จับไม่หมด! ขบวนการค้าข้าวนอกกฎหมายโผล่ซ้ำ กลางวันขนตามใบโควต้ของกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้ข้อตกลง WTO แต่กลางคืนใช้กองทัพมดขนข้ามน้ำเมยตลอดแนวชายแดนตาก ส่งซุกโกดังก่อนหาช่องสวมใบอนุญาตป้อนโรงสีทั่วประเทศต่อ ล่าสุดทหารพรานที่ 35 จับได้คาหนังคาเขา ขณะขนขึ้น 3 ปิกอัพเลี่ยงจุดตรวจ
พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารพราน ต้องออกตรวจการขนข้าวสารจากพม่าข้ามแม่น้ำเมยมายังฝั่งไทยทั้งกลางวัน และกลางคืน ซึ่งในช่วงกลางวันส่วนใหญ่จะเป็นการขนข้าวสาร 25% จากพม่าเข้ามา โดยอาศัยใบโควต้านำเข้าตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO)ที่ปีนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้อนุมัติให้นำเข้าได้ 249,757 ตัน แต่ช่วงกลางคืนเริ่มมีกองทัพมดลักลอบขนข้ามแม่น้ำเมย ก่อนลำเลียงขึ้นรถปิกอัพ ก่อนที่จะไปพักรอตามโกดังต่างๆ ทั้งที่แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง อีกทอดหนึ่ง
" ถ้าข้าวพวกนี้เข้าไปในโกดังแล้ว ต้องยอมรับว่าหมดหน้าที่ของทหารพราน เนื่องจากข้าวสารไม่ได้มีลักษณะบ่งเฉพาะ ถ้านำไปปนกัน ก็จะกลายเป็นข้าวที่ถูกกฎหมายทันที เอาผิดกันได้ลำบาก "
ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 ระบุอีกว่า การลักลอบขนข้าวสารของกองทัพมดเหล่านี้ จะขนข้ามตามท่าข้ามต่าง ๆ ที่มีอยู่ตลอดแนวริมแม่น้ำเมย นอกจากนี้ ยังพบว่า บางส่วนเริ่มขนผ่านช่องทางอื่น ๆ ซึ่งขณะนี้พบว่า มีการลำเลียงข้าวสารมาวางกองไว้หน้าบ้านพักริมแม่น้ำเมยฝั่งพม่า แถบเหนือตัวอำเภอแม่สอด จ.ตาก ขึ้นไปจนถึงอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง จำนวนมาก โดยที่เจ้าหน้าที่ไทยไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ แม้จะลอยเรืออยู่กลางแม่น้ำเมยก็ตาม ยกเว้นทันทีที่กระสอบเข้าสารแตะฝั่งไทยเท่านั้น ทหารพรานจึงจะมีสิทธิ์จับกุมได้ทันที
แต่แน่นอนว่า ด้วยระยะทางกว่า 110 กิโลเมตรในเขตรับผิดชอบนั้น ยากต่อการตรวจจับคาหนังคาเขา เพราะหากขึ้นฝั่งไทยแวะพักที่บ้านเรือนที่อยู่ใกล้ๆ และหากข้าวสารถึงโกดัง นั่นคือ กลายข้าวสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยทหารพรานที่ 35 ที่ประจำการในพื้นที่ ก็พยายามตามจับขบวนการลักลอบขนข้าวสารพม่าเข้าไทย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ที่ล้วนเป็นข้าวผิดกฎหมายทั้งสิ้นอย่างเต็มที่ โดยตั้งจุดสกัดตามแนวเขตรับผิดชอบจำนวน 38 ช่องทางผ่านตามแนวชายแดน ตั้งแต่บ้านวังผาในระยะ 30 กิโลเมตรก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า และเหนือสะพานฯ จำนวน 80 กิโลเมตรจนถึงท่าสองยาง ป้องกันกองทัพมดลงเรือข้ามน้ำเมยมายังฝั่งไทย
ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 00.30 น.วานนี้ (26) หลังจากสืบทราบว่า จะมีขบวนการลักลอบขนข้าวสารข้ามแม่น้ำเมยมาตามตระเข็บแนวชายแดน ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 ก็ได้สั่งการให้ชุดเฉพาะกิจทหารพรานตั้งด่านสกัด กระทั่งสามารถจับกุม ขบวนการลักลอบนำข้าวสารข้ามเรือจากประเทศพม่าข้ามมายังฝั่งไทย โดยใช้เรือและทยอยนำขึ้นรถยนต์กระบะ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีใบอนุญาต จึงเข้าจับกุมและยึดของกลางได้
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณทุ่งนาที่เป็นเส้นทางลัดเลาะจากแม่น้ำเมยเข้าตลาดแม่สอด จ.ตาก จับกุมได้ขณะลำเลียงข้าวสารชนิดถุงๆละ 48 กิโลกรัมจำนวน 150 ถุงโดยใช้รถกระบะบรรทุกจำนวน 3 คัน ทราบชื่อคนขับ คือ นายมิตร พรหมมา 541 หมู่ 7 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน บจ.2905, นายรุ่ง อหิงสากุล มา 1 หมู่ 3 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะ หมายเลขทะเบียน บจ.7129 ,นายขวัญชัย ปู่อ่อง 4 หมู่ 3 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน บง.4848
ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 เปิดเผยว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ขนข้ามมาจากท่าทราย ลุยขึ้นฝั่งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง อ้างว่าได้ค่าขนย้ายกระสอบละ 10 บาท จึงได้จับกุมทั้ง 3 ผู้ต้องหา ขณะลำเลียงข้าวสารไปส่งโกดังย่านตลาดแม่สอด และพบว่าใช้เส้นทางหลบหลีกการตรวจสอบของทหาร โดยไม่วิ่งเส้นถนนดำ แต่ไปใช้เส้นทางลัดเลาะ ซึ่งได้นำตัวส่งศุลกากรแม่สอดดำเนินคดีต่อไป
จากการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้าวสารของพม่านั้น ถูกลำเลียงออกจากพื้นที่ปลูกลุ่มน้ำอิระวดี อาณาบริเวณกว้างพอๆกับภาคเหนือของไทย ผ่านมายังเมืองย่างกุ้งในระยะ 200 กิโลเมตร และลำเลียงลงมาอีก 200 กิโลเมตรถึงผาอัน ก่อนมาถึงกรุกกริก และเมียวดี อีก 200 กิโลเมตร ด้วยรถบรรทุก 12 ล้อ ซึ่งข้าวสารทั้งหมดเก็บอยู่ในโกดัง ที่ไม่ได้รับความเสียหายจากพายุนากีสเก็บเอาไว้ร่วม 3 ปี รวมกับข้าวสารในฤดูกาลใหม่ ซึ่งคนพื้นที่ระบุว่า จะต้องลำเลียงข้าวสารจากพม่าส่งเข้าไทยจนหมดฤดูกาล เพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุนากีส ทำให้มีข้าวสารจากพม่าทะลักเข้าไทยอย่างไม่หยุดยั้ง มีทั้งการขนเข้าอย่างถูกกฎหมาย อาศัยใบอนุญาตนำเข้าตามกรอบข้อตกลง WTO ที่มีทั้งใน และนอกโควต้า
โดยใบอนุญาตนำเข้าดังกล่าว มีเข้ามาในพื้นที่แม่สอดใบแรกเมื่อ 27 ก.พ.52 ที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่ขบวนการขนข้าวพม่าข้ามแม่น้ำเมยเข้าไทย ขนกันอย่างครึกครึ้นตั้งแต่ปลายปี 2551 ที่ผ่านมาแล้ว กระทั่งถูกหน่วยเฉพาะกิจทหารราบที่ 4 อ.แม่สอด จับกุมครั้งแรกเมื่อ 22 ก.พ.52 พร้อมกับโพยส่วยค่าผ่านทาง ที่แสดงรายชื่อหน่วยงานที่รับส่วนเคลียร์เส้นทางมากกว่า 20 หน่วย (เป็นหน่วยงานราชการในพื้น อ.แม่สอด จำนวน 17 หน่วย ที่เหลือเป็นทีมเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ที่ถูกส่งเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่แม่สอด) รวมวงเงินที่จ่ายสูงถึง 2.2 ล้านบาท/วัน หรือไม่น้อยกว่า 66 ล้านบาท/เดือน ทำให้ขณะนี้ พื้นที่ริมแม่น้ำเมย ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก เต็มไปด้วยโกดังและท่าข้ามต่างๆ เพื่อรอรับข้าวพม่าขึ้นรถบรรทุก
ขณะที่วานนี้ (26 มี.ค.) พล.ต.วิศณุ ศรียะพันธ์ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และ พล.ต.สุรัตน์ บรรเทาทุรามัย ที่ปรึกษาเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารพร้อมคณะ ได้เดินทางตรวจราชการชายแดนไทย-พม่าที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และเข้ารับฟังบรรยายสรุปที่ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด โดยมี พ.อ.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 ให้การต้อนรับและนำคณะไปตรวจบริเวณแนวชายแดน เพื่อศึกษาปัญหาด้านต่างๆ และส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดน รวมทั้งปัญหาด้านการค้าข้าวสาร-ข้าวโพด-โครงการ Contract Farming และท่าเรือขนส่งสินค้า ที่มีข่าวเรื่องการลักลอบนำเข้าข้าวสาร-ข้าวโพดไม่เสียภาษีศุลกากร เข้าพื้นที่ชั้นในของไทย เพื่อหาทางช่วยเหลือราษฎรไทยที่เป็นกลุ่มเกษตรกรต่อไป
รายงาข่าวแจ้งว่า คณะของกรมกิจการพลเรือนได้ไปดูชายแดนที่บ้านห้วยปากอง อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องการดูแลรักษาป่าไม้ รวมทั้งการเดินทางไปดูจุดนำเข้าสินค้าพืชผลผลผลิตจากพม่า คือ ข้าวสารจากพม่า บริเวณริมแม่น้ำเมย-รวมทั้งการป้องกันปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติด-ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของบุคคลต่างด้าว.
พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารพราน ต้องออกตรวจการขนข้าวสารจากพม่าข้ามแม่น้ำเมยมายังฝั่งไทยทั้งกลางวัน และกลางคืน ซึ่งในช่วงกลางวันส่วนใหญ่จะเป็นการขนข้าวสาร 25% จากพม่าเข้ามา โดยอาศัยใบโควต้านำเข้าตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO)ที่ปีนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้อนุมัติให้นำเข้าได้ 249,757 ตัน แต่ช่วงกลางคืนเริ่มมีกองทัพมดลักลอบขนข้ามแม่น้ำเมย ก่อนลำเลียงขึ้นรถปิกอัพ ก่อนที่จะไปพักรอตามโกดังต่างๆ ทั้งที่แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง อีกทอดหนึ่ง
" ถ้าข้าวพวกนี้เข้าไปในโกดังแล้ว ต้องยอมรับว่าหมดหน้าที่ของทหารพราน เนื่องจากข้าวสารไม่ได้มีลักษณะบ่งเฉพาะ ถ้านำไปปนกัน ก็จะกลายเป็นข้าวที่ถูกกฎหมายทันที เอาผิดกันได้ลำบาก "
ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 ระบุอีกว่า การลักลอบขนข้าวสารของกองทัพมดเหล่านี้ จะขนข้ามตามท่าข้ามต่าง ๆ ที่มีอยู่ตลอดแนวริมแม่น้ำเมย นอกจากนี้ ยังพบว่า บางส่วนเริ่มขนผ่านช่องทางอื่น ๆ ซึ่งขณะนี้พบว่า มีการลำเลียงข้าวสารมาวางกองไว้หน้าบ้านพักริมแม่น้ำเมยฝั่งพม่า แถบเหนือตัวอำเภอแม่สอด จ.ตาก ขึ้นไปจนถึงอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง จำนวนมาก โดยที่เจ้าหน้าที่ไทยไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ แม้จะลอยเรืออยู่กลางแม่น้ำเมยก็ตาม ยกเว้นทันทีที่กระสอบเข้าสารแตะฝั่งไทยเท่านั้น ทหารพรานจึงจะมีสิทธิ์จับกุมได้ทันที
แต่แน่นอนว่า ด้วยระยะทางกว่า 110 กิโลเมตรในเขตรับผิดชอบนั้น ยากต่อการตรวจจับคาหนังคาเขา เพราะหากขึ้นฝั่งไทยแวะพักที่บ้านเรือนที่อยู่ใกล้ๆ และหากข้าวสารถึงโกดัง นั่นคือ กลายข้าวสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยทหารพรานที่ 35 ที่ประจำการในพื้นที่ ก็พยายามตามจับขบวนการลักลอบขนข้าวสารพม่าเข้าไทย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ที่ล้วนเป็นข้าวผิดกฎหมายทั้งสิ้นอย่างเต็มที่ โดยตั้งจุดสกัดตามแนวเขตรับผิดชอบจำนวน 38 ช่องทางผ่านตามแนวชายแดน ตั้งแต่บ้านวังผาในระยะ 30 กิโลเมตรก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า และเหนือสะพานฯ จำนวน 80 กิโลเมตรจนถึงท่าสองยาง ป้องกันกองทัพมดลงเรือข้ามน้ำเมยมายังฝั่งไทย
ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 00.30 น.วานนี้ (26) หลังจากสืบทราบว่า จะมีขบวนการลักลอบขนข้าวสารข้ามแม่น้ำเมยมาตามตระเข็บแนวชายแดน ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 ก็ได้สั่งการให้ชุดเฉพาะกิจทหารพรานตั้งด่านสกัด กระทั่งสามารถจับกุม ขบวนการลักลอบนำข้าวสารข้ามเรือจากประเทศพม่าข้ามมายังฝั่งไทย โดยใช้เรือและทยอยนำขึ้นรถยนต์กระบะ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีใบอนุญาต จึงเข้าจับกุมและยึดของกลางได้
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณทุ่งนาที่เป็นเส้นทางลัดเลาะจากแม่น้ำเมยเข้าตลาดแม่สอด จ.ตาก จับกุมได้ขณะลำเลียงข้าวสารชนิดถุงๆละ 48 กิโลกรัมจำนวน 150 ถุงโดยใช้รถกระบะบรรทุกจำนวน 3 คัน ทราบชื่อคนขับ คือ นายมิตร พรหมมา 541 หมู่ 7 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน บจ.2905, นายรุ่ง อหิงสากุล มา 1 หมู่ 3 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะ หมายเลขทะเบียน บจ.7129 ,นายขวัญชัย ปู่อ่อง 4 หมู่ 3 ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก คนขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน บง.4848
ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 35 เปิดเผยว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ขนข้ามมาจากท่าทราย ลุยขึ้นฝั่งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง อ้างว่าได้ค่าขนย้ายกระสอบละ 10 บาท จึงได้จับกุมทั้ง 3 ผู้ต้องหา ขณะลำเลียงข้าวสารไปส่งโกดังย่านตลาดแม่สอด และพบว่าใช้เส้นทางหลบหลีกการตรวจสอบของทหาร โดยไม่วิ่งเส้นถนนดำ แต่ไปใช้เส้นทางลัดเลาะ ซึ่งได้นำตัวส่งศุลกากรแม่สอดดำเนินคดีต่อไป
จากการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้าวสารของพม่านั้น ถูกลำเลียงออกจากพื้นที่ปลูกลุ่มน้ำอิระวดี อาณาบริเวณกว้างพอๆกับภาคเหนือของไทย ผ่านมายังเมืองย่างกุ้งในระยะ 200 กิโลเมตร และลำเลียงลงมาอีก 200 กิโลเมตรถึงผาอัน ก่อนมาถึงกรุกกริก และเมียวดี อีก 200 กิโลเมตร ด้วยรถบรรทุก 12 ล้อ ซึ่งข้าวสารทั้งหมดเก็บอยู่ในโกดัง ที่ไม่ได้รับความเสียหายจากพายุนากีสเก็บเอาไว้ร่วม 3 ปี รวมกับข้าวสารในฤดูกาลใหม่ ซึ่งคนพื้นที่ระบุว่า จะต้องลำเลียงข้าวสารจากพม่าส่งเข้าไทยจนหมดฤดูกาล เพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุนากีส ทำให้มีข้าวสารจากพม่าทะลักเข้าไทยอย่างไม่หยุดยั้ง มีทั้งการขนเข้าอย่างถูกกฎหมาย อาศัยใบอนุญาตนำเข้าตามกรอบข้อตกลง WTO ที่มีทั้งใน และนอกโควต้า
โดยใบอนุญาตนำเข้าดังกล่าว มีเข้ามาในพื้นที่แม่สอดใบแรกเมื่อ 27 ก.พ.52 ที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่ขบวนการขนข้าวพม่าข้ามแม่น้ำเมยเข้าไทย ขนกันอย่างครึกครึ้นตั้งแต่ปลายปี 2551 ที่ผ่านมาแล้ว กระทั่งถูกหน่วยเฉพาะกิจทหารราบที่ 4 อ.แม่สอด จับกุมครั้งแรกเมื่อ 22 ก.พ.52 พร้อมกับโพยส่วยค่าผ่านทาง ที่แสดงรายชื่อหน่วยงานที่รับส่วนเคลียร์เส้นทางมากกว่า 20 หน่วย (เป็นหน่วยงานราชการในพื้น อ.แม่สอด จำนวน 17 หน่วย ที่เหลือเป็นทีมเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ที่ถูกส่งเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่แม่สอด) รวมวงเงินที่จ่ายสูงถึง 2.2 ล้านบาท/วัน หรือไม่น้อยกว่า 66 ล้านบาท/เดือน ทำให้ขณะนี้ พื้นที่ริมแม่น้ำเมย ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก เต็มไปด้วยโกดังและท่าข้ามต่างๆ เพื่อรอรับข้าวพม่าขึ้นรถบรรทุก
ขณะที่วานนี้ (26 มี.ค.) พล.ต.วิศณุ ศรียะพันธ์ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และ พล.ต.สุรัตน์ บรรเทาทุรามัย ที่ปรึกษาเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารพร้อมคณะ ได้เดินทางตรวจราชการชายแดนไทย-พม่าที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และเข้ารับฟังบรรยายสรุปที่ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด โดยมี พ.อ.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 ให้การต้อนรับและนำคณะไปตรวจบริเวณแนวชายแดน เพื่อศึกษาปัญหาด้านต่างๆ และส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดน รวมทั้งปัญหาด้านการค้าข้าวสาร-ข้าวโพด-โครงการ Contract Farming และท่าเรือขนส่งสินค้า ที่มีข่าวเรื่องการลักลอบนำเข้าข้าวสาร-ข้าวโพดไม่เสียภาษีศุลกากร เข้าพื้นที่ชั้นในของไทย เพื่อหาทางช่วยเหลือราษฎรไทยที่เป็นกลุ่มเกษตรกรต่อไป
รายงาข่าวแจ้งว่า คณะของกรมกิจการพลเรือนได้ไปดูชายแดนที่บ้านห้วยปากอง อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องการดูแลรักษาป่าไม้ รวมทั้งการเดินทางไปดูจุดนำเข้าสินค้าพืชผลผลผลิตจากพม่า คือ ข้าวสารจากพม่า บริเวณริมแม่น้ำเมย-รวมทั้งการป้องกันปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติด-ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของบุคคลต่างด้าว.