รอยเตอร์ - ซีอีโอของอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแน่ล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี)กล่าวต่อรัฐสภาสหรัฐฯในวันพุธ (18) ว่า เขากำลังพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อป้องกันมิให้บริษัทล้มละลาย เมื่อตอนที่เขาอนุมัติเงินโบนัส 165 ล้านดอลลาร์ให้แก่พนักงาน ซึ่งเวลานี้กำลังทำให้ทั้งประชาชน รัฐสภาและรัฐบาลเดือดดาลโกรธเกรี้ยว
เอดเวิร์ด ลิดดี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งประธานและซีอีโอของเอไอจีเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว อันเป็นช่วงที่รัฐบาลเริ่มอัดฉีดเม็ดเงินช่วยชีวิตก้อนแรกเข้าไป ยังได้แจ้งต่อคณะอนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรว่า เขาได้เรียกร้องให้พนักงานซึ่งได้รับโบนัสมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นำเงินมาคืนเงินอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
"สิ่งที่คนอเมริกันไม่เข้าใจก็คือทำไม่ต้องจ่ายเงินให้คนพวกนี้ด้วย" ลิดดีกล่าว "คำตอบก็คือ ตอนนั้นผมกำลังต้องทำทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้ธุรกิจล้มครืนลงมา"
ลิดดีกล่าวอีกว่าพนักงานบางคนก็ได้นำเอาเงินโบนัสที่ได้ไปทั้งหมดมาคืนแล้ว บางคนได้รับเงินแล้วก็ลาออกไปเลย
เอไอจีกลายเป็นเป้าโจมตีจากสาธารณชน นักการเมืองเรื่อยไปจนประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพราะประกาศจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานทั้ง ๆที่สถานะของบริษัทกำลังย่ำแย่ต้องขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายระลอก รวมเป็นจำนวนถึง 180,000 ล้านดอลลาร์มาพยุงฐานะของบริษัท
ลิดดีกล่าวว่าการจ่ายโบนัสนี้มีความจำเป็น เพราะจะทำให้พนักงานที่ทำงานดีและมีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ยังคงอยู่กับบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่สามารถทำหน้าที่ช่วยกำจัดตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆที่ซับซ้อนมูลค่า 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ อันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทขาดทุนรุนแรงจนเกือบล้มคว่ำเมื่อปีทีแล้ว
เขากล่าวว่าเอไอจีได้ลดหลักทรัพย์เหล่านั้นลงไปเหลือ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว และเขาก็กังวลว่าพนักงานที่กำลังช่วยลดปริมาณสินทรัพย์มีปัญหาเหล่านั้น จะนำเอาโบนัสมาคืนพร้อมทั้งจดหมายลาออก ซึ่งยิ่งจะทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ได้เสนอรายงานข่าวในฉบับวานนี้(19)ระบุว่า งานถอดชนวนตราสารอนุพันธ์ที่อาจสร้างความเสียหายให้ร้ายแรงที่สุดนั้น ทางเอไอจีได้ทำเสร็จไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่บริษัทจะประกาศจ่ายโบนัสแก่พนักงานที่อาจว่าจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้อยู่กับบริษัท
**โอบามาบอก "ประชาชนมีสิทธิ์โกรธกริ้ว"**
ความโกรธเกรี้ยวต่อการให้โบนัสของสถาบันการเงินขนาดใหญ๋เช่นนี้ เห็นได้ชัดเจนว่ากำลังส่งผลไปถึงความพยายามของโอบามาในการแก้ไขวิกฤตสินเชื่อของประเทศและดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
ทั้งนี้โอบามาได้เคยกล่าวไว้ว่าจะต้องขอให้รัฐสภาอนุมัติเงินเพิ่มเติมจากจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์ที่อนุมัติไปแล้วในเดือนตุลาคม รวมทั้งกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็กำลังจะเสนอแผนการจัดตั้งกองทุนร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อรับซื้อตราสารหนี้เน่าเสียจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ อันจะทำให้กิจการเหล่านี้หมดภาระ และสามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจและผู้บริโภคได้ตามปกติ แต่เมื่อเกิดเรื่องฉาวโฉ่และทำเอาประชาชนพากันเดือดดาลเช่นนี้ รัฐบาลโอบามาย่อมประสบความลำบากในการผลักดันเดินหน้าเรื่องเหล่านี้
ทางด้านโอบามาซึ่งเดินทางไปยังแคลิฟอร์เนีย อันเป็นมลรัฐที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักหน่วง เพื่อปราศรัยกับประชาชนตามเมืองต่างๆ หลายจุด โดยวัตถุประสงค์สำคัญของเขาก็คือการพยายามที่จะบรรเทาเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีเอไอจี ถึงทั้งปกป้องแผนการช่วยชีวิตภาคการเงินการธนาคารของรัฐบาล
แต่เขาก็เข้าฉวยอารมณ์ความรู้สึกโกรธกริ้วของประชาชนอย่างไม่ลังเลเหมือนกัน "ผมทราบดีว่าพวกคุณมากมายรู้สึกเดือดดาลเกี่ยวกับเรื่องนี้(เรื่องการจ่ายโบนัสของเอไอจี) ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่รู้สึกอย่างนั้น ผมก็รู้สึกเดือดดาลเหมือนกัน" เขากล่าวกับประชาชนที่เมืองคอสตาเมซา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
"ผมจะขอแสดงความรับผิดชอบ ผมเป็นประธานาธิบดี" เขากล่าว "เป็นงานของผมที่จะต้องทำให้มั่นใจว่าเราแก้ไขเรื่องวุ่นวายต่างๆ เหล่านี้ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างมันขึ้นมา"
เอดเวิร์ด ลิดดี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งประธานและซีอีโอของเอไอจีเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว อันเป็นช่วงที่รัฐบาลเริ่มอัดฉีดเม็ดเงินช่วยชีวิตก้อนแรกเข้าไป ยังได้แจ้งต่อคณะอนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรว่า เขาได้เรียกร้องให้พนักงานซึ่งได้รับโบนัสมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นำเงินมาคืนเงินอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
"สิ่งที่คนอเมริกันไม่เข้าใจก็คือทำไม่ต้องจ่ายเงินให้คนพวกนี้ด้วย" ลิดดีกล่าว "คำตอบก็คือ ตอนนั้นผมกำลังต้องทำทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้ธุรกิจล้มครืนลงมา"
ลิดดีกล่าวอีกว่าพนักงานบางคนก็ได้นำเอาเงินโบนัสที่ได้ไปทั้งหมดมาคืนแล้ว บางคนได้รับเงินแล้วก็ลาออกไปเลย
เอไอจีกลายเป็นเป้าโจมตีจากสาธารณชน นักการเมืองเรื่อยไปจนประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพราะประกาศจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานทั้ง ๆที่สถานะของบริษัทกำลังย่ำแย่ต้องขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายระลอก รวมเป็นจำนวนถึง 180,000 ล้านดอลลาร์มาพยุงฐานะของบริษัท
ลิดดีกล่าวว่าการจ่ายโบนัสนี้มีความจำเป็น เพราะจะทำให้พนักงานที่ทำงานดีและมีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ยังคงอยู่กับบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่สามารถทำหน้าที่ช่วยกำจัดตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆที่ซับซ้อนมูลค่า 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ อันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทขาดทุนรุนแรงจนเกือบล้มคว่ำเมื่อปีทีแล้ว
เขากล่าวว่าเอไอจีได้ลดหลักทรัพย์เหล่านั้นลงไปเหลือ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว และเขาก็กังวลว่าพนักงานที่กำลังช่วยลดปริมาณสินทรัพย์มีปัญหาเหล่านั้น จะนำเอาโบนัสมาคืนพร้อมทั้งจดหมายลาออก ซึ่งยิ่งจะทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ได้เสนอรายงานข่าวในฉบับวานนี้(19)ระบุว่า งานถอดชนวนตราสารอนุพันธ์ที่อาจสร้างความเสียหายให้ร้ายแรงที่สุดนั้น ทางเอไอจีได้ทำเสร็จไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่บริษัทจะประกาศจ่ายโบนัสแก่พนักงานที่อาจว่าจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้อยู่กับบริษัท
**โอบามาบอก "ประชาชนมีสิทธิ์โกรธกริ้ว"**
ความโกรธเกรี้ยวต่อการให้โบนัสของสถาบันการเงินขนาดใหญ๋เช่นนี้ เห็นได้ชัดเจนว่ากำลังส่งผลไปถึงความพยายามของโอบามาในการแก้ไขวิกฤตสินเชื่อของประเทศและดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
ทั้งนี้โอบามาได้เคยกล่าวไว้ว่าจะต้องขอให้รัฐสภาอนุมัติเงินเพิ่มเติมจากจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์ที่อนุมัติไปแล้วในเดือนตุลาคม รวมทั้งกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็กำลังจะเสนอแผนการจัดตั้งกองทุนร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อรับซื้อตราสารหนี้เน่าเสียจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ อันจะทำให้กิจการเหล่านี้หมดภาระ และสามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจและผู้บริโภคได้ตามปกติ แต่เมื่อเกิดเรื่องฉาวโฉ่และทำเอาประชาชนพากันเดือดดาลเช่นนี้ รัฐบาลโอบามาย่อมประสบความลำบากในการผลักดันเดินหน้าเรื่องเหล่านี้
ทางด้านโอบามาซึ่งเดินทางไปยังแคลิฟอร์เนีย อันเป็นมลรัฐที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักหน่วง เพื่อปราศรัยกับประชาชนตามเมืองต่างๆ หลายจุด โดยวัตถุประสงค์สำคัญของเขาก็คือการพยายามที่จะบรรเทาเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีเอไอจี ถึงทั้งปกป้องแผนการช่วยชีวิตภาคการเงินการธนาคารของรัฐบาล
แต่เขาก็เข้าฉวยอารมณ์ความรู้สึกโกรธกริ้วของประชาชนอย่างไม่ลังเลเหมือนกัน "ผมทราบดีว่าพวกคุณมากมายรู้สึกเดือดดาลเกี่ยวกับเรื่องนี้(เรื่องการจ่ายโบนัสของเอไอจี) ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่รู้สึกอย่างนั้น ผมก็รู้สึกเดือดดาลเหมือนกัน" เขากล่าวกับประชาชนที่เมืองคอสตาเมซา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
"ผมจะขอแสดงความรับผิดชอบ ผมเป็นประธานาธิบดี" เขากล่าว "เป็นงานของผมที่จะต้องทำให้มั่นใจว่าเราแก้ไขเรื่องวุ่นวายต่างๆ เหล่านี้ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างมันขึ้นมา"