คลังเตรียมเสนอร่างกฎหมายขยายเพดานเงินกู้หลังส่งสัญญาณรัฐบาลกู้เงินชนเพดาน เพิ่มวงเงินหนี้สาธารณะเป็น 60% ของจีดีพีเพิ่มจากเดิมที่ระดับ 50% ระบุเหมาะสมที่จะใช้ในระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เตรียมเสนอพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ขยายกรอบวงเงินกู้พิเศษ เพื่อให้กระทรวงการคลังพิจารณาเนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลได้กู้เงินเกือบเต็มเพดานที่ตั้งไว้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 4.4 แสนล้านบาท และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการนำเงินมากระตุ้น
เศรษฐกิจ หลังจากเศรษฐกิจในขณะนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องกู้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤตระยะนี้ไปให้ได้
การออก พ.ร.ก.กู้เงินพิเศษดังกล่าว เป็นมาตรการชั่วคราวที่ใช้ได้ในระยะ 2-3 ปีเท่านั้น เพราะเมื่อหากเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ และแหล่งเงินที่ใช้ในโครงการต่างๆ ต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้ ซึ่งการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้รัฐบาลหาแหล่งเงินทุนได้คล่องตัวได้มากขึ้น โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนหาแหล่งเงินกู้ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะดำเนินการเรื่องดังกล่าวและจะเสนอแก่นายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลังพิจารณา กฎหมายกู้เงินพิเศษ เพื่อเสนอแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
พร้อมกันนี้จะเสนอกระทรวงการคลังให้มีการขยายเพดานหนี้สาธารณะออกไปเป็น 60% ของจีดีพี จากเดิมรัฐบาลกำหนดไว้ว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 50% ของจีดีพี ซึ่งรัฐบาลมองเห็นแล้วว่าในขณะนี้มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับลดจีดีพีของกระทรวงการคลังน่าจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ในปีนี้รัฐบาลได้ขยายโครงการการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในสัดส่วน 18% หรือกว่า 3 แสนล้านบาท จากเดิม 5% หรือกว่า 9.4 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการประหยัดเงินของภาครัฐ โดยจะนำเงินที่เหลือไปใช้ในโครงการลงทุนอื่นๆแทน เพื่อเศรษฐกิจจะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
“มองว่าในภาวะที่เศรษฐกิจมีการชะลอตัว และขณะนี้เงินกู้ของรัฐบาลก็ถือว่าเกือบเต็มเพดานที่ 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งผมมองเห็นความจำเป็นในการกู้เงินหรือออก พ.ร.ก.กู้เงินฉบับพิเศษออกมาเพื่อรองรับวิกฤต และหากโครงการ PPP ของรัฐบาลที่ร่วมกับเอกชนไม่เกิดประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะนำเงินกู้พิเศษส่วนนี้มาใช้ในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ไปโดยเร็ว โดยการออก พ.ร.ก.กู้เงินพิเศษเป็นโครงการชั่วคราว 2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งจะต้องกลับมาดูอีกทีว่าจะหาแหล่งเงินกู้จากไหนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
เสนอแผนกระตุ้นเฟส 2 ใน 1เดือน
นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ภายใน 1 เดือนจากนี้ จะเสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 2 ในระยะเวลา 3 ปี เข้าสู่การพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีการอนุมัติในวงเงิน 1.56 ล้านล้านบาทว่าโครงการใดบ้างที่จะลงทุนในระยะเวลา 3 ปีและแหล่งเงินทุนมาจากแหล่งใด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี 2553-2555 จะเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เป็นโครงการขนาดใหญ่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจ 60% และนโยบายทางสังคม อาทิ โครงการจัดห้องสมุด 40% และเพื่อรองรับต่างชาติหลังภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ
นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 รัฐบาลจะผลักดันการปลูกพืชพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเตรียมหารือกับกระทรวงพลังงานและปตท. เกี่ยวกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการการลงทุน เพื่อให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าโดยเร็ว.
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เตรียมเสนอพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ขยายกรอบวงเงินกู้พิเศษ เพื่อให้กระทรวงการคลังพิจารณาเนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลได้กู้เงินเกือบเต็มเพดานที่ตั้งไว้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 4.4 แสนล้านบาท และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการนำเงินมากระตุ้น
เศรษฐกิจ หลังจากเศรษฐกิจในขณะนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องกู้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤตระยะนี้ไปให้ได้
การออก พ.ร.ก.กู้เงินพิเศษดังกล่าว เป็นมาตรการชั่วคราวที่ใช้ได้ในระยะ 2-3 ปีเท่านั้น เพราะเมื่อหากเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ และแหล่งเงินที่ใช้ในโครงการต่างๆ ต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้ ซึ่งการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้รัฐบาลหาแหล่งเงินทุนได้คล่องตัวได้มากขึ้น โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนหาแหล่งเงินกู้ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะดำเนินการเรื่องดังกล่าวและจะเสนอแก่นายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลังพิจารณา กฎหมายกู้เงินพิเศษ เพื่อเสนอแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
พร้อมกันนี้จะเสนอกระทรวงการคลังให้มีการขยายเพดานหนี้สาธารณะออกไปเป็น 60% ของจีดีพี จากเดิมรัฐบาลกำหนดไว้ว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 50% ของจีดีพี ซึ่งรัฐบาลมองเห็นแล้วว่าในขณะนี้มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับลดจีดีพีของกระทรวงการคลังน่าจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ในปีนี้รัฐบาลได้ขยายโครงการการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในสัดส่วน 18% หรือกว่า 3 แสนล้านบาท จากเดิม 5% หรือกว่า 9.4 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการประหยัดเงินของภาครัฐ โดยจะนำเงินที่เหลือไปใช้ในโครงการลงทุนอื่นๆแทน เพื่อเศรษฐกิจจะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
“มองว่าในภาวะที่เศรษฐกิจมีการชะลอตัว และขณะนี้เงินกู้ของรัฐบาลก็ถือว่าเกือบเต็มเพดานที่ 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งผมมองเห็นความจำเป็นในการกู้เงินหรือออก พ.ร.ก.กู้เงินฉบับพิเศษออกมาเพื่อรองรับวิกฤต และหากโครงการ PPP ของรัฐบาลที่ร่วมกับเอกชนไม่เกิดประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะนำเงินกู้พิเศษส่วนนี้มาใช้ในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ไปโดยเร็ว โดยการออก พ.ร.ก.กู้เงินพิเศษเป็นโครงการชั่วคราว 2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งจะต้องกลับมาดูอีกทีว่าจะหาแหล่งเงินกู้จากไหนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
เสนอแผนกระตุ้นเฟส 2 ใน 1เดือน
นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ภายใน 1 เดือนจากนี้ จะเสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 2 ในระยะเวลา 3 ปี เข้าสู่การพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีการอนุมัติในวงเงิน 1.56 ล้านล้านบาทว่าโครงการใดบ้างที่จะลงทุนในระยะเวลา 3 ปีและแหล่งเงินทุนมาจากแหล่งใด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี 2553-2555 จะเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เป็นโครงการขนาดใหญ่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจ 60% และนโยบายทางสังคม อาทิ โครงการจัดห้องสมุด 40% และเพื่อรองรับต่างชาติหลังภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ
นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 รัฐบาลจะผลักดันการปลูกพืชพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเตรียมหารือกับกระทรวงพลังงานและปตท. เกี่ยวกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการการลงทุน เพื่อให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าโดยเร็ว.