รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับขึ้นเกือบ 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไต่ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันจันทร์ (23) อันเป็นราคาสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน สืบเนื่องมาจากการผลักดันแผนขจัดสินทรัพย์เน่าเสียของภาคการเงินการธนาคารสหรัฐฯ ฉุดกระชากหุ้นวอลล์สตรีทขึ้นมาเกือบ 500 จุด อีกทั้งยังทำให้ทิศทางความต้องการพลังงานที่ทรุดต่ำลงเรื่อย ๆ เริ่มส่องสว่างขึ้นบ้าง
เมื่อวันจันทร์ (23) น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ขยับขึ้น 1.73 ดอลลาร์ ปิดที่ 53.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีช่วงหนึ่งของการซื้อขายราคาทะยานถึง 54.05 ดอลลาร์
อันราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้ว ส่วนเบรนต์ของลอนดอน เพิ่มขึ้น 2.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 53.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ก่อนหน้านั้นในวันเดียว รัฐบาลสหรัฐฯ เสนอจะให้เงินกู้แก่นักลงทุนภาคเอกชน เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์เน่าเสียที่อาจมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ อันจะช่วยให้ภาคการเงินการธนาคารสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ปกติในด้านการให้สินเชื่อได้อีกครั้งหนึ่ง และช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯหลุดออกจากหล่มลึกของภาวะถดถอย ส่งผลให้หุ้นวอลล์สตรีทขยับขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์
นักลงทุนหลายคนบอกว่า แผนกอบกู้ภาคธนาคารครั้งนี้ อาจช่วยให้ทิศทางความต้องการน้ำมันทั่วโลกเริ่มส่องสว่างขึ้นบ้าง หลังจากตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อ
เมื่อวันจันทร์ (23) น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ขยับขึ้น 1.73 ดอลลาร์ ปิดที่ 53.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีช่วงหนึ่งของการซื้อขายราคาทะยานถึง 54.05 ดอลลาร์
อันราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้ว ส่วนเบรนต์ของลอนดอน เพิ่มขึ้น 2.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 53.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ก่อนหน้านั้นในวันเดียว รัฐบาลสหรัฐฯ เสนอจะให้เงินกู้แก่นักลงทุนภาคเอกชน เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์เน่าเสียที่อาจมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ อันจะช่วยให้ภาคการเงินการธนาคารสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ปกติในด้านการให้สินเชื่อได้อีกครั้งหนึ่ง และช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯหลุดออกจากหล่มลึกของภาวะถดถอย ส่งผลให้หุ้นวอลล์สตรีทขยับขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์
นักลงทุนหลายคนบอกว่า แผนกอบกู้ภาคธนาคารครั้งนี้ อาจช่วยให้ทิศทางความต้องการน้ำมันทั่วโลกเริ่มส่องสว่างขึ้นบ้าง หลังจากตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อ