ASTVผู้จัดการรายวัน - วิริยะประกันภัยสวนกระแสเศรษฐกิจทรุด ตั้งเป้าเบี้ยฯรวมโต 3-5% เน้นเจาะตลาดนอน-มอเตอร์คาดโตได้ถึง 15% ส่วนปี 51 ที่ผ่านมา มีเบี้ยรวมกว่า 1.6 หมื่นล้าน โต 9.40% ขณะที่กำไรสุทธิหด หลังขาดทุนจากการลงทุนถึง 900 ล้าน
นายกฤตวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ในปี 2552 นี้ บริษัทได้ตั้งเป้าอัตราเติบโตของเบี้ยโดยรวมไว้ที่ระดับ 3-5% ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจในช่วงต่อไป โดยในส่วนของเบี้ยประกันรถยนต์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทนั้น คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3% ขณะที่ส่วนของนอน-มอเตอร์คาดว่าจะเติบโตประมาณ 15% ซึ่งเชื่อว่าอัตราที่น่าจะทำได้จากการเร่งการขายผ่านสาขาของบริษัทที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับพนักงานขายก็จะมีความชำนาญมากขึ้นหลังจากที่ได้เริ่มขายมาเป็นปีที่ 3 แล้ว
"วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปีนี้ นับว่ามีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดขึ้นในปี 40 แต่บริษัทเชื่อว่าธุรกิจประกันจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อน ที่มียอดเบี้ยประกันลดลงถึง 20% เนื่องจาก ประชาชนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของธุรกิจประกันมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันที่โตอย่างก้าวกระโดดมาหลายปี แต่ภาพรวมของธุรกิจประกันปีนี้ คงจะบวกลบไม่เกิน 5% คือโตไม่เกิน 5% หรือจะหดตัวก็ไม่เกิน 5% เพราะตามปกติของธุรกิจประกันภัยแล้ว จะโตประมาณ 2 เท่าของจีดีพี"
สำหรับผลประกอบการปี 51 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรไม่มากนัก โดยสาเหตุหลักมาจากบริษัทมีผลขาดทุนจากลงทุนถึง 900 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง แต่เนื่องจากบริษัทมีกำไรจากรับประกันภัยประเภทรถยนต์สูงกว่า 1,000 ล้านบาท จึงทำให้ชดเชยในส่วนขาดทุนไปได้ แต่ในปีนี้เชื่อว่าผลประกอบการน่าจะดีขึ้น
นายกฤตวิทย์กล่าวอีกว่า การขาดทุนในหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น เป็นไปตามภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งบริษัทยังคงมีนโยบายการลงทุนที่ระมัดระวังเช่นเคย แต่เหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้การลงทุนของบริษัทได้รับผลกระทบไปด้วย
นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2551 นั้นบริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 16,390 ล้านบาทหรือมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 9.40% เมื่อเทียบกับปี 2550 ประกอบด้วยเบี้ยประกันภัยรับจากงานประเภทมอเตอร์ 15,486 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับภาคสมัครใจ 13,035 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยรับภาคบังคับ 2,451 ล้านบาท ส่วนเบี้ยประกันภัยรับของงานประเภทนอน-มอเตอร์มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 904 ล้านบาท โดยแยกเป็นประกันอัคคีภัย 204 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 83 ล้านบาท และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 616 ล้านบาท
"จะเห็นได้ว่าแม้สภาพเศรษฐกิจในประเทศจะไม่ค่อยดี แต่ในปีที่ผ่านมาวิริยะประกันภัยยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยการเติบโตดังกล่าวเกิดจากศักยภาพของบริษัทที่มีการบริหารจัดการที่ดี ด้วยการประสานสัมพันธภาพและเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างศูนย์บริการสินไหมฯ สาขา ตัวแทน และศูนย์ซ่อม เพื่อนำบริหารที่มีคุณภาพที่ดีสู่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง"
ในปีนี้ บริษัทยังคงเชื่อในศักยภาพของบริษัท แม้จะได้รับผลกระทบจากสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศบ้าง แต่ก็คงไม่มากนัก โดยเฉพาะกลุ่มงานด้านนอน-มอเตอร์ บริษัทวางเป้าหมายหลักในการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นในกลุ่มลุกค้าที่มีฐานธุรกิจที่ดี ได้แก่ 1. กลุ่มลูกค้าการประกันภัยรถยนต์ และธุรกิจประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ โดยบริษัทจะนำเสนอบริการด้านการประกันภัยนอน-มอเตอร์ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การประกันภัยความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้า เป็นต้น
2.กลุ่มลูกค้าประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้บริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 4 ล้านกว่าราย ส่วนหนึ่งก็คือประชาชนทั่วไป ซึ่งยังถึงการประกันภัยประเภทอื่นๆได้ยาก บริษัทจึงมีเป้าหมายที่จะนำการประกันภัยที่สำคัญไปให้ถึงมือลูกค้ามากขึ้น แม้ว่าการประกันภัยประเภทนี้จะมีต้นทุนการเข้าถึงลูกค้าสูงกว่าก็ตาม เช่น การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดที่ลูกค้าชำระเบี้ยประกันภัยเพียงปีละ 600 บาทเท่านั้น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันสุขภาพของบริษัท ซึ่งเบี้ยประกันอยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ โดยในส่วนของประกันสุขภาพนั้น ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าขยายเบี้ยเเพิ่มเป็น 70-80 ล้านบาท จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 30 ล้านบาท
นายกฤตวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ในปี 2552 นี้ บริษัทได้ตั้งเป้าอัตราเติบโตของเบี้ยโดยรวมไว้ที่ระดับ 3-5% ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจในช่วงต่อไป โดยในส่วนของเบี้ยประกันรถยนต์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทนั้น คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3% ขณะที่ส่วนของนอน-มอเตอร์คาดว่าจะเติบโตประมาณ 15% ซึ่งเชื่อว่าอัตราที่น่าจะทำได้จากการเร่งการขายผ่านสาขาของบริษัทที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับพนักงานขายก็จะมีความชำนาญมากขึ้นหลังจากที่ได้เริ่มขายมาเป็นปีที่ 3 แล้ว
"วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปีนี้ นับว่ามีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดขึ้นในปี 40 แต่บริษัทเชื่อว่าธุรกิจประกันจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อน ที่มียอดเบี้ยประกันลดลงถึง 20% เนื่องจาก ประชาชนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของธุรกิจประกันมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันที่โตอย่างก้าวกระโดดมาหลายปี แต่ภาพรวมของธุรกิจประกันปีนี้ คงจะบวกลบไม่เกิน 5% คือโตไม่เกิน 5% หรือจะหดตัวก็ไม่เกิน 5% เพราะตามปกติของธุรกิจประกันภัยแล้ว จะโตประมาณ 2 เท่าของจีดีพี"
สำหรับผลประกอบการปี 51 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรไม่มากนัก โดยสาเหตุหลักมาจากบริษัทมีผลขาดทุนจากลงทุนถึง 900 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง แต่เนื่องจากบริษัทมีกำไรจากรับประกันภัยประเภทรถยนต์สูงกว่า 1,000 ล้านบาท จึงทำให้ชดเชยในส่วนขาดทุนไปได้ แต่ในปีนี้เชื่อว่าผลประกอบการน่าจะดีขึ้น
นายกฤตวิทย์กล่าวอีกว่า การขาดทุนในหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น เป็นไปตามภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งบริษัทยังคงมีนโยบายการลงทุนที่ระมัดระวังเช่นเคย แต่เหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้การลงทุนของบริษัทได้รับผลกระทบไปด้วย
นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2551 นั้นบริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 16,390 ล้านบาทหรือมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 9.40% เมื่อเทียบกับปี 2550 ประกอบด้วยเบี้ยประกันภัยรับจากงานประเภทมอเตอร์ 15,486 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับภาคสมัครใจ 13,035 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยรับภาคบังคับ 2,451 ล้านบาท ส่วนเบี้ยประกันภัยรับของงานประเภทนอน-มอเตอร์มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 904 ล้านบาท โดยแยกเป็นประกันอัคคีภัย 204 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 83 ล้านบาท และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 616 ล้านบาท
"จะเห็นได้ว่าแม้สภาพเศรษฐกิจในประเทศจะไม่ค่อยดี แต่ในปีที่ผ่านมาวิริยะประกันภัยยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยการเติบโตดังกล่าวเกิดจากศักยภาพของบริษัทที่มีการบริหารจัดการที่ดี ด้วยการประสานสัมพันธภาพและเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างศูนย์บริการสินไหมฯ สาขา ตัวแทน และศูนย์ซ่อม เพื่อนำบริหารที่มีคุณภาพที่ดีสู่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง"
ในปีนี้ บริษัทยังคงเชื่อในศักยภาพของบริษัท แม้จะได้รับผลกระทบจากสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศบ้าง แต่ก็คงไม่มากนัก โดยเฉพาะกลุ่มงานด้านนอน-มอเตอร์ บริษัทวางเป้าหมายหลักในการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นในกลุ่มลุกค้าที่มีฐานธุรกิจที่ดี ได้แก่ 1. กลุ่มลูกค้าการประกันภัยรถยนต์ และธุรกิจประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ โดยบริษัทจะนำเสนอบริการด้านการประกันภัยนอน-มอเตอร์ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การประกันภัยความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้า เป็นต้น
2.กลุ่มลูกค้าประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้บริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 4 ล้านกว่าราย ส่วนหนึ่งก็คือประชาชนทั่วไป ซึ่งยังถึงการประกันภัยประเภทอื่นๆได้ยาก บริษัทจึงมีเป้าหมายที่จะนำการประกันภัยที่สำคัญไปให้ถึงมือลูกค้ามากขึ้น แม้ว่าการประกันภัยประเภทนี้จะมีต้นทุนการเข้าถึงลูกค้าสูงกว่าก็ตาม เช่น การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดที่ลูกค้าชำระเบี้ยประกันภัยเพียงปีละ 600 บาทเท่านั้น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันสุขภาพของบริษัท ซึ่งเบี้ยประกันอยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ โดยในส่วนของประกันสุขภาพนั้น ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าขยายเบี้ยเเพิ่มเป็น 70-80 ล้านบาท จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 30 ล้านบาท