ASTVผู้จัดการรายวัน – ขุนคลังถกหน่วยงานจัดเก็บภาษีรับมือรายได้ปี 52 หลุดเป้า สั่งกรมสรรพากรเอาจริงเลี่ยงภาษีผ่านคณะบุคคลทำรายได้รัฐบาลวูบ เตรียมมาตรการรับมือสภาพคล่องรัฐ พร้อมประกาศความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่พัทยา
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้บริหารของหน่วยงานจัดเก็บรายได้ทั้ง 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร เพื่อหาทางรับมือปัญหารายได้ของรัฐบาลลดลงต่อเนื่อง เพราะในช่วงแรกของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ประเมินจากฐานตัวเลขต่างๆ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะพบว่ารายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 1.3 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะได้ติดตามสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและอาจมีการปรับแก้ตัวเลขต่างๆ หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยตัวเลขที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อตอนเข้ารับตำแหน่งนั้นได้ตั้งกรอบการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 10% หรือ 1.8 – 2 แสนล้านบาท
"เดิมคาดว่าอาจจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้า 130,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมากถึง 2 แสนล้านบาทหรือไม่ แต่กระทรวงการคลังได้ประเมินและเตรียมพร้อมวางแผนรองรับไว้" รมว.คลังกล่าว
***เตรียมแผนรับมือสภาพคล่องรัฐ
สำหรับแผนรองรับกรณีที่จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมีหลายแนวทาง ทั้งการบริหารเงินสด หรือการคำนวณการจัดทำประมาณการรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 ให้สอดคล้องกับประมาณการรายได้ ขณะที่ได้กำชับให้กรมภาษี เพื่อทบทวนแนวทางการจัดเก็บภาษี
ส่วนกรณีกรมสรรพากรได้รายงานถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีของกลุ่มคณะบุคคล ซึ่งพบหลายรูปแบบ ทั้งการกระจายรายได้ของกลุ่มคณะบุคคล หรือ การสร้างรายจ่ายเทียมเพื่อหลบเลี่ยงภาษี โดยได้มอบนโยบายให้กรมสรรพากรดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเข้มงวดมากขึ้น
***ถก 4 หน่วยงาน ประเมินภาพรวม
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า รมว.คลังได้มอบนโยบายให้กรมจัดเก็บภาษี ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมากขึ้น ขณะที่ในสัปดาห์หน้าจะมีการเชิญหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ 4 หน่วยงาน คือ สศค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ มาหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อนำไปประเมินแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและวางนโยบายต่างๆ ต่อไป
“สถานการณ์ในขณะนี้จะพบว่ารายได้ของรัฐบาลที่ลดลงมาจากภาษีน้ำเข้าสินค้าวัตถุดิบลดลง เพราะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวเอกชนจึงลดกำลังการผลิต กระทรวงการคลังต้องเตรียมแผนรับมือและหาแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเชิญหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจมาหารือเพื่อหาแนวทางรับมือกันต่อไป” นายสมชัยกล่าว
***คลังเตรียมประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน
นายกรณ์กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6-9 เม.ย. 52 ณ โรงแรมอมารี ออคิด รีสอร์ท อำเภอเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยรัฐมนตรีคลังของไทยจะเป็นประธานการประชุม โดยมีรัฐมนตรีคลังอาเซียน 10 ประเทศ เลขาธิการอาเซียน และธนาคารกลาง โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน จัดประชุมวันที่ 6 เม.ย.52
จากนั้นเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 จะประชุมวันที่ 7-8 เม.ย.52 และการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 จัดประชุมวันที่ 9 เม.ย.52 สำหรับประเด็นหลักการประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นหาข้อสรุปเกี่ยวกับการลงขันในกองทุนมาตรการริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคีของกลุ่มอาเซียน เพื่อนำไปหารือในเวทีประชุมอาเซียน+3 ที่บาหลี อินโดนิเซีย ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ หวังให้มีกองทุนเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศสมาชิกในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การหารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียนร่วมกัน.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้บริหารของหน่วยงานจัดเก็บรายได้ทั้ง 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร เพื่อหาทางรับมือปัญหารายได้ของรัฐบาลลดลงต่อเนื่อง เพราะในช่วงแรกของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ประเมินจากฐานตัวเลขต่างๆ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะพบว่ารายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 1.3 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะได้ติดตามสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและอาจมีการปรับแก้ตัวเลขต่างๆ หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยตัวเลขที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อตอนเข้ารับตำแหน่งนั้นได้ตั้งกรอบการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 10% หรือ 1.8 – 2 แสนล้านบาท
"เดิมคาดว่าอาจจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้า 130,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมากถึง 2 แสนล้านบาทหรือไม่ แต่กระทรวงการคลังได้ประเมินและเตรียมพร้อมวางแผนรองรับไว้" รมว.คลังกล่าว
***เตรียมแผนรับมือสภาพคล่องรัฐ
สำหรับแผนรองรับกรณีที่จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมีหลายแนวทาง ทั้งการบริหารเงินสด หรือการคำนวณการจัดทำประมาณการรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 ให้สอดคล้องกับประมาณการรายได้ ขณะที่ได้กำชับให้กรมภาษี เพื่อทบทวนแนวทางการจัดเก็บภาษี
ส่วนกรณีกรมสรรพากรได้รายงานถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีของกลุ่มคณะบุคคล ซึ่งพบหลายรูปแบบ ทั้งการกระจายรายได้ของกลุ่มคณะบุคคล หรือ การสร้างรายจ่ายเทียมเพื่อหลบเลี่ยงภาษี โดยได้มอบนโยบายให้กรมสรรพากรดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเข้มงวดมากขึ้น
***ถก 4 หน่วยงาน ประเมินภาพรวม
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า รมว.คลังได้มอบนโยบายให้กรมจัดเก็บภาษี ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมากขึ้น ขณะที่ในสัปดาห์หน้าจะมีการเชิญหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ 4 หน่วยงาน คือ สศค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ มาหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อนำไปประเมินแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและวางนโยบายต่างๆ ต่อไป
“สถานการณ์ในขณะนี้จะพบว่ารายได้ของรัฐบาลที่ลดลงมาจากภาษีน้ำเข้าสินค้าวัตถุดิบลดลง เพราะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวเอกชนจึงลดกำลังการผลิต กระทรวงการคลังต้องเตรียมแผนรับมือและหาแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเชิญหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจมาหารือเพื่อหาแนวทางรับมือกันต่อไป” นายสมชัยกล่าว
***คลังเตรียมประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน
นายกรณ์กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6-9 เม.ย. 52 ณ โรงแรมอมารี ออคิด รีสอร์ท อำเภอเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยรัฐมนตรีคลังของไทยจะเป็นประธานการประชุม โดยมีรัฐมนตรีคลังอาเซียน 10 ประเทศ เลขาธิการอาเซียน และธนาคารกลาง โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน จัดประชุมวันที่ 6 เม.ย.52
จากนั้นเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 จะประชุมวันที่ 7-8 เม.ย.52 และการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 จัดประชุมวันที่ 9 เม.ย.52 สำหรับประเด็นหลักการประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นหาข้อสรุปเกี่ยวกับการลงขันในกองทุนมาตรการริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคีของกลุ่มอาเซียน เพื่อนำไปหารือในเวทีประชุมอาเซียน+3 ที่บาหลี อินโดนิเซีย ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ หวังให้มีกองทุนเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศสมาชิกในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การหารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียนร่วมกัน.