นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงข้อเสนอของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่องให้ยุบสภา เพื่อให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ลงเลือกตั้งว่า คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิฯ จะลงเลือกตั้งได้ ต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญก่อนซึ่งก็ต้องใช้เวลาและต้องใช้เสียงในสภา ถ้าดูความเป็นไปได้ คงเป็นได้ยาก
"สาเหตุเกิดจากการยุบพรรคการเมือง คนทำผิดอาจจะยังไม่เห็นปัญหา มาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญเพิ่งใช้ใหม่ ไม่คิดว่าผลจะรุนแรง แต่หลังจากใช้มาแล้ว ผมคิดว่าคนเข้าใจแล้ว พรรคการเมืองก็คงระวัง ส่วนเอกสิทธิ์ของส.ส.ในรัฐธรรมนูญ ก็ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ เพราะในสหรัฐอเมริกาไม่ต้องมีการเขียนเป็นกฎหมาย ก็ยังมีการลงมติให้ฝ่ายตรงข้ามได้ หากเห็นว่ากฎหมายไหนเป็นประโยชน์ จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่หากส.ส.ไปโหวตสวนมติพรรค แล้วส.ส.ผู้นั้นได้ประโยชน์ ก็เป็นเรื่องความผิดทางอาญา และมีโทษขับออกจากพรรคได้ ดังนั้นเราต้องยกระดับส.ส.ขึ้นมาให้ได้ โดยการพัฒนาระบบคุณธรรม"
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี2550 ไม่ได้เจตนาให้เกิดส.ส.งูเห่า แต่ให้ส.ส.ทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม ถ้ามติพรรคบอกว่าต้องโหวตให้พรรคที่ไม่เห็นด้วย แล้วหากส.ส.เห็นว่า น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูก ก็สามารถที่จะขัดมติพรรคได้ ทั้งนี้รัฐธรมนูญปี 2550 ไม่ใช่ไม่เป็นธรรมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการแก้ให้มีการอภิปรายนายรัฐมนตรีได้ อีกทั้งหากกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ในส่วนของ กกต.จะมีความเข้มข้นมาก เพราะการให้ใบเหลือง หรือใบแดงไม่ต้องไปศาลฎีกา ซึ่งนักการเมืองท้องถิ่นก็บอกว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบัน มีข้อดีมากว่า เพราะหลังประกาศผลแล้ว เมื่อกกต.มีมติใบเหลือง หรือใบแดง ก็สามมารถไปสู้ในชั้นศาลได้ซึ่งศาลก็อาจยกคำร้องกกต.ได้
"การที่ศาลยกคำร้องของกกต.นั้น ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะชั้น กกต.เป็นเพียงแค่ความเห็นเท่านั้น และที่ศาลยกคำร้องเพราะ พยานไม่ยอมมา และพยานกลับคำให้การ" นายประพันธ์กล่าว
"สาเหตุเกิดจากการยุบพรรคการเมือง คนทำผิดอาจจะยังไม่เห็นปัญหา มาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญเพิ่งใช้ใหม่ ไม่คิดว่าผลจะรุนแรง แต่หลังจากใช้มาแล้ว ผมคิดว่าคนเข้าใจแล้ว พรรคการเมืองก็คงระวัง ส่วนเอกสิทธิ์ของส.ส.ในรัฐธรรมนูญ ก็ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ เพราะในสหรัฐอเมริกาไม่ต้องมีการเขียนเป็นกฎหมาย ก็ยังมีการลงมติให้ฝ่ายตรงข้ามได้ หากเห็นว่ากฎหมายไหนเป็นประโยชน์ จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่หากส.ส.ไปโหวตสวนมติพรรค แล้วส.ส.ผู้นั้นได้ประโยชน์ ก็เป็นเรื่องความผิดทางอาญา และมีโทษขับออกจากพรรคได้ ดังนั้นเราต้องยกระดับส.ส.ขึ้นมาให้ได้ โดยการพัฒนาระบบคุณธรรม"
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี2550 ไม่ได้เจตนาให้เกิดส.ส.งูเห่า แต่ให้ส.ส.ทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม ถ้ามติพรรคบอกว่าต้องโหวตให้พรรคที่ไม่เห็นด้วย แล้วหากส.ส.เห็นว่า น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูก ก็สามารถที่จะขัดมติพรรคได้ ทั้งนี้รัฐธรมนูญปี 2550 ไม่ใช่ไม่เป็นธรรมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการแก้ให้มีการอภิปรายนายรัฐมนตรีได้ อีกทั้งหากกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ในส่วนของ กกต.จะมีความเข้มข้นมาก เพราะการให้ใบเหลือง หรือใบแดงไม่ต้องไปศาลฎีกา ซึ่งนักการเมืองท้องถิ่นก็บอกว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบัน มีข้อดีมากว่า เพราะหลังประกาศผลแล้ว เมื่อกกต.มีมติใบเหลือง หรือใบแดง ก็สามมารถไปสู้ในชั้นศาลได้ซึ่งศาลก็อาจยกคำร้องกกต.ได้
"การที่ศาลยกคำร้องของกกต.นั้น ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะชั้น กกต.เป็นเพียงแค่ความเห็นเท่านั้น และที่ศาลยกคำร้องเพราะ พยานไม่ยอมมา และพยานกลับคำให้การ" นายประพันธ์กล่าว