เอเอฟพี - รัฐบาลปากีสถานให้สัญญาวานนี้ (16) ว่าจะคืนตำแหน่งให้ประธานศาลสูงสุดตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมประท้วงแล้ว และยังได้สั่งยกเลิกการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เพื่อเป็นการยุติวิกฤตการณ์ที่นำพาประเทศเข้าสู่ขอบเหวของภาวะจลาจล
ทางด้าน นาวาซ ชารีฟ ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญที่สุด ก็ขานรับการตัดสินใจดังกล่าว และประกาศยกเลิกการเดินขบวนประท้วง "เดินทัพทางไกล" ซึ่งมีกำหนดที่จะไปถึงเมืองหลวงอิสลามาบัดเมื่อวานนี้เช่นกัน
ทั้งนี้หลังจากที่นายกรัฐมนตรียูซุฟ ราซา กิลานี ได้ปรึกษาหารือกับประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี และผู้นำกองทัพในช่วงกลางคืนวันอาทิตย์(15)แล้ว ก็ได้แถลงการตัดสินใจระงับเหตุบานปลายในตอนเช้าวานนี้
"ผมขอประกาศในวันนี้ว่า อิฟติคาร์ เชาธรี (อดีตประธานศาลสูงสุด) และผู้พิพากษาคนอื่นๆ ที่ถูกสั่งปลด จะได้ตำแหน่งคืนตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม เป็นต้นไป" เขาระบุวันเวลาชัดเจน ซึ่งตรงกับวันที่ประธานศาลสูงสุดคนปัจจุบัน ผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นแทนเชาธรี จะถึงกำหนดเกษียณอายุ
ในส่วนของชารีฟ หลังจากทราบท่าทีใหม่ล่าสุดของรัฐบาลแล้ว เขาได้กล่าวขณะอยู่บนรถซึ่งจอดอยู่ที่กลางเมืองคุชรันวาลา ท่ามกลางฝูงชนที่พากันออกมาฉลองชัยชนะกันอย่างท่วมท้นว่า "มันเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งจะเปลี่ยนชะตากรรมของประเทศ"
"ขณะนี้เราได้ยกเลิกการเดินทางไปประท้วงที่เมืองหลวงแล้ว" เขาประกาศ หลังจากที่ได้ปรึกษากับพวกนักกฎหมายและนักการเมืองที่เป็นพันธมิตร รวมทั้งอิมราน ข่าน นักเล่นคริกเก็ตชื่อดัง
ส่วนกิลานีเองก็ได้สั่งยกเลิกการใช้มาตรการรุนแรงซึ่งวางแผนไว้สำหรับระงับการเดินขบวนเข้าไปประท้วงในเมืองหลวง และเขายังสั่งให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ทั้งหมดและยกเลิกคำสั่งห้ามชุมนุมประท้วงด้วย
นอกจากนั้น กิลานียังระบุว่ารัฐบาลได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลสูงที่มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ห้ามนาวาซ ชารีฟ และ ชาห์บาซ ชารีฟ น้องชายของเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง
ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงอิสลามาบัด ก็ออกแถลงการณ์แสดงความยินดีกับการตัดสินใจของกิลานี โดยระบุว่าเป็นการดำเนินการเพื่อ "ปลดชนวนการเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดออก" และ "เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความปรองดองกันภายในประเทศ"
ทว่า อะธาร์ มินัลลาห์ โฆษกของเชาธรีกลับแสดงท่าทีระมัดระวัง โดยกล่าวเตือนว่า "ที่ผ่านมาเคยมีการผิดสัญญาหลายครั้ง ทำให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องขอให้มีการออกคำสั่งอย่างเป็นทางการ"
ด้านนักวิเคราะห์ก็เตือนว่าแม้การคืนอำนาจให้กับผู้พิพากษาในครั้งนี้จะช่วยฟื้นคืนความมั่นใจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่การที่ผู้นำกองทัพเข้ามามีบทบาทเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ก็เท่ากับว่าประธานาธิบดีซาร์ดารีต้องหันไปพึ่งพาฝ่ายทหารมากขึ้น และเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากปากีสถานนั้นเคยตกอยู่ภายใต้ระบอบทหารมาเป็นเวลานานกว่า 62 ปี
นักวิเคราะห์ยังมองอีกว่าการเผชิญหน้าครั้งนี้ยังบั่นทอนอำนาจของซาร์ดารีลงในขณะที่ความนิยมในตัวชารีฟกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก
อนึ่ง สาเหตุที่อดีตประธานศาลสูงสุด พร้อมกับผู้พิพากษาอีก 60 ลูกถูกปลดจากตำแหน่งเมื่อวันที่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2007 นั้นก็เพราะพลเอกเปอร์เวซ มูชาร์รัฟ อดีตผู้นำของปากีสถาน หวั่นเกรงว่าพวกผู้พิพากษาเหล่านี้จะตัดสินว่าเขาขาดคุณสมบัติในการลงสมัครเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากยังดำรงตำแหน่งทางการทหาร
แต่คำสั่งปลดดังกล่าวกลับทำให้ชาวปากีสถานออกมาเดินขบวนประท้วงกดดันให้มูชาร์ราฟต้องลงจากอำนาจไปในเดือนสิงหาคม 2008 โดยรัฐบาลใหม่ได้ประกาศว่าจะคืนตำแหน่งให้กับผู้พิพากษาเหล่านี้ แต่เรื่องก็ยืดเยื้อจนกลายมาเป็นประเด็นคุกคามเสถียรภาพของรัฐบาลปากีสถานอีกครั้ง
ทางด้าน นาวาซ ชารีฟ ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญที่สุด ก็ขานรับการตัดสินใจดังกล่าว และประกาศยกเลิกการเดินขบวนประท้วง "เดินทัพทางไกล" ซึ่งมีกำหนดที่จะไปถึงเมืองหลวงอิสลามาบัดเมื่อวานนี้เช่นกัน
ทั้งนี้หลังจากที่นายกรัฐมนตรียูซุฟ ราซา กิลานี ได้ปรึกษาหารือกับประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี และผู้นำกองทัพในช่วงกลางคืนวันอาทิตย์(15)แล้ว ก็ได้แถลงการตัดสินใจระงับเหตุบานปลายในตอนเช้าวานนี้
"ผมขอประกาศในวันนี้ว่า อิฟติคาร์ เชาธรี (อดีตประธานศาลสูงสุด) และผู้พิพากษาคนอื่นๆ ที่ถูกสั่งปลด จะได้ตำแหน่งคืนตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม เป็นต้นไป" เขาระบุวันเวลาชัดเจน ซึ่งตรงกับวันที่ประธานศาลสูงสุดคนปัจจุบัน ผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นแทนเชาธรี จะถึงกำหนดเกษียณอายุ
ในส่วนของชารีฟ หลังจากทราบท่าทีใหม่ล่าสุดของรัฐบาลแล้ว เขาได้กล่าวขณะอยู่บนรถซึ่งจอดอยู่ที่กลางเมืองคุชรันวาลา ท่ามกลางฝูงชนที่พากันออกมาฉลองชัยชนะกันอย่างท่วมท้นว่า "มันเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งจะเปลี่ยนชะตากรรมของประเทศ"
"ขณะนี้เราได้ยกเลิกการเดินทางไปประท้วงที่เมืองหลวงแล้ว" เขาประกาศ หลังจากที่ได้ปรึกษากับพวกนักกฎหมายและนักการเมืองที่เป็นพันธมิตร รวมทั้งอิมราน ข่าน นักเล่นคริกเก็ตชื่อดัง
ส่วนกิลานีเองก็ได้สั่งยกเลิกการใช้มาตรการรุนแรงซึ่งวางแผนไว้สำหรับระงับการเดินขบวนเข้าไปประท้วงในเมืองหลวง และเขายังสั่งให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ทั้งหมดและยกเลิกคำสั่งห้ามชุมนุมประท้วงด้วย
นอกจากนั้น กิลานียังระบุว่ารัฐบาลได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลสูงที่มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ห้ามนาวาซ ชารีฟ และ ชาห์บาซ ชารีฟ น้องชายของเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง
ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงอิสลามาบัด ก็ออกแถลงการณ์แสดงความยินดีกับการตัดสินใจของกิลานี โดยระบุว่าเป็นการดำเนินการเพื่อ "ปลดชนวนการเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดออก" และ "เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความปรองดองกันภายในประเทศ"
ทว่า อะธาร์ มินัลลาห์ โฆษกของเชาธรีกลับแสดงท่าทีระมัดระวัง โดยกล่าวเตือนว่า "ที่ผ่านมาเคยมีการผิดสัญญาหลายครั้ง ทำให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องขอให้มีการออกคำสั่งอย่างเป็นทางการ"
ด้านนักวิเคราะห์ก็เตือนว่าแม้การคืนอำนาจให้กับผู้พิพากษาในครั้งนี้จะช่วยฟื้นคืนความมั่นใจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่การที่ผู้นำกองทัพเข้ามามีบทบาทเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ก็เท่ากับว่าประธานาธิบดีซาร์ดารีต้องหันไปพึ่งพาฝ่ายทหารมากขึ้น และเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากปากีสถานนั้นเคยตกอยู่ภายใต้ระบอบทหารมาเป็นเวลานานกว่า 62 ปี
นักวิเคราะห์ยังมองอีกว่าการเผชิญหน้าครั้งนี้ยังบั่นทอนอำนาจของซาร์ดารีลงในขณะที่ความนิยมในตัวชารีฟกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก
อนึ่ง สาเหตุที่อดีตประธานศาลสูงสุด พร้อมกับผู้พิพากษาอีก 60 ลูกถูกปลดจากตำแหน่งเมื่อวันที่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2007 นั้นก็เพราะพลเอกเปอร์เวซ มูชาร์รัฟ อดีตผู้นำของปากีสถาน หวั่นเกรงว่าพวกผู้พิพากษาเหล่านี้จะตัดสินว่าเขาขาดคุณสมบัติในการลงสมัครเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากยังดำรงตำแหน่งทางการทหาร
แต่คำสั่งปลดดังกล่าวกลับทำให้ชาวปากีสถานออกมาเดินขบวนประท้วงกดดันให้มูชาร์ราฟต้องลงจากอำนาจไปในเดือนสิงหาคม 2008 โดยรัฐบาลใหม่ได้ประกาศว่าจะคืนตำแหน่งให้กับผู้พิพากษาเหล่านี้ แต่เรื่องก็ยืดเยื้อจนกลายมาเป็นประเด็นคุกคามเสถียรภาพของรัฐบาลปากีสถานอีกครั้ง