ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยสัญญาณเริ่มดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่การผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น และต้นทุนที่ต่ำมีแรงส่งให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้น แนะปัจจัยการเมืองเหมือนก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จึงไม่ควรให้ความสำคัญมากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ปัดใช้นโยบายบาทอ่อน
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการลดสต็อกสินค้าที่มีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ในและต่างประเทศ การส่งออกสุทธิเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐมีมากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จึงส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้นทั้งการผลิตและการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ รายได้ของเกษตรไทยปรับตัวลดลงตามจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ลดลงมาก ขณะที่การท่องเที่ยวหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนผลจากเศรษฐกิจของประเทศในตลาดท่องเที่ยวหลักของไทยชะลอตัวลงและฐานปีก่อนสูงจากเทศกาลตรุษจีน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัวทั้งช่วงเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้า ติดลบ 7.1%และติดลบ 4.8%ตามลำดับ ซึ่งเครื่องชี้เกือบทุกตัวหดตัว สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนนี้อยู่ที่ 74 ลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 2 เดือนที่ผ่านมา
ส่วนการลงทุนหดตัวเช่นกัน โดยเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง การนำเข้าสินค้าทุนลดลงทุกหมวด ประกอบกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวต่อเนื่อง สะท้อนให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันและในอีก 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อปัญหาเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ โดยผู้ประกอบการเห็นว่าความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและความต้องการภายในประเทศที่ลดลงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการทำธุรกิจ
สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 11,582 ล้านเหรียญ หรือหดตัว 11.1%ในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากไม่รวมส่งออกทองคำที่มีมูลค่าสูงถึง 1,865 ล้านเหรียญ ทำให้การส่งออกเดือนนี้หดตัว 24.5% โดยเป็นการหดตัวด้านปริมาณทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 7,635 ล้านเหรียญ หรือติดลบ 43.5% ด้านปริมาณเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการลดลงเกือบทุกหมวด เนื่องจากความพยายามลดสินค้าคงคลังของผู้ประกอบการที่นำเข้ามามากในช่วงก่อนหน้า ทำให้ลดการนำเข้าลง และเมื่อสต็อกหมด และมีการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3,946 ล้านเหรียญ
ขณะเดียวกันเริ่มเห็นการใช้จ่ายภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นของความมุ่งมั่นรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีการเบิกจ่าย 706,000 ล้านบาทหรือ 38.5% เทียบกับการเบิกจ่าย 614,600 ล้านบาท หรือ 37% ในปีงบประมาณก่อน ขณะเดียวการจัดเก็บรายได้ลดลง 16.1% ในเดือน ก.พ. โดยภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง 25.2%
นางอมรากล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจมากนัก แม้ว่าผู้ประกอบการมองว่าปัจจัยการเมืองมีความสำคัญในระดับต้นๆ ต่อการตัดสินใจลงทุน แต่ภาคเอกชนได้มีการปรับตัวได้แล้ว ซึ่งหากเปรียบการเมืองกลายเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จากการเดินหน้าของรัฐบาลในมาตรการต่างๆ ด้านที่ดี จึงอย่าให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ฉะนั้น หากมีปัจจัยการเมืองมาแทรกอาจจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจกลับแย่ลงอีกจากเดิมที่มองว่าติดลบแล้ว
สำหรับกรณีที่นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรีแนะนำให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทคงที่ระดับ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกนั้น นางอมรา กล่าวว่า ธปท.ได้มีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เพื่อลดความผันผวนในช่วงระยะสั้นและไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวฝืนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น ซึ่งหากเงินบาทอ่อนค่ามากจนเกินไปก็อาจส่งผลให้หนี้ต่างประเทศตามมาด้วย ประกอบกับช่วงที่เงินบาทแข็งค่าในปีก่อน ผู้ส่งออกมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ (Hedging) 60% แต่เมื่อเงินบาทอ่อนค่ากลับมีการทำสัญญาดังกล่าวน้อยลง ฉะนั้นหากทุกประเทศแข่งขันกันให้ค่าเงินอ่อนจะไม่ส่งผลประโยชน์กับใครทั้งนั้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการลดสต็อกสินค้าที่มีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ในและต่างประเทศ การส่งออกสุทธิเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐมีมากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จึงส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้นทั้งการผลิตและการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ รายได้ของเกษตรไทยปรับตัวลดลงตามจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ลดลงมาก ขณะที่การท่องเที่ยวหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนผลจากเศรษฐกิจของประเทศในตลาดท่องเที่ยวหลักของไทยชะลอตัวลงและฐานปีก่อนสูงจากเทศกาลตรุษจีน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัวทั้งช่วงเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้า ติดลบ 7.1%และติดลบ 4.8%ตามลำดับ ซึ่งเครื่องชี้เกือบทุกตัวหดตัว สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนนี้อยู่ที่ 74 ลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 2 เดือนที่ผ่านมา
ส่วนการลงทุนหดตัวเช่นกัน โดยเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง การนำเข้าสินค้าทุนลดลงทุกหมวด ประกอบกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวต่อเนื่อง สะท้อนให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันและในอีก 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อปัญหาเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ โดยผู้ประกอบการเห็นว่าความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและความต้องการภายในประเทศที่ลดลงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการทำธุรกิจ
สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 11,582 ล้านเหรียญ หรือหดตัว 11.1%ในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากไม่รวมส่งออกทองคำที่มีมูลค่าสูงถึง 1,865 ล้านเหรียญ ทำให้การส่งออกเดือนนี้หดตัว 24.5% โดยเป็นการหดตัวด้านปริมาณทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 7,635 ล้านเหรียญ หรือติดลบ 43.5% ด้านปริมาณเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการลดลงเกือบทุกหมวด เนื่องจากความพยายามลดสินค้าคงคลังของผู้ประกอบการที่นำเข้ามามากในช่วงก่อนหน้า ทำให้ลดการนำเข้าลง และเมื่อสต็อกหมด และมีการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3,946 ล้านเหรียญ
ขณะเดียวกันเริ่มเห็นการใช้จ่ายภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นของความมุ่งมั่นรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีการเบิกจ่าย 706,000 ล้านบาทหรือ 38.5% เทียบกับการเบิกจ่าย 614,600 ล้านบาท หรือ 37% ในปีงบประมาณก่อน ขณะเดียวการจัดเก็บรายได้ลดลง 16.1% ในเดือน ก.พ. โดยภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง 25.2%
นางอมรากล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจมากนัก แม้ว่าผู้ประกอบการมองว่าปัจจัยการเมืองมีความสำคัญในระดับต้นๆ ต่อการตัดสินใจลงทุน แต่ภาคเอกชนได้มีการปรับตัวได้แล้ว ซึ่งหากเปรียบการเมืองกลายเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จากการเดินหน้าของรัฐบาลในมาตรการต่างๆ ด้านที่ดี จึงอย่าให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ฉะนั้น หากมีปัจจัยการเมืองมาแทรกอาจจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจกลับแย่ลงอีกจากเดิมที่มองว่าติดลบแล้ว
สำหรับกรณีที่นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรีแนะนำให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทคงที่ระดับ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกนั้น นางอมรา กล่าวว่า ธปท.ได้มีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เพื่อลดความผันผวนในช่วงระยะสั้นและไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวฝืนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น ซึ่งหากเงินบาทอ่อนค่ามากจนเกินไปก็อาจส่งผลให้หนี้ต่างประเทศตามมาด้วย ประกอบกับช่วงที่เงินบาทแข็งค่าในปีก่อน ผู้ส่งออกมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ (Hedging) 60% แต่เมื่อเงินบาทอ่อนค่ากลับมีการทำสัญญาดังกล่าวน้อยลง ฉะนั้นหากทุกประเทศแข่งขันกันให้ค่าเงินอ่อนจะไม่ส่งผลประโยชน์กับใครทั้งนั้น