ข่าวเชิงวิเคราะห์ "มลพิษมาบตาพุด" (ความยาว 3 ตอนจบ)
ตอนที่ 1:
ลงทุนอุตสาหกรรมมลพิษ เดิมพันชีวิต"คนมาบตาพุด"
ASTV ผู้จัดการรายวัน - เปิดต้นตอปัญหาอุตสาหกรรมมาบตาพุด จาก "ระยองโมเดล" สู่มายาคติ อุตสาหกรรมดีมีคุณภาพ มุ่งสร้างรายได้และการจ้างงาน ทว่าบนความโชติช่วงทางเศรษฐกิจของประเทศ ชาวระยองต้องแบกรับภาระมลพิษอันหนักอึ้ง
จุดกำเนิด "ระยองโมเดล"
การพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนอีสเทิร์นซีบอร์ด ลงหลักเสาเข็ม โครงการเฟสที่ 1 ระหว่าง ปี 2525-2537 มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี การกลั่นน้ำมัน เคมีภัณฑ์และปุ๋ยเคมี แต่ในระยะแรก ไม่สามารถพุ่งทะยานได้ตามแผน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ต่อมาในปี 2528 สืบเนื่องมาจากข้อตกลงพลาซ่า (The Plaza Accord) ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น 120-130 เยนต่อเหรียญสหรัฐ ผลตามมาก็คือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นลดลง และภาคการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานอุตสาหกรรมออกนอกประเทศ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
"ระยองโมเดล" ถูกวางให้เป็นแม่แบบของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ " เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการลงทุน ภายใต้หลักการ "อุตสาหกรรมที่ดีมีคุณภาพ" ทุนไทยและทุนข้ามชาติ ลงทุนขยายโรงงานอย่างรวดเร็ว จากที่ปี 2531 ระยองมีโรงงานเพียง 421 แห่ง แต่เมื่อถึงปี 2545 โรงงานขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,379 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 68 แห่ง/ปี
มายาคติกล่อมคนระยอง
คนระยองวาดฝันว่า "ระยองโมเดล" จะโชติช่วงชัชวาลทั้งทางด้านรายได้และการจ้างงาน ทว่าผลของการพึ่งพาทุนต่างชาติเป็นด้านหลัก นำไปสู่ความจำเป็นต้องเปิดรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ (Dirty Industry)
ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระบุว่า บทบาทที่ขัดแย้งของการนิคมอุตสาหกรรมในด้านหนึ่งก็คือต้องการส่งเสริมการลงทุน แต่ในอีกด้านหนึ่งคือควบคุมมลพิษ แต่เมื่อยุทธศาสตร์ของประเทศคือสร้างความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุดต้องทำตามยุทธศาสตร์ของประเทศ คือใช้ระยองเป็นฐานในการทำรายได้เข้าประเทศ
"จากข้อมูลเอกสารของบริษัทที่ปรึกษาหรือแผนอีสเทิร์นซีบอร์ด ไม่มีการพูดถึงโรงงานกำจัดกากมลพิษ นั่นก็แสดงว่าไม่มีเจตจำนงที่จะทำอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่แรก ชาวระยองเรียกว่า สร้างบ้านแต่ไม่สร้างสุขา เพิ่งคิดจะมาสร้างโรงงานเจนโก้เมื่อปี 2537 นี่เอง" ดร.ชัยยนต์ กล่าว
ด้วยความที่เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ระดับหนึ่ง คนระยองโดยพื้นเพเดิมเป็นเกษตรกรที่พอมีฐานะอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมระยอง เป็นอุตสาหกรรมหนักและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง คนระยองไม่ได้เตรียมการศึกษาเพื่อรองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ผสมกับนโยบายของโรงงานส่วนใหญ่ไม่รับคนท้องถิ่น คนที่ได้ประโยชน์จากการจ้างงานจริงๆแล้วส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนต่างถิ่น
"พอเรียนเสร็จไปสมัครงานโรงงานก็ไม่เอา เนื่องจากโดยพื้นฐานเป็นโรงงานก่อมลพิษ มีอะไรที่ต้องปิดบัง ถ้าคนงานภูมิภาคอื่นเข้าไปล้างท่อแล้วโดนสารพิษตายเรื่องเงียบ แต่ถ้าเป็นคนระยองมีความเป็นชุมชนอยู่ เรื่องจะไม่เงียบ โรงงานกลัวตรงนี้"
แต่อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ที่คนระยองได้รับในแง่ของรายได้ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ขณะที่ชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนได้รับเพียงเศษเงินในรูปของโครงการพัฒนา ตามกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) ของโรงงาน (ติดตามอ่าน ตอนที่ 2: ชำแหละกลุ่มผลประโยชน์ ชิงเค้ก "มาบตาพุด")
ผศ.ดร.ชัยยนต์ กล่าวต่อว่า คนระยองได้รับผลกระทบระลอกแรก เมื่อมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม จากการไล่ที่อย่างถูกกฎหมายผ่านการเวนคืนที่ดินราคาถูก พอมีอุตสาหกรรมเข้ามา ในขณะที่รายได้ของคนท้องถิ่นเท่าเดิม แต่ว่าคนต่างถิ่นเข้ามาทำงานด้วยค่าแรงราคาแพง ทำให้ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้นตามไปด้วย และในบางช่วงเวลาก็เกิดปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่างอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม แต่ที่ร้ายสุดคือการรับภาระจากมลพิษ
"ตัวเลขสถิติการอุบัติของโรคมะเร็งหรือโรคทางเดินหายใจ (ดูตารางประกอบ) แม้จะยืนยันได้เพียงผลของการสหสัมพันธ์ทางสถิติว่าอาจเกิดจากปัญหามลพิษ ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในเชิงวิชาการ เพราะสาเหตุของโรคดังกล่าวมีหลายปัจจัย แต่ถ้าไปศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ครอบครัว รุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่เคยเป็น แต่มารุ่นลูกบางครอบครัวเป็นกัน 3-4 คน สิ่งที่เกิดขึ้นมันบ่งชี้ว่าเกิดจากสิ่งแปลกปลอมแน่นอน" ดร.ชัยยนต์ ระบุ
"ระยอง" ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทย
ในอีกมิติหนึ่ง บทบาทของจังหวัดระยองคือกลจักรสำคัญทางเศรษฐกิจลำดับต้นๆ ของประเทศ ล่าสุด ข้อมูลเมื่อปี 2550 พบว่า ระยอง มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 14.2 ของประเทศ ข้อมูลแหล่งเดียวกันระบุว่า มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 1,728 แห่ง เงินทุนในภาคอุตสาหกรรมสูงกว่า 815,023 ล้านบาท มีการจ้างงานกว่า 1.44 แสนอัตรา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาครัฐ ยังคงมีแผนในการขยายการลงทุนในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการปิโตรเคมี เฟส 3 ที่มีมูลค่าการลงทุนอีกนับแสนล้านบาท ท่ามกลางข้อห่วงกังวลถึงมาตรฐานการจัดการมลพิษ ข้อห่วงกังวลดังกล่าวนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล และในท้ายที่สุดศาลปกครองระยองเห็นพ้อง พิพากษาให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา
เอกชนห่วงเงินทุนหดหาย
แม้ว่า เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สวล.) จะมีไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลปกครองระยอง ในประเด็นประกาศเขตควบควบคุมมลพิษ แน่นอนว่า กลุ่มทุนอุตสาหกรรม นำโดย นำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต้องพยายามหาหนทางในการแก้ปัญหาต่อไป เพราะทางฝ่ายนักลงทุนยังคงยืนยันว่า ในปัจจุบัน โซนอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง มีกลไกการควบคุมมลพิษอยู่ในระดับมาตรฐานเทียบเท่าสากล และแสดงความกังวลว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษ จะยิ่งซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า การประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแล สิ่งที่ภาคเอกชนกังวลคือบทบาทดังกล่าวจะนำไปสู่การตั้งกฎเกณฑ์หรือกติกา ที่อาจจะเป็นอุปสรรค์ต่อการลงทุน ทั้งในเรื่องของกฎเกณฑ์การขออนุญาตหรือการปฏิบัติตามระเบียบที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ตรงนี้ยอมรับว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน
"การที่ก่อนหน้านี้เราเสนอให้อุทธรณ์ เพราะเราต้องการให้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง เพิ่มเติมจากทุกฝ่าย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ว่าเราจะต้องปฏิบัติอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเรามั่นใจว่ามีหลักปฏิบัติในการควบคุมมลพิษ ตามหลักสากล" นายศุภชัย กล่าว
นายศุภชัย ระบุด้วยว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษจะกระทบต่อแผนการลงทุนซึ่งจะต้องชะลอออกไปและจะส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันโครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการขออนุมัติอีไอเอ และที่อนุมัติอีไอเอเรียบร้อยแล้ว โครงการส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 43 โครงการ เงินลงทุน 3.9 แสนล้านบาทโดยจะมีการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 1.7 หมื่นล้านบาท ถ้ามีการชะลอการลงทุนดังกล่าวทำให้ประเทศขาดรายได้ถึง 2.8 แสนล้านบาทต่อปีและลดการจ้างงานลง 3,390 คน
น่าสนใจว่า ภายใต้ความคิดและจุดยืนที่แตกต่างกัน แต่สังคมยังมีทางเลือก หากการพัฒนาอุตสาหกรรมยืนอยู่บนหลักการ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 นั่นคือ สังคมสีเขียว สังคมเป็นสุข (Happiness and Green Society) การพัฒนาเศรษฐกิจก็มิได้ขัดกับหลักการรักษาสิ่งแวดล้อมแต่ประการใด
แนวปฏิบัติเมื่อประกาศเขตควบคุมมลพิษ
ขั้นตอนที่ 1: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมวลสภาพปัญหามลพิษในท้องที่
ขั้นตอนที่ 2: ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสถานการณ์ภาวะมลพิษ
ขั้นตอนที่ 3: กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษ
ขั้นตอนที่ 4: กำหนดแผนงานและโครงการที่เหมาะสม เพื่อลดและขจัดมลพิษ
ขั้นตอนที่ 5: การตรวจสอบและติดตามประเมินผล
หมายเหตุ: ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่พร้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการแทน สำหรับแหล่งงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการ ให้ของบสนับสนุนจากจังหวัด ท้องถิ่นนั้นๆ หรือ จากกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงกู้เงินจากแหล่งต่างๆ
ตอนที่ 1:
ลงทุนอุตสาหกรรมมลพิษ เดิมพันชีวิต"คนมาบตาพุด"
ASTV ผู้จัดการรายวัน - เปิดต้นตอปัญหาอุตสาหกรรมมาบตาพุด จาก "ระยองโมเดล" สู่มายาคติ อุตสาหกรรมดีมีคุณภาพ มุ่งสร้างรายได้และการจ้างงาน ทว่าบนความโชติช่วงทางเศรษฐกิจของประเทศ ชาวระยองต้องแบกรับภาระมลพิษอันหนักอึ้ง
จุดกำเนิด "ระยองโมเดล"
การพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนอีสเทิร์นซีบอร์ด ลงหลักเสาเข็ม โครงการเฟสที่ 1 ระหว่าง ปี 2525-2537 มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี การกลั่นน้ำมัน เคมีภัณฑ์และปุ๋ยเคมี แต่ในระยะแรก ไม่สามารถพุ่งทะยานได้ตามแผน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ต่อมาในปี 2528 สืบเนื่องมาจากข้อตกลงพลาซ่า (The Plaza Accord) ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น 120-130 เยนต่อเหรียญสหรัฐ ผลตามมาก็คือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นลดลง และภาคการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานอุตสาหกรรมออกนอกประเทศ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
"ระยองโมเดล" ถูกวางให้เป็นแม่แบบของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ " เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการลงทุน ภายใต้หลักการ "อุตสาหกรรมที่ดีมีคุณภาพ" ทุนไทยและทุนข้ามชาติ ลงทุนขยายโรงงานอย่างรวดเร็ว จากที่ปี 2531 ระยองมีโรงงานเพียง 421 แห่ง แต่เมื่อถึงปี 2545 โรงงานขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,379 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 68 แห่ง/ปี
มายาคติกล่อมคนระยอง
คนระยองวาดฝันว่า "ระยองโมเดล" จะโชติช่วงชัชวาลทั้งทางด้านรายได้และการจ้างงาน ทว่าผลของการพึ่งพาทุนต่างชาติเป็นด้านหลัก นำไปสู่ความจำเป็นต้องเปิดรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ (Dirty Industry)
ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระบุว่า บทบาทที่ขัดแย้งของการนิคมอุตสาหกรรมในด้านหนึ่งก็คือต้องการส่งเสริมการลงทุน แต่ในอีกด้านหนึ่งคือควบคุมมลพิษ แต่เมื่อยุทธศาสตร์ของประเทศคือสร้างความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุดต้องทำตามยุทธศาสตร์ของประเทศ คือใช้ระยองเป็นฐานในการทำรายได้เข้าประเทศ
"จากข้อมูลเอกสารของบริษัทที่ปรึกษาหรือแผนอีสเทิร์นซีบอร์ด ไม่มีการพูดถึงโรงงานกำจัดกากมลพิษ นั่นก็แสดงว่าไม่มีเจตจำนงที่จะทำอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่แรก ชาวระยองเรียกว่า สร้างบ้านแต่ไม่สร้างสุขา เพิ่งคิดจะมาสร้างโรงงานเจนโก้เมื่อปี 2537 นี่เอง" ดร.ชัยยนต์ กล่าว
ด้วยความที่เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ระดับหนึ่ง คนระยองโดยพื้นเพเดิมเป็นเกษตรกรที่พอมีฐานะอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมระยอง เป็นอุตสาหกรรมหนักและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง คนระยองไม่ได้เตรียมการศึกษาเพื่อรองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ผสมกับนโยบายของโรงงานส่วนใหญ่ไม่รับคนท้องถิ่น คนที่ได้ประโยชน์จากการจ้างงานจริงๆแล้วส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนต่างถิ่น
"พอเรียนเสร็จไปสมัครงานโรงงานก็ไม่เอา เนื่องจากโดยพื้นฐานเป็นโรงงานก่อมลพิษ มีอะไรที่ต้องปิดบัง ถ้าคนงานภูมิภาคอื่นเข้าไปล้างท่อแล้วโดนสารพิษตายเรื่องเงียบ แต่ถ้าเป็นคนระยองมีความเป็นชุมชนอยู่ เรื่องจะไม่เงียบ โรงงานกลัวตรงนี้"
แต่อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ที่คนระยองได้รับในแง่ของรายได้ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ขณะที่ชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนได้รับเพียงเศษเงินในรูปของโครงการพัฒนา ตามกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) ของโรงงาน (ติดตามอ่าน ตอนที่ 2: ชำแหละกลุ่มผลประโยชน์ ชิงเค้ก "มาบตาพุด")
ผศ.ดร.ชัยยนต์ กล่าวต่อว่า คนระยองได้รับผลกระทบระลอกแรก เมื่อมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม จากการไล่ที่อย่างถูกกฎหมายผ่านการเวนคืนที่ดินราคาถูก พอมีอุตสาหกรรมเข้ามา ในขณะที่รายได้ของคนท้องถิ่นเท่าเดิม แต่ว่าคนต่างถิ่นเข้ามาทำงานด้วยค่าแรงราคาแพง ทำให้ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้นตามไปด้วย และในบางช่วงเวลาก็เกิดปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่างอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม แต่ที่ร้ายสุดคือการรับภาระจากมลพิษ
"ตัวเลขสถิติการอุบัติของโรคมะเร็งหรือโรคทางเดินหายใจ (ดูตารางประกอบ) แม้จะยืนยันได้เพียงผลของการสหสัมพันธ์ทางสถิติว่าอาจเกิดจากปัญหามลพิษ ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในเชิงวิชาการ เพราะสาเหตุของโรคดังกล่าวมีหลายปัจจัย แต่ถ้าไปศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ครอบครัว รุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่เคยเป็น แต่มารุ่นลูกบางครอบครัวเป็นกัน 3-4 คน สิ่งที่เกิดขึ้นมันบ่งชี้ว่าเกิดจากสิ่งแปลกปลอมแน่นอน" ดร.ชัยยนต์ ระบุ
"ระยอง" ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทย
ในอีกมิติหนึ่ง บทบาทของจังหวัดระยองคือกลจักรสำคัญทางเศรษฐกิจลำดับต้นๆ ของประเทศ ล่าสุด ข้อมูลเมื่อปี 2550 พบว่า ระยอง มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 14.2 ของประเทศ ข้อมูลแหล่งเดียวกันระบุว่า มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 1,728 แห่ง เงินทุนในภาคอุตสาหกรรมสูงกว่า 815,023 ล้านบาท มีการจ้างงานกว่า 1.44 แสนอัตรา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาครัฐ ยังคงมีแผนในการขยายการลงทุนในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการปิโตรเคมี เฟส 3 ที่มีมูลค่าการลงทุนอีกนับแสนล้านบาท ท่ามกลางข้อห่วงกังวลถึงมาตรฐานการจัดการมลพิษ ข้อห่วงกังวลดังกล่าวนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล และในท้ายที่สุดศาลปกครองระยองเห็นพ้อง พิพากษาให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา
เอกชนห่วงเงินทุนหดหาย
แม้ว่า เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สวล.) จะมีไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลปกครองระยอง ในประเด็นประกาศเขตควบควบคุมมลพิษ แน่นอนว่า กลุ่มทุนอุตสาหกรรม นำโดย นำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต้องพยายามหาหนทางในการแก้ปัญหาต่อไป เพราะทางฝ่ายนักลงทุนยังคงยืนยันว่า ในปัจจุบัน โซนอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง มีกลไกการควบคุมมลพิษอยู่ในระดับมาตรฐานเทียบเท่าสากล และแสดงความกังวลว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษ จะยิ่งซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า การประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแล สิ่งที่ภาคเอกชนกังวลคือบทบาทดังกล่าวจะนำไปสู่การตั้งกฎเกณฑ์หรือกติกา ที่อาจจะเป็นอุปสรรค์ต่อการลงทุน ทั้งในเรื่องของกฎเกณฑ์การขออนุญาตหรือการปฏิบัติตามระเบียบที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ตรงนี้ยอมรับว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน
"การที่ก่อนหน้านี้เราเสนอให้อุทธรณ์ เพราะเราต้องการให้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง เพิ่มเติมจากทุกฝ่าย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ว่าเราจะต้องปฏิบัติอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเรามั่นใจว่ามีหลักปฏิบัติในการควบคุมมลพิษ ตามหลักสากล" นายศุภชัย กล่าว
นายศุภชัย ระบุด้วยว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษจะกระทบต่อแผนการลงทุนซึ่งจะต้องชะลอออกไปและจะส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันโครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการขออนุมัติอีไอเอ และที่อนุมัติอีไอเอเรียบร้อยแล้ว โครงการส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 43 โครงการ เงินลงทุน 3.9 แสนล้านบาทโดยจะมีการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 1.7 หมื่นล้านบาท ถ้ามีการชะลอการลงทุนดังกล่าวทำให้ประเทศขาดรายได้ถึง 2.8 แสนล้านบาทต่อปีและลดการจ้างงานลง 3,390 คน
น่าสนใจว่า ภายใต้ความคิดและจุดยืนที่แตกต่างกัน แต่สังคมยังมีทางเลือก หากการพัฒนาอุตสาหกรรมยืนอยู่บนหลักการ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 นั่นคือ สังคมสีเขียว สังคมเป็นสุข (Happiness and Green Society) การพัฒนาเศรษฐกิจก็มิได้ขัดกับหลักการรักษาสิ่งแวดล้อมแต่ประการใด
แนวปฏิบัติเมื่อประกาศเขตควบคุมมลพิษ
ขั้นตอนที่ 1: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมวลสภาพปัญหามลพิษในท้องที่
ขั้นตอนที่ 2: ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสถานการณ์ภาวะมลพิษ
ขั้นตอนที่ 3: กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษ
ขั้นตอนที่ 4: กำหนดแผนงานและโครงการที่เหมาะสม เพื่อลดและขจัดมลพิษ
ขั้นตอนที่ 5: การตรวจสอบและติดตามประเมินผล
หมายเหตุ: ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่พร้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการแทน สำหรับแหล่งงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการ ให้ของบสนับสนุนจากจังหวัด ท้องถิ่นนั้นๆ หรือ จากกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงกู้เงินจากแหล่งต่างๆ