รอยเตอร์ – วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีนักลงทุนออกมาบอกเมื่อวันจันทร์(9)ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น “ดิ่งลงจากหน้าผา” ไปแล้ว แต่ก็จะฟื้นตัวได้ในที่สุด แม้ว่าจะในช่วงพลิกฟื้นอาจจะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ย่ำแย่เสียกว่าในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เสียอีก
อภิมหาเศรษฐีวัย 78 ปี ซึ่งเป็นที่ยกย่องนับถืออย่างสูงในฐานะเซียนด้านการลงทุน ชี้ว่าสหรัฐฯกำลังประสบกับ “สภาพเกือบเลวร้ายที่สุด” แล้วเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงขณะที่อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการจับจ่ายใช้สอยชะงักงัน
บัฟเฟตต์ซึ่งไปพูดทางโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี ได้เรียกร้องให้พวกผู้แทนทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันสมานฉันท์กันและเดินหน้าไปภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในการประกาศสงครามกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพื่อสะสางปัญหาเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภาคการธนาคารกลับคืนมา
เขาเรียกร้องให้บรรดาผู้วางนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลอธิบายสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ให้กับประชาชนให้เข้าใจมากขึ้น แต่เขาก็ไม่ได้ให้คำแนะนำว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำอยู่ไปในแบบใดบ้าง
“ประชาชนกำลังสับสนและหวาดกลัว”เขากล่าว “ที่จริงแล้วพวกเขาไม่ควรจะต้องกังวลใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของธนาคาร แต่ตอนนี้คนจำนวนกำลังรู้สึกเช่นนั้น”
ก่อนหน้านี้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ บริษัทซึ่งบัฟเฟตต์ก่อนตั้งและเป็นแกนกลางการลงทุนของเขา คือ เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ อิงค์ ได้ออกมารายงานระบุว่า กำไรในช่วงไตรมาสที่แล้วดิ่งลง 96% ส่วนใหญ่เนื่องมาจากสัญญาตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ และราคาหุ้นในพอร์ตของเบิร์กไชร์ลดลง 9.6%ในปีที่แล้ว นับเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดนตั้งแต่บัฟเฟตต์ก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนและประกันภัยแห่งนี้ขึ้นมาในปี 1965
บัฟเฟตต์กล่าวว่าชาวอเมริกันรวมทั้งตัวเขาด้วยมองไม่เห็นว่าปัญหาราคาบ้านที่ตกต่ำจะร้ายแรงได้ถึงเพียงนี้ จากปัญหานี้ก็ลุกลามไปสู่ตลาดแปลงตราสารหนี้เป็นทุนและตราสารหนี้อื่น ๆซึ่งอิงอยู่กับราคาบ้าน หากราคาบ้านขึ้นตราสารก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้าราคาบ้านดิ่ง มูลค่าของตราสารก็จะดิ่งตามไปด้วย
ผู้บริโภคเองก็ควรจะลดการนำเอารายได้ในอนาคตมาใช้และต้องเป็นหนี้ในวันนี้ อย่างเช่น บัตรเครดิต บัฟเฟตต์กล่าวว่า “ผมไม่สามารถนำเอาเงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงถึง 18 หรือ 20% ไปทำให้มันมีกำไรงอกเงยออกมาได้หรอก เพราะผมคงจะขาดทุนจนหมดตัวเสียก่อน”
บัฟเฟตกล่าวว่าเศรษฐกิจอยู่ไม่ห่างจากภาวะล้มครืนเท่าใดเลยตอนช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมื่อสินเชื่อแห้งหายไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เลห์แมน บราเธอร์สยักษ์ใหญ่ต้องล้มละลาย ส่วนอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) ก็ยังต้องบากหน้าไปขอเงินรัฐบาลเพื่อประคองกิจการเอาไว้
เขาชื่นชมความพยายามของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เบน เบอร์นันกี และคนอื่น ๆในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เขาก็บอกว่าเศรษฐกิจจะไม่ “ดีขึ้นด้วยเม็ดเงินเพียงน้อยนิด” และความพยายามจะฟื้นเศรษฐกิจอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงโดยเฉพาะเมื่อความต้องการสินค้าฟื้นตัวขึ้น
ราคาหุ้นของเบิร์กไชร์ดิ่งลงไปราวครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา และอัตราการเติบโตในบางหน่วยงานอย่างเช่น ไกโค คอร์ป บริษัทประกันรถยนต์ก็ติดลบจากความอ่อนแอในธุรกิจอื่น ๆที่เกี่ยวพันกัน แม้กระทั่งกิจการค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณบัฟเฟตต์ก็บอกว่า “ตายไปเรียบร้อยแล้ว”
บัฟเฟตต์ยังเรียกร้องให้ธนาคารกลับมาทำธุรกิจการธนาคารจริง ๆอีกครั้งหนึ่ง และกล่าวว่าธนาคารหลายแห่งจะอยู่รอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปได้แม้ว่าผู้ถือหุ้นบางรายอาจจะร่วงไปกลางทางบ้างก็ตาม
เขายังได้บอกอีกว่าธนาคารที่กำลังจะล้มก็ต้องปล่อยให้ล้มไป และเขาเห็นว่าความเชื่อที่เห็นกันว่าหากปล่อยให้ธนาคารแห่งหนึ่งล้มละลายไป ก็จะส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นในภาคการเงินมลายหายไปนั้น ช่างเป็นความเชื่อที่ “โง่งม” เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯมีกลไกป้องกันไว้แล้ว อย่างเช่น การประกันเงินฝาก
เขายกตัวอย่างรูปธรรมว่า ธนาคารเวล์ ฟาร์โก และยูเอส แบงคอร์ป ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่สองตัวที่เบิร์กไชร์ถืออยู่ จะกลับมา “ดีกว่าที่เคยเป็นมา” ในช่วงสามปีนับจากนี้ไป ในขณะที่ซิติกรุ๊ปซึ่งเบิร์กไชร์ไม่มีหุ้น เขาบอกว่า อาจจะต้องหดเล็กลงไปอีก
อภิมหาเศรษฐีวัย 78 ปี ซึ่งเป็นที่ยกย่องนับถืออย่างสูงในฐานะเซียนด้านการลงทุน ชี้ว่าสหรัฐฯกำลังประสบกับ “สภาพเกือบเลวร้ายที่สุด” แล้วเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงขณะที่อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการจับจ่ายใช้สอยชะงักงัน
บัฟเฟตต์ซึ่งไปพูดทางโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี ได้เรียกร้องให้พวกผู้แทนทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันสมานฉันท์กันและเดินหน้าไปภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในการประกาศสงครามกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพื่อสะสางปัญหาเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภาคการธนาคารกลับคืนมา
เขาเรียกร้องให้บรรดาผู้วางนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลอธิบายสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ให้กับประชาชนให้เข้าใจมากขึ้น แต่เขาก็ไม่ได้ให้คำแนะนำว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำอยู่ไปในแบบใดบ้าง
“ประชาชนกำลังสับสนและหวาดกลัว”เขากล่าว “ที่จริงแล้วพวกเขาไม่ควรจะต้องกังวลใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของธนาคาร แต่ตอนนี้คนจำนวนกำลังรู้สึกเช่นนั้น”
ก่อนหน้านี้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ บริษัทซึ่งบัฟเฟตต์ก่อนตั้งและเป็นแกนกลางการลงทุนของเขา คือ เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ อิงค์ ได้ออกมารายงานระบุว่า กำไรในช่วงไตรมาสที่แล้วดิ่งลง 96% ส่วนใหญ่เนื่องมาจากสัญญาตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ และราคาหุ้นในพอร์ตของเบิร์กไชร์ลดลง 9.6%ในปีที่แล้ว นับเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดนตั้งแต่บัฟเฟตต์ก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนและประกันภัยแห่งนี้ขึ้นมาในปี 1965
บัฟเฟตต์กล่าวว่าชาวอเมริกันรวมทั้งตัวเขาด้วยมองไม่เห็นว่าปัญหาราคาบ้านที่ตกต่ำจะร้ายแรงได้ถึงเพียงนี้ จากปัญหานี้ก็ลุกลามไปสู่ตลาดแปลงตราสารหนี้เป็นทุนและตราสารหนี้อื่น ๆซึ่งอิงอยู่กับราคาบ้าน หากราคาบ้านขึ้นตราสารก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้าราคาบ้านดิ่ง มูลค่าของตราสารก็จะดิ่งตามไปด้วย
ผู้บริโภคเองก็ควรจะลดการนำเอารายได้ในอนาคตมาใช้และต้องเป็นหนี้ในวันนี้ อย่างเช่น บัตรเครดิต บัฟเฟตต์กล่าวว่า “ผมไม่สามารถนำเอาเงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงถึง 18 หรือ 20% ไปทำให้มันมีกำไรงอกเงยออกมาได้หรอก เพราะผมคงจะขาดทุนจนหมดตัวเสียก่อน”
บัฟเฟตกล่าวว่าเศรษฐกิจอยู่ไม่ห่างจากภาวะล้มครืนเท่าใดเลยตอนช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมื่อสินเชื่อแห้งหายไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เลห์แมน บราเธอร์สยักษ์ใหญ่ต้องล้มละลาย ส่วนอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) ก็ยังต้องบากหน้าไปขอเงินรัฐบาลเพื่อประคองกิจการเอาไว้
เขาชื่นชมความพยายามของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เบน เบอร์นันกี และคนอื่น ๆในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เขาก็บอกว่าเศรษฐกิจจะไม่ “ดีขึ้นด้วยเม็ดเงินเพียงน้อยนิด” และความพยายามจะฟื้นเศรษฐกิจอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงโดยเฉพาะเมื่อความต้องการสินค้าฟื้นตัวขึ้น
ราคาหุ้นของเบิร์กไชร์ดิ่งลงไปราวครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา และอัตราการเติบโตในบางหน่วยงานอย่างเช่น ไกโค คอร์ป บริษัทประกันรถยนต์ก็ติดลบจากความอ่อนแอในธุรกิจอื่น ๆที่เกี่ยวพันกัน แม้กระทั่งกิจการค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณบัฟเฟตต์ก็บอกว่า “ตายไปเรียบร้อยแล้ว”
บัฟเฟตต์ยังเรียกร้องให้ธนาคารกลับมาทำธุรกิจการธนาคารจริง ๆอีกครั้งหนึ่ง และกล่าวว่าธนาคารหลายแห่งจะอยู่รอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปได้แม้ว่าผู้ถือหุ้นบางรายอาจจะร่วงไปกลางทางบ้างก็ตาม
เขายังได้บอกอีกว่าธนาคารที่กำลังจะล้มก็ต้องปล่อยให้ล้มไป และเขาเห็นว่าความเชื่อที่เห็นกันว่าหากปล่อยให้ธนาคารแห่งหนึ่งล้มละลายไป ก็จะส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นในภาคการเงินมลายหายไปนั้น ช่างเป็นความเชื่อที่ “โง่งม” เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯมีกลไกป้องกันไว้แล้ว อย่างเช่น การประกันเงินฝาก
เขายกตัวอย่างรูปธรรมว่า ธนาคารเวล์ ฟาร์โก และยูเอส แบงคอร์ป ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่สองตัวที่เบิร์กไชร์ถืออยู่ จะกลับมา “ดีกว่าที่เคยเป็นมา” ในช่วงสามปีนับจากนี้ไป ในขณะที่ซิติกรุ๊ปซึ่งเบิร์กไชร์ไม่มีหุ้น เขาบอกว่า อาจจะต้องหดเล็กลงไปอีก