ASTVผู้จัดการรายวัน – สาทิตย์ เตรียมหารือ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ “อสมท” งานเข้า อาจถูกยึดคลื่นคืน ชี้บริหารทรัพยากรที่มีอยู่ช่วยได้ ฟากช่อง 11 เตรียมการปรับผัง 1 เม.ย.ไปแล้ว 90% โฟกัสรายการข่าว 7ชม.ต่อวัน พร้อมพิจารณาปรับลูกจ้างบางส่วนขึ้นเป็นข้าราชการ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระยะอันใกล้นี้ จะมีการเรียกองค์กรต่างๆเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยในส่วนของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นั้น เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นบริษัทมหาชนด้วยนั้น ถือว่ามีระยะห่างที่ทำให้รัฐไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้อย่างใกล้ชิด แต่หากมองในเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีการเข้ามาพูดคุยในเรื่องดังกล่าว กับทาง อสมท และกับองค์กรอื่นๆ
ขณะที่อสมท ในปีนี้ถือว่าอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคณะกรรมการบอร์ด อสมท ที่มีบางส่วนทำงานครบวาระลง รวมถึงการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่ ที่สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่บุคลากรในองค์กรจะต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุด
ทั้งนี้มองว่าสัมปทานคลื่นความถี่ที่ทางอสมทครอบครองอยู่บางคลื่น อาจจะต้องถูกเรียกคืน ซึ่งอาจจะทำให้ทาง อสมท อาจต้องมีรายได้ลดลงไป แต่เชื่อว่า จากการที่อสมทยังมีทรัพยากรในมืออีกหลายคลื่น ควรที่จะนำมาบริหารจัดการให้เกิดรายได้ ก็จะช่วยให้เกิดรายได้ขึ้นมาทดแทนได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ทางผู้บริหารระดับสูงของทาง อสมท กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวนี้ อสมท จะต้องมีการทำแผนเรื่องของการบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีอยู่ เสนอให้กับทางรัฐให้รับทราบ เพื่อลงมติว่า จะถูกดึงคลื่นกลับไปมากเพียงใด โดยเฉพาะในคลื่นวิทยุ 62 คลื่นทั่วประเทศ ขณะที่ปัจจุบัน อสมท ยังมีคลื่นความถี่อีกอย่างน้อย 2 คลื่นในมือ คือ UHF ที่สามารถทำสถานีโทรทัศน์ได้อีก 1 ช่อง หรือนำไปเป็นสัญญาณการออกอากาศในพื้นที่ที่เป็นจุดบอดอับสัญญาณในต่างจังหวัดได้ และอีกคลื่น คือ MMDS ที่เป็นอีกสัญญาณคลื่นที่ใช้เป็น Wi-Max ที่ทาง กสช.อนุญาตให้ทดลองทำได้ โดยทั้ง 2 คลื่นนี้ หากบริหารจัดการให้ดี เชื่อว่าจะเป็นแหล่งรายได้ที่น่าสนใจในอนาคต
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีของทาง ช่อง 11 จากที่วางโพซิชั่นนิ่งเป็น สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ มุ่งเน้นแก้วิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤติทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ได้เตรียมการในเรื่องของ ผังรายการใหม่ 1 เม.ย. ไปได้ประมาณ 90% แล้ว โดยจะเน้นเรื่องของรายการข่าวไว้ที่ 7 ชม. ต่อวัน เปิดโอกาสให้บริษัทร่วมผลิตเข้ามาทำงานด้วย โดยได้ประกาศรับสมัครไปแล้ว
อีกทั้งต้องมีการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ขึ้นมาทำงานมากขึ้น ซึ่งจะต้องดูว่าจำนวนพนักงานในองค์กรที่มีอยู่ขาดอยู่อีกมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ยังจะมีการพิจารณาในเรื่องของการปรับพนักงานบางส่วนขึ้นเป็นข้าราชการด้วย
อย่างไรก็ตามในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา การปรับผังองค์กรและผังรายการของทางช่อง 11 ครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องมีการใช้งบเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระยะอันใกล้นี้ จะมีการเรียกองค์กรต่างๆเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยในส่วนของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นั้น เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นบริษัทมหาชนด้วยนั้น ถือว่ามีระยะห่างที่ทำให้รัฐไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้อย่างใกล้ชิด แต่หากมองในเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีการเข้ามาพูดคุยในเรื่องดังกล่าว กับทาง อสมท และกับองค์กรอื่นๆ
ขณะที่อสมท ในปีนี้ถือว่าอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคณะกรรมการบอร์ด อสมท ที่มีบางส่วนทำงานครบวาระลง รวมถึงการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่ ที่สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่บุคลากรในองค์กรจะต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุด
ทั้งนี้มองว่าสัมปทานคลื่นความถี่ที่ทางอสมทครอบครองอยู่บางคลื่น อาจจะต้องถูกเรียกคืน ซึ่งอาจจะทำให้ทาง อสมท อาจต้องมีรายได้ลดลงไป แต่เชื่อว่า จากการที่อสมทยังมีทรัพยากรในมืออีกหลายคลื่น ควรที่จะนำมาบริหารจัดการให้เกิดรายได้ ก็จะช่วยให้เกิดรายได้ขึ้นมาทดแทนได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ทางผู้บริหารระดับสูงของทาง อสมท กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวนี้ อสมท จะต้องมีการทำแผนเรื่องของการบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีอยู่ เสนอให้กับทางรัฐให้รับทราบ เพื่อลงมติว่า จะถูกดึงคลื่นกลับไปมากเพียงใด โดยเฉพาะในคลื่นวิทยุ 62 คลื่นทั่วประเทศ ขณะที่ปัจจุบัน อสมท ยังมีคลื่นความถี่อีกอย่างน้อย 2 คลื่นในมือ คือ UHF ที่สามารถทำสถานีโทรทัศน์ได้อีก 1 ช่อง หรือนำไปเป็นสัญญาณการออกอากาศในพื้นที่ที่เป็นจุดบอดอับสัญญาณในต่างจังหวัดได้ และอีกคลื่น คือ MMDS ที่เป็นอีกสัญญาณคลื่นที่ใช้เป็น Wi-Max ที่ทาง กสช.อนุญาตให้ทดลองทำได้ โดยทั้ง 2 คลื่นนี้ หากบริหารจัดการให้ดี เชื่อว่าจะเป็นแหล่งรายได้ที่น่าสนใจในอนาคต
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีของทาง ช่อง 11 จากที่วางโพซิชั่นนิ่งเป็น สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ มุ่งเน้นแก้วิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤติทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ได้เตรียมการในเรื่องของ ผังรายการใหม่ 1 เม.ย. ไปได้ประมาณ 90% แล้ว โดยจะเน้นเรื่องของรายการข่าวไว้ที่ 7 ชม. ต่อวัน เปิดโอกาสให้บริษัทร่วมผลิตเข้ามาทำงานด้วย โดยได้ประกาศรับสมัครไปแล้ว
อีกทั้งต้องมีการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ขึ้นมาทำงานมากขึ้น ซึ่งจะต้องดูว่าจำนวนพนักงานในองค์กรที่มีอยู่ขาดอยู่อีกมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ยังจะมีการพิจารณาในเรื่องของการปรับพนักงานบางส่วนขึ้นเป็นข้าราชการด้วย
อย่างไรก็ตามในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา การปรับผังองค์กรและผังรายการของทางช่อง 11 ครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องมีการใช้งบเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน