ASTVผู้จัดการรายวัน – ผู้ประกอบการโรงแรมเตรียมเสนอรัฐบาลออกบิ๊กแคมเปญกระตุ้นท่องเที่ยวไทย 7 เดือน เสนอจ่ายค่าหัวให้ทัวร์โอเปอเรเตอร์ 1.5 พันบาทต่อนักท่องเที่ยว 1 คน พร้อมค้ำประกันหากเกิดเหตุการณ์ปิดสนามบินจ่ายให้นักท่องเที่ยวอีก 3.5 แสนบาท หวังสร้างแรงจูงใจเรียกความเชื่อมั่น ระบุรัฐใช้งบเพียง 3.5 พันล้านบาท ดึงนักท่องเที่ยวได้ 2 ล้านคน โกยรายได้กว่า 3.6 หมื่นล้านบาท ด้านนายกทีเอชเอ เตรียมถกเฟสต้า หาจุดยืนเรียกร้องยุติการชุมนุม ขู่ถ้ารัฐไม่เร่งดำเนินการคาด 2 เดือนหน้าอุสาหกรรมท่องเที่ยวตกงาน 1.5 แสนคน
วานนี้(30 มี.ค.52)ในงานเสวนา “ผ่าทางตัน....แก้วิกฤตก่อนธุรกิจโรงแรมตายหมู่” ซึ่งจัดโดยศูนย์พัฒนาและฝึกอบรม มูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย โดยนายเมธี ตันมานะตระกูล นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ)ภาคใต้ กล่าวว่า ต้องการให้สมาคมโรงแรมไทย ทำหนังสือถึงนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อนำเรื่องเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการออกแคมเปญส่งเสริมท่องเที่ยวไทยครั้งใหญ่ ในช่วง 7 เดือน ตั้งแต่ พ.ค.-พ.ย.52
โดยรูปแบบของแคมเปญดังกล่าว ให้ประกาศในนามรัฐบาลไทยออกหนังสือไปยังบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศที่สนใจเข้าร่วมแคมเปญ โดยหากสามารถนำนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยในช่วง 7 เดือนดังกล่าว รัฐบาลจะให้รางวัลแก่บริษัทนำเที่ยวนั้นเป็นเงิน 1,500 บาทต่อนักท่องเที่ยว 1 คน แต่มีข้อแม้ว่าต้องเดินทางเข้ามาพักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 4 คืน
นอกจากนั้นยังต้องการให้รัฐบาลไทยซื้อประกันเป็นเครื่องการันตีว่าประเทศไทยจะไม่มีการปิดสนามบินอีกแต่หากถ้ามีจะจ่ายเป็นค่าทำขวัญเพื่อชดเชยค่าเสียหายให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นเงินรายละ 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 350,000 บาท ทั้งนี้เพื่อสร้างให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในประเทศไทย
ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่าจากแคมเปญนี้จะสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยจากแคมเปญนี้ได้ถึง 2 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่เข้ามาในธุรกิจโรงแรม 12,000 ล้านบาท ที่เหลือกระจายไปในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ และยังสามารถช่วยชะลอการเลิกจ้างงานได้ถึง 40,000 อัตราโดยรัฐบาลจ่ายงบประมาณสำหรับแคมเปญนี้เพียง 3,500 ล้านบาท แต่ผลจากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาทำให้เกิดเงินหมุนเวียนลงไปในหลายภาคส่วนเช่นภาคการเกษตร ชาวไร่ชาวนา ก่อเกิดรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ GDP เพิ่มขึ้น
ระดมสมาชิกเรียกร้องยุติชุมนุม
ขณะที่นางสุกัญญา จันทร์ชู ผู้จัดการทั่วไป โรงแรม ชาเตรียม ในเครือดุสิตธานี เสนอว่า ต้องการให้ทุกสมาคมด้านการท่องเที่ยวรวมตัวกันเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ซึ่งจะก่อผลเสียต่อภาพรวมทั้งประเทศโดยเฉพาะส่งผลเสียกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ
“ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการอะไรออกมาคงไม่ได้ผล หากระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่สงบ ก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวประเทศไทยต้องการที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยแน่ แม้ททท.หรือรัฐจะทุ่มงบโฆษณาในต่างประเทศเป็นหมื่นล้านบาทก็ไม่เป็นผลถ้าในบ้านเรายังไม่สงบ” นางสุกัญญา กล่าว
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า ทีเอชเอ จะนำข้อเสนอแนะจากสมาชิกในการเสวนาครั้งนี้รวบรวมทำหนังสือถึง นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ มิฉะนั้น มีการประมาณการณ์ว่า หากรัฐบาลปล่อยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้เกิดการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 10-15% หรือราว 1.5 แสนคน จากแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบ 1 ล้านคน ในที่นี้เป็นภาคอุตสาหกรรมโรงแรม 5 แสนคน
นอกจากนั้นจะเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรม เช่น การลดค่าธรรมเนียมห้องพัก ลดค่าไฟฟ้า ลดหย่อนค่าภาษีโรงเรือน รวมถึงการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ที่มีสินทรัพย์เกินกว่า 200 ล้านบาทด้วย เพราะขณะนี้รัฐบาลช่วยแค่กลุ่มที่มีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมทางการเมือง จะนำเรื่องเข้าหารือกับสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือเฟสต้า เพื่อหาแนวทางในการนำเสนอต่อรัฐบาลแต่จะเป็นวิธีใด เช่น การไฮปาร์ค หรือการยื่นหนังสือ คงจะต้องตกลงกันในกลุ่มเฟสต้าอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรมทั้งประเทศช่วง ม.ค.-ก.พ.เฉลี่ยที่ 60% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20-25% ขณะที่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มียอดจองโรงแรมล่วงหน้า ที่เชียงใหม่เพียง 50-60% ภูเก็ต 65-70% จากทุกปีสองจังหวัดนี้จะมียอดจองที่ 90-95% ส่วนที่พัทยา มียอดจองล่วงหน้า 50-60% จากทุกปีมีประมาณ 70-80%
ลดต้นทุนบริหารประคองตัว
ในการเสวนาครั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนายังมีข้อเสนอแนะอื่นๆอีกหลายประการ เช่น นายชนินทธ์ โทณวณิก ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจโรงแรมต้องเน้นเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายแต่คุณภาพต้องคงเดิม การสร้างเครือข่ายเพื่อขยายตลาด ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ
นายเจริญ นัดพบสุข อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า โรงแรมขนาดเล็กสายป่านสั้น แถมยังต้องแข่งขันกับโรงแรมระดับเชน ที่ปัจจุบันลงมาเล่นตลาดล่างระดับ 3 ดาว หรือบัดเจ็ทโฮเทล โดยมีแผนขยายสาขาเข้ามาเปิดในประเทศไทยอีกไม่น้อยกว่า 300 แห่งใน 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต้องเผชิญภาวะการลดคนเพื่อลดต้นทุนแน่นอน และพนักงานระดับผู้จัดการจะได้รับผลกระทบก่อน เพราะเงินเดือนสูง
นางสาวบุณฑริก กุศลวิทย์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า โรงแรมอิสระขนาดเล็ก ต้องลดต้นทุน โดยการตัดค่าใช้จ่าย ลดการทำงานของบางแผนกที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดร้านค้าย่อยภายในโรงแรมที่ไม่สร้างรายได้ เพื่อรักษาเงินหมุนเวียนที่มีอยู่ในนานที่สุด ลดเวลาการเปิดห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ จากที่เคยเปิด 24 ชั่วโมง เป็นแบบมีเวลาเปิด-ปิด เป็นต้น
***ตั้งเพ็ญสุดารักษาการผู้ว่าททท.
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯได้เซ็นแต่งตั้ง นางสาวเพ็ญสุดา ไพรอร่าม รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นรักษาการผู้ว่าการททท.โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.52 เป็นต้นไป ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่านายชุมพล คงเล็งเห็นว่า นงสาวเพ็ญสุดา เป็นรองด้านการบริหารจึงรู้ขอบเขตการบริหารจัดการความรับผิดชอบของแต่ละสายงาน
วานนี้(30 มี.ค.52)ในงานเสวนา “ผ่าทางตัน....แก้วิกฤตก่อนธุรกิจโรงแรมตายหมู่” ซึ่งจัดโดยศูนย์พัฒนาและฝึกอบรม มูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย โดยนายเมธี ตันมานะตระกูล นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ)ภาคใต้ กล่าวว่า ต้องการให้สมาคมโรงแรมไทย ทำหนังสือถึงนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อนำเรื่องเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการออกแคมเปญส่งเสริมท่องเที่ยวไทยครั้งใหญ่ ในช่วง 7 เดือน ตั้งแต่ พ.ค.-พ.ย.52
โดยรูปแบบของแคมเปญดังกล่าว ให้ประกาศในนามรัฐบาลไทยออกหนังสือไปยังบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศที่สนใจเข้าร่วมแคมเปญ โดยหากสามารถนำนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยในช่วง 7 เดือนดังกล่าว รัฐบาลจะให้รางวัลแก่บริษัทนำเที่ยวนั้นเป็นเงิน 1,500 บาทต่อนักท่องเที่ยว 1 คน แต่มีข้อแม้ว่าต้องเดินทางเข้ามาพักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 4 คืน
นอกจากนั้นยังต้องการให้รัฐบาลไทยซื้อประกันเป็นเครื่องการันตีว่าประเทศไทยจะไม่มีการปิดสนามบินอีกแต่หากถ้ามีจะจ่ายเป็นค่าทำขวัญเพื่อชดเชยค่าเสียหายให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นเงินรายละ 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 350,000 บาท ทั้งนี้เพื่อสร้างให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในประเทศไทย
ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่าจากแคมเปญนี้จะสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยจากแคมเปญนี้ได้ถึง 2 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่เข้ามาในธุรกิจโรงแรม 12,000 ล้านบาท ที่เหลือกระจายไปในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ และยังสามารถช่วยชะลอการเลิกจ้างงานได้ถึง 40,000 อัตราโดยรัฐบาลจ่ายงบประมาณสำหรับแคมเปญนี้เพียง 3,500 ล้านบาท แต่ผลจากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาทำให้เกิดเงินหมุนเวียนลงไปในหลายภาคส่วนเช่นภาคการเกษตร ชาวไร่ชาวนา ก่อเกิดรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ GDP เพิ่มขึ้น
ระดมสมาชิกเรียกร้องยุติชุมนุม
ขณะที่นางสุกัญญา จันทร์ชู ผู้จัดการทั่วไป โรงแรม ชาเตรียม ในเครือดุสิตธานี เสนอว่า ต้องการให้ทุกสมาคมด้านการท่องเที่ยวรวมตัวกันเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ซึ่งจะก่อผลเสียต่อภาพรวมทั้งประเทศโดยเฉพาะส่งผลเสียกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ
“ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการอะไรออกมาคงไม่ได้ผล หากระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่สงบ ก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวประเทศไทยต้องการที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยแน่ แม้ททท.หรือรัฐจะทุ่มงบโฆษณาในต่างประเทศเป็นหมื่นล้านบาทก็ไม่เป็นผลถ้าในบ้านเรายังไม่สงบ” นางสุกัญญา กล่าว
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า ทีเอชเอ จะนำข้อเสนอแนะจากสมาชิกในการเสวนาครั้งนี้รวบรวมทำหนังสือถึง นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ มิฉะนั้น มีการประมาณการณ์ว่า หากรัฐบาลปล่อยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้เกิดการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 10-15% หรือราว 1.5 แสนคน จากแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบ 1 ล้านคน ในที่นี้เป็นภาคอุตสาหกรรมโรงแรม 5 แสนคน
นอกจากนั้นจะเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรม เช่น การลดค่าธรรมเนียมห้องพัก ลดค่าไฟฟ้า ลดหย่อนค่าภาษีโรงเรือน รวมถึงการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ที่มีสินทรัพย์เกินกว่า 200 ล้านบาทด้วย เพราะขณะนี้รัฐบาลช่วยแค่กลุ่มที่มีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมทางการเมือง จะนำเรื่องเข้าหารือกับสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือเฟสต้า เพื่อหาแนวทางในการนำเสนอต่อรัฐบาลแต่จะเป็นวิธีใด เช่น การไฮปาร์ค หรือการยื่นหนังสือ คงจะต้องตกลงกันในกลุ่มเฟสต้าอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรมทั้งประเทศช่วง ม.ค.-ก.พ.เฉลี่ยที่ 60% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20-25% ขณะที่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มียอดจองโรงแรมล่วงหน้า ที่เชียงใหม่เพียง 50-60% ภูเก็ต 65-70% จากทุกปีสองจังหวัดนี้จะมียอดจองที่ 90-95% ส่วนที่พัทยา มียอดจองล่วงหน้า 50-60% จากทุกปีมีประมาณ 70-80%
ลดต้นทุนบริหารประคองตัว
ในการเสวนาครั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนายังมีข้อเสนอแนะอื่นๆอีกหลายประการ เช่น นายชนินทธ์ โทณวณิก ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจโรงแรมต้องเน้นเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายแต่คุณภาพต้องคงเดิม การสร้างเครือข่ายเพื่อขยายตลาด ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ
นายเจริญ นัดพบสุข อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า โรงแรมขนาดเล็กสายป่านสั้น แถมยังต้องแข่งขันกับโรงแรมระดับเชน ที่ปัจจุบันลงมาเล่นตลาดล่างระดับ 3 ดาว หรือบัดเจ็ทโฮเทล โดยมีแผนขยายสาขาเข้ามาเปิดในประเทศไทยอีกไม่น้อยกว่า 300 แห่งใน 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต้องเผชิญภาวะการลดคนเพื่อลดต้นทุนแน่นอน และพนักงานระดับผู้จัดการจะได้รับผลกระทบก่อน เพราะเงินเดือนสูง
นางสาวบุณฑริก กุศลวิทย์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า โรงแรมอิสระขนาดเล็ก ต้องลดต้นทุน โดยการตัดค่าใช้จ่าย ลดการทำงานของบางแผนกที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดร้านค้าย่อยภายในโรงแรมที่ไม่สร้างรายได้ เพื่อรักษาเงินหมุนเวียนที่มีอยู่ในนานที่สุด ลดเวลาการเปิดห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ จากที่เคยเปิด 24 ชั่วโมง เป็นแบบมีเวลาเปิด-ปิด เป็นต้น
***ตั้งเพ็ญสุดารักษาการผู้ว่าททท.
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯได้เซ็นแต่งตั้ง นางสาวเพ็ญสุดา ไพรอร่าม รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นรักษาการผู้ว่าการททท.โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.52 เป็นต้นไป ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่านายชุมพล คงเล็งเห็นว่า นงสาวเพ็ญสุดา เป็นรองด้านการบริหารจึงรู้ขอบเขตการบริหารจัดการความรับผิดชอบของแต่ละสายงาน