ผมตั้งใจจะเขียนถึงเพื่อนรักนักเขียนที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ’รงค์ วงษ์สวรรค์ แต่ไม่เคยได้คิดว่าจะเขียนถึงเขาเมื่อรงค์จากไป
ผมกับเขารู้จักกันตั้งแต่ที่เราเข้าร่วมงานเกี่ยวกับวรรณคดีที่ใดที่หนึ่งในกรุงเทพฯ นานมาแล้ว เวลานี้ผมเป็นนักวิจารณ์ เขาเป็นนักเขียน
ก่อนหน้านี้ผมอ่านหนังสือเขาโดยไม่เคยรู้จักตัวตน และก็เคยพยายามเขียนโดยใช้สำนวนของเขาด้วย สมัยที่ผมเป็นบรรณาธิการนิตยสาร “สายทิพย์” ที่นิวซีแลนด์ ก็มีรุ่นพี่ ปัจจุบันคงเกษียณจากการเป็นอาจารย์จุฬาฯ รุ่นพี่คนนี้เขียนสำนวนแบบรงค์ ได้ค่อนข้างใกล้เคียงมาลงใน “สายทิพย์” ทำเอาผมทึ่งมากๆ
ผมคิดว่ารงค์นั้นมีเอกลักษณ์ ไม่ใช่ว่าแค่วิธีเขียน แต่โดยวิธีคิดและวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนใคร
เราพบกันบ่อยที่เชียงใหม่ แบบไม่ต้องนัดหมาย โดยผมกับเขาไปรับประทานร้านเดียวกัน และที่นี่ก็พบกับรงค์เป็นประจำ
ที่เชียงใหม่พบกันหลายครั้งมาก เคยถูกชวนไปพักที่บ้านแต่เนื่องจากผมมีพรรคพวกมาด้วย และไม่ได้อยู่นานก็เลยไม่มีโอกาสไปถึงบ้านเขาเลย
ครั้งหนึ่งมีคนมาชวนให้ทำหนังสือพิมพ์ โดยเพื่อนที่กรุงเทพฯ เป็นคนลงทุน
รงค์นั่งมองผมอยู่นาน ก่อนที่จะพูดแบบช้าๆ ว่า
“เราว่านายไม่ควรทำนะ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่บอกไว้ก่อน คนที่เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่จะทำน่ะ ไม่เคยทำอะไรสำเร็จ แล้วที่ว่าลงทุน 2-3 ล้านก็ไม่จริง ไอ้หมอนี่อยากเปลี่ยนแท่นพิมพ์ ซึ่งนายไปบอกเพื่อนนายเลยนะว่า 10 ล้านก็เอาไม่อยู่”
แม้การเจรจาเสร็จไปในขั้นตอนสุดท้าย งานก็เตรียมไว้หมดเหลือแค่จ่ายเงิน และดำเนินการเท่านั้น
แต่ผมรู้จักรงค์
เขาไม่เคยปฏิเสธ ไม่เคยให้ความเห็นหรือพูดร้ายใคร และไม่เคยเตือนใครถ้าไม่สนิทและรักกันจริง
ตกลงว่าผมเชื่อเขา เละหยุดยั้งไม่ให้เพื่อนลงทุนได้แค่เสี้ยววินาที
เพื่อนผมเอาบริษัทการเงินมาจากกรุงเทพฯ ในภายหลังโดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้ง นสพ.ใหม่ที่เชียงใหม่
ก็พบว่าสิ่งที่รงค์เตือนผมไว้นั้นเป็นข้อเท็จจริงถูกต้อง
รงค์อยู่เชียงใหม่นานพอที่จะรู้ว่าคนเชียงใหม่คิดและทำอย่างไร
ก่อนลงมือเขียนนี้ ผมได้เห็นนิตยสาร “A Day” บนโต๊ะนักข่าว ในเล่มมีบทสัมภาษณ์รงค์อยู่ยาวเหยียด
คนที่ไปคุยและสัมภาษณ์เขาคือ ป๊อดแห่งโมเดิร์นด็อก ซึ่งเผอิญเกี่ยวดองกับลูกเขยผมพอดี
การให้สัมภาษณ์ก็ที่บ้านเขานั่นแหละ
บ้านเขาอยู่เลยเอราวัณรีสอร์ท ที่สะเมิง
รงค์ให้บ้านเขาชื่อ “สวนทูนอิน”
เขาเชื่อว่าคนนั้นมีทุกข์ทั้งส่วนตัว และจากการกระทำโดยรัฐบาลจากการถูกขูดรีด
เขากล่าวถึงวิถีแห่งศิลปะว่ามันเป็นเครื่องมือไว้ต่อสู้ก็ได้กับความอยุติธรรม
ผมไม่ทราบข่าวจากเขา เพราะไม่ได้ไปเชียงใหม่เสียหลายปี ได้ข่าวจากญาติว่าเขาไม่ค่อยสบาย ผมก็คิดว่าคงเป็นอย่างมากก็ปวดหัวตัวร้อน ทราบว่าเขามีโรคประจำตัวอยู่ที่ถือว่าร้ายแรงพอควร ทำให้เขาควบคุมอาหารการกิน
ปีที่แล้วผมตั้งใจว่าจะไปเชียงใหม่ โดยคิดว่าหนึ่งในรายการจะไปเยี่ยมเขาที่บ้าน เพราะรู้ว่าถ้าเขาป่วยก็ไม่อยากให้เขาลงมาในเมือง
จนแล้วจนรอด สิ้นปีผมก็ยังอยู่ที่กรุงเทพฯ
มาได้ข่าวก็จากหนังสือพิมพ์ว่า เขาไปเสียแล้ว
ผมได้ถอดใจ คิดว่ารู้เช่นนี้ผมน่าจะไปเชียงใหม่ตามที่ตั้งใจไว้
นึกถึงรงค์ก็นึกถึงเขากับผมในร้านกาแฟในโรงแรมหรูที่ตัวเมืองเชียงใหม่
เราจะคุยกันเป็นชั่วโมง มีตั้งแต่เรื่องสัพเพเหระ
แต่เรื่องนึงที่เขาเตือนผมอยู่เสมอ คือว่าผมอ้วน ระวังโรคเบาหวาน เขาจะถามถึงความดัน ไขมัน
ผมก็บอกเสมอว่าผมไปหาหมอเสมอ และกินยาเพื่อควบคุม
เขาก็บอกว่าผมกินยามันก็เท่านั้น เลิกกินโรคมันก็กำเริบ
เมื่อลาจาก ผมออกมาก่อน
มารู้ภายหลัง ว่าเขายังนั่งอยู่ที่เดิมต่ออีกระยะหนึ่งและดูเหงาขึ้นกว่าเดิม เหมือนจะทบทวนว่าเราคุยอะไรกันไปบ้าง
ผมยังใช้ชีวิตต่อไปตามปกติ
และทุกวันนี้ยังขอบคุณเขาเรื่องไม่ให้ผมไปร่วมสังฆกรรมทำหนังสือพิมพ์
เพราะถ้าผมเกิดบ้าไปทำจริงๆ แค่ตั๋วเครื่องบินไปเชียงใหม่เดือนละ 2-3 ครั้ง ป่านนี้ผมคงหมดตัวไปนานแล้ว
ผมเองคงไม่เขียนอะไรมาก
และผมก็ไม่ได้ไปงานศพของเพื่อน
เขาเองก็เคยบอกเสมอว่า คนเราตายไปก็สาบสูญไปคงไม่เกิดแล้วละ
ผมก็เชื่อแบบที่เขาว่า ไม่งั้นคนคงล้นโลกไปแล้ว
ไปสู่ที่รงค์ต้องการเถอะ ผมคิดว่าเขาไม่ไปไกลหรอก เขาคงใช้วิญญาณอยู่ที่เชียงใหม่ ที่ซึ่งเป็นที่อยู่สุดท้ายในชีวิตเขานั่นแหละ
ผมกับเขารู้จักกันตั้งแต่ที่เราเข้าร่วมงานเกี่ยวกับวรรณคดีที่ใดที่หนึ่งในกรุงเทพฯ นานมาแล้ว เวลานี้ผมเป็นนักวิจารณ์ เขาเป็นนักเขียน
ก่อนหน้านี้ผมอ่านหนังสือเขาโดยไม่เคยรู้จักตัวตน และก็เคยพยายามเขียนโดยใช้สำนวนของเขาด้วย สมัยที่ผมเป็นบรรณาธิการนิตยสาร “สายทิพย์” ที่นิวซีแลนด์ ก็มีรุ่นพี่ ปัจจุบันคงเกษียณจากการเป็นอาจารย์จุฬาฯ รุ่นพี่คนนี้เขียนสำนวนแบบรงค์ ได้ค่อนข้างใกล้เคียงมาลงใน “สายทิพย์” ทำเอาผมทึ่งมากๆ
ผมคิดว่ารงค์นั้นมีเอกลักษณ์ ไม่ใช่ว่าแค่วิธีเขียน แต่โดยวิธีคิดและวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนใคร
เราพบกันบ่อยที่เชียงใหม่ แบบไม่ต้องนัดหมาย โดยผมกับเขาไปรับประทานร้านเดียวกัน และที่นี่ก็พบกับรงค์เป็นประจำ
ที่เชียงใหม่พบกันหลายครั้งมาก เคยถูกชวนไปพักที่บ้านแต่เนื่องจากผมมีพรรคพวกมาด้วย และไม่ได้อยู่นานก็เลยไม่มีโอกาสไปถึงบ้านเขาเลย
ครั้งหนึ่งมีคนมาชวนให้ทำหนังสือพิมพ์ โดยเพื่อนที่กรุงเทพฯ เป็นคนลงทุน
รงค์นั่งมองผมอยู่นาน ก่อนที่จะพูดแบบช้าๆ ว่า
“เราว่านายไม่ควรทำนะ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่บอกไว้ก่อน คนที่เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่จะทำน่ะ ไม่เคยทำอะไรสำเร็จ แล้วที่ว่าลงทุน 2-3 ล้านก็ไม่จริง ไอ้หมอนี่อยากเปลี่ยนแท่นพิมพ์ ซึ่งนายไปบอกเพื่อนนายเลยนะว่า 10 ล้านก็เอาไม่อยู่”
แม้การเจรจาเสร็จไปในขั้นตอนสุดท้าย งานก็เตรียมไว้หมดเหลือแค่จ่ายเงิน และดำเนินการเท่านั้น
แต่ผมรู้จักรงค์
เขาไม่เคยปฏิเสธ ไม่เคยให้ความเห็นหรือพูดร้ายใคร และไม่เคยเตือนใครถ้าไม่สนิทและรักกันจริง
ตกลงว่าผมเชื่อเขา เละหยุดยั้งไม่ให้เพื่อนลงทุนได้แค่เสี้ยววินาที
เพื่อนผมเอาบริษัทการเงินมาจากกรุงเทพฯ ในภายหลังโดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้ง นสพ.ใหม่ที่เชียงใหม่
ก็พบว่าสิ่งที่รงค์เตือนผมไว้นั้นเป็นข้อเท็จจริงถูกต้อง
รงค์อยู่เชียงใหม่นานพอที่จะรู้ว่าคนเชียงใหม่คิดและทำอย่างไร
ก่อนลงมือเขียนนี้ ผมได้เห็นนิตยสาร “A Day” บนโต๊ะนักข่าว ในเล่มมีบทสัมภาษณ์รงค์อยู่ยาวเหยียด
คนที่ไปคุยและสัมภาษณ์เขาคือ ป๊อดแห่งโมเดิร์นด็อก ซึ่งเผอิญเกี่ยวดองกับลูกเขยผมพอดี
การให้สัมภาษณ์ก็ที่บ้านเขานั่นแหละ
บ้านเขาอยู่เลยเอราวัณรีสอร์ท ที่สะเมิง
รงค์ให้บ้านเขาชื่อ “สวนทูนอิน”
เขาเชื่อว่าคนนั้นมีทุกข์ทั้งส่วนตัว และจากการกระทำโดยรัฐบาลจากการถูกขูดรีด
เขากล่าวถึงวิถีแห่งศิลปะว่ามันเป็นเครื่องมือไว้ต่อสู้ก็ได้กับความอยุติธรรม
ผมไม่ทราบข่าวจากเขา เพราะไม่ได้ไปเชียงใหม่เสียหลายปี ได้ข่าวจากญาติว่าเขาไม่ค่อยสบาย ผมก็คิดว่าคงเป็นอย่างมากก็ปวดหัวตัวร้อน ทราบว่าเขามีโรคประจำตัวอยู่ที่ถือว่าร้ายแรงพอควร ทำให้เขาควบคุมอาหารการกิน
ปีที่แล้วผมตั้งใจว่าจะไปเชียงใหม่ โดยคิดว่าหนึ่งในรายการจะไปเยี่ยมเขาที่บ้าน เพราะรู้ว่าถ้าเขาป่วยก็ไม่อยากให้เขาลงมาในเมือง
จนแล้วจนรอด สิ้นปีผมก็ยังอยู่ที่กรุงเทพฯ
มาได้ข่าวก็จากหนังสือพิมพ์ว่า เขาไปเสียแล้ว
ผมได้ถอดใจ คิดว่ารู้เช่นนี้ผมน่าจะไปเชียงใหม่ตามที่ตั้งใจไว้
นึกถึงรงค์ก็นึกถึงเขากับผมในร้านกาแฟในโรงแรมหรูที่ตัวเมืองเชียงใหม่
เราจะคุยกันเป็นชั่วโมง มีตั้งแต่เรื่องสัพเพเหระ
แต่เรื่องนึงที่เขาเตือนผมอยู่เสมอ คือว่าผมอ้วน ระวังโรคเบาหวาน เขาจะถามถึงความดัน ไขมัน
ผมก็บอกเสมอว่าผมไปหาหมอเสมอ และกินยาเพื่อควบคุม
เขาก็บอกว่าผมกินยามันก็เท่านั้น เลิกกินโรคมันก็กำเริบ
เมื่อลาจาก ผมออกมาก่อน
มารู้ภายหลัง ว่าเขายังนั่งอยู่ที่เดิมต่ออีกระยะหนึ่งและดูเหงาขึ้นกว่าเดิม เหมือนจะทบทวนว่าเราคุยอะไรกันไปบ้าง
ผมยังใช้ชีวิตต่อไปตามปกติ
และทุกวันนี้ยังขอบคุณเขาเรื่องไม่ให้ผมไปร่วมสังฆกรรมทำหนังสือพิมพ์
เพราะถ้าผมเกิดบ้าไปทำจริงๆ แค่ตั๋วเครื่องบินไปเชียงใหม่เดือนละ 2-3 ครั้ง ป่านนี้ผมคงหมดตัวไปนานแล้ว
ผมเองคงไม่เขียนอะไรมาก
และผมก็ไม่ได้ไปงานศพของเพื่อน
เขาเองก็เคยบอกเสมอว่า คนเราตายไปก็สาบสูญไปคงไม่เกิดแล้วละ
ผมก็เชื่อแบบที่เขาว่า ไม่งั้นคนคงล้นโลกไปแล้ว
ไปสู่ที่รงค์ต้องการเถอะ ผมคิดว่าเขาไม่ไปไกลหรอก เขาคงใช้วิญญาณอยู่ที่เชียงใหม่ ที่ซึ่งเป็นที่อยู่สุดท้ายในชีวิตเขานั่นแหละ