ผู้ว่าการ ธปท.สังสัญญาณหั่น ดบ.ลงอีกรอบ ยอมรับ NPL แบงก์พุ่งสูงขึ้น ตามภาวะ ศก.ชะลอตัว พร้อมร่วมมือ กนง.ดุแล ดบ.นโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณจากสถาบันการเงินว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะปรับเพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นปกติตามภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะการคืนหนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการที่ ธปท.ได้กำหนดเกณฑ์ในการควบคุมสถาบันการเงินที่เข้มงวดมาโดยตลอด ทำให้ระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ทำให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอต่อการรับมือเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นได้ และจะไม่เกิดปัญหากับสถาบันการเงินไทยเหมือนกับเมื่อปี 2540 อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ผลเร็วและดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็จะสามารถลดปัญหาเอ็นพีแอลที่ปรับเพิ่มขึ้นได้
“ยอมรับว่า ภาพรวมสินเชื่อใหม่ทั้งระบบนั้นชะลอตัวลง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติตามสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง มีเพียงการขอสินเชื่อสำหรับสต๊อกสินค้าที่ยังเป็นที่ต้องการ เพราะผลิตสินค้ามาแล้วขายไม่ออก ก็ต้องขอสินเชื่อเพิ่มมาบริหารสต๊อกสินค้า”
นางธาริษา กล่าวด้วยว่า ธปท.และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พร้อมดำเนินนโยบายดอกเบี้ย เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น สามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ลงได้บางส่วน แต่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้ทันที เพราะยังคงมีต้นทุนเงินฝากประจำระยะยาวที่ยังไม่ครบชำระทั้งหมด และการลดอัตราดอกเบี้ยคงไม่สามารถกระตุ้นให้การใช้จ่ายและการลงทุนดีขึ้นได้ทั้งหมด ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวมีโอกาสปรับสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายในการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล โดยยืนยันว่าปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระดับสูง แต่คงไม่ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์หันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแทนการนำเงินไปปล่อยสินเชื่อลงสู่ระบบ เพราะการปล่อยสินเชื่อนั้น ธนาคารจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล
ขณะที่ความคืบหน้าที่กรณีที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับภาระดอกเบี้ยของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแทนกระทรงการคลังนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับกระทรวงการคลัง ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานยังคงต้องศึกษารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องของตัวเอง ซึ่งยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจาณาในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะทางด้านกฎหมาย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณจากสถาบันการเงินว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะปรับเพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นปกติตามภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะการคืนหนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการที่ ธปท.ได้กำหนดเกณฑ์ในการควบคุมสถาบันการเงินที่เข้มงวดมาโดยตลอด ทำให้ระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ทำให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอต่อการรับมือเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นได้ และจะไม่เกิดปัญหากับสถาบันการเงินไทยเหมือนกับเมื่อปี 2540 อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ผลเร็วและดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็จะสามารถลดปัญหาเอ็นพีแอลที่ปรับเพิ่มขึ้นได้
“ยอมรับว่า ภาพรวมสินเชื่อใหม่ทั้งระบบนั้นชะลอตัวลง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติตามสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง มีเพียงการขอสินเชื่อสำหรับสต๊อกสินค้าที่ยังเป็นที่ต้องการ เพราะผลิตสินค้ามาแล้วขายไม่ออก ก็ต้องขอสินเชื่อเพิ่มมาบริหารสต๊อกสินค้า”
นางธาริษา กล่าวด้วยว่า ธปท.และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พร้อมดำเนินนโยบายดอกเบี้ย เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น สามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ลงได้บางส่วน แต่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้ทันที เพราะยังคงมีต้นทุนเงินฝากประจำระยะยาวที่ยังไม่ครบชำระทั้งหมด และการลดอัตราดอกเบี้ยคงไม่สามารถกระตุ้นให้การใช้จ่ายและการลงทุนดีขึ้นได้ทั้งหมด ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวมีโอกาสปรับสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายในการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล โดยยืนยันว่าปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระดับสูง แต่คงไม่ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์หันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแทนการนำเงินไปปล่อยสินเชื่อลงสู่ระบบ เพราะการปล่อยสินเชื่อนั้น ธนาคารจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล
ขณะที่ความคืบหน้าที่กรณีที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับภาระดอกเบี้ยของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแทนกระทรงการคลังนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับกระทรวงการคลัง ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานยังคงต้องศึกษารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องของตัวเอง ซึ่งยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจาณาในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะทางด้านกฎหมาย