รอยเตอร์ – อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่กลายเป็นกิจการซึ่งได้รับความช่วยเหลือกู้ชีวิตจากรัฐบาลเป็นจำนวนสูงสุดถึงร่วมๆ 180,000 ล้านดอลลาร์ เปิดเผยว่า ต้องนำเงินภาษีของประชาชนที่ได้มา ไปจ่ายให้แก่ โกลแมนด์ แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ และกลุ่มธนาคารยุโรป รวม 93,000 ล้านดอลลาร์ คาดหมายกันว่า เรื่องนี้จะยิ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในมาตรการช่วยเหลือบริษัทที่ถือกันว่า “ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มไป” แห่งนี้
ข่าวที่เปิดเผยออกมาในวันอาทิตย์(15) โดยเอไอจีนี้ กลายเป็นฝันร้ายด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อพลิกฟื้นภาพพจน์ของบริษัทไปแล้ว และข่าวก็ออกมาในเวลาเดียวกันกับที่รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามา แสดงความฉุนเฉียวต่อแผนการของเอไอจี ที่จะให้โบนัสกับพนักงานระดับสูงในแผนกที่ทำให้บริษัทต้องทรุดลงโดยการออกตราสารอนุพันธ์มูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อประกันสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
มูลค่าของผลประโยชน์ที่เอไอจีต้องจ่ายไปให้แก่ธนาคารและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ทั้งในสหรัฐฯและยุโรปเช่นนี้ เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าทำไมทางการสหรัฐฯจึงไม่ยอมปล่อยให้เอไอจีล้มครืนลงมา แม้แต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันกีก็กล่าวในไว้การสัมภาษณ์กับรายการ “ซิกตี้ มินิตส์” ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสว่า ความพังทลายของเอไอจีจะนำมาซึ่งวิกฤตรอบใหม่ของระบบการเงินโลก
เอไอจีได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯไปเป็นเงินทั้งสิ้น 173,000 ล้านดอลลาร์ และในเวลานี้บริษัทประกาศว่าจะต้องจ่ายโบนัสให้กับพนักงานเป็นเงินถึง 165 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมากมาย ในขณะเดียวกันนี้เอง ประธานาธิบดีโอบามาก็กำลังจะประกาศในวันจันทร์(16) ถึงแผนการทำให้เจ้าของธุรกิจรายเล็ก ๆเข้าถึงเม็ดเงินมากขึ้นเพื่อช่วยประคองธุรกิจของพวกเขาต่อไป
แต่การเปิดเผยว่าที่เงินภาษีของประชาชนสหรัฐฯที่ถูกอัดฉีดเข้าไปในเอไอจีนั้น ไหลเข้าไปยังโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวาณิชธนกิจที่มีเครือข่ายทางการเมืองที่แน่นแฟ้นที่สุด รวมทั้งไหลไปยังธนาคารของยุโรป อย่างเช่น ดอยทช์ แบงก์, โซซิเยเต้ เจเนรัล ของฝรั่งเศส และบาร์เคลย์ แบงก์ของอังกฤษ ก็ได้ทำให้เกิดความโกรธเกรี้ยวต่อแผนการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงินให้มากขึ้น
“สำหรับผม มันดูไม่ค่อยยุติธรรมเลยที่ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันต้องมาแบกรับภาระเอาไว้” แคมป์เบล ฮาร์วีย์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ก กล่าว
“การซื้อตราสารครอบคลุมความเสี่ยง จะไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงหากว่าคุณมิได้ต้องการความเสี่ยงจริง ๆ และผู้เสียภาษีชาวอเมริกันไม่ควรจะต้องมารับภาระครอบคลุมความเสี่ยงนี้ หากว่าข้อสัญญาในตราสารมิได้ถูกดำเนินการให้ถูกต้อง” ฮาร์วีย์กล่าว
ทางด้าน โกลด์แมน แซคส์ออกมาชี้แจงว่า การลงทุนในเอไอจีของตนนั้น “ได้ถูกครอบคลุมความเสี่ยงและรับประกันเอาไว้แล้ว”
ในขณะที่ดอยทช์แบงก์ และบาร์เคลย์ส ไม่ยอมตอบคำถาม ส่วนโซซิเยเต้ เจเนราลไม่สามารถติดต่อได้
การจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ทำสัญญากับเอไอจีนั้น ส่วนที่สำคัญแล้วกล่าวได้ว่าคือการชำระเงินให้แก่พวกที่ซื้อตราสารเครดิต ดีฟอลต์ สวอปส์ ซึ่งเป็นตราสารประกันภัยด้านการเงินที่เอไอจีเป็นผู้ออก
โดยผ่านการซื้อขายตราสารเหล่านี้ ทำให้โกลด์แมนแซคส์ได้รับเงินจากเอไอจีถึง 12,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนในบรรดาธนาคารของยุโรป โซซิเยเต้เจเนราลได้ผลประโยชน์ประโยชน์มากที่สุดถึง 11,900 ล้านดอลลาร์ ดอยท์ช แบงก์ได้ไป 11,800 ล้านดอลลาร์ ส่วนบาร์เคลย์ได้ 8,500 ล้านดอลลาร์
ขณะนี้ คณะรัฐบาลโอบามาโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังจะประกาศรายละเอียดในการแก้ไขปัญหาของระบบธนาคาร ด้วยการนำเอาสินทรัพย์เน่าเสียออกไปจากแบงก์ โดยที่จะจัดตั้งโครงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นผู้รับซื้อหนี้เน่าเหล่านี้ คาดหมายกันว่า เมื่อพวกธนาคารและสถาบันการเงินหมดภาระกับหนี้เสียพวกนี้ ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในการปล่อยกู้สินเชื่อ และจะแก้ปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจของสหรัฐฯ
กรณีของเอไอจี ย่อมส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อโครงการที่กำลังจะประกาศนี้
ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ประธานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของทำเนียบขาว ต้องรีบออกมาแก้ต่างให้ว่า “โครงการนี้ผู้เสียภาษีจะไม่สูญเสียเงิน จนกว่าผู้ลงทุนจะขาดทุน 100%”
เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกล่าวว่ากองทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะมีอยู่หลายกองทุน จะเป็นกลไกการจ่ายเม็ดเงินสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อให้เอกชนเข้าไปซื้อสินทรัพย์เน่าเสียไปบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อบ้านที่กลายเป็นหนี้เสียจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้กระทรวงการคลังแล้ว ธนาคารกลางและบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางก็จะเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย
ข่าวที่เปิดเผยออกมาในวันอาทิตย์(15) โดยเอไอจีนี้ กลายเป็นฝันร้ายด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อพลิกฟื้นภาพพจน์ของบริษัทไปแล้ว และข่าวก็ออกมาในเวลาเดียวกันกับที่รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามา แสดงความฉุนเฉียวต่อแผนการของเอไอจี ที่จะให้โบนัสกับพนักงานระดับสูงในแผนกที่ทำให้บริษัทต้องทรุดลงโดยการออกตราสารอนุพันธ์มูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อประกันสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
มูลค่าของผลประโยชน์ที่เอไอจีต้องจ่ายไปให้แก่ธนาคารและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ทั้งในสหรัฐฯและยุโรปเช่นนี้ เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าทำไมทางการสหรัฐฯจึงไม่ยอมปล่อยให้เอไอจีล้มครืนลงมา แม้แต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันกีก็กล่าวในไว้การสัมภาษณ์กับรายการ “ซิกตี้ มินิตส์” ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสว่า ความพังทลายของเอไอจีจะนำมาซึ่งวิกฤตรอบใหม่ของระบบการเงินโลก
เอไอจีได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯไปเป็นเงินทั้งสิ้น 173,000 ล้านดอลลาร์ และในเวลานี้บริษัทประกาศว่าจะต้องจ่ายโบนัสให้กับพนักงานเป็นเงินถึง 165 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมากมาย ในขณะเดียวกันนี้เอง ประธานาธิบดีโอบามาก็กำลังจะประกาศในวันจันทร์(16) ถึงแผนการทำให้เจ้าของธุรกิจรายเล็ก ๆเข้าถึงเม็ดเงินมากขึ้นเพื่อช่วยประคองธุรกิจของพวกเขาต่อไป
แต่การเปิดเผยว่าที่เงินภาษีของประชาชนสหรัฐฯที่ถูกอัดฉีดเข้าไปในเอไอจีนั้น ไหลเข้าไปยังโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวาณิชธนกิจที่มีเครือข่ายทางการเมืองที่แน่นแฟ้นที่สุด รวมทั้งไหลไปยังธนาคารของยุโรป อย่างเช่น ดอยทช์ แบงก์, โซซิเยเต้ เจเนรัล ของฝรั่งเศส และบาร์เคลย์ แบงก์ของอังกฤษ ก็ได้ทำให้เกิดความโกรธเกรี้ยวต่อแผนการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงินให้มากขึ้น
“สำหรับผม มันดูไม่ค่อยยุติธรรมเลยที่ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันต้องมาแบกรับภาระเอาไว้” แคมป์เบล ฮาร์วีย์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ก กล่าว
“การซื้อตราสารครอบคลุมความเสี่ยง จะไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงหากว่าคุณมิได้ต้องการความเสี่ยงจริง ๆ และผู้เสียภาษีชาวอเมริกันไม่ควรจะต้องมารับภาระครอบคลุมความเสี่ยงนี้ หากว่าข้อสัญญาในตราสารมิได้ถูกดำเนินการให้ถูกต้อง” ฮาร์วีย์กล่าว
ทางด้าน โกลด์แมน แซคส์ออกมาชี้แจงว่า การลงทุนในเอไอจีของตนนั้น “ได้ถูกครอบคลุมความเสี่ยงและรับประกันเอาไว้แล้ว”
ในขณะที่ดอยทช์แบงก์ และบาร์เคลย์ส ไม่ยอมตอบคำถาม ส่วนโซซิเยเต้ เจเนราลไม่สามารถติดต่อได้
การจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ทำสัญญากับเอไอจีนั้น ส่วนที่สำคัญแล้วกล่าวได้ว่าคือการชำระเงินให้แก่พวกที่ซื้อตราสารเครดิต ดีฟอลต์ สวอปส์ ซึ่งเป็นตราสารประกันภัยด้านการเงินที่เอไอจีเป็นผู้ออก
โดยผ่านการซื้อขายตราสารเหล่านี้ ทำให้โกลด์แมนแซคส์ได้รับเงินจากเอไอจีถึง 12,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนในบรรดาธนาคารของยุโรป โซซิเยเต้เจเนราลได้ผลประโยชน์ประโยชน์มากที่สุดถึง 11,900 ล้านดอลลาร์ ดอยท์ช แบงก์ได้ไป 11,800 ล้านดอลลาร์ ส่วนบาร์เคลย์ได้ 8,500 ล้านดอลลาร์
ขณะนี้ คณะรัฐบาลโอบามาโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังจะประกาศรายละเอียดในการแก้ไขปัญหาของระบบธนาคาร ด้วยการนำเอาสินทรัพย์เน่าเสียออกไปจากแบงก์ โดยที่จะจัดตั้งโครงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นผู้รับซื้อหนี้เน่าเหล่านี้ คาดหมายกันว่า เมื่อพวกธนาคารและสถาบันการเงินหมดภาระกับหนี้เสียพวกนี้ ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในการปล่อยกู้สินเชื่อ และจะแก้ปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจของสหรัฐฯ
กรณีของเอไอจี ย่อมส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อโครงการที่กำลังจะประกาศนี้
ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ประธานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของทำเนียบขาว ต้องรีบออกมาแก้ต่างให้ว่า “โครงการนี้ผู้เสียภาษีจะไม่สูญเสียเงิน จนกว่าผู้ลงทุนจะขาดทุน 100%”
เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกล่าวว่ากองทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะมีอยู่หลายกองทุน จะเป็นกลไกการจ่ายเม็ดเงินสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อให้เอกชนเข้าไปซื้อสินทรัพย์เน่าเสียไปบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อบ้านที่กลายเป็นหนี้เสียจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้กระทรวงการคลังแล้ว ธนาคารกลางและบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางก็จะเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย