เอเอฟพี/รอยเตอร์ – อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) วานนี้(2)แจ้งผลประกอบการไตรมาสก่อน ปรากฏว่าขาดทุนถึง 61,700 ล้านดอลลาร์ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์สำหรับภาคบรรษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถทำความตกลงขอรับความช่วยเหลือจากทางการสหรัฐฯก้อนใหม่มูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์ โดยต้องทำตามเงื่อนไขหลายๆ ข้อ ซึ่งข้อหนึ่งก็คือการโอนหุ้นของ “เอไอเอ” จำนวนหนึ่งให้แก่รัฐบาลอเมริกัน
การขาดทุนประจำไตรมาสสุดท้ายปี 2008 นี้ ถือเป็นการขาดทุนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 และทำให้ตลอดทั้งปีที่แล้ว เอไอจีขาดทุนรวม 99,290 ล้านดอลลาร์
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้อัดฉีดเงินช่วยชีวิตเอไอจีมาแล้วราว 150,000 ล้านดอลลาร์ แถลงว่า แพกเกจความช่วยเหลือครั้งใหม่ล่าสุดนี้ เป็นความพยายามที่จะไม่ให้เกิดความหายนะติดตามมา จากการล้มครืนของบริษัทประกันภัยที่เคยใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้
“เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงต่อระบบที่เอไอจียังคงก่อให้เกิดขึ้น ตลอดจนความเปราะบางของตลาดในเวลานี้แล้ว ถ้าหากรัฐบาลไม่ลงมือกระทำอะไรเลย ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น(จากการล้มของเอไอจี)ทั้งของเศรษฐกิจโดยรวม และของผู้เสียภาษี ก็จะอยู่ในระดับที่สูงอย่างยิ่งยวด” คำแถลงร่วมของสองหน่วยงานนี้ระบุ
“การเพิ่มเติมทรัพยากรเข้าไป จะช่วยทำให้บริษัทกลับมีเสถียรภาพ และในการทำเช่นนี้ก็จะช่วยทำให้ระบบการเงินกลับมีเสถียรภาพไปด้วย”
นอกเหนือจากให้ความช่วยเหลือเพิ่มอีก 30,000 ล้านดอลลาร์แล้ว แผนการกู้ชีพครั้งล่าสุดนี้ยังมีข้อตกลงปรับโครงสร้างความช่วยเหลือก้อนเดิมๆ ที่ให้แก่เอไอจี ด้วยการที่รัฐบาลจะแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับจากเอไอจี เป็นการตอบแทนที่ทางการเข้าไปช่วยเหลือบริษัทในครั้งก่อนๆ หน้านี้
การแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญเช่นนี้ จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯถือหุ้นเอไอจีอยู่ 77.9% แต่จะลดภาระทางการเงินที่เอไอจีต้องจ่ายเป็นเงินปันผลในอัตราแน่นอนให้แก่หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ทางการถืออยู่
นอกจากนั้น วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน 60,000 ล้านดอลลาร์ที่ทางการให้แก่เอไอจี จะได้รับการลดภาระหนี้ลง โดยที่เอไอจีต้องมอบหุ้นจำนวนหนึ่งของ 2 บริษัทลูก คือ อเมริกัน ไลฟ์ อินชัวรันซ์ คอมปานี (เอลิโก) และ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ให้แก่ทางการ
ยังไม่มีรายงานรายละเอียดว่า เอไอจีจะมอบหุ้นของบริษัทลูกทั้งสองนี้ให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯเป็นจำนวนเท่าใด แต่ทั้งเอลิโก และ เอไอเอ ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากของเอไอจี โดยที่เอลิโกเป็นบริษัทด้านประกันชีวิตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสามารถสร้างรายรับกว่าครึ่งหนึ่งที่เอไอจีทำได้จากญี่ปุ่น ขณะที่เอไอเอซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง ไปดำเนินกิจการด้านการประกันชีวิตใน 10 ประเทศเอเชีย โดยที่หลายๆ ตลาด เอไอเอสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้เกินครึ่งหนึ่ง ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย
เอไอจีได้เคยพยายามที่จะขายเอลิโก รวมทั้งหุ้น 49% ของเอไอเอ ทว่าไม่ประสบผลสำเร็จ สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้พวกที่คิดจะซื้อต่างประสบปัญหาของตัวเอง และภาวะสินเชื่อตึงตัว ก็ทำให้ยากที่จะระดมเงินมาสนับสนุนการซื้อกิจการใหญ่ๆ เช่นนี้
เกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นเอไอจีและกิจการในเครือคราวนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ออกคำแถลงระบุว่า “การที่ภาคสาธารณะมีกรรมสิทธิ์ในสถาบันการเงินนั้น ไม่ได้เป็นเป้าหมายทางนโยบายเลย และการที่ภาคสาธารณะจะมีกรรมสิทธิ์ขึ้นมานั้น ก็เป็นผลลัพธ์ของมาตรการของกระทรวงการคลัง ซึ่งในกรณีเอไอจีก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน กระทรวงฯจึงจะดำเนินการเพื่อให้พวกในภาคเอกชนเข้ามาแทนที่ทางรัฐบาล เพื่อสร้างกิจการทางเศรษฐกิจที่มีโฟกัสมากขึ้น มีการปรับโครงสร้างและอยู่ต่อไปได้ โดยจะสร้างขึ้นมาให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้”
การขาดทุนประจำไตรมาสสุดท้ายปี 2008 นี้ ถือเป็นการขาดทุนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 และทำให้ตลอดทั้งปีที่แล้ว เอไอจีขาดทุนรวม 99,290 ล้านดอลลาร์
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้อัดฉีดเงินช่วยชีวิตเอไอจีมาแล้วราว 150,000 ล้านดอลลาร์ แถลงว่า แพกเกจความช่วยเหลือครั้งใหม่ล่าสุดนี้ เป็นความพยายามที่จะไม่ให้เกิดความหายนะติดตามมา จากการล้มครืนของบริษัทประกันภัยที่เคยใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้
“เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงต่อระบบที่เอไอจียังคงก่อให้เกิดขึ้น ตลอดจนความเปราะบางของตลาดในเวลานี้แล้ว ถ้าหากรัฐบาลไม่ลงมือกระทำอะไรเลย ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น(จากการล้มของเอไอจี)ทั้งของเศรษฐกิจโดยรวม และของผู้เสียภาษี ก็จะอยู่ในระดับที่สูงอย่างยิ่งยวด” คำแถลงร่วมของสองหน่วยงานนี้ระบุ
“การเพิ่มเติมทรัพยากรเข้าไป จะช่วยทำให้บริษัทกลับมีเสถียรภาพ และในการทำเช่นนี้ก็จะช่วยทำให้ระบบการเงินกลับมีเสถียรภาพไปด้วย”
นอกเหนือจากให้ความช่วยเหลือเพิ่มอีก 30,000 ล้านดอลลาร์แล้ว แผนการกู้ชีพครั้งล่าสุดนี้ยังมีข้อตกลงปรับโครงสร้างความช่วยเหลือก้อนเดิมๆ ที่ให้แก่เอไอจี ด้วยการที่รัฐบาลจะแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับจากเอไอจี เป็นการตอบแทนที่ทางการเข้าไปช่วยเหลือบริษัทในครั้งก่อนๆ หน้านี้
การแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญเช่นนี้ จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯถือหุ้นเอไอจีอยู่ 77.9% แต่จะลดภาระทางการเงินที่เอไอจีต้องจ่ายเป็นเงินปันผลในอัตราแน่นอนให้แก่หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ทางการถืออยู่
นอกจากนั้น วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน 60,000 ล้านดอลลาร์ที่ทางการให้แก่เอไอจี จะได้รับการลดภาระหนี้ลง โดยที่เอไอจีต้องมอบหุ้นจำนวนหนึ่งของ 2 บริษัทลูก คือ อเมริกัน ไลฟ์ อินชัวรันซ์ คอมปานี (เอลิโก) และ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ให้แก่ทางการ
ยังไม่มีรายงานรายละเอียดว่า เอไอจีจะมอบหุ้นของบริษัทลูกทั้งสองนี้ให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯเป็นจำนวนเท่าใด แต่ทั้งเอลิโก และ เอไอเอ ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากของเอไอจี โดยที่เอลิโกเป็นบริษัทด้านประกันชีวิตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสามารถสร้างรายรับกว่าครึ่งหนึ่งที่เอไอจีทำได้จากญี่ปุ่น ขณะที่เอไอเอซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง ไปดำเนินกิจการด้านการประกันชีวิตใน 10 ประเทศเอเชีย โดยที่หลายๆ ตลาด เอไอเอสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้เกินครึ่งหนึ่ง ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย
เอไอจีได้เคยพยายามที่จะขายเอลิโก รวมทั้งหุ้น 49% ของเอไอเอ ทว่าไม่ประสบผลสำเร็จ สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้พวกที่คิดจะซื้อต่างประสบปัญหาของตัวเอง และภาวะสินเชื่อตึงตัว ก็ทำให้ยากที่จะระดมเงินมาสนับสนุนการซื้อกิจการใหญ่ๆ เช่นนี้
เกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นเอไอจีและกิจการในเครือคราวนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ออกคำแถลงระบุว่า “การที่ภาคสาธารณะมีกรรมสิทธิ์ในสถาบันการเงินนั้น ไม่ได้เป็นเป้าหมายทางนโยบายเลย และการที่ภาคสาธารณะจะมีกรรมสิทธิ์ขึ้นมานั้น ก็เป็นผลลัพธ์ของมาตรการของกระทรวงการคลัง ซึ่งในกรณีเอไอจีก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน กระทรวงฯจึงจะดำเนินการเพื่อให้พวกในภาคเอกชนเข้ามาแทนที่ทางรัฐบาล เพื่อสร้างกิจการทางเศรษฐกิจที่มีโฟกัสมากขึ้น มีการปรับโครงสร้างและอยู่ต่อไปได้ โดยจะสร้างขึ้นมาให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้”