ASTVผู้จัดการรายวัน-คมนาคมสรุปงบปี 53วงเงิน 1.897 แสนล้านบาท ชูลงทุนระบบรางกว่า 4.1 หมื่นล้านบาท หัวหอกฟื้นเศรษฐกิจลดภาระภาคการขนส่ง ร.ฟ.ท. ขอกรอบเพิ่มจากปี 52 กว่า 174% เน้นรถไฟทางคู่
นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มี.ค.52 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้เรียกประชุมหน่วยงานในสังกัด เพื่อจัดทำกรอบแนวทางการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เพื่อเสนอต่อนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำส่งให้สำนักงบประมาณ ในวันที่ 17 มี.ค. นี้ จำนวน 189,753.056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ได้จัดสรรในปี 2552 จำนวน 93 % แบ่งเป็น ส่วนราชการ จำนวน 135,553.762 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจจำนวน 54,199.294 ล้านบาท
สำหรับงบดังกล่าวจำแนกตามประเภทงบรายจ่าย ประกอบด้วย งบรายจ่ายประจำจำนวน 28,152.245 ล้านบาท ,งบรายจ่ายลงทุนผูกพันจำนวน 24,346.962 ล้านบาท , งบรายจ่ายการลงทุนใหม่ตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์จำนวน 118,174.527 ล้านบาท และชำระเงินกู้จำนวน 19,079.322 ล้านบาท จำแนก ตามภารกิจ ประกอบด้วย ด้านการขนส่งทางบก จำนวน 134,866.349 ล้านบาท ,ด้านการขนส่งระบบรางจำนวน 41,281.808 ล้านบาท , ด้านการขนส่งทางน้ำจำนวน 10,353.235 ล้านบาท ,ด้านการขนส่งทางอากาศจำนวน 1,924.311 ล้านบาท และด้านนโยบายและแผนจำนวน 1,327.535 ล้านบาท
โดยในการจัดทำกรอบงบประมาณดังกล่าวนั้น จะเน้นในด้านการขนส่งทางรางเป็นหลัก ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการลดภาระต้นทุนของภาคการขนส่ง โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีวงเงินคำขอรวมทั้งสิ้น 27,002.679 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 174% เช่น โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นทางรถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย การศึกษารถไฟเชื่อมโยงท่าเรือปากบารา เป็นต้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 14,279.129 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 80 %เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) สายสีเขียว 2 สาย แบ่งเป็นสียเขียวเข้ม และสีเขียวอ่อน
กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 79,794.454 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% กรมทางหลวงชนบท จำนวน 39,433.690 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76% กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จำนวน 3,025.886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29 % กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) จำนวน 10,353.235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 177 % กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) จำนวน 1,619.144 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75 % การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 7,040.082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25 % องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 5,572.237 ล้านบาท สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) จำนวน 305.167 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142 %
นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มี.ค.52 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้เรียกประชุมหน่วยงานในสังกัด เพื่อจัดทำกรอบแนวทางการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เพื่อเสนอต่อนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำส่งให้สำนักงบประมาณ ในวันที่ 17 มี.ค. นี้ จำนวน 189,753.056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ได้จัดสรรในปี 2552 จำนวน 93 % แบ่งเป็น ส่วนราชการ จำนวน 135,553.762 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจจำนวน 54,199.294 ล้านบาท
สำหรับงบดังกล่าวจำแนกตามประเภทงบรายจ่าย ประกอบด้วย งบรายจ่ายประจำจำนวน 28,152.245 ล้านบาท ,งบรายจ่ายลงทุนผูกพันจำนวน 24,346.962 ล้านบาท , งบรายจ่ายการลงทุนใหม่ตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์จำนวน 118,174.527 ล้านบาท และชำระเงินกู้จำนวน 19,079.322 ล้านบาท จำแนก ตามภารกิจ ประกอบด้วย ด้านการขนส่งทางบก จำนวน 134,866.349 ล้านบาท ,ด้านการขนส่งระบบรางจำนวน 41,281.808 ล้านบาท , ด้านการขนส่งทางน้ำจำนวน 10,353.235 ล้านบาท ,ด้านการขนส่งทางอากาศจำนวน 1,924.311 ล้านบาท และด้านนโยบายและแผนจำนวน 1,327.535 ล้านบาท
โดยในการจัดทำกรอบงบประมาณดังกล่าวนั้น จะเน้นในด้านการขนส่งทางรางเป็นหลัก ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการลดภาระต้นทุนของภาคการขนส่ง โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีวงเงินคำขอรวมทั้งสิ้น 27,002.679 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 174% เช่น โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นทางรถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย การศึกษารถไฟเชื่อมโยงท่าเรือปากบารา เป็นต้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 14,279.129 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 80 %เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) สายสีเขียว 2 สาย แบ่งเป็นสียเขียวเข้ม และสีเขียวอ่อน
กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 79,794.454 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% กรมทางหลวงชนบท จำนวน 39,433.690 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76% กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จำนวน 3,025.886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29 % กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) จำนวน 10,353.235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 177 % กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) จำนวน 1,619.144 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75 % การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 7,040.082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25 % องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 5,572.237 ล้านบาท สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) จำนวน 305.167 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142 %