การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ผ่านพ้นไปและฝ่ายรัฐบาลได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย และยังมีความหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พ่ายแพ้เกมในสภาผู้แทนราษฎรอย่างยับเยิน
เอาเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ถูกรุมถล่มตลอดระยะเวลา 2 วันที่อภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ผลการลงคะแนนนอกจากจะได้รับการไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งจากเสียงในฝ่ายรัฐบาลซึ่งเพียงพออยู่แล้ว ยังมีพรรคร่วมฝ่ายค้านงดลงคะแนนถึง 12 คนอีกด้วย
แปลความให้ง่ายก็คือฝ่ายค้านยังขาดเสียงในสภาอีก 41 เสียง ถึงจะเพียงพอที่จะไม่ไว้วางใจต่อนายกษิต ภิรมย์ได้
ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องบ้าจี้ตามฝ่ายค้านว่าต้องลาออกเพราะได้คะแนนไว้วางใจในสภาน้อยที่สุด
ในอีกด้านหนึ่งผลสำรวจจากเอแบคโพลล์ ขนาดนายกษิต ภิรมย์ ที่มีความพยายามสร้างกระแสข่าวว่าได้รับคะแนนความไว้วางใจน้อยที่สุด ยังมีผลสำรวจว่ายังไม่ควรปรับนายกษิตออกถึงร้อยละ 58.4
พวกฝ่ายค้านที่พยายามสร้างกระแสว่าผลสำรวจประชาชนไว้วางใจนายกษิต 58.4 ถือว่าน้อยที่สุดในหมู่ผู้ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นต้องแสดงสปิริตลาออกไปนั้น ถือเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระที่สุด เพราะฝ่ายค้านในตอนที่ได้เป็นรัฐบาลนั้นหน้าด้านหน้าทนกันขนาดไหน ขอเชิญดูข้อมูลดังต่อไปนี้
26 มิถุนายน 2551 เอแบคโพลล์ ได้ออกผลสำรวจจากประชาชน 18 จังหวัด ต่อกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายสมัครกรณีเรื่องเขาพระวิหาร ปรากฏว่า “มีประชาชนไม่ไว้วางใจร้อยละ 50.3”และไว้วางใจเพียงร้อยละ 49.7 รัฐบาลที่มีผลสำรวจไม่ได้รับความไว้วางใจ แต่ก็ยังคงทำงานต่อไปโดยไม่สนใจประชาชน
29 มิถุนายน 2551 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจประชาชนในกรุงเทพฯ ต่อกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายสมัคร ผลปรากฏว่า ประชาชนที่สำรวจส่วนใหญ่ ไม่ไว้วางใจนายนพดล ปัทมะ ร้อยละ 73.1, ไม่ไว้วางใจ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 71.1, ไม่ไว้วางใจนายสันติ พร้อมพัฒน์ ร้อยละ 64.4, ไม่ไว้วางใจนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 62.3, ไม่ไว้วางใจนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ร้อยละ 59.6, ไม่ไว้วางใจนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ร้อยละ 59.4, ไม่ไว้วางใจนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ร้อยละ 58.8
ล่าสุดผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจออกมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 ปรากฏว่า ประชาชนเห็นควรให้รัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์บริหารประเทศต่อไปถึงร้อยละ 64.8 และไม่มีประเด็นค้างคาใจรัฐบาลหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจถึงร้อยละ 74.8 อีกทั้งประชาชนมีความพึงพอใจให้คะแนนรัฐบาลในด้านการต่างประเทศสูงสุด
ความจริงข้างต้นจึงสามารถบอกได้ว่า ผลสำรวจสรุปว่านายกษิต ภิรมย์ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่
ในขณะฝ่ายค้านที่เรียกร้องให้ นายกษิตแสดงสปิริตลาออกคือพวกที่ประชาชนไม่ให้ความไว้วางใจมาก่อนหน้านี้ เป็นพวกที่ฝืนกระแสสังคมไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนต่อไปจนประชาชนต้องออกมาประท้วงขับไล่ถึง 193 วัน
ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายซ้ำซากไม่ไว้วางใจพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตรฯ) และเน้นเรื่องการปิดสนามบินว่าทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งๆ ที่เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
มีนักการเมืองสักกี่คนในสภาผู้แทนราษฎรจะตั้งคำถามว่า ทำไมพันธมิตรฯ ถึงต้องมาปิดสนามบิน? ดังแนวทางการหาต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาในเรื่อง อิทัปปจจยตา ที่ว่า
“เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น”
“ถ้าไม่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น”
ทบทวนความทรงจำกันอีกที ก็เพราะความพยายามที่จะฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่มาจากการลงประชามติของคนเสียงส่วนใหญ่ในประเทศเพื่อฟอกความผิดคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพวก พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกความผิดในคดียุบพรรค พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดพระราชอำนาจส่วนพระองค์ด้วยการล้มล้างสถาบันองคมนตรี ติดสินบนเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญกรณีปราสาทพระวิหาร แทรกแซงการทำงานสื่อของรัฐ คุกคามองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ใช้จ่ายงบประมาณผ่านอภิมหาโครงการจนชาติใกล้จะล่มจม และยังแต่งตั้งรัฐมนตรีที่เป็นอันตรายต่อสถาบันหลักของชาติ สิ่งเหล่านี้มิใช่หรอกหรือจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมของพันธมิตรฯ ในปี 2551 ที่ผ่านมา?
เพราะความไม่รู้สึกรู้สา ไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนของนักการเมืองหน้าด้านไม่ใช่หรอกหรือจึงทำให้พันธมิตรฯ ต้องยกระดับการชุมนุมมาอยู่ในทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่รัฐบาลที่ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่มาจากการโกงการเลือกตั้ง และพิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริงจากคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้วถึง 3 พรรค
เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วปล่อยให้ตำรวจเข่นฆ่าประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ปล่อยให้อันธพาลการเมืองสีแดงของรัฐบาลบุกเข้าทำร้ายประชาชน และปล่อยให้มีการใช้อาวุธสงครามประเภทระเบิด M 79 ยิงเข้าใส่ประชาชนผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตรายวันใช่หรือไม่? จึงทำให้พันธมิตรฯ จำเป็นต้องยกระดับการชุมนุมไปสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมด้วยการเคลื่อนย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินเพื่อหยุดอำนาจรัฐในจบลงเร็วที่สุด อันจะเป็นหนทางเดียวที่จะสามารถรักษาชีวิตของประชาชนผู้ชุมนุมมิให้สูญเสียไปมากกว่านี้ และป้องกันมิให้เกิดการตอบโต้จนบานปลายขยายตัวเป็นสงครามกลางเมือง
ดังนั้น นักการเมืองชั่วและหน้าด้านนี่แหละคือต้นเหตุความเสียหายของคนทั้งชาติตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
น่าเสียดาย เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้รับการอธิบายในสภาผู้แทนราษฎร ตลอดระยะเวลาการถ่ายทอดสด 2 วัน! และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลสำรวจของสำนักโพลล์ นายกษิต ที่ตอบคำถามได้ดีกลับมีคะแนนนิยมน้อยกว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ
วาทกรรมของฝ่ายค้านเรื่องปิดสนามบิน และการก่อการร้ายสากลถูกผลิตซ้ำไปมาหลายครั้ง ผ่านการถ่ายทอดสด คงมีแต่อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรฯ ที่ได้มีโอกาสใช้สิทธิพาดพิงได้บ้างในบางครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำได้มากพอเมื่อเทียบกับจำนวนนักการเมืองที่บิดเบือนเหล่านั้น
นักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ในเวลานี้ ยินยอมให้ใส่ความ และใส่ร้ายพันธมิตรฯ ได้เพราะสมประโยชน์ทุกฝ่าย
ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรทุกคนปล่อยให้มีการพูดนอกประเด็น และปล่อยให้ฝ่ายค้านใช้เวลาส่วนใหญ่อภิปรายไม่ไว้วางใจพันธมิตรฯ เพราะเป็นมวลชนหลักนอกสภาที่ได้โค่นล้มรัฐบาลของพวกตัวเองมาแล้ว 3 ชุด
ส่วนฝ่ายรัฐบาลทิ้งตัวออกห่างจากพันธมิตรฯ ว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้อง ไม่ชี้แจง และยังมองพันธมิตรฯ เป็นตัวปัญหาที่ต้องจัดการและกำจัดด้วย ใช่หรือไม่?
เหมือนกับที่นายสุเทพ เทือสุบรรณได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 ความตอนหนึ่งว่า:
“ขณะนี้ถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดของการเมืองไทย มีกระบวนการแบ่งคนในประเทศให้ทะเลาะและเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงและเหลือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ”
ถ้าจะให้เข้าใจได้มากกว่านี้ ก็ต้องไปดูข่าวที่ปรากฏเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ในสื่อสิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ต่อกรณีการประชุมคณะกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์จัดโผคณะรัฐมนตรี ที่มีการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการจัดตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับกลุ่มเพื่อนเนวิน โดยได้ปรากฏเป็นข่าวว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้พูดในที่ประชุมพรรคตั้งความหวังต่อกลุ่มเพื่อนเนวินว่า:
“เป็นเงื่อนไขในการเจรจาเชิญพรรคร่วมให้มาสนับสนุน ถือว่าเป็นเครดิตของคู่เจรจาด้วย โดยนายสุเทพระบุช่วงหนึ่งว่า “ไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล” และชี้แจงอีกว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ยอมให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก่กลุ่มเพื่อนเนวิน เพราะเห็นว่าจะเป็นการวางฐานในการเลือกตั้งครั้งหน้า เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเจาะพื้นที่ในภาคอีสานได้มาก จึงจำต้องให้กลุ่มเพื่อนเนวินช่วย เพราะเชื่อว่าถ้ามาช่วยดูในจุดนี้ก็จะสามารถเรียกคะแนนกับพรรคประชาธิปัตย์ ได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจทำให้แพ้ได้ เมื่อไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล จึงขอให้ทุกคนยอมรับในเงื่อนไขตรงนี้ด้วย”
การตั้งความหวังและการไว้วางใจกลุ่มเพื่อนเนวินจึงสะท้อนออกมาผ่านกระทรวงที่จะเกี่ยวข้องกับสรรพกำลังในการเลือกตั้งให้อยู่ในมือพรรคภูมิใจไทย ทั้งข้าราชการฝ่ายปกครองที่ผ่านกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนงบประมาณมหาศาลจำนวนมากในกระทรวงคมนาคม
แต่ด้วยจุดยืนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถจะสมานฉันท์กับความฉ้อฉลได้! พันธมิตรฯ ถึงอย่างไรก็ต้องตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันทุกรัฐบาล กดดันให้ดำเนินคดีลงโทษกับนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นเครือข่ายของพรรคร่วมรัฐบาล หรือมีอิทธิพลต่อการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม
เพราะฝ่ายพันธมิตรฯ ได้มีต้นทุน เลือด เนื้อ อวัยวะ และชีวิต ของเหล่าวีรชน ตลอดระยะเวลา 193 วัน จึงไม่สามารถนำต้นทุนการเสียสละขั้นสูงสุดของประชาชนครั้งนี้มาแลกกับการประนีประนอมการทุจริตแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ของการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองได้
พันธมิตรฯ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแสวงหาผลประโยชน์กันของนักการเมืองในระบบเก่า!
กลุ่มเพื่อนเนวิน หรือพรรคภูมิใจไทยในวันนี้เมื่อเต็มอิ่มด้วยอำนาจและผลประโยชน์เช่นนี้ จะเป็นมิตรต่อพรรคประชาธิปัตย์หลังจากที่เติบโตสยายปีกไปมากกว่านี้ต่อไปหรือไม่ หรือพร้อมจะเอนเอียงเปลี่ยนข้างได้เสมอเมื่อผลประโยชน์ลงตัว กาลเวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์
แต่แนวคิดนี้ ผลลัพธ์จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ เพราะอำนาจต่อรองของพรรคภูมิใจไทยจะสูงขึ้น ในขณะที่มวลชนและพันธมิตรฯ จะผิดหวังหากรัฐบาลปล่อยให้นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเพียงเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล
หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ปัจจัยชี้ขาดจะอยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าพร้อมจะยืนอยู่บนความถูกต้อง และกล้าตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หลังจากได้ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้อย่างขาดลอย
เมื่อนั้นเราจะได้รู้จักตัวตนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่แท้จริงอย่างแน่นอน!
เอาเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ถูกรุมถล่มตลอดระยะเวลา 2 วันที่อภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ผลการลงคะแนนนอกจากจะได้รับการไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งจากเสียงในฝ่ายรัฐบาลซึ่งเพียงพออยู่แล้ว ยังมีพรรคร่วมฝ่ายค้านงดลงคะแนนถึง 12 คนอีกด้วย
แปลความให้ง่ายก็คือฝ่ายค้านยังขาดเสียงในสภาอีก 41 เสียง ถึงจะเพียงพอที่จะไม่ไว้วางใจต่อนายกษิต ภิรมย์ได้
ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องบ้าจี้ตามฝ่ายค้านว่าต้องลาออกเพราะได้คะแนนไว้วางใจในสภาน้อยที่สุด
ในอีกด้านหนึ่งผลสำรวจจากเอแบคโพลล์ ขนาดนายกษิต ภิรมย์ ที่มีความพยายามสร้างกระแสข่าวว่าได้รับคะแนนความไว้วางใจน้อยที่สุด ยังมีผลสำรวจว่ายังไม่ควรปรับนายกษิตออกถึงร้อยละ 58.4
พวกฝ่ายค้านที่พยายามสร้างกระแสว่าผลสำรวจประชาชนไว้วางใจนายกษิต 58.4 ถือว่าน้อยที่สุดในหมู่ผู้ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นต้องแสดงสปิริตลาออกไปนั้น ถือเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระที่สุด เพราะฝ่ายค้านในตอนที่ได้เป็นรัฐบาลนั้นหน้าด้านหน้าทนกันขนาดไหน ขอเชิญดูข้อมูลดังต่อไปนี้
26 มิถุนายน 2551 เอแบคโพลล์ ได้ออกผลสำรวจจากประชาชน 18 จังหวัด ต่อกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายสมัครกรณีเรื่องเขาพระวิหาร ปรากฏว่า “มีประชาชนไม่ไว้วางใจร้อยละ 50.3”และไว้วางใจเพียงร้อยละ 49.7 รัฐบาลที่มีผลสำรวจไม่ได้รับความไว้วางใจ แต่ก็ยังคงทำงานต่อไปโดยไม่สนใจประชาชน
29 มิถุนายน 2551 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจประชาชนในกรุงเทพฯ ต่อกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายสมัคร ผลปรากฏว่า ประชาชนที่สำรวจส่วนใหญ่ ไม่ไว้วางใจนายนพดล ปัทมะ ร้อยละ 73.1, ไม่ไว้วางใจ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 71.1, ไม่ไว้วางใจนายสันติ พร้อมพัฒน์ ร้อยละ 64.4, ไม่ไว้วางใจนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 62.3, ไม่ไว้วางใจนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ร้อยละ 59.6, ไม่ไว้วางใจนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ร้อยละ 59.4, ไม่ไว้วางใจนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ร้อยละ 58.8
ล่าสุดผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจออกมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 ปรากฏว่า ประชาชนเห็นควรให้รัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์บริหารประเทศต่อไปถึงร้อยละ 64.8 และไม่มีประเด็นค้างคาใจรัฐบาลหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจถึงร้อยละ 74.8 อีกทั้งประชาชนมีความพึงพอใจให้คะแนนรัฐบาลในด้านการต่างประเทศสูงสุด
ความจริงข้างต้นจึงสามารถบอกได้ว่า ผลสำรวจสรุปว่านายกษิต ภิรมย์ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่
ในขณะฝ่ายค้านที่เรียกร้องให้ นายกษิตแสดงสปิริตลาออกคือพวกที่ประชาชนไม่ให้ความไว้วางใจมาก่อนหน้านี้ เป็นพวกที่ฝืนกระแสสังคมไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนต่อไปจนประชาชนต้องออกมาประท้วงขับไล่ถึง 193 วัน
ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายซ้ำซากไม่ไว้วางใจพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตรฯ) และเน้นเรื่องการปิดสนามบินว่าทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งๆ ที่เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
มีนักการเมืองสักกี่คนในสภาผู้แทนราษฎรจะตั้งคำถามว่า ทำไมพันธมิตรฯ ถึงต้องมาปิดสนามบิน? ดังแนวทางการหาต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาในเรื่อง อิทัปปจจยตา ที่ว่า
“เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น”
“ถ้าไม่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น”
ทบทวนความทรงจำกันอีกที ก็เพราะความพยายามที่จะฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่มาจากการลงประชามติของคนเสียงส่วนใหญ่ในประเทศเพื่อฟอกความผิดคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพวก พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกความผิดในคดียุบพรรค พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดพระราชอำนาจส่วนพระองค์ด้วยการล้มล้างสถาบันองคมนตรี ติดสินบนเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญกรณีปราสาทพระวิหาร แทรกแซงการทำงานสื่อของรัฐ คุกคามองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ใช้จ่ายงบประมาณผ่านอภิมหาโครงการจนชาติใกล้จะล่มจม และยังแต่งตั้งรัฐมนตรีที่เป็นอันตรายต่อสถาบันหลักของชาติ สิ่งเหล่านี้มิใช่หรอกหรือจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมของพันธมิตรฯ ในปี 2551 ที่ผ่านมา?
เพราะความไม่รู้สึกรู้สา ไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนของนักการเมืองหน้าด้านไม่ใช่หรอกหรือจึงทำให้พันธมิตรฯ ต้องยกระดับการชุมนุมมาอยู่ในทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่รัฐบาลที่ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่มาจากการโกงการเลือกตั้ง และพิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริงจากคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้วถึง 3 พรรค
เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วปล่อยให้ตำรวจเข่นฆ่าประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ปล่อยให้อันธพาลการเมืองสีแดงของรัฐบาลบุกเข้าทำร้ายประชาชน และปล่อยให้มีการใช้อาวุธสงครามประเภทระเบิด M 79 ยิงเข้าใส่ประชาชนผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตรายวันใช่หรือไม่? จึงทำให้พันธมิตรฯ จำเป็นต้องยกระดับการชุมนุมไปสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมด้วยการเคลื่อนย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินเพื่อหยุดอำนาจรัฐในจบลงเร็วที่สุด อันจะเป็นหนทางเดียวที่จะสามารถรักษาชีวิตของประชาชนผู้ชุมนุมมิให้สูญเสียไปมากกว่านี้ และป้องกันมิให้เกิดการตอบโต้จนบานปลายขยายตัวเป็นสงครามกลางเมือง
ดังนั้น นักการเมืองชั่วและหน้าด้านนี่แหละคือต้นเหตุความเสียหายของคนทั้งชาติตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
น่าเสียดาย เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้รับการอธิบายในสภาผู้แทนราษฎร ตลอดระยะเวลาการถ่ายทอดสด 2 วัน! และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลสำรวจของสำนักโพลล์ นายกษิต ที่ตอบคำถามได้ดีกลับมีคะแนนนิยมน้อยกว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ
วาทกรรมของฝ่ายค้านเรื่องปิดสนามบิน และการก่อการร้ายสากลถูกผลิตซ้ำไปมาหลายครั้ง ผ่านการถ่ายทอดสด คงมีแต่อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรฯ ที่ได้มีโอกาสใช้สิทธิพาดพิงได้บ้างในบางครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำได้มากพอเมื่อเทียบกับจำนวนนักการเมืองที่บิดเบือนเหล่านั้น
นักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ในเวลานี้ ยินยอมให้ใส่ความ และใส่ร้ายพันธมิตรฯ ได้เพราะสมประโยชน์ทุกฝ่าย
ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรทุกคนปล่อยให้มีการพูดนอกประเด็น และปล่อยให้ฝ่ายค้านใช้เวลาส่วนใหญ่อภิปรายไม่ไว้วางใจพันธมิตรฯ เพราะเป็นมวลชนหลักนอกสภาที่ได้โค่นล้มรัฐบาลของพวกตัวเองมาแล้ว 3 ชุด
ส่วนฝ่ายรัฐบาลทิ้งตัวออกห่างจากพันธมิตรฯ ว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้อง ไม่ชี้แจง และยังมองพันธมิตรฯ เป็นตัวปัญหาที่ต้องจัดการและกำจัดด้วย ใช่หรือไม่?
เหมือนกับที่นายสุเทพ เทือสุบรรณได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 ความตอนหนึ่งว่า:
“ขณะนี้ถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดของการเมืองไทย มีกระบวนการแบ่งคนในประเทศให้ทะเลาะและเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงและเหลือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ”
ถ้าจะให้เข้าใจได้มากกว่านี้ ก็ต้องไปดูข่าวที่ปรากฏเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ในสื่อสิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ต่อกรณีการประชุมคณะกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์จัดโผคณะรัฐมนตรี ที่มีการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการจัดตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับกลุ่มเพื่อนเนวิน โดยได้ปรากฏเป็นข่าวว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้พูดในที่ประชุมพรรคตั้งความหวังต่อกลุ่มเพื่อนเนวินว่า:
“เป็นเงื่อนไขในการเจรจาเชิญพรรคร่วมให้มาสนับสนุน ถือว่าเป็นเครดิตของคู่เจรจาด้วย โดยนายสุเทพระบุช่วงหนึ่งว่า “ไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล” และชี้แจงอีกว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ยอมให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก่กลุ่มเพื่อนเนวิน เพราะเห็นว่าจะเป็นการวางฐานในการเลือกตั้งครั้งหน้า เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเจาะพื้นที่ในภาคอีสานได้มาก จึงจำต้องให้กลุ่มเพื่อนเนวินช่วย เพราะเชื่อว่าถ้ามาช่วยดูในจุดนี้ก็จะสามารถเรียกคะแนนกับพรรคประชาธิปัตย์ ได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจทำให้แพ้ได้ เมื่อไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล จึงขอให้ทุกคนยอมรับในเงื่อนไขตรงนี้ด้วย”
การตั้งความหวังและการไว้วางใจกลุ่มเพื่อนเนวินจึงสะท้อนออกมาผ่านกระทรวงที่จะเกี่ยวข้องกับสรรพกำลังในการเลือกตั้งให้อยู่ในมือพรรคภูมิใจไทย ทั้งข้าราชการฝ่ายปกครองที่ผ่านกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนงบประมาณมหาศาลจำนวนมากในกระทรวงคมนาคม
แต่ด้วยจุดยืนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถจะสมานฉันท์กับความฉ้อฉลได้! พันธมิตรฯ ถึงอย่างไรก็ต้องตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันทุกรัฐบาล กดดันให้ดำเนินคดีลงโทษกับนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นเครือข่ายของพรรคร่วมรัฐบาล หรือมีอิทธิพลต่อการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม
เพราะฝ่ายพันธมิตรฯ ได้มีต้นทุน เลือด เนื้อ อวัยวะ และชีวิต ของเหล่าวีรชน ตลอดระยะเวลา 193 วัน จึงไม่สามารถนำต้นทุนการเสียสละขั้นสูงสุดของประชาชนครั้งนี้มาแลกกับการประนีประนอมการทุจริตแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ของการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองได้
พันธมิตรฯ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแสวงหาผลประโยชน์กันของนักการเมืองในระบบเก่า!
กลุ่มเพื่อนเนวิน หรือพรรคภูมิใจไทยในวันนี้เมื่อเต็มอิ่มด้วยอำนาจและผลประโยชน์เช่นนี้ จะเป็นมิตรต่อพรรคประชาธิปัตย์หลังจากที่เติบโตสยายปีกไปมากกว่านี้ต่อไปหรือไม่ หรือพร้อมจะเอนเอียงเปลี่ยนข้างได้เสมอเมื่อผลประโยชน์ลงตัว กาลเวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์
แต่แนวคิดนี้ ผลลัพธ์จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ เพราะอำนาจต่อรองของพรรคภูมิใจไทยจะสูงขึ้น ในขณะที่มวลชนและพันธมิตรฯ จะผิดหวังหากรัฐบาลปล่อยให้นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเพียงเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล
หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ปัจจัยชี้ขาดจะอยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าพร้อมจะยืนอยู่บนความถูกต้อง และกล้าตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หลังจากได้ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้อย่างขาดลอย
เมื่อนั้นเราจะได้รู้จักตัวตนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่แท้จริงอย่างแน่นอน!