หลังรับฟังคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา “สมรู้ร่วมคิด” กรณีการไซฟอนเงินบริจาคแก่พรรคประชาธิปัตย์ ของ “เสี่ยอ๊อด-ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์” รมช.คลัง และเลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา
กรณีมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับเงินบริจาคของทีพีไอ จำนวน 258 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับ ในสมัย ประดิษฐ์ เป็นเลขาธิการพรรคในช่วงปี47-48
ทุกฝ่ายประเมินไปในทิศทางที่ไม่เป็นผลดีต่อประดิษฐ์มากนัก จนถึงให้คะแนน“สอบตก”เพราะเคลียร์ข้อกล่าวหาไม่ขึ้น
ในเรื่องเส้นทางการเงินที่ ทีพีไอ จ่ายให้บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ที่ทำธุรกิจรับจ้างทำป้ายโฆษณาหาเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาหลายครั้ง และมีคนของพรรคเกี่ยวข้องถือหุ้นส่วนอยู่ รวมถึงเส้นทางการเงินหลังประชาธิปัตย์ได้รับเงินอุดหนุนจาก กกต. 29 ล้านบาท และนำไปใช้ในกิจการด้านการหาเสียง 23 ล้านบาท อันเป็นเงินภาษีของประชาชน
“จุดตาย”ของประดิษฐ์ ก็คือ
ข้อมูลหลักฐานของฝ่ายค้านสำแดงให้สาธารณชนเห็นว่า ธุรกรรมการเงินไปเข้าบัญชีคนใกล้ชิด-เครือญาติของประดิษฐ์ หลายคนโดยเฉพาะ ธงชัย ดลศรีวิชัย ลูกน้องสาวพ่อของรมช.คนนี้
ธงชัยคือคนที่ประดิษฐ์ ดึงมาทำงานการเมืองให้เป็นเลขาฯส่วนตัวสมัยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึง ศิริลักษณ์ ไม้ไทย น้องสาวของประดิษฐ์
จะพบว่า ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้มีการแสดงหลักฐานเส้นทางการเงินของเครือญาติประดิษฐ์ว่า เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าวหลายกรรมหลายวาระ
โดยประดิษฐ์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากงานนี้อยู่ในกลุ่มที่ 2 อันมีเงินหมุนเวียนเข้าบัญชีรวมทั้งสิ้น 23,728,000 บาท ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทั้งสิ้น!
จากหลักฐานการทำธุรกรรมการเงินทั้งหมด ที่มีเครือญาติเข้าไปเกี่ยวข้อง แม้ประดิษฐ์จะพยายาม แจงว่าเขาเป็นคนมีพี่น้องเยอะถึง 17 คน และญาติๆ ในวงศ์ตระกูลรวม 300 กว่าคน จึงย่อมไม่รู้ว่าญาติแต่ละคนไปทำอะไรที่ไหน จะไปติดต่อกับใครบ้าง และไม่เคยรับรู้เรื่องการทำธุรกิจหรือเรื่องส่วนตัวของเครือญาติ โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้งปี 48 เขาอ้างว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงมากกับพรรคไทยรักไทย จนไม่มีเวลาจะทำอะไร และไม่มีเวลามานั่งตรวจสอบเครือญาติ
จึงขอปฏิเสธความเกี่ยวข้องเรื่องนี้
ทว่าจากพยานหลักฐาน และเนื้อหาการอภิปราย จะพบว่า เงินทั้งหมดมีการโยกย้ายและทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับคนของประชาธิปัตย์ และเกิดขึ้นในช่วงก่อนวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทั้งสิ้น
มันไม่ใช่เงินน้อยๆ แต่เป็นเงินหลายสิบล้าน จึงยากที่สังคมจะฟังคำชี้แจงของประดิษฐ์แล้วพยักหน้า “เชื่อทั้งหมด” แบบง่ายๆ
คงมีเพียงบางประเด็นที่ประดิษฐ์ อาจเคลียร์ได้ เช่น เรื่องการว่าจ้างให้เมซไซอะฯ ทำป้ายโฆษณาหาเสียงให้กับพรรค ซึ่งประดิษฐ์ มีเอกสารหลักฐานการว่าจ้างและการทำสัญญามาแสดงต่อสภาฯได้ ไม่ใช่การว่าจ้างลอยๆ โดยไม่มีการทำสัญญาเพื่อให้มีการโยกย้ายเงินออกไปจากบัญชีอย่างที่ฝ่ายค้านชี้ประเด็น
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเจ้าตัวก็รู้ว่าหลายประเด็น เขาแจงไม่ได้ เพราะจนด้วยหลักฐานของฝ่ายค้าน เลยต้องงัดมุขเก่าๆ ด้วยการ “เดิมพันชีวิตการเมือง”
บนเงื่อนไข
หากมีผลสรุปการตรวจสอบสอบสวนในเรื่องนี้ โดยมีการชี้มูลความผิดกับตัวเขาด้วย ก็พร้อมจะยุติบทบาททางการเมือง ซึ่งพบว่า ประดิษฐ์ไม่ได้อธิบายให้กระจ่างชัดในคำว่า “ยุติบทบาททางการเมือง” หมายถึงเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต หรือลาออกจากตำแหน่งรมช.คลัง
เมื่อดูแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องจะต้องไปตื่นเต้นใดๆ เพราะหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง สรุปผลว่า มีการกระทำผิดจริงในการรับเงินบริจาคดังกล่าว แล้วทำงบดุลเท็จต่อกกต. ถึงตอนนั้น ประดิษฐ์ ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งอยู่ดี
เพราะกระแสสังคมคงไม่ยอมให้นักการเมืองมัวหมอง มานั่งบริหารประเทศอย่างแน่นอน
หลังจากนี้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนข้อเท็จจริงจะต้องเร่งดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งก็คือกกต. ที่เป็นเจ้าภาพหลักในการตรวจสอบแทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อันย่อมทำให้ข้อเท็จจริง และบทสรุปย่อมได้รับความเชื่อถือมากกว่าดีเอสไอ ที่เป็นตำรวจการเมืองอย่างแน่นอน
แม้จะเริ่มมีสัญญาณจากกรรมการ กกต.บางคนออกมาแสดงทัศนะในท่วงทำนองชี้นำผลการสอบสวนไปล่วงหน้าว่า อาจถึงขั้น “ยุบพรรค” จากความผิดในเรื่องการรับเงินบริจาค โดยไม่แจ้งกกต.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพรรคการเมือง มาตรา 94 รวมถึงโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปีอีกด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง แกนนำรัฐบาล-ส.ส.ประชาธิปัตย์ หลายคนในเวลานี้ก็
ตายหมู่
เพราะนอกจากเรื่องความผิดตามกฎหมายพรรคการเมืองแล้ว ยังจะมีความผิดกฎหมายอาญามาตรา 137 ฐานแจ้งความเท็จ
อย่างไรก็ตาม ก็น่าแปลกใจที่ กกต..คนดังกล่าวคือ สดศรี สัตยธรรมให้สัมภาษณ์ล่วงหน้าไปได้อย่างไร ทั้งที่ยังไม่เห็นเอกสาร ข้อเท็จจริงที่จะได้รับจากพรรคฝ่ายค้าน และเพิ่งได้รับสำนวนบางส่วนจากดีเอสไอ ไม่ทันข้ามวัน
จึงสมควรหรือไม่ ที่กกต.ที่ทำงานแบบนี้จะต้องทบทวนบทบาทตัวเอง
สิ่งที่ต้องติดตามก็คือ หากท้ายสุด กระบวนการ “คดียุบพรรค” หากจะเกิดขึ้นจริง ก็ต้องน่าติดตามว่า พรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำรัฐบาล ทั้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ,สุเทพ เทือกสุบรรณ ,นิพนธ์ พร้อมพันธ์ ,ชวน หลีกภัย และ บัญญัติ บรรทัดฐาน จะสู้คดีอย่างไรในชั้นอัยการ รวมถึงหากไปถึงขั้นศาลรัฐธรรมนูญ
บนกระแสข่าวว่า มีแกนนำพรรคและส.ส.พรรคหลายคน คิดหาทางออกด้วยการ
ตัดตอน-ลอยแพ
คนที่เกี่ยวข้องทั้ง นิพนธ์ บุญญามณี และ ประพร เอกอุรุ 2 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค โดยการอ้างว่าเป็นเรื่องที่บุคคลเหล่านี้ไปดำเนินการเอาเองโดยพรรคไม่เกี่ยวข้อง และไม่รู้เรื่อง
ทำให้เป็นความผิดส่วนตัว
หากว่า ท้ายสุดประเมินว่ายากต่อการจะแก้ข้อกล่าวหาได้ เพราะจำนนด้วยเอกสารหลักฐาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าคิดตอนนี้ก็คือ เมื่อสังคมยังคลางแคลงใจในตัวประดิษฐ์ เพราะข้อกล่าวหาเรื่องนี้เป็นเรื่องของ
จริยธรรมการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองคนไหน พรรคการเมืองไหน จะต้องรักษาสิ่งนี้เอาไว้เป็นสำคัญยิ่งกว่า “ตัวบทกฎหมาย”
และตัวละครที่เกี่ยวข้องใน 4 กลุ่ม ตามข้อมูลของฝ่ายค้าน ก็พบว่า มีเพียงประดิษฐ์คนเดียว ที่ตอนนี้เป็นรัฐมนตรี อยู่ในฝ่ายบริหาร ขณะที่คนอื่นล้วนแต่เป็นคนนอกซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ทางการเมืองใดๆ
บรรทัดฐานของ “ประดิษฐ์”จึงต้องสูงกว่า ทุกคน
นั่นหมายความว่า อภิสิทธิ์ จะต้องชั่งน้ำหนักได้แล้วว่า จะให้สังคมคลางแคลงใจในตัวรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขา ว่ามีส่วนร่วมรู้เห็นในเรื่องการทำธุรกรรมการเงินเพื่อไซฟอนเงิน ตามข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน เช่นนี้ต่อไปหรือ
ยิ่งก่อนหน้านี้ อภิสิทธิ์ เคยวางกฎเหล็กจริยธรรม 9 ข้อ ให้กับรัฐมนตรีทุกคนตั้งแต่วันแรกที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการพูดถึงอย่างมาก ว่าเป็นบรรทัดฐานการเมืองที่วางไว้เป็นอย่างดีเพราะให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรม ธรรมาภิบาล
และมีการนำไปใช้ให้เห็นแล้วกับกรณี “ปลากระป๋องเน่า” ในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จนวิฑูรย์ นามบุตร แกนนำพรรคในภาคอีสาน
จำต้องทิ้งเก้าอี้ เพื่อรักษากฎเหล็กของอภิสิทธิ์เอาไว้
ดังนั้นบรรทัดฐานที่วางไว้ จึงควรที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องนำมาพิจารณากับตัวประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ด้วยเช่นกัน
กรณีมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับเงินบริจาคของทีพีไอ จำนวน 258 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับ ในสมัย ประดิษฐ์ เป็นเลขาธิการพรรคในช่วงปี47-48
ทุกฝ่ายประเมินไปในทิศทางที่ไม่เป็นผลดีต่อประดิษฐ์มากนัก จนถึงให้คะแนน“สอบตก”เพราะเคลียร์ข้อกล่าวหาไม่ขึ้น
ในเรื่องเส้นทางการเงินที่ ทีพีไอ จ่ายให้บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ที่ทำธุรกิจรับจ้างทำป้ายโฆษณาหาเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาหลายครั้ง และมีคนของพรรคเกี่ยวข้องถือหุ้นส่วนอยู่ รวมถึงเส้นทางการเงินหลังประชาธิปัตย์ได้รับเงินอุดหนุนจาก กกต. 29 ล้านบาท และนำไปใช้ในกิจการด้านการหาเสียง 23 ล้านบาท อันเป็นเงินภาษีของประชาชน
“จุดตาย”ของประดิษฐ์ ก็คือ
ข้อมูลหลักฐานของฝ่ายค้านสำแดงให้สาธารณชนเห็นว่า ธุรกรรมการเงินไปเข้าบัญชีคนใกล้ชิด-เครือญาติของประดิษฐ์ หลายคนโดยเฉพาะ ธงชัย ดลศรีวิชัย ลูกน้องสาวพ่อของรมช.คนนี้
ธงชัยคือคนที่ประดิษฐ์ ดึงมาทำงานการเมืองให้เป็นเลขาฯส่วนตัวสมัยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึง ศิริลักษณ์ ไม้ไทย น้องสาวของประดิษฐ์
จะพบว่า ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้มีการแสดงหลักฐานเส้นทางการเงินของเครือญาติประดิษฐ์ว่า เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าวหลายกรรมหลายวาระ
โดยประดิษฐ์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากงานนี้อยู่ในกลุ่มที่ 2 อันมีเงินหมุนเวียนเข้าบัญชีรวมทั้งสิ้น 23,728,000 บาท ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทั้งสิ้น!
จากหลักฐานการทำธุรกรรมการเงินทั้งหมด ที่มีเครือญาติเข้าไปเกี่ยวข้อง แม้ประดิษฐ์จะพยายาม แจงว่าเขาเป็นคนมีพี่น้องเยอะถึง 17 คน และญาติๆ ในวงศ์ตระกูลรวม 300 กว่าคน จึงย่อมไม่รู้ว่าญาติแต่ละคนไปทำอะไรที่ไหน จะไปติดต่อกับใครบ้าง และไม่เคยรับรู้เรื่องการทำธุรกิจหรือเรื่องส่วนตัวของเครือญาติ โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้งปี 48 เขาอ้างว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงมากกับพรรคไทยรักไทย จนไม่มีเวลาจะทำอะไร และไม่มีเวลามานั่งตรวจสอบเครือญาติ
จึงขอปฏิเสธความเกี่ยวข้องเรื่องนี้
ทว่าจากพยานหลักฐาน และเนื้อหาการอภิปราย จะพบว่า เงินทั้งหมดมีการโยกย้ายและทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับคนของประชาธิปัตย์ และเกิดขึ้นในช่วงก่อนวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทั้งสิ้น
มันไม่ใช่เงินน้อยๆ แต่เป็นเงินหลายสิบล้าน จึงยากที่สังคมจะฟังคำชี้แจงของประดิษฐ์แล้วพยักหน้า “เชื่อทั้งหมด” แบบง่ายๆ
คงมีเพียงบางประเด็นที่ประดิษฐ์ อาจเคลียร์ได้ เช่น เรื่องการว่าจ้างให้เมซไซอะฯ ทำป้ายโฆษณาหาเสียงให้กับพรรค ซึ่งประดิษฐ์ มีเอกสารหลักฐานการว่าจ้างและการทำสัญญามาแสดงต่อสภาฯได้ ไม่ใช่การว่าจ้างลอยๆ โดยไม่มีการทำสัญญาเพื่อให้มีการโยกย้ายเงินออกไปจากบัญชีอย่างที่ฝ่ายค้านชี้ประเด็น
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเจ้าตัวก็รู้ว่าหลายประเด็น เขาแจงไม่ได้ เพราะจนด้วยหลักฐานของฝ่ายค้าน เลยต้องงัดมุขเก่าๆ ด้วยการ “เดิมพันชีวิตการเมือง”
บนเงื่อนไข
หากมีผลสรุปการตรวจสอบสอบสวนในเรื่องนี้ โดยมีการชี้มูลความผิดกับตัวเขาด้วย ก็พร้อมจะยุติบทบาททางการเมือง ซึ่งพบว่า ประดิษฐ์ไม่ได้อธิบายให้กระจ่างชัดในคำว่า “ยุติบทบาททางการเมือง” หมายถึงเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต หรือลาออกจากตำแหน่งรมช.คลัง
เมื่อดูแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องจะต้องไปตื่นเต้นใดๆ เพราะหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง สรุปผลว่า มีการกระทำผิดจริงในการรับเงินบริจาคดังกล่าว แล้วทำงบดุลเท็จต่อกกต. ถึงตอนนั้น ประดิษฐ์ ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งอยู่ดี
เพราะกระแสสังคมคงไม่ยอมให้นักการเมืองมัวหมอง มานั่งบริหารประเทศอย่างแน่นอน
หลังจากนี้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนข้อเท็จจริงจะต้องเร่งดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งก็คือกกต. ที่เป็นเจ้าภาพหลักในการตรวจสอบแทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อันย่อมทำให้ข้อเท็จจริง และบทสรุปย่อมได้รับความเชื่อถือมากกว่าดีเอสไอ ที่เป็นตำรวจการเมืองอย่างแน่นอน
แม้จะเริ่มมีสัญญาณจากกรรมการ กกต.บางคนออกมาแสดงทัศนะในท่วงทำนองชี้นำผลการสอบสวนไปล่วงหน้าว่า อาจถึงขั้น “ยุบพรรค” จากความผิดในเรื่องการรับเงินบริจาค โดยไม่แจ้งกกต.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพรรคการเมือง มาตรา 94 รวมถึงโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปีอีกด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง แกนนำรัฐบาล-ส.ส.ประชาธิปัตย์ หลายคนในเวลานี้ก็
ตายหมู่
เพราะนอกจากเรื่องความผิดตามกฎหมายพรรคการเมืองแล้ว ยังจะมีความผิดกฎหมายอาญามาตรา 137 ฐานแจ้งความเท็จ
อย่างไรก็ตาม ก็น่าแปลกใจที่ กกต..คนดังกล่าวคือ สดศรี สัตยธรรมให้สัมภาษณ์ล่วงหน้าไปได้อย่างไร ทั้งที่ยังไม่เห็นเอกสาร ข้อเท็จจริงที่จะได้รับจากพรรคฝ่ายค้าน และเพิ่งได้รับสำนวนบางส่วนจากดีเอสไอ ไม่ทันข้ามวัน
จึงสมควรหรือไม่ ที่กกต.ที่ทำงานแบบนี้จะต้องทบทวนบทบาทตัวเอง
สิ่งที่ต้องติดตามก็คือ หากท้ายสุด กระบวนการ “คดียุบพรรค” หากจะเกิดขึ้นจริง ก็ต้องน่าติดตามว่า พรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำรัฐบาล ทั้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ,สุเทพ เทือกสุบรรณ ,นิพนธ์ พร้อมพันธ์ ,ชวน หลีกภัย และ บัญญัติ บรรทัดฐาน จะสู้คดีอย่างไรในชั้นอัยการ รวมถึงหากไปถึงขั้นศาลรัฐธรรมนูญ
บนกระแสข่าวว่า มีแกนนำพรรคและส.ส.พรรคหลายคน คิดหาทางออกด้วยการ
ตัดตอน-ลอยแพ
คนที่เกี่ยวข้องทั้ง นิพนธ์ บุญญามณี และ ประพร เอกอุรุ 2 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค โดยการอ้างว่าเป็นเรื่องที่บุคคลเหล่านี้ไปดำเนินการเอาเองโดยพรรคไม่เกี่ยวข้อง และไม่รู้เรื่อง
ทำให้เป็นความผิดส่วนตัว
หากว่า ท้ายสุดประเมินว่ายากต่อการจะแก้ข้อกล่าวหาได้ เพราะจำนนด้วยเอกสารหลักฐาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าคิดตอนนี้ก็คือ เมื่อสังคมยังคลางแคลงใจในตัวประดิษฐ์ เพราะข้อกล่าวหาเรื่องนี้เป็นเรื่องของ
จริยธรรมการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองคนไหน พรรคการเมืองไหน จะต้องรักษาสิ่งนี้เอาไว้เป็นสำคัญยิ่งกว่า “ตัวบทกฎหมาย”
และตัวละครที่เกี่ยวข้องใน 4 กลุ่ม ตามข้อมูลของฝ่ายค้าน ก็พบว่า มีเพียงประดิษฐ์คนเดียว ที่ตอนนี้เป็นรัฐมนตรี อยู่ในฝ่ายบริหาร ขณะที่คนอื่นล้วนแต่เป็นคนนอกซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ทางการเมืองใดๆ
บรรทัดฐานของ “ประดิษฐ์”จึงต้องสูงกว่า ทุกคน
นั่นหมายความว่า อภิสิทธิ์ จะต้องชั่งน้ำหนักได้แล้วว่า จะให้สังคมคลางแคลงใจในตัวรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขา ว่ามีส่วนร่วมรู้เห็นในเรื่องการทำธุรกรรมการเงินเพื่อไซฟอนเงิน ตามข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน เช่นนี้ต่อไปหรือ
ยิ่งก่อนหน้านี้ อภิสิทธิ์ เคยวางกฎเหล็กจริยธรรม 9 ข้อ ให้กับรัฐมนตรีทุกคนตั้งแต่วันแรกที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการพูดถึงอย่างมาก ว่าเป็นบรรทัดฐานการเมืองที่วางไว้เป็นอย่างดีเพราะให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรม ธรรมาภิบาล
และมีการนำไปใช้ให้เห็นแล้วกับกรณี “ปลากระป๋องเน่า” ในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จนวิฑูรย์ นามบุตร แกนนำพรรคในภาคอีสาน
จำต้องทิ้งเก้าอี้ เพื่อรักษากฎเหล็กของอภิสิทธิ์เอาไว้
ดังนั้นบรรทัดฐานที่วางไว้ จึงควรที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องนำมาพิจารณากับตัวประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ด้วยเช่นกัน