ASTVผู้จัดการรายวัน – ปูนใหญ่ไม่เชื่อต่างชาติทิ้งไทย แม้ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ มั่นใจหากหลักเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมออกมาชัดเจน เชื่อนักลงทุนจะเข้ามา ยันโครงการปิโตรเคมีในเครือฯที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมูลค่า 7หมื่นล้านไม่กระเทือน เพราะมีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูง ยอมรับโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนามเลื่อนไปอย่างน้อย 2ปี เพราะหาแหล่งเงินกู้ยาก
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC เปิดเผยผลกระทบของโครงการปิโตรเคมีในเครือปูนซิเมนต์ไทยในกรณีที่ศาลปกครอง จ.ระยอง มีคำสั่งให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษว่า การประกาศให้พี้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการปิโตรเคมีต่างๆของเครือซิเมนต์ไทยทั้งที่ดำเนินการอยู่แล้วและกำลังก่อสร้าง เนื่องจากนโยบายของบริษัทให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของเครือฯก็สูงกว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลกถึง 30%
“ การอนุมัติการลงทุนแต่ละครั้งเราจะดูเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มีการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด และหากพิจารณาพบว่าไม่คุ้มการลงทุนก็จะไม่ทำ การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเล็งเห็นว่าอีก 10ปีข้างหน้า มาตรฐานสิ่งแวดล้อมจะดีขึ้นไปอีก จึงลงทุนเพื่อรองรับอนาคต”นายกานต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯจะรอดูหลักเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะออกมา แต่เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาต่อโครงการต่าง ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยก็พร้อมที่จะตอบสนองได้ทุกอย่าง และเชื่อว่าการประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษจะไม่ส่งผลทำให้นักลงทุนต่างชาติหนีหาย แต่มองว่าจะเป็นโอกาส เพราะชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมก็ต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยกับมาตรฐานโลกว่าเป็นอย่างไร เมื่อมีความชัดเจนขึ้น นักลงทุนต่างชาติก็จะเข้ามาลงทุน ขณะ เดียวกันทางชุมชนก็เกิดความสบายใจด้วย
ปัจจุบันการลงทุนโครงการผลิตโอเลฟินส์แห่งที่ 2 ขนาด 1 ล้านตัน และโรงงานปิโตรเคมีขั้นปลายในเครือซิเมนต์ไทยที่มาบตาพุด มีมูลค่าประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2552 ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้ผ่านอีไอเอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการลงทุนในอนาคตยังไม่มีโครงการใหม่ๆเข้ามาไปจนกว่าปี 2553
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า ตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองปี 2550-2551 ของเอสซีจี เคมิคอลส์ ใช้งบประมาณไปแล้ว 1,100 ล้านบาท ทำให้มาตรฐานของเครือฯดีกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และปีนี้จะมีงบประมาณลงทุนเพิ่มเติมอีก 200-300 ล้านบาท
ที่ผ่านมา บริษัทฯดำเนินการลดออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ดีกว่าค่าที่กำหนดในอีไอเอ 26% และจะปรับลดลงอีก 20% ใช้เงินลงทุน 144 ล้านบาทในปีนี้ รวมทั้งลดสารอินทรีย์ระเหย(VOCs) ดีกว่ามาตรฐานของUS.EPA 30% ลดปริมาณน้ำทิ้ง 4 แสนลบ.มา. และลดปริมาณน้ำใช้ 9 แสนลบ.ม. รวมทั้งลดกากของเสียอุตสาหกรรมได้ปีละ 5.5 พันตัน
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้บริษัทฯตัดสินใจชะลอการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม ออกไปอย่างน้อย 2ปี เนื่องจากโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนสูงมาก3.5-4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1-1.2 แสนล้านบาท ทำให้บริษัทนและพาร์ทเนอร์เวียดนามไม่มีนโยบายที่จะใช้บริษัทแม่การันตีในการกู้เงิน แต่จะลงทุนในรูปโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ ซึ่งภาวะการณ์ดังกล่าว การกู้เงินแบบโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ทำได้ยาก
โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนามเป็นโครงการที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้ทีมงานเทคนิคก็มีการประสานงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เวียดนามอยู่ แม้ว่าโครงการจะชะลอออกไปก็ตาม โดยโครงการนี้ SCG จะลงทุนทั้งสิ้น 71% ในขณะที่ผู้ร่วมทุนอื่นๆ ในเวียดนามจะถือหุ้น 29% เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น โอเลฟินส์ซึ่งใช้แนฟทาวัตถุดิบในการผลิต กำลังการผลิต 1.65 ล้านตันต่อปี
อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ในนอนาคตของเครือฯจะให้ความสำคัญในการควบรวมกิจการ (M&A)แทนการลงทุนก่อสร้างโครงการใหม่ เนื่องจากปัจจุบันกำลังการผลิตในโลกเกินความต้องการอยู่แล้ว โดยจะเน้นลงทุนเฉพาะธุรกิจหลักในเครือมีความชำนาญทั้งซีเมนต์ กระดาษ และปิโตรเคมีในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันได้มี 3 บริษัทที่ SCGอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
เปิดตัวฉลาก SCG eco value เป็นมิตรกับสวล.
วานนี้ (24 มี.ค.) เอสซีจีเปิดตัวฉลาก “SCG eco value” เพื่อรองรับนวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไป ขณะที่ผู้บริโภคจ่ายค่าสินค้าเท่าเดิม นับเป็นบริษัทแรกของไทยที่ออกฉลากรับรองผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าหรือบริการที่ใช้ฉลากนี้ได้จะต้องผลิตจากกระบวนการพิเศษที่แตกต่างไปจากระบบการผลิตแบบเดิม โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และดีกว่าสินค้าทั่วไป อ้างอิงตามมาตรฐานISO14021 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Process) ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สดุ (Eco Use) และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาเวียนใช้ใหม่ได้ (Eco Recycle) ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองฉลากนี้แล้ว 87 รายการจากสินค้าทั้งหมด 6-7 หมื่นรายการ ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ต่ำมากแต่จะเพิ่มขึ้นเรี่อยๆปีละอย่างน้อย 50-60 รายการ
ที่ผ่านมา เอสซีจีให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดย ปีนี้จะใช้งบประมาณดูแลด้านนี้กว่า 3.5 พันล้านบาท สำหรับการติดตั้งระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC เปิดเผยผลกระทบของโครงการปิโตรเคมีในเครือปูนซิเมนต์ไทยในกรณีที่ศาลปกครอง จ.ระยอง มีคำสั่งให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษว่า การประกาศให้พี้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการปิโตรเคมีต่างๆของเครือซิเมนต์ไทยทั้งที่ดำเนินการอยู่แล้วและกำลังก่อสร้าง เนื่องจากนโยบายของบริษัทให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของเครือฯก็สูงกว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลกถึง 30%
“ การอนุมัติการลงทุนแต่ละครั้งเราจะดูเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มีการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด และหากพิจารณาพบว่าไม่คุ้มการลงทุนก็จะไม่ทำ การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเล็งเห็นว่าอีก 10ปีข้างหน้า มาตรฐานสิ่งแวดล้อมจะดีขึ้นไปอีก จึงลงทุนเพื่อรองรับอนาคต”นายกานต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯจะรอดูหลักเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะออกมา แต่เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาต่อโครงการต่าง ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยก็พร้อมที่จะตอบสนองได้ทุกอย่าง และเชื่อว่าการประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษจะไม่ส่งผลทำให้นักลงทุนต่างชาติหนีหาย แต่มองว่าจะเป็นโอกาส เพราะชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมก็ต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยกับมาตรฐานโลกว่าเป็นอย่างไร เมื่อมีความชัดเจนขึ้น นักลงทุนต่างชาติก็จะเข้ามาลงทุน ขณะ เดียวกันทางชุมชนก็เกิดความสบายใจด้วย
ปัจจุบันการลงทุนโครงการผลิตโอเลฟินส์แห่งที่ 2 ขนาด 1 ล้านตัน และโรงงานปิโตรเคมีขั้นปลายในเครือซิเมนต์ไทยที่มาบตาพุด มีมูลค่าประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2552 ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้ผ่านอีไอเอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการลงทุนในอนาคตยังไม่มีโครงการใหม่ๆเข้ามาไปจนกว่าปี 2553
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า ตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองปี 2550-2551 ของเอสซีจี เคมิคอลส์ ใช้งบประมาณไปแล้ว 1,100 ล้านบาท ทำให้มาตรฐานของเครือฯดีกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และปีนี้จะมีงบประมาณลงทุนเพิ่มเติมอีก 200-300 ล้านบาท
ที่ผ่านมา บริษัทฯดำเนินการลดออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ดีกว่าค่าที่กำหนดในอีไอเอ 26% และจะปรับลดลงอีก 20% ใช้เงินลงทุน 144 ล้านบาทในปีนี้ รวมทั้งลดสารอินทรีย์ระเหย(VOCs) ดีกว่ามาตรฐานของUS.EPA 30% ลดปริมาณน้ำทิ้ง 4 แสนลบ.มา. และลดปริมาณน้ำใช้ 9 แสนลบ.ม. รวมทั้งลดกากของเสียอุตสาหกรรมได้ปีละ 5.5 พันตัน
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้บริษัทฯตัดสินใจชะลอการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม ออกไปอย่างน้อย 2ปี เนื่องจากโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนสูงมาก3.5-4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1-1.2 แสนล้านบาท ทำให้บริษัทนและพาร์ทเนอร์เวียดนามไม่มีนโยบายที่จะใช้บริษัทแม่การันตีในการกู้เงิน แต่จะลงทุนในรูปโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ ซึ่งภาวะการณ์ดังกล่าว การกู้เงินแบบโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ทำได้ยาก
โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนามเป็นโครงการที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้ทีมงานเทคนิคก็มีการประสานงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เวียดนามอยู่ แม้ว่าโครงการจะชะลอออกไปก็ตาม โดยโครงการนี้ SCG จะลงทุนทั้งสิ้น 71% ในขณะที่ผู้ร่วมทุนอื่นๆ ในเวียดนามจะถือหุ้น 29% เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น โอเลฟินส์ซึ่งใช้แนฟทาวัตถุดิบในการผลิต กำลังการผลิต 1.65 ล้านตันต่อปี
อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ในนอนาคตของเครือฯจะให้ความสำคัญในการควบรวมกิจการ (M&A)แทนการลงทุนก่อสร้างโครงการใหม่ เนื่องจากปัจจุบันกำลังการผลิตในโลกเกินความต้องการอยู่แล้ว โดยจะเน้นลงทุนเฉพาะธุรกิจหลักในเครือมีความชำนาญทั้งซีเมนต์ กระดาษ และปิโตรเคมีในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันได้มี 3 บริษัทที่ SCGอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
เปิดตัวฉลาก SCG eco value เป็นมิตรกับสวล.
วานนี้ (24 มี.ค.) เอสซีจีเปิดตัวฉลาก “SCG eco value” เพื่อรองรับนวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไป ขณะที่ผู้บริโภคจ่ายค่าสินค้าเท่าเดิม นับเป็นบริษัทแรกของไทยที่ออกฉลากรับรองผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าหรือบริการที่ใช้ฉลากนี้ได้จะต้องผลิตจากกระบวนการพิเศษที่แตกต่างไปจากระบบการผลิตแบบเดิม โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และดีกว่าสินค้าทั่วไป อ้างอิงตามมาตรฐานISO14021 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Process) ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สดุ (Eco Use) และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาเวียนใช้ใหม่ได้ (Eco Recycle) ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองฉลากนี้แล้ว 87 รายการจากสินค้าทั้งหมด 6-7 หมื่นรายการ ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ต่ำมากแต่จะเพิ่มขึ้นเรี่อยๆปีละอย่างน้อย 50-60 รายการ
ที่ผ่านมา เอสซีจีให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดย ปีนี้จะใช้งบประมาณดูแลด้านนี้กว่า 3.5 พันล้านบาท สำหรับการติดตั้งระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก