รอยเตอร์ – บรรดาผู้บริหารธนาคารใหญ่ในวอลล์สตรีท ถูกซักฟอกอย่างหนักหน่วงในรัฐสภาสหรัฐฯ เรื่องการใช้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลมูลค่า 176,000 ล้านดอลลาร์ จากรัฐบาล เพราะยังไม่สามารถเห็นสัญญาณว่า สถานการณ์ในภาคการเงินการธนาคารมีการกระเตื้องดีขึ้นบ้างแล้ว
“อเมริกาไม่เชื่อพวกคุณอีกต่อไปแล้ว” ไมเคิล คาพัวโน ส.ส.เดโมแครตจากแมสซาชูเซตต์บอกผู้บริหารของทั้ง 8 ธนาคารใหญ่ ที่เข้ามาให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร เรื่องแผนการฟื้นฟูภาคการธนาคาร
ความรู้สึกของผู้แทนเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความโกรธแค้นของประชาชนชาวอเมริกัน ที่ต้องเสียสละภาษีของตน มาหนุนแผนฟื้นฟูภาคการเงินการธนาคารมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น จนรัฐต้องอัดฉีดเงินรอบใหม่เพื่อกระตุ้นการเติบโตอีกครั้ง
ผู้แทนเหล่านี้ต้องการทราบว่าธนาคารเอาเงินช่วยเหลือไปทำอะไร เพราะว่าจนบัดนี้ยังคงไม่มีสัญญาณของความผ่อนคลายในเรื่องสินเชื่อตึงตัว ไม่ได้มีการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคการผลิตและบริโภคที่ต้องการเม็ดเงินอย่างยิ่ง ซึ่งความชะงักงันเช่นนี้ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจอ่อนแลลงเรื่อย ๆ
เหล่าซีอีโอของธนาคารเหล่านี้ ก็สามารถรับรู้ถึงกระแสเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความไม่พอใจเช่นนี้ได้
แต่พวกเขาก็โต้แย้งว่า ได้ใช้เงินภาษีของประชาชนที่ได้รับมาอย่างระมัดระวัง โดยนำไปให้กู้ยืมแก่ธุรกิจต่าง ๆ มิใช่จ่ายโบนัสให้แก่ผู้บริหาร ให้พวกล็อบบี้ยิสต์ หรือไปจ่ายเป็นเงินปันผลแต่อย่างใด
ธนาคารที่ให้กู้แก่ผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด 3 แห่งคือ ซิติกรุ๊ป, แบงก์ ออฟ อเมริกา และเจพีมอร์แกนแจงว่าพวกเขาได้ให้สินเชื่อใหม่ไปแล้ว 340,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2008
ขณะนี้นอกจากนี้ผู้บริหารธนาคารสหรัฐฯแล้ว พวกผู้บริหารธนาคารของอังกฤษก็ตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกัน เพราะกำลังมีการไต่สวนถึงสาเหตุวิกฤตการเงินในอังกฤษ
ทางด้านรัฐบาลไอร์แลนด์ ก็กำลังต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารใหญ่ที่สุด 2 แห่ง เป็นมูลค่าถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ธนาคารไปปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกต่อหนึ่ง
บรรดาซีอีโอทั้ง 8 ถูกสภาถามถึงรายได้ส่วนตัว และก็ได้คำตอบว่าเมื่อปีที่แล้วผู้บริหารเหล่านี้มีเงินได้ระหว่าง 600,000 – 1,500,000 ดอลลาร์ และมิได้รับโบนัส
7 ใน 8 ธนาคารรายงานว่าแบงก์ของตนมีเครื่องบินใช้ ซึ่งบางแห่งก็ซื้อ แต่บางแห่งก็เช่า จึงทำให้แบรด เชอร์แมน สส.เดโมแครตจากแคลิฟอร์เนีย รีบเรียกร้องให้ขายออกไปเสีย
สส.เกรกอรี มีคส์ เดโมแครตจากนิวยอร์ก ก็จี้ถามว่าชาวอเมริกันควรได้รับฟังคำขอโทษเรื่องที่ธนาคารไร้มาตรฐานในการกำกับดูแลสินเชื่อ จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดสินเชื่อหรือไม่ ปรากฏว่า จอห์น แม็ค ซีอีโอของมอร์แกน สแตนลีย์ตอบว่า “ผมคิดว่าภาคธนาคารทั้งหมดต้องรับผิดชอบ และผมก็ขอโทษในเรื่องนี้”
การให้ปากคำของบรรดาซีอีโอธนาคารเหล่านี้ บังเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ออกมาประกาศรายละเอียดแผนฟื้นฟูภาคการเงินรอบใหม่ แต่ไม่สามารถจะทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้ซึ่งส่งให้หุ้นสหรัฐฯในวันอังคารดิ่งเหวลงไปทันที
แต่เมื่อวันพุธ หุ้นธนาคารก็พุ่งขึ้นเพราะนักลงทุนพากันช้อนซื้อจากราคาของวันอังคารที่ร่วงลงไปถึง 14% รวมทั้งมีความหวังว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาที่ใกล้คลอดแล้วจะสามารถฉุดเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นได้
ระหว่างการให้ปากคำของ 8 ซีอีโอธนาคารใหญ่คราวนี้ ส.ส.หลายคนต่างแสดงความไม่พอใจออกมากับผู้บริหารธนาคารอย่างรุนแรง
คาพัวโนบอกว่า “คุณมาบอกว่าเสียใจ ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้มันเป็นแบบนี้ เราจะไม่ทำเช่นนี้อีก เชื่อเราอีกครั้งเถอะ โจรปล้นธนาคารในเขตเลือกตั้งของผมมันจะพูดแบบเดียวกันคุณนี่แหละ”
แต่ในที่สุด ความอดทนของนายธนาคารในการตอบคำซักฟอกคราวนี้ ก็ดูเหมือนจะหมดไป อย่างเช่น เคน ลิวอิส ซีอีโอของแบงก์ออฟอเมริกาตอบคำถามเกี่ยวกับระดับเงินทุนของแบงก์ออฟอเมริกาและความสามารถในการจ่ายหนี้คืนว่า “การที่คุณถามผมด้วยคำถามเช่นนี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากจริง ๆ”
ในขณะที่การให้ปากคำดำเนินไป ภายนอกอาคารก็มีผู้ประท้วงหลายสิบคนมาแสดงความไม่พอใจและตะโกนว่า “เฮ้ เคน ลิวอิสรู้แล้วยังว่าเราเจ็บปวดยังไง”
บาร์นีย์ แฟรงก์ สส.เดโมแครตซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการบริการการเงินของสภาล่างบอกว่า พวกซีอีโอว่าพวกเขาต้องเข้าใจความโกรธ ความผิดหวังของคนอเมริกัน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับรัฐสภาอย่างเต็มใจโดยไม่ “โกรธแค้น หรือทำน้อยเกินไป”
แต่แกรี่ แอคเคอร์แมนส สส.เดโมแครตจากนิวยอร์กบอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริงตอนนี้ผู้คนไม่สามารถได้เงินกู้มาซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือแม้แต่กู้เงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย
“สำหรับผมและหลาย ๆคนในที่นี้แล้วดูเหมือนว่าเงินจะยังลงไปไม่ถึงประชาชนทั่วไป ซึ่งก็เท่ากับคุณยังไม่ได้ให้สินเชื่อมากพอ”
ธนาคารใหญ่ทั้ง 8 ที่ซีอีโอของพวกเขามาให้ปากคำต่อสภาคราวนี้ได้แก่ แบงก์ออฟอเมริกา, แบงก์ออฟนิวยอร์กเมลลอน, ซิตี้กรุ๊ป, โกลด์แมนแซคส์, เจพีมอร์แกนเชส, มอร์แกนสแตนลีย์, สเตทสตรีท, และ เวลส์ฟาร์โก
“อเมริกาไม่เชื่อพวกคุณอีกต่อไปแล้ว” ไมเคิล คาพัวโน ส.ส.เดโมแครตจากแมสซาชูเซตต์บอกผู้บริหารของทั้ง 8 ธนาคารใหญ่ ที่เข้ามาให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร เรื่องแผนการฟื้นฟูภาคการธนาคาร
ความรู้สึกของผู้แทนเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความโกรธแค้นของประชาชนชาวอเมริกัน ที่ต้องเสียสละภาษีของตน มาหนุนแผนฟื้นฟูภาคการเงินการธนาคารมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น จนรัฐต้องอัดฉีดเงินรอบใหม่เพื่อกระตุ้นการเติบโตอีกครั้ง
ผู้แทนเหล่านี้ต้องการทราบว่าธนาคารเอาเงินช่วยเหลือไปทำอะไร เพราะว่าจนบัดนี้ยังคงไม่มีสัญญาณของความผ่อนคลายในเรื่องสินเชื่อตึงตัว ไม่ได้มีการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคการผลิตและบริโภคที่ต้องการเม็ดเงินอย่างยิ่ง ซึ่งความชะงักงันเช่นนี้ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจอ่อนแลลงเรื่อย ๆ
เหล่าซีอีโอของธนาคารเหล่านี้ ก็สามารถรับรู้ถึงกระแสเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความไม่พอใจเช่นนี้ได้
แต่พวกเขาก็โต้แย้งว่า ได้ใช้เงินภาษีของประชาชนที่ได้รับมาอย่างระมัดระวัง โดยนำไปให้กู้ยืมแก่ธุรกิจต่าง ๆ มิใช่จ่ายโบนัสให้แก่ผู้บริหาร ให้พวกล็อบบี้ยิสต์ หรือไปจ่ายเป็นเงินปันผลแต่อย่างใด
ธนาคารที่ให้กู้แก่ผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด 3 แห่งคือ ซิติกรุ๊ป, แบงก์ ออฟ อเมริกา และเจพีมอร์แกนแจงว่าพวกเขาได้ให้สินเชื่อใหม่ไปแล้ว 340,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2008
ขณะนี้นอกจากนี้ผู้บริหารธนาคารสหรัฐฯแล้ว พวกผู้บริหารธนาคารของอังกฤษก็ตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกัน เพราะกำลังมีการไต่สวนถึงสาเหตุวิกฤตการเงินในอังกฤษ
ทางด้านรัฐบาลไอร์แลนด์ ก็กำลังต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารใหญ่ที่สุด 2 แห่ง เป็นมูลค่าถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ธนาคารไปปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกต่อหนึ่ง
บรรดาซีอีโอทั้ง 8 ถูกสภาถามถึงรายได้ส่วนตัว และก็ได้คำตอบว่าเมื่อปีที่แล้วผู้บริหารเหล่านี้มีเงินได้ระหว่าง 600,000 – 1,500,000 ดอลลาร์ และมิได้รับโบนัส
7 ใน 8 ธนาคารรายงานว่าแบงก์ของตนมีเครื่องบินใช้ ซึ่งบางแห่งก็ซื้อ แต่บางแห่งก็เช่า จึงทำให้แบรด เชอร์แมน สส.เดโมแครตจากแคลิฟอร์เนีย รีบเรียกร้องให้ขายออกไปเสีย
สส.เกรกอรี มีคส์ เดโมแครตจากนิวยอร์ก ก็จี้ถามว่าชาวอเมริกันควรได้รับฟังคำขอโทษเรื่องที่ธนาคารไร้มาตรฐานในการกำกับดูแลสินเชื่อ จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดสินเชื่อหรือไม่ ปรากฏว่า จอห์น แม็ค ซีอีโอของมอร์แกน สแตนลีย์ตอบว่า “ผมคิดว่าภาคธนาคารทั้งหมดต้องรับผิดชอบ และผมก็ขอโทษในเรื่องนี้”
การให้ปากคำของบรรดาซีอีโอธนาคารเหล่านี้ บังเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ออกมาประกาศรายละเอียดแผนฟื้นฟูภาคการเงินรอบใหม่ แต่ไม่สามารถจะทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้ซึ่งส่งให้หุ้นสหรัฐฯในวันอังคารดิ่งเหวลงไปทันที
แต่เมื่อวันพุธ หุ้นธนาคารก็พุ่งขึ้นเพราะนักลงทุนพากันช้อนซื้อจากราคาของวันอังคารที่ร่วงลงไปถึง 14% รวมทั้งมีความหวังว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาที่ใกล้คลอดแล้วจะสามารถฉุดเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นได้
ระหว่างการให้ปากคำของ 8 ซีอีโอธนาคารใหญ่คราวนี้ ส.ส.หลายคนต่างแสดงความไม่พอใจออกมากับผู้บริหารธนาคารอย่างรุนแรง
คาพัวโนบอกว่า “คุณมาบอกว่าเสียใจ ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้มันเป็นแบบนี้ เราจะไม่ทำเช่นนี้อีก เชื่อเราอีกครั้งเถอะ โจรปล้นธนาคารในเขตเลือกตั้งของผมมันจะพูดแบบเดียวกันคุณนี่แหละ”
แต่ในที่สุด ความอดทนของนายธนาคารในการตอบคำซักฟอกคราวนี้ ก็ดูเหมือนจะหมดไป อย่างเช่น เคน ลิวอิส ซีอีโอของแบงก์ออฟอเมริกาตอบคำถามเกี่ยวกับระดับเงินทุนของแบงก์ออฟอเมริกาและความสามารถในการจ่ายหนี้คืนว่า “การที่คุณถามผมด้วยคำถามเช่นนี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากจริง ๆ”
ในขณะที่การให้ปากคำดำเนินไป ภายนอกอาคารก็มีผู้ประท้วงหลายสิบคนมาแสดงความไม่พอใจและตะโกนว่า “เฮ้ เคน ลิวอิสรู้แล้วยังว่าเราเจ็บปวดยังไง”
บาร์นีย์ แฟรงก์ สส.เดโมแครตซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการบริการการเงินของสภาล่างบอกว่า พวกซีอีโอว่าพวกเขาต้องเข้าใจความโกรธ ความผิดหวังของคนอเมริกัน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับรัฐสภาอย่างเต็มใจโดยไม่ “โกรธแค้น หรือทำน้อยเกินไป”
แต่แกรี่ แอคเคอร์แมนส สส.เดโมแครตจากนิวยอร์กบอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริงตอนนี้ผู้คนไม่สามารถได้เงินกู้มาซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือแม้แต่กู้เงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย
“สำหรับผมและหลาย ๆคนในที่นี้แล้วดูเหมือนว่าเงินจะยังลงไปไม่ถึงประชาชนทั่วไป ซึ่งก็เท่ากับคุณยังไม่ได้ให้สินเชื่อมากพอ”
ธนาคารใหญ่ทั้ง 8 ที่ซีอีโอของพวกเขามาให้ปากคำต่อสภาคราวนี้ได้แก่ แบงก์ออฟอเมริกา, แบงก์ออฟนิวยอร์กเมลลอน, ซิตี้กรุ๊ป, โกลด์แมนแซคส์, เจพีมอร์แกนเชส, มอร์แกนสแตนลีย์, สเตทสตรีท, และ เวลส์ฟาร์โก