ข่าวเชิงวิเคราะห์ “เจาะแผนปิโตรเคมี4แสนล้าน ตราบาปยุคทักษิณ” โดยทีมข่าวพิเศษ (ความยาว 4 ตอนจบ)
ตอนที่ 3
ASTVผู้จัดการรายวัน – เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม เรียกร้องรัฐบาลอภิสิทธิ์ เร่งทบทวนแผนปิโตรเคมีเฟส 3 ใหม่ ยุติขยายการลงทุนจนกว่าหน่วยงานรัฐและเอกชนจะจัดการปัญหามลพิษได้จริง แฉรัฐอุ้มนักลงทุนขาใหญ่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ทำผิดกฎหมายบนซากศพของประชาชน
ในเมื่อที่มาที่ไปของแผนลงทุนปิโตรเคมี ระยะ 3 ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาในเวลานี้ แท้จริงแล้วคือมรดกบาปจากรัฐบาลทักษิณ ต่อเนื่องด้วยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ และเป็นผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มผู้ลงทุนหลัก จึงสมควรที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ จะเข้ามาทบทวนใหม่ เพื่อยกระดับการลงทุนให้เปี่ยมด้วยธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คำโฆษณาเช่นที่ผ่านมา
สัจจะวาจาของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 52 ที่ว่า “...ธุรกิจต้องเคารพ (การประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดตามคำสั่งศาลปกครองระยอง) เพื่อรักษามาตรฐาน รักษาสิ่งแวดล้อม และต้องทำให้ชุมชนไม่เดือดร้อน เป็นความพอดี ....” จะต้องได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรม
แต่การที่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องหันกลับมาดูว่า แผนขยายการลงทุนปิโตรเคมี แผนจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดวางผังเมืองระยอง มีปัญหาตรงจุดไหนที่จะต้องแก้ไขทบทวนกันใหม่เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และได้รับความเป็นธรรม
เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทยและองค์กรภาคี ประกอบด้วย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาทนายความแห่งประเทศไทย โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้ประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียง โดยใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2552 ใน 3 กรณี คือ
(1) ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมของแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 พ.ศ. 2547 – 2561 (2) แผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550 – 2554 และ (3) การจัดวางผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2546 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2548 และ 2548 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุดในปัจจุบัน
ข้อสรุปจากผลการศึกษาสะท้อนชัดเจนว่า นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบและความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่งทะเล เกิดมลพิษที่ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยไม่ได้ตระหนักว่า ประชาชนเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นเจ้าของประเทศ การดำเนินนโยบายดังกล่าวขัดต่อมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ 2550 และขัดต่อหลักการข้อ 10 ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ระบุว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ซึ่งเป็นรากฐานของธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สรุปผลการศึกษาวิจัยข้างต้นในงานสัมมนาเมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ระยอง ว่า ผลการศึกษาแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 พ.ศ. 2547-2561 มักถูกหยิบยกเป็นข้ออ้างในการกำหนดการพัฒนาและผังเมืองในพื้นที่มาบตาพุดอยู่เสมอ แม้แผนนี้จะยังไม่นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่การอนุมัติให้ขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เนื้อหาของแผนยังขาดข้อมูลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการขยายอุตสาหกรรมในพื้นที่ และมีปัญหาเรื่องข้อมูลการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้
ดังนั้น รัฐบาลจึงควรทบทวนแผนแม่บทปิโตรเคมีใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความจริงในปัจจุบัน เช่น ความเหมาะสมและศักยภาพการรองรับของพื้นที่ทางเลือก สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมถึงเรื่องการจัดการมลพิษ เร่งจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญในรูปคณะกรรมการนำร่องขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยองเพื่อพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 และจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
นอกจากนั้น ยังต้องกำหนดให้แผนแม่บทฯ มีสภาพบังคับและบทลงโทษทางกฎหมายที่ชัดเจนควบคู่ไปกับการกำหนดอำนาจหน้าที่หน่วยงานรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรม เช่น ออกระเบียบ ประกาศ ว่าด้วยความพร้อมรับผิดของการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในกรณีที่อาจสร้างความเสียหายหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรอบคอบและเป็นธรรมกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
ส่วนการศึกษาธรรมาภิบาลของการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550-2554 นั้น พบว่า ประชาชนทราบข่าวสารและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนน้อยมาก ข้อมูลที่เผยแพร่ไม่อาจสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ในพื้นที่ได้เท่าที่ควร จึงควรทบทวนวิธีสื่อสารกับสารณชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลมากขึ้น
สำหรับประเด็น ผังเมืองรวมมาบตาพุดที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ชี้ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน (พื้นที่สีเขียว) ให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (พื้นที่สีม่วง) เกิดขึ้นได้โดยง่าย ทั้งที่ประชาชนจำนวนมากคัดค้าน เพราะ พรบ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้อำนาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายแก่คณะกรรมการผังเมืองเพียงองค์กรเดียว ทั้งในเรื่องของการอนุมัติผัง การเปลี่ยนแปลงผัง และการพิจารณาคำร้อง ดังนั้น จึงควรเร่งปรับปรุง พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
วรากรณ์ น้อยพันธ์ ผู้จัดการโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด กล่าวว่า ปัญหาการขยายโรงงานและการจัดวางผังเมืองที่รุกล้ำเขตชุมชน เป็นช่องว่างของกฎหมายผังเมืองและ พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม เพราะอำนาจการตัดสินใจไม่ใช่พื้นที่ ไม่ใช่องค์กรปกครองท้องถิ่น ดังนั้นแม้จะมีเสียงคัดค้านจากชุมชนในพื้นที่ดังกรณีของนิคมฯเอเชีย แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะท้องถิ่นไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ แต่เป็นคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งถูกตั้งคำถามเรื่องที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ พ.ร.บ.การนิคมฯ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดินขยายเขตลงทุนได้โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาการขยายอุตสาหกรรม การเปลี่ยนสีผังเมืองจึงเกิดขึ้นได้ง่าย อีกทั้งยังขาดมาตรการติดตามผลกระทบจากการประกาศผังเมืองที่เข้มงวด ทำให้หลายพื้นที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินผิดไปจากข้อกำหนดเดิม เช่น ต. พลา กำหนดให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งบริเวณชายทะเล แต่ในความเป็นจริงมีการปลูกสร้างที่พักอาศัย รีสอร์ต
ข้อสรุปของเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมข้างต้น สะท้อนว่า กระบวนการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 และการขยายกิจการของโรงงานทั้งเก่าและใหม่กว่า 40 แห่ง ถูกจำกัดวงแคบๆ เพียงหน่วยงานของรัฐและเอกชน ผู้บริหารการนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น
แม้ว่ากระทรวงพลังงาน ซึ่งรับผิดชอบเรื่องนี้จะกล่าวอ้างว่ามีการจัดประชุม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนในวงกว้าง แต่ความเป็นจริงก็คือ ข้อมูลเรื่องนี้ไม่มีการเผยแพร่เป็นการทั่วไป การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อแผนแม่บทปิโตรเคมีฯ เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “ยังไม่มีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาชนในพื้นที่เป้าหมายซึ่งรวมถึงผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่”
สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน อาจอ้างว่า แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างเตรียมการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติให้ดำเนินการ จึงยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลและเปิดรับฟังความเห็นอย่างกว้างขวาง แต่การเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีนี้ใช้เวลานับจากศึกษาเสร็จตั้งแต่ปี 2548 จนถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และที่สำคัญคือ ขณะที่แผนแม่บทฯ ยังไม่ได้นำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี แต่กลับมีการอนุญาต อนุมัติขยายการลงทุนปิโตรเคมี ระยะที่ 3 แถมยังอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปจนเกือบหมดแล้ว
ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นสะท้อนพฤติกรรมหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ว่าชอบทำตัวเป็น “คุณพ่อรู้ดี” กำหนด ตัดสินใจ และผลักดันทุกอย่างให้เดินหน้าไป จากนั้นก็ทำทีเรียกประชาชนมารับฟังสิ่งที่ตนกำหนดไปแล้วเพื่อที่จะสรุปว่าทุกฝ่ายเห็นดีเห็นงามด้วย
บทบาท “คุณพ่อรู้ดี” เป็นพื้นฐานของผู้คนในหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดมาทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะคนจากหน่วยงานวางแผนการพัฒนาของประเทศอย่างเช่นสภาพัฒน์
และถ้าจะว่าไปแล้ว “พรชัย รุจิประภา” ปลัดกระทรวงพลังงาน คนปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ใครอื่น เพราะเขาคือเทคโนแครตแห่งสภาพัฒน์ที่ไต่เต้าขึ้นถึงตำแหน่ง “รองเลขาธิการ” ผู้ปลุกปั้นพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดมากับมือตั้งแต่ยุคต้นจนบัดนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับหน้าที่ปลัดกระทรวงพลังงาน เมื่อปี 2549 เพื่อสืบสานภารกิจต่อ พร้อมสานฝันอันโชติช่วงเปิดพื้นที่เซาเทิร์นซีบอร์ดเชื่อมโยงการพัฒนาพลังงานควบคู่อุตสาหกรรมหนักอย่างปิโตรเคมี น้ำมัน เหล็กต้นน้ำ ฯลฯ ซึ่งอีกด้านหนึ่งนี่คือฝันร้ายของชุมชน
ถึงวันนี้ หากพวกเขาต้องการไถ่บาป อันดับแรกที่ต้องทำกันอย่างเร่งด่วนคือ ทบทวนแผนลงทุนนี้เสียใหม่ จัดทำแผนควบคุมและลดมลพิษที่ประชาชนมีส่วนร่วม รวมทั้งทบทวนการประกาศพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนในปัจจุบัน และกำหนดให้มีพื้นที่กันชนระหว่างชุมชนกับโรงงาน
ที่สำคัญ ระหว่างการทบทวนแผนปิโตรเคมีและการวางผังเมืองรวมใหม่ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็ควรชะลอการอนุญาต อนุมัติเห็นชอบ หรือลงมือก่อสร้างขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางไว้ก่อน ส่วนโครงการที่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบกันใหม่ จนกว่ากระบวนการตัดสินใจ และอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นไปตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญฯ 2550
บทเรียนความผิดพลาดที่ผ่านมาถึงเวลาต้องทบทวนแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสวรรค์ของนักลงทุน แต่เป็นขุมนรกสำหรับประชาชน เหมือนเช่นที่ผ่านมา
(โปรดติดตามตอนที่ 4 (จบ) ในวันพรุ่งนี้)
ตอนที่ 3
ASTVผู้จัดการรายวัน – เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม เรียกร้องรัฐบาลอภิสิทธิ์ เร่งทบทวนแผนปิโตรเคมีเฟส 3 ใหม่ ยุติขยายการลงทุนจนกว่าหน่วยงานรัฐและเอกชนจะจัดการปัญหามลพิษได้จริง แฉรัฐอุ้มนักลงทุนขาใหญ่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ทำผิดกฎหมายบนซากศพของประชาชน
ในเมื่อที่มาที่ไปของแผนลงทุนปิโตรเคมี ระยะ 3 ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาในเวลานี้ แท้จริงแล้วคือมรดกบาปจากรัฐบาลทักษิณ ต่อเนื่องด้วยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ และเป็นผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มผู้ลงทุนหลัก จึงสมควรที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ จะเข้ามาทบทวนใหม่ เพื่อยกระดับการลงทุนให้เปี่ยมด้วยธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คำโฆษณาเช่นที่ผ่านมา
สัจจะวาจาของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 52 ที่ว่า “...ธุรกิจต้องเคารพ (การประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดตามคำสั่งศาลปกครองระยอง) เพื่อรักษามาตรฐาน รักษาสิ่งแวดล้อม และต้องทำให้ชุมชนไม่เดือดร้อน เป็นความพอดี ....” จะต้องได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรม
แต่การที่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องหันกลับมาดูว่า แผนขยายการลงทุนปิโตรเคมี แผนจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดวางผังเมืองระยอง มีปัญหาตรงจุดไหนที่จะต้องแก้ไขทบทวนกันใหม่เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และได้รับความเป็นธรรม
เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทยและองค์กรภาคี ประกอบด้วย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาทนายความแห่งประเทศไทย โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้ประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียง โดยใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2552 ใน 3 กรณี คือ
(1) ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมของแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 พ.ศ. 2547 – 2561 (2) แผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550 – 2554 และ (3) การจัดวางผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2546 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2548 และ 2548 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุดในปัจจุบัน
ข้อสรุปจากผลการศึกษาสะท้อนชัดเจนว่า นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบและความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่งทะเล เกิดมลพิษที่ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยไม่ได้ตระหนักว่า ประชาชนเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นเจ้าของประเทศ การดำเนินนโยบายดังกล่าวขัดต่อมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ 2550 และขัดต่อหลักการข้อ 10 ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ระบุว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ซึ่งเป็นรากฐานของธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สรุปผลการศึกษาวิจัยข้างต้นในงานสัมมนาเมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ระยอง ว่า ผลการศึกษาแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 พ.ศ. 2547-2561 มักถูกหยิบยกเป็นข้ออ้างในการกำหนดการพัฒนาและผังเมืองในพื้นที่มาบตาพุดอยู่เสมอ แม้แผนนี้จะยังไม่นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่การอนุมัติให้ขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เนื้อหาของแผนยังขาดข้อมูลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการขยายอุตสาหกรรมในพื้นที่ และมีปัญหาเรื่องข้อมูลการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้
ดังนั้น รัฐบาลจึงควรทบทวนแผนแม่บทปิโตรเคมีใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความจริงในปัจจุบัน เช่น ความเหมาะสมและศักยภาพการรองรับของพื้นที่ทางเลือก สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมถึงเรื่องการจัดการมลพิษ เร่งจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญในรูปคณะกรรมการนำร่องขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยองเพื่อพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 และจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
นอกจากนั้น ยังต้องกำหนดให้แผนแม่บทฯ มีสภาพบังคับและบทลงโทษทางกฎหมายที่ชัดเจนควบคู่ไปกับการกำหนดอำนาจหน้าที่หน่วยงานรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรม เช่น ออกระเบียบ ประกาศ ว่าด้วยความพร้อมรับผิดของการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในกรณีที่อาจสร้างความเสียหายหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรอบคอบและเป็นธรรมกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
ส่วนการศึกษาธรรมาภิบาลของการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550-2554 นั้น พบว่า ประชาชนทราบข่าวสารและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนน้อยมาก ข้อมูลที่เผยแพร่ไม่อาจสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ในพื้นที่ได้เท่าที่ควร จึงควรทบทวนวิธีสื่อสารกับสารณชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลมากขึ้น
สำหรับประเด็น ผังเมืองรวมมาบตาพุดที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ชี้ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน (พื้นที่สีเขียว) ให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (พื้นที่สีม่วง) เกิดขึ้นได้โดยง่าย ทั้งที่ประชาชนจำนวนมากคัดค้าน เพราะ พรบ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้อำนาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายแก่คณะกรรมการผังเมืองเพียงองค์กรเดียว ทั้งในเรื่องของการอนุมัติผัง การเปลี่ยนแปลงผัง และการพิจารณาคำร้อง ดังนั้น จึงควรเร่งปรับปรุง พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
วรากรณ์ น้อยพันธ์ ผู้จัดการโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด กล่าวว่า ปัญหาการขยายโรงงานและการจัดวางผังเมืองที่รุกล้ำเขตชุมชน เป็นช่องว่างของกฎหมายผังเมืองและ พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม เพราะอำนาจการตัดสินใจไม่ใช่พื้นที่ ไม่ใช่องค์กรปกครองท้องถิ่น ดังนั้นแม้จะมีเสียงคัดค้านจากชุมชนในพื้นที่ดังกรณีของนิคมฯเอเชีย แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะท้องถิ่นไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ แต่เป็นคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งถูกตั้งคำถามเรื่องที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ พ.ร.บ.การนิคมฯ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดินขยายเขตลงทุนได้โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาการขยายอุตสาหกรรม การเปลี่ยนสีผังเมืองจึงเกิดขึ้นได้ง่าย อีกทั้งยังขาดมาตรการติดตามผลกระทบจากการประกาศผังเมืองที่เข้มงวด ทำให้หลายพื้นที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินผิดไปจากข้อกำหนดเดิม เช่น ต. พลา กำหนดให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งบริเวณชายทะเล แต่ในความเป็นจริงมีการปลูกสร้างที่พักอาศัย รีสอร์ต
ข้อสรุปของเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมข้างต้น สะท้อนว่า กระบวนการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 และการขยายกิจการของโรงงานทั้งเก่าและใหม่กว่า 40 แห่ง ถูกจำกัดวงแคบๆ เพียงหน่วยงานของรัฐและเอกชน ผู้บริหารการนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น
แม้ว่ากระทรวงพลังงาน ซึ่งรับผิดชอบเรื่องนี้จะกล่าวอ้างว่ามีการจัดประชุม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนในวงกว้าง แต่ความเป็นจริงก็คือ ข้อมูลเรื่องนี้ไม่มีการเผยแพร่เป็นการทั่วไป การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อแผนแม่บทปิโตรเคมีฯ เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “ยังไม่มีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาชนในพื้นที่เป้าหมายซึ่งรวมถึงผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่”
สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน อาจอ้างว่า แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างเตรียมการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติให้ดำเนินการ จึงยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลและเปิดรับฟังความเห็นอย่างกว้างขวาง แต่การเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีนี้ใช้เวลานับจากศึกษาเสร็จตั้งแต่ปี 2548 จนถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และที่สำคัญคือ ขณะที่แผนแม่บทฯ ยังไม่ได้นำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี แต่กลับมีการอนุญาต อนุมัติขยายการลงทุนปิโตรเคมี ระยะที่ 3 แถมยังอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปจนเกือบหมดแล้ว
ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นสะท้อนพฤติกรรมหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ว่าชอบทำตัวเป็น “คุณพ่อรู้ดี” กำหนด ตัดสินใจ และผลักดันทุกอย่างให้เดินหน้าไป จากนั้นก็ทำทีเรียกประชาชนมารับฟังสิ่งที่ตนกำหนดไปแล้วเพื่อที่จะสรุปว่าทุกฝ่ายเห็นดีเห็นงามด้วย
บทบาท “คุณพ่อรู้ดี” เป็นพื้นฐานของผู้คนในหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดมาทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะคนจากหน่วยงานวางแผนการพัฒนาของประเทศอย่างเช่นสภาพัฒน์
และถ้าจะว่าไปแล้ว “พรชัย รุจิประภา” ปลัดกระทรวงพลังงาน คนปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ใครอื่น เพราะเขาคือเทคโนแครตแห่งสภาพัฒน์ที่ไต่เต้าขึ้นถึงตำแหน่ง “รองเลขาธิการ” ผู้ปลุกปั้นพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดมากับมือตั้งแต่ยุคต้นจนบัดนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับหน้าที่ปลัดกระทรวงพลังงาน เมื่อปี 2549 เพื่อสืบสานภารกิจต่อ พร้อมสานฝันอันโชติช่วงเปิดพื้นที่เซาเทิร์นซีบอร์ดเชื่อมโยงการพัฒนาพลังงานควบคู่อุตสาหกรรมหนักอย่างปิโตรเคมี น้ำมัน เหล็กต้นน้ำ ฯลฯ ซึ่งอีกด้านหนึ่งนี่คือฝันร้ายของชุมชน
ถึงวันนี้ หากพวกเขาต้องการไถ่บาป อันดับแรกที่ต้องทำกันอย่างเร่งด่วนคือ ทบทวนแผนลงทุนนี้เสียใหม่ จัดทำแผนควบคุมและลดมลพิษที่ประชาชนมีส่วนร่วม รวมทั้งทบทวนการประกาศพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนในปัจจุบัน และกำหนดให้มีพื้นที่กันชนระหว่างชุมชนกับโรงงาน
ที่สำคัญ ระหว่างการทบทวนแผนปิโตรเคมีและการวางผังเมืองรวมใหม่ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็ควรชะลอการอนุญาต อนุมัติเห็นชอบ หรือลงมือก่อสร้างขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางไว้ก่อน ส่วนโครงการที่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบกันใหม่ จนกว่ากระบวนการตัดสินใจ และอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นไปตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญฯ 2550
บทเรียนความผิดพลาดที่ผ่านมาถึงเวลาต้องทบทวนแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสวรรค์ของนักลงทุน แต่เป็นขุมนรกสำหรับประชาชน เหมือนเช่นที่ผ่านมา
(โปรดติดตามตอนที่ 4 (จบ) ในวันพรุ่งนี้)