ดูเหมือนว่าเราจะทำการ “ปฏิรูปการเมือง” ตลอดเวลา โดยไม่รู้ว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ดีขึ้นอย่างไร ผมเองเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อะไรที่จะมาทำการปฏิรูปการเมืองโดยไม่ทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า เวลานี้การเมืองเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด
การเมืองเปลี่ยนไปมากในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างน้อย 9 ประการคือ
1. หน่วยวิเคราะห์ทางการเมือง เวลานี้มีมากขึ้นเพราะมีกลุ่มหลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
2. การเชื่อมโยงกันทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิด “ชุมชนที่ไม่มีตัวตน” เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันทางอินเทอร์เน็ต ไม่เห็นตัว ทำให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคล
3. พลวัตทางการเมืองเปลี่ยนไปคือ มีความรวดเร็วขึ้น มีระยะเวลาสั้นลง มีความผันผวนมาก มีความชั่วคราวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
4. รัฐไม่ใช่หน่วยทางการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด หรือมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการเมืองแต่ฝ่ายเดียว หากมีองค์กรเหนือรัฐและนอกรัฐอีกมากมาย
5. หน่วยและพลังด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การต่างประเทศและศาสนา มีความเกี่ยวพันกันมากขึ้น
6. แม้พลังของอุดมการณ์ทางการเมืองจะลดความสำคัญลง แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความแตกแยก แบ่งคนออกเป็นกลุ่ม (เช่น เสื้อเหลือง-เสื้อแดง) ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองยากที่จะเกิดการประนีประนอมกัน
7. ระบบทุนนิยมทำให้ประชาธิปไตยกลายสภาพเป็นธนาธิปไตย
8. ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน “representative democracy) มีปัญหาในด้านความชอบธรรม เพราะอิทธิพลของธนาธิปไตยมีการเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participative democracy) มากขึ้น และต้องการให้รัฐบาลสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และขอคำปรึกษาความเห็นชอบจากประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะมากขึ้น
9. โลกภายนอก ต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมภายในประเทศมากขึ้น มีการกำหนดคุณภาพ-มาตรฐานระดับโลก ทำให้ประเทศต่างๆ ต้องยกระดับความเป็นสากลเพิ่มขึ้น จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนด้วย
ถ้าเช่นนั้น เราจะปฏิรูปการเมืองอย่างไร เวลานี้เมื่อพูดถึง “การปฏิรูปการเมือง” เรามักนึกถึง
1. การปรับเปลี่ยนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
2. การสร้างมาตรการในการตรวจสอบอำนาจทางการเมือง
3. การพัฒนาพรรคการเมือง และระบบการเลือกตั้ง
4. การสร้างคุณธรรม และจริยธรรมของนักการเมือง
การปฏิรูปการเมืองมักเกี่ยวกับเรื่อง 4 เรื่องนี้ เรื่องที่ยากที่สุดคือเรื่องที่ 4 ที่ทำง่าย และทำบ่อยๆ ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากย้อนไปดูการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 9 ข้อข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิด “ช่องว่าง” ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางโลกกับระบบการเมืองไทย มิหนำซ้ำระบบการเมืองไทยยังมีปัญหาในตัวของมันอีก ก็ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างสภาพแวดล้อมทางการเมืองใหม่กับระบบการเมืองแบบเก่ามีมากขึ้น เราจึงได้ยินข้อเรียกร้องให้มีการเมืองใหม่
ดังนั้น การปฏิรูปการเมือง จึงน่ามีเป้าหมายในการเปลี่ยนระบบการเมืองให้สามารถจัดการกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นในโลก มิฉะนั้นแล้วระบบการเมืองก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ได้ สำหรับสังคมไทยแล้ว เราไม่ได้มีแต่วิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีวิกฤตทางสังคมด้านความสมานฉันท์อีกด้วย มีข้อสังเกตว่าสังคมไทยไม่ได้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางด้านศาสนา หรืออุดมการณ์ทางการเมือง แต่กลับมีความขัดแย้งในแง่การสนับสนุนตัวบุคคลมาทดแทนความขัดแย้งด้านอื่นๆ และความขัดแย้งในมิตินี้เองที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดของการเมืองไทยในปัจจุบัน
ผมเองหมดความสนใจในการปฏิรูปการเมืองอย่างที่ทำกันอยู่ไปนานแล้ว ผมเห็นว่า เมืองไทยเรายากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะแม้แต่การแยกระหว่างความดี และความชั่วก็ยาก ผู้กระทำความผิดโกงรัฐ ใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ยังมีผู้นิยมยกย่อง และมีผู้สนับสนุนมากมาย การแสดงออกทางการเมืองก็ออกไปในลักษณะถ่อยๆ มากกว่าการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์
ไปๆ มาๆ การเมืองกับสังคมไทยอาจเป็นเรื่องที่ขัดกัน การเมืองเป็นเรื่องที่มีความเป็นสาธารณะสูง แต่สังคมไทยมีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะเหตุนี้กระมัง เราจึงเห็นผู้คนในบ้านเมืองประท้วงรัฐบาลด้วยการปาไข่บ้าง ขว้างของใส่รถบ้าง ด่าทอด้วยคำหยาบๆ บ้าง
ใครจะปฏิรูปการเมืองก็เชิญเถิดครับ ผมไม่เสียเวลาด้วยหรอก
การเมืองเปลี่ยนไปมากในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างน้อย 9 ประการคือ
1. หน่วยวิเคราะห์ทางการเมือง เวลานี้มีมากขึ้นเพราะมีกลุ่มหลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
2. การเชื่อมโยงกันทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิด “ชุมชนที่ไม่มีตัวตน” เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันทางอินเทอร์เน็ต ไม่เห็นตัว ทำให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคล
3. พลวัตทางการเมืองเปลี่ยนไปคือ มีความรวดเร็วขึ้น มีระยะเวลาสั้นลง มีความผันผวนมาก มีความชั่วคราวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
4. รัฐไม่ใช่หน่วยทางการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด หรือมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการเมืองแต่ฝ่ายเดียว หากมีองค์กรเหนือรัฐและนอกรัฐอีกมากมาย
5. หน่วยและพลังด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การต่างประเทศและศาสนา มีความเกี่ยวพันกันมากขึ้น
6. แม้พลังของอุดมการณ์ทางการเมืองจะลดความสำคัญลง แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความแตกแยก แบ่งคนออกเป็นกลุ่ม (เช่น เสื้อเหลือง-เสื้อแดง) ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองยากที่จะเกิดการประนีประนอมกัน
7. ระบบทุนนิยมทำให้ประชาธิปไตยกลายสภาพเป็นธนาธิปไตย
8. ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน “representative democracy) มีปัญหาในด้านความชอบธรรม เพราะอิทธิพลของธนาธิปไตยมีการเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participative democracy) มากขึ้น และต้องการให้รัฐบาลสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และขอคำปรึกษาความเห็นชอบจากประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะมากขึ้น
9. โลกภายนอก ต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมภายในประเทศมากขึ้น มีการกำหนดคุณภาพ-มาตรฐานระดับโลก ทำให้ประเทศต่างๆ ต้องยกระดับความเป็นสากลเพิ่มขึ้น จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนด้วย
ถ้าเช่นนั้น เราจะปฏิรูปการเมืองอย่างไร เวลานี้เมื่อพูดถึง “การปฏิรูปการเมือง” เรามักนึกถึง
1. การปรับเปลี่ยนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
2. การสร้างมาตรการในการตรวจสอบอำนาจทางการเมือง
3. การพัฒนาพรรคการเมือง และระบบการเลือกตั้ง
4. การสร้างคุณธรรม และจริยธรรมของนักการเมือง
การปฏิรูปการเมืองมักเกี่ยวกับเรื่อง 4 เรื่องนี้ เรื่องที่ยากที่สุดคือเรื่องที่ 4 ที่ทำง่าย และทำบ่อยๆ ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากย้อนไปดูการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 9 ข้อข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิด “ช่องว่าง” ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางโลกกับระบบการเมืองไทย มิหนำซ้ำระบบการเมืองไทยยังมีปัญหาในตัวของมันอีก ก็ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างสภาพแวดล้อมทางการเมืองใหม่กับระบบการเมืองแบบเก่ามีมากขึ้น เราจึงได้ยินข้อเรียกร้องให้มีการเมืองใหม่
ดังนั้น การปฏิรูปการเมือง จึงน่ามีเป้าหมายในการเปลี่ยนระบบการเมืองให้สามารถจัดการกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นในโลก มิฉะนั้นแล้วระบบการเมืองก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ได้ สำหรับสังคมไทยแล้ว เราไม่ได้มีแต่วิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีวิกฤตทางสังคมด้านความสมานฉันท์อีกด้วย มีข้อสังเกตว่าสังคมไทยไม่ได้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางด้านศาสนา หรืออุดมการณ์ทางการเมือง แต่กลับมีความขัดแย้งในแง่การสนับสนุนตัวบุคคลมาทดแทนความขัดแย้งด้านอื่นๆ และความขัดแย้งในมิตินี้เองที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดของการเมืองไทยในปัจจุบัน
ผมเองหมดความสนใจในการปฏิรูปการเมืองอย่างที่ทำกันอยู่ไปนานแล้ว ผมเห็นว่า เมืองไทยเรายากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะแม้แต่การแยกระหว่างความดี และความชั่วก็ยาก ผู้กระทำความผิดโกงรัฐ ใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ยังมีผู้นิยมยกย่อง และมีผู้สนับสนุนมากมาย การแสดงออกทางการเมืองก็ออกไปในลักษณะถ่อยๆ มากกว่าการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์
ไปๆ มาๆ การเมืองกับสังคมไทยอาจเป็นเรื่องที่ขัดกัน การเมืองเป็นเรื่องที่มีความเป็นสาธารณะสูง แต่สังคมไทยมีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะเหตุนี้กระมัง เราจึงเห็นผู้คนในบ้านเมืองประท้วงรัฐบาลด้วยการปาไข่บ้าง ขว้างของใส่รถบ้าง ด่าทอด้วยคำหยาบๆ บ้าง
ใครจะปฏิรูปการเมืองก็เชิญเถิดครับ ผมไม่เสียเวลาด้วยหรอก