เอเอฟพี – นาวาซ ชารีฟ ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญที่สุดของปากีสถาน วานนี้(15)ประกาศท้าทายคำสั่งรัฐบาลที่ให้กักตัวเขาอยู่แต่ในบ้าน และนั่งรถเดินทางเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ขณะที่ตำรวจปราบจลาจลเข้าปะทะกับฝูงชน จนกลายเป็นการต่อสู้ตามท้องถนนในเมืองละฮอร์ เมืองใหญ่อันดับสองของปากีสถาน ทางด้านโลกตะวันตกเฝ้าจับตาดูสถานการณ์ด้วยความกระวนกระวาย เกรงว่าจะเกิดความปั่นป่วนขึ้น ในประเทศซึ่งทรงความสำคัญยิ่งต่อสงครามอัฟกานิสถาน
ชารีฟนั้นเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน และเป็นผู้นำทางการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยเขาเป็นแกนนำสำคัญที่ร่วมมือกับพวกทนายความ เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี คืนตำแหน่งแก่คณะผู้พิพากษาที่ถูกปลดในยุครัฐบาลทหารภายใต้การนำของเปอร์เวซ มูชาร์รัฟเมื่อปี 2007
แต่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ชารีฟก็ถูกศาลสูงของปากีสถานสั่งห้ามลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จึงจุดชนวนให้มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ โดยผู้ประท้วงมีแผนการเดินทางจากเมืองละฮอร์ ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ ไปยังกรุงอิสลามาบัดเมื่อวานนี้
วานนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า ชารีฟถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านของเขาเองที่เมืองละฮอร์เป็นเวลาสามวัน ทั้งนี้หลังจากที่ประธานาธิบดีซาร์ดารี ได้สั่งการให้ดำเนินการลงโทษขั้นรุนแรง สั่งห้ามการชุมนุมประท้วง และกักตัวแกนนำสำคัญๆ รวมทั้งตั้งด่านสกัดการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมที่จะเดินทางจากละฮอร์มายังอิสลามาบัด
“เราไม่ยอมรับการตัดสินครั้งนี้ การกักบริเวณอยู่ในบ้านเป็นการกระทำผิดกฎหมายและขัดต่อศีลธรรม คำตัดสินทั้งหมดนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” ชารีฟบอกต่อหน้าฝูงชน
“ขอให้ทุกคนออกมาร่วมมือกับผม ผมกำลังจะออกจากบ้านไป เราจะเดินจูงมือไปพร้อมๆ กัน” ชารีฟกล่าว
การเคลื่อนขบวนออกจากบ้านของชารีฟซึ่งนั่งมาในรถเอสยูวีคันหนึ่ง ยิ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้แก่สถานการณ์การประจันหน้ากันระหว่างตำรวจปราบจลาจล กับผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ละฮอร์
ตำรวจปราบจลาจลได้ใช้ไม้กระบองขับไล่ผู้ประท้วง พร้อมกับยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ขณะที่ผู้ประท้วงหลายคนก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหิน กลายเป็นภาพความรุนแรงอันเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตระลอกนี้ขึ้นมา ผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนบอกว่า มีประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนสิบกว่าคน
“พวกตำรวจยิงปืนออกมาหลายชุด ทั้งข้างในและข้างนอกอาคารศาลสูงของละฮอร์ ลูกปืนยิงถูกหน้าขาข้างซ้ายของผม ผมต้องได้รับการเย็บแผล คนที่ได้รับบาดเจ็บมีทั้งทนายความ, พวกคนของพรรคการเมือง, รวมทั้งตำรวจบางคน” ฮานิฟ โกรายา ผู้พำนักอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเล่า
ตำรวจบอกด้วยว่ามีแกนนำถูกจับกุมราว 200 คนในเมืองละฮอร์ โดยไอต์ซาซ อาห์ซัน อดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้นำการประท้วงในกลุ่มทนายความ ก็ถูกกักบริเวณด้วยเพื่อไม่ให้เขาออกไปเป็นแกนนำการเดินทางไปประท้วงที่กรุงอิสลามาบัดนั่นเอง
ด้านประธานาธิบดีซาร์ดารีซึ่งเป็นสามีของอดีตนายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโตที่ถูกลอบสังหารไปนั้น นับวันจะเสื่อมความนิยมลงอย่างหนัก และเขากำลังถูกกดดันจากสหรัฐฯ ให้ยุติบทบาททางการเมืองด้วย
อย่างไรก็ตาม ในวันเสาร์ซาร์ดารีก็มีท่าทีผ่อนปรนลงโดยให้คำมั่นว่าจะอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ห้ามชารีฟลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองและจะ “คืนตำแหน่งให้กับคณะผู้พิพากษา” แต่โฆษกของซาร์ดารีก็ปฏิเสธที่จะระบุรายละเอียดว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลเมื่อไร หรือจะดำเนินการเรื่องการคืนตำแหน่งผู้พิพากษาอย่างไร
ทั้งนี้มูชาร์รัฟได้ถอดถอนอิฟติคาร์ มูฮัมมัด เชาดรี ประธานศาลสูงสุดและคณะผู้พิพากษาอีกราว 60 คนออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2007 เนื่องจากเกรงว่ามูชาร์รัฟอาจถูกพิพากษาว่าขาดุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่การกระทำคราวนั้น ก็ทำให้เกิดการประท้วงไปทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มทนายความเป็นแกนนำสำคัญ และในที่สุดมูชาร์รัฟก็ต้องลาออกไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2008
ชารีฟนั้นเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน และเป็นผู้นำทางการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยเขาเป็นแกนนำสำคัญที่ร่วมมือกับพวกทนายความ เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี คืนตำแหน่งแก่คณะผู้พิพากษาที่ถูกปลดในยุครัฐบาลทหารภายใต้การนำของเปอร์เวซ มูชาร์รัฟเมื่อปี 2007
แต่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ชารีฟก็ถูกศาลสูงของปากีสถานสั่งห้ามลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จึงจุดชนวนให้มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ โดยผู้ประท้วงมีแผนการเดินทางจากเมืองละฮอร์ ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ ไปยังกรุงอิสลามาบัดเมื่อวานนี้
วานนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า ชารีฟถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านของเขาเองที่เมืองละฮอร์เป็นเวลาสามวัน ทั้งนี้หลังจากที่ประธานาธิบดีซาร์ดารี ได้สั่งการให้ดำเนินการลงโทษขั้นรุนแรง สั่งห้ามการชุมนุมประท้วง และกักตัวแกนนำสำคัญๆ รวมทั้งตั้งด่านสกัดการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมที่จะเดินทางจากละฮอร์มายังอิสลามาบัด
“เราไม่ยอมรับการตัดสินครั้งนี้ การกักบริเวณอยู่ในบ้านเป็นการกระทำผิดกฎหมายและขัดต่อศีลธรรม คำตัดสินทั้งหมดนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” ชารีฟบอกต่อหน้าฝูงชน
“ขอให้ทุกคนออกมาร่วมมือกับผม ผมกำลังจะออกจากบ้านไป เราจะเดินจูงมือไปพร้อมๆ กัน” ชารีฟกล่าว
การเคลื่อนขบวนออกจากบ้านของชารีฟซึ่งนั่งมาในรถเอสยูวีคันหนึ่ง ยิ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้แก่สถานการณ์การประจันหน้ากันระหว่างตำรวจปราบจลาจล กับผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ละฮอร์
ตำรวจปราบจลาจลได้ใช้ไม้กระบองขับไล่ผู้ประท้วง พร้อมกับยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ขณะที่ผู้ประท้วงหลายคนก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหิน กลายเป็นภาพความรุนแรงอันเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตระลอกนี้ขึ้นมา ผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนบอกว่า มีประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนสิบกว่าคน
“พวกตำรวจยิงปืนออกมาหลายชุด ทั้งข้างในและข้างนอกอาคารศาลสูงของละฮอร์ ลูกปืนยิงถูกหน้าขาข้างซ้ายของผม ผมต้องได้รับการเย็บแผล คนที่ได้รับบาดเจ็บมีทั้งทนายความ, พวกคนของพรรคการเมือง, รวมทั้งตำรวจบางคน” ฮานิฟ โกรายา ผู้พำนักอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเล่า
ตำรวจบอกด้วยว่ามีแกนนำถูกจับกุมราว 200 คนในเมืองละฮอร์ โดยไอต์ซาซ อาห์ซัน อดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้นำการประท้วงในกลุ่มทนายความ ก็ถูกกักบริเวณด้วยเพื่อไม่ให้เขาออกไปเป็นแกนนำการเดินทางไปประท้วงที่กรุงอิสลามาบัดนั่นเอง
ด้านประธานาธิบดีซาร์ดารีซึ่งเป็นสามีของอดีตนายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโตที่ถูกลอบสังหารไปนั้น นับวันจะเสื่อมความนิยมลงอย่างหนัก และเขากำลังถูกกดดันจากสหรัฐฯ ให้ยุติบทบาททางการเมืองด้วย
อย่างไรก็ตาม ในวันเสาร์ซาร์ดารีก็มีท่าทีผ่อนปรนลงโดยให้คำมั่นว่าจะอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ห้ามชารีฟลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองและจะ “คืนตำแหน่งให้กับคณะผู้พิพากษา” แต่โฆษกของซาร์ดารีก็ปฏิเสธที่จะระบุรายละเอียดว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลเมื่อไร หรือจะดำเนินการเรื่องการคืนตำแหน่งผู้พิพากษาอย่างไร
ทั้งนี้มูชาร์รัฟได้ถอดถอนอิฟติคาร์ มูฮัมมัด เชาดรี ประธานศาลสูงสุดและคณะผู้พิพากษาอีกราว 60 คนออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2007 เนื่องจากเกรงว่ามูชาร์รัฟอาจถูกพิพากษาว่าขาดุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่การกระทำคราวนั้น ก็ทำให้เกิดการประท้วงไปทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มทนายความเป็นแกนนำสำคัญ และในที่สุดมูชาร์รัฟก็ต้องลาออกไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2008