีความเป็นไปได้ธนาคารก็ยินดีปล่อยกู้
"มาตรฐานการปล่อยกู้ของธนาคารที่มีต่อบริษัทการบินไทยยืนยันว่าเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนซึ่งธนาคารต้องดูว่าเมื่อให้กู้ไปแล้วลูกค้าบริษัทนั้นมีวคามสามารถในการผ่อนชำระมากแค่ไหน" นายอภิศักดิ์กล่าว.
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารกรุงเทพยังไม่มีการพิจารณาปรับประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลงแต่อย่างใด โดยยังคงมองอยู่ที่ 0% ถึงติดลบ 2 % เนื่องจากขณะนี้มองว่าปัจจัยที่ชี้วัดการขยายตัวของจีดีพียังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยในขณะนี้ธนาคารไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องทบทวนจีดีพีทุกไตรมาสแต่การทบทวนนั้นจะทำตามปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากกว่า
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ในซีกของภาคธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวกันมากขึ้น และการขับเคลื่อนจะมาจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก
แต่ปัจจัยภายในประเทศที่จะเป็นแรงช่วยผลักดันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นง่าย
"การกระตุ้นให้คนใช้จ่ายในประเทศนั้นมันเป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังเป็นนโยบายที่ต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือก แม้ว่ามันจะได้ผลเพียงชั่วคราวก็ตาม แต่ในช่วงที่ผมเป็นรัฐมนตรีแต่ไม่ได้ใช้มาตรการพวกนี้เพราะมันไม่เหมาะสมในช่วงเวลานั้น แต่ตอนนี้มันจำเป็นแม้จะรู้ว่าจะได้ผลไม่มากก็ตาม"
ส่วนเรื่องของดอกเบี้ยจะไปทางไหน นั้นที่ผ่านมาก็เห็นกันแล้วว่าการใช้นโนบายอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะในขณะนี้ทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยจนเต็มเพดานไปหมดแล้ว ซึ่งในที่สุดของผลของนโยบายนี้ประเทศไทยก็คงจะเป็นเหมือนประเทศอื่น
ส่วนปัญหาในภาคการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันเศรษฐกิจ แต่จะทำให้แย่มากแค่ไหนก็ต้องดูในเรื่องของความขัดแย้งว่าจะมีความรุนแรงขนาดไหน ซึ่งหากรุนแรงมากก็ย่อมจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน
นายโฆสิตกล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้มีการปรับค่าธรรมเนียมการให้บริการใด ๆ แต่ที่ผ่านมาก็มีบ้าง เพราะหน้าที่ของธนาคารคือการดูแลลูกค้าเงินฝาก ส่วนการเติบโตของสินเชื่อก็ยอมรับว่าติดลบ โดยธนาคารยังได้มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสำนักธุรกิจให้เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจกับลูกค้า เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
ส่วนการทำธุรกิจเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) เพิ่มนั้น ธนาคารยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีความสนใจที่จะทำธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีความเร่งด่วน แต่สิ่งที่ธนาคารต้องการทำคือการเปลี่ยนแปลงยกระดับขีดความสามารถของธนาคารและการเป็นธนาคารท้องถิ่นในประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายน ที่จะถึงนี้ว่าที่ประชุมน่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% ส่วนจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของปีนี้หรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องติดตามและรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
**โชว์สินเชื่อไตรมาส 1 โตสวน ศก.**
ส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารไตรมาสแรกของปี ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ที่ระดับ 2% จากเป้าสินเชื่อทั้งปี 2552 ตั้งไว้ที่ 5-6% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมียอดการเติบโตสินเชื่อหดตัว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารเนื่องมาจาก ธนาคารยังคงปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ และยอดการขอสินเชื่อจะลดลงบ้าง
"สินเชื่อของธนาคารที่เติบโตขึ้นไตรมาสแรกนั้นมาจาก 3 ส่วน คือ ส่วนของสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตเฉลี่ย 10% เงินกู้ที่ธนาคารปล่อยไปเมื่อปลายปี 2551 แล้วมีลูกค้าได้ทยอยเบิกใช้เพิ่มขึ้น และสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาครัฐจากการที่ธนาคารสามารถเข้าไปประมูลโครงการต่างๆของภาครัฐได้ โดยขณะนี้ธนาคารมียอดสินเชื่อภาครัฐอยู่ในฐานประมาณ 10% ดังนั้น จึงทำให้สินเชื่อรวมของธนาคารเติบโตได้ตามแผนที่ธนาคารวางไว้"นายอภิศักดิ์กล่าว
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารนั้น ขณะนี้ธนาคารยังสามารถรักษาสัดส่วนของหนี้หลังหักสำรอง ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2551 ที่มีอยู่ประมาณ 5% กว่าๆ โดยในส่วนของปริมาณหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารนั้น ถือว่าเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งสาเหตุของการเพิ่มขึ้นก็มาจากการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ขณะที่เอ็นพีแอลทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ก็เชื่อว่าธนาคารเหล่านั้นจะสามารถจัดการได้
สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาโดยการยืดหนี้นั้น ขณะนี้ธนาคารก็ยังดำเนินการตามวิธีดังกล่าวให้กับลูกค้าที่เข้ามาเจรจาอยู่ โดยส่วนใหญ่ระยะเวลาการยืดหนี้จะอยู่ในช่วง 2-3 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจน่าจะชะลอไปประมาณ 2-3 ปี ซึ่งแนวทางในการปรับโครงสร้างนั้นก็ต้องพิจารณาเป็นรากรณีไป
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจุบันพบว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจส่งออกมีลูกค้ามาคืนหนี้มากขึ้น เพราะลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา จึงทำให้ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้สินเชื่อ นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อเพื่อการส่งออกก็ชะลอตัวลงด้วย แต่ธนาคารก็พยายามช่วยเหลือลูกค้าในการหาตลาดใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการทำธุรกิจ
**ยันพร้อมปล่อยกู้การบินไทย**
อย่างไรก็ตามในส่วนของการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI นั้นทางธนาคารก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาแต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการเจรจาอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวประกอบกับธนาคารยังไม่เห็นแผนการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยเลย ซึ่งหากพิจารณาแผนที่ออกมาแล้วมีความเป็นไปได้ธนาคารก็ยินดีปล่อยกู้
"มาตรฐานการปล่อยกู้ของธนาคารที่มีต่อบริษัทการบินไทยยืนยันว่าเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนซึ่งธนาคารต้องดูว่าเมื่อให้กู้ไปแล้วลูกค้าบริษัทนั้นมีวคามสามารถในการผ่อนชำระมากแค่ไหน" นายอภิศักดิ์กล่าว.