วันนี้จะเป็นวัน “ดี-เดย์ (D-DAY)” หรือไม่กับการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอีกจำนวนยังไม่ชัดเจนแน่ บ้างก็ว่า “อภิปรายทั้งคณะ” หรือนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับรัฐมนตรีอีก 4-5 คน หรือไม่ก็ 10 คน หรืออาจเป็น “การอภิปรายแบบไม่ลงมติ”
หรือดีไม่ดี อาจไม่มีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยก็เป็นได้ ด้วยการขอเลื่อนไปถึงช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ เพราะฉะนั้น “ความชัดเจน” จะได้บทสรุปกันในวันสำคัญนี้ ซึ่งเราต่างก็วิพากษ์วิจารณ์คาดเดากันไปต่างๆ นานา
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์กับ “การเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน” โดยเฉพาะ “พรรคเพื่อไทย” ว่าจะขอ “เปิดฉาก-ลั่นกลองรบ” กับ “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งเป็นพรรคแกนนำ ในกรณีของการก้าวเข้าสู่ “เวทีอำนาจ” เป็น “รัฐบาล” ด้วยความไม่ชอบธรรม ประกอบกับมี “กลุ่มพันธมิตรฯ” ร่วมเป็น “รัฐมนตรี” ด้วย ซึ่งก็หมายถึง คุณกษิต ภิรมย์ ที่ไม่เหมาะสม โดยการวิพากษ์วิจารณ์ของหลากหลายวงการนี้ ต่างสรุปในทำนองว่า “น่าจะให้โอกาสรัฐบาลทำงานซักระยะ แล้วค่อยอภิปรายไม่ไว้วางใจ” แม้กระทั่ง “ป๋าเหนาะ” เจ้าพ่อวังน้ำเย็น หัวหน้าพรรคประชาราช ก็ไม่สนับสนุนอย่างหัวชนฝา!
เหตุผลสำคัญที่ “พรรคฝ่ายค้าน : พรรคเพื่อไทย” ปรารถนาที่จะอภิปราย “ซักฟอก” รัฐบาลนั้น เนื่องด้วยถ้าไม่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจใน “การประชุมสมัยสามัญทั่วไป” ในครั้งนี้ ก็จะหมดโอกาสในการอภิปรายไปจนถึงปี 2553 เพราะการเปิดสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้าเป็น “สมัยนิติบัญญัติ” ที่จะมีแต่การพิจารณาบรรดาพระราชบัญญัติต่างๆ เท่านั้น หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่า เป็นการพิจารณาตัวบทกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ จึงต้องทอดยาวไปจนถึงปีหน้า ซึ่งอาจจะยาวนานเกินรอเกินไปของพรรคฝ่ายค้าน
แต่คงไม่สำคัญเท่ากับว่า จะเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ทำงานยาวเกินไป ในการสร้าง “ผลงาน” พร้อม “คะแนนนิยม” ตลอดจน “การโยกย้าย” บรรดาข้าราชการในหน่วยงานหลักต่างๆ อาทิ ตำรวจ มหาดไทย เกษตรฯ ศึกษาธิการ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลต่อการ “วางโครงสร้างอำนาจ” และ “สร้างบารมี” พร้อมทั้งความพร้อมในการจัดตั้งการเลือกตั้ง ในกรณีนี้พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “ยิ่งอยู่ยาวในอำนาจมากเท่าใด ยิ่งเป็นผลเสียกับพรรคเพื่อไทยมากเท่านั้น”
เพราะฉะนั้น “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” จะต้องเกิดขึ้นแน่ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นญัตติภายในวันนี้ และจัดให้มีการอภิปรายฯ ภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ หรืออย่างช้าที่สุด ก็ยื่นภายในเดือนเมษายน และอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก่อนสภาฯ สมัยสามัญทั่วไปนี้จะปิดสมัยประชุมประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
ขอย้ำว่า “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” น่าจะต้องเกิดขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ มิฉะนั้น “จะช้าเกินแกง-ฝ่ายค้านเสียเปรียบ!” ซึ่งพิจารณาจากเหตุผลและปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองแล้ว “พรรคเพื่อไทย” โดยเฉพาะ “หัวหน้าพรรคตัวจริง-ต่างแดน” จะไม่ยอมพลาดโอกาสอย่างเด็ดขาด ทั้งๆ ที่การโหวตอภิปรายฯ ไม่มีทางชนะด้วยประการทั้งปวง
กล่าวคือ จำนวนมือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคเพื่อไทยมีเพียง 187 เสียงเท่านั้น ตลอดจนพรรคร่วมฝ่ายค้านต่างก็ไม่ร่วมวงพันตูด้วย แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้นคือ “เอกภาพ” ของหมู่มวลสมาชิกในพรรคเพื่อไทยเอง ไม่น่าเชื่อว่าจะมี “เอกภาพ-อันหนึ่งอันเดียวกันหมด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น่าจะมี “งูเห่า” หรือ “ส.ส.นอกใจ” ที่เอาใจออกห่างไปอยู่กับพรรคการเมืองอื่นอยู่แล้ว ไม่น่าจะน้อยกว่า 20 คน ที่พร้อมจะไม่โหวตสนับสนุนอยู่แล้ว เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 อนุญาตให้ ส.ส.มี “เอกสิทธิ์” ในการลงคะแนนเสียง ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้มติพรรคในการโหวต
ดังนั้น “แสงแดด” มั่นใจเลยว่า หนึ่ง “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” เกิดขึ้นแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว สอง การลงคะแนนเสียง ยังไงๆ รัฐบาลก็ “ผ่านฉลุย” และสาม “รัฐบาลอายุยาว” ไปจนถึงปลายปี 2553 หรืออาจจะทอดยาวไปจนถึงกลางปี 2554 หรือสิ้นปี 2554 ก็เป็นได้
ภายใต้ “รัฐธรรมนูญ 2550 : มาตรา 158” กำหนดไว้ชัดเจนว่า พรรคฝ่ายค้านจะต้องรวบรวมเสนอรายชื่อจำนวน ส.ส. 1 ใน 5 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนขณะนี้เพียง 460 กว่าคนเท่านั้น การนำเสนอจำนวนเสียง ส.ส. 1 ใน 5 คือประมาณ 92 คน ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหาอยู่แล้วที่จะรวบรวมรายชื่อครบจำนวน
แต่ประเด็นสำคัญของมาตรา 158 นี้ ในการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องกำหนดบุคคลดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ประกบคู่ไปด้วย ในกรณีที่ฝ่ายรัฐบาล “แพ้โหวต!”
จากข้อกำหนดของมาตราดังกล่าว พรรคเพื่อไทย ซึ่ง “มะงุมมะงาหรา!” มายาวนานแล้ว ที่จะหาผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยยังหา “หัวหน้าพรรค” ยังไม่ได้เลย จึงมีความจำเป็นต้องเสนอชื่อ “ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง” เป็น “ประธาน ส.ส.พรรค” และถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี
“ด้วยความเคารพ!” ต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อมีการเปิดเผยชื่อของคุณเฉลิม อยู่บำรุง ในการเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 เท่านั้น เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมทั่วไป มิได้ “เฮ!” แต่ประการใด กลับมีแต่เสียง “โห่-ยี้!” กันทั่วทุกสารทิศ แม้กระทั่ง “ป๋าเหนาะ” กับ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” หรือแม้กระทั่ง ส.ส.ภายในพรรคเพื่อไทยกันเอง!
ว่าไปแล้ว คุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้น ในทาง “นิติศาสตร์-รัฐธรรมนูญ” นั้น สามารถขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เพียงแต่ในทาง “รัฐศาสตร์” นั้น “อารมณ์-ความรู้สึก-ภาพลักษณ์” พร้อมทั้ง “ประวัติ” มีความสำคัญเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาตอบรับจากผู้คนทุกวงการเช่นเดียวกัน
“แสงแดด” มิได้รังเกียจรังงอนแต่ประการใด ทั้งนี้ การพิจารณาองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ให้รอบคอบแล้ว ก็ต้องขอเสียมารยาทว่า “พรรคเพื่อไทย” นั้น “แพ้ตั้งแต่ในมุ้งแล้ว!” ไม่ว่าในกรณีของ “เอกภาพ” ภายในพรรค พร้อมทั้งการเสนอชื่อ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกรัฐมนตรีอีก เท่ากับว่า “ตกม้าตาย ตั้งแต่ยังไม่สตาร์ท”
การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ “พรรคเพื่อไทย-ฝ่ายค้าน” ตระหนักอย่างลึกซึ้งดีว่า “คะแนนเสียงโหวต” ที่จะกำชัยชนะเชิงคณิตศาสตร์นั้น “ปิดประตู!” กันได้เลย ทั้งๆ ที่รู้ว่า “แพ้แน่นอน!” แต่ยังไงๆ ก็ต้องยื่นญัตติ เพื่อหวังผลในการ “เตะขาล่าง!” หรือ “ดิสเครดิต” รัฐบาล ด้วยการ “โจมตี-กล่าวหา” พร้อมหาลีลาในการเปิดโปงด้วยสารพัดวิธี ซึ่งแน่นอน หวังผล “ตีกิน!” ด้วยสารพัด “ข้อกล่าวหา” พร้อมโน้มน้าว “แนวร่วม” ให้เกิดทัศนคติในเชิงลบแก่รัฐบาล
เพียงแค่ได้ทั้ง “ตีกิน-ตีหัวเข้าบ้าน” ตลอดจน “เตะขาล่าง!” ก็น่าจะคุ้มแล้วสำหรับฝ่ายค้าน และที่สำคัญที่สุด ยังสามารถสร้าง “ความปั่นป่วน” และทำให้รัฐบาลต้องเตรียมตัวและไขว้เขวในการตอบโต้ เรียกว่า เป็นการใช้เวทีของสภาฯ เป็นเวทีเชิงตอบโต้ทางวาทศิลป์มากกว่าเชิงบริหาร
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่า “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” ในครั้งนี้ ชาติบ้านเมืองและประชาชนคงจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรใดๆ มากนัก แต่อาจจะได้โจมตีและดิสเครดิตรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้ อาจจะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ในกรณีของการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน “ด้านตรวจสอบ” พร้อมทั้งติติงการทำงานของรัฐบาลเท่านั้น
เพียงแต่ว่า รัฐบาลเพิ่งจะทำงานมาได้เพียงสองเดือน ไม่เกินสามเดือน คำถามสำคัญในการติติงรัฐบาลเชิงบริหารนั้น จะอภิปรายได้เนื้อหนังมากน้อยเพียงใด “การตรวจสอบ-ข้อเสนอแนะ” อาจจะได้บ้างไม่มากก็น้อย รัฐบาลต้อง “ใจกว้าง” เพียงพอในการรับฟัง
อย่างไรก็ตาม ขอฟันธงได้เลยว่า “บรรยากาศ” ของการอภิปรายจะเข้าสู่ทิศทางของ “ความปั่นป่วน” ด้วย “การประท้วง-ตีรวน-ตีกิน” ของทั้งสองฝ่าย เรียกว่า “บรรยากาศน้ำเน่า!” ที่ประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์มรรคผลใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่อาจจะสนุกกับ “ข้อมูลไร้สาระ” ที่แน่นอนต้องมีการฟ้องร้องกันตามมา
ทั้งนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ เราคงจะ “เอือมระอา-เบื่อหน่าย” กับบรรยากาศและสภาพของการอภิปรายที่จะยืดเยื้อยาวนาน และขอย้ำว่า “น้ำเน่า!” ถึง 3 วัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยจะพุ่งเป้าไปที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีฯ ต่างประเทศ คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีฯ คลัง เป็นต้น ส่วนการที่จะเพิ่มรายชื่ออีก 9-10 ท่านหรือไม่นั้น วันนี้ก็จะรู้
เราอย่าเพิ่งเอือมระอาเบื่อหน่าย จนถึงขั้นวิกฤต ทั้งนี้จะ “วิกฤตศรัทธา” ก็จะมีต่อ “นักการเมือง” และ “พฤติกรรม” เท่านั้น ได้โปรดอย่าเลยเถิดไปจนถึงขั้น “วิกฤตศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยฯ” อย่างเด็ดขาด
ปัญหาสำคัญของการอภิปรายไม่ไว้วางใจในระบบการเมืองไทยนั้น มิได้มุ่งเน้น “การตรวจสอบ” เป็น “สรณะ” เพียงแต่ต้องการ “ความสะใจ-ความมัน” พร้อมทั้ง “ข้อกล่าวหา” เท่านั้น เพราะฉะนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่ละครั้ง เราคนไทยมักไม่เคยได้ประโยชน์ใดๆ เลย
คำถามที่อาจจะเป็นคำตอบในตัวของมันเอง ก็คือว่า การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านในครั้งนี้ ใครจะ “ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์” ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
ที่แน่ๆ ประชาชนคนไทยไม่ได้อะไรเลย นอกจากเสียประโยชน์มาโดยตลอด!
หรือดีไม่ดี อาจไม่มีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยก็เป็นได้ ด้วยการขอเลื่อนไปถึงช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ เพราะฉะนั้น “ความชัดเจน” จะได้บทสรุปกันในวันสำคัญนี้ ซึ่งเราต่างก็วิพากษ์วิจารณ์คาดเดากันไปต่างๆ นานา
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์กับ “การเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน” โดยเฉพาะ “พรรคเพื่อไทย” ว่าจะขอ “เปิดฉาก-ลั่นกลองรบ” กับ “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งเป็นพรรคแกนนำ ในกรณีของการก้าวเข้าสู่ “เวทีอำนาจ” เป็น “รัฐบาล” ด้วยความไม่ชอบธรรม ประกอบกับมี “กลุ่มพันธมิตรฯ” ร่วมเป็น “รัฐมนตรี” ด้วย ซึ่งก็หมายถึง คุณกษิต ภิรมย์ ที่ไม่เหมาะสม โดยการวิพากษ์วิจารณ์ของหลากหลายวงการนี้ ต่างสรุปในทำนองว่า “น่าจะให้โอกาสรัฐบาลทำงานซักระยะ แล้วค่อยอภิปรายไม่ไว้วางใจ” แม้กระทั่ง “ป๋าเหนาะ” เจ้าพ่อวังน้ำเย็น หัวหน้าพรรคประชาราช ก็ไม่สนับสนุนอย่างหัวชนฝา!
เหตุผลสำคัญที่ “พรรคฝ่ายค้าน : พรรคเพื่อไทย” ปรารถนาที่จะอภิปราย “ซักฟอก” รัฐบาลนั้น เนื่องด้วยถ้าไม่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจใน “การประชุมสมัยสามัญทั่วไป” ในครั้งนี้ ก็จะหมดโอกาสในการอภิปรายไปจนถึงปี 2553 เพราะการเปิดสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้าเป็น “สมัยนิติบัญญัติ” ที่จะมีแต่การพิจารณาบรรดาพระราชบัญญัติต่างๆ เท่านั้น หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่า เป็นการพิจารณาตัวบทกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ จึงต้องทอดยาวไปจนถึงปีหน้า ซึ่งอาจจะยาวนานเกินรอเกินไปของพรรคฝ่ายค้าน
แต่คงไม่สำคัญเท่ากับว่า จะเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ทำงานยาวเกินไป ในการสร้าง “ผลงาน” พร้อม “คะแนนนิยม” ตลอดจน “การโยกย้าย” บรรดาข้าราชการในหน่วยงานหลักต่างๆ อาทิ ตำรวจ มหาดไทย เกษตรฯ ศึกษาธิการ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลต่อการ “วางโครงสร้างอำนาจ” และ “สร้างบารมี” พร้อมทั้งความพร้อมในการจัดตั้งการเลือกตั้ง ในกรณีนี้พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “ยิ่งอยู่ยาวในอำนาจมากเท่าใด ยิ่งเป็นผลเสียกับพรรคเพื่อไทยมากเท่านั้น”
เพราะฉะนั้น “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” จะต้องเกิดขึ้นแน่ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นญัตติภายในวันนี้ และจัดให้มีการอภิปรายฯ ภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ หรืออย่างช้าที่สุด ก็ยื่นภายในเดือนเมษายน และอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก่อนสภาฯ สมัยสามัญทั่วไปนี้จะปิดสมัยประชุมประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
ขอย้ำว่า “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” น่าจะต้องเกิดขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ มิฉะนั้น “จะช้าเกินแกง-ฝ่ายค้านเสียเปรียบ!” ซึ่งพิจารณาจากเหตุผลและปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองแล้ว “พรรคเพื่อไทย” โดยเฉพาะ “หัวหน้าพรรคตัวจริง-ต่างแดน” จะไม่ยอมพลาดโอกาสอย่างเด็ดขาด ทั้งๆ ที่การโหวตอภิปรายฯ ไม่มีทางชนะด้วยประการทั้งปวง
กล่าวคือ จำนวนมือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคเพื่อไทยมีเพียง 187 เสียงเท่านั้น ตลอดจนพรรคร่วมฝ่ายค้านต่างก็ไม่ร่วมวงพันตูด้วย แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้นคือ “เอกภาพ” ของหมู่มวลสมาชิกในพรรคเพื่อไทยเอง ไม่น่าเชื่อว่าจะมี “เอกภาพ-อันหนึ่งอันเดียวกันหมด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น่าจะมี “งูเห่า” หรือ “ส.ส.นอกใจ” ที่เอาใจออกห่างไปอยู่กับพรรคการเมืองอื่นอยู่แล้ว ไม่น่าจะน้อยกว่า 20 คน ที่พร้อมจะไม่โหวตสนับสนุนอยู่แล้ว เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 อนุญาตให้ ส.ส.มี “เอกสิทธิ์” ในการลงคะแนนเสียง ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้มติพรรคในการโหวต
ดังนั้น “แสงแดด” มั่นใจเลยว่า หนึ่ง “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” เกิดขึ้นแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว สอง การลงคะแนนเสียง ยังไงๆ รัฐบาลก็ “ผ่านฉลุย” และสาม “รัฐบาลอายุยาว” ไปจนถึงปลายปี 2553 หรืออาจจะทอดยาวไปจนถึงกลางปี 2554 หรือสิ้นปี 2554 ก็เป็นได้
ภายใต้ “รัฐธรรมนูญ 2550 : มาตรา 158” กำหนดไว้ชัดเจนว่า พรรคฝ่ายค้านจะต้องรวบรวมเสนอรายชื่อจำนวน ส.ส. 1 ใน 5 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนขณะนี้เพียง 460 กว่าคนเท่านั้น การนำเสนอจำนวนเสียง ส.ส. 1 ใน 5 คือประมาณ 92 คน ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหาอยู่แล้วที่จะรวบรวมรายชื่อครบจำนวน
แต่ประเด็นสำคัญของมาตรา 158 นี้ ในการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องกำหนดบุคคลดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ประกบคู่ไปด้วย ในกรณีที่ฝ่ายรัฐบาล “แพ้โหวต!”
จากข้อกำหนดของมาตราดังกล่าว พรรคเพื่อไทย ซึ่ง “มะงุมมะงาหรา!” มายาวนานแล้ว ที่จะหาผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยยังหา “หัวหน้าพรรค” ยังไม่ได้เลย จึงมีความจำเป็นต้องเสนอชื่อ “ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง” เป็น “ประธาน ส.ส.พรรค” และถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี
“ด้วยความเคารพ!” ต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อมีการเปิดเผยชื่อของคุณเฉลิม อยู่บำรุง ในการเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 เท่านั้น เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมทั่วไป มิได้ “เฮ!” แต่ประการใด กลับมีแต่เสียง “โห่-ยี้!” กันทั่วทุกสารทิศ แม้กระทั่ง “ป๋าเหนาะ” กับ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” หรือแม้กระทั่ง ส.ส.ภายในพรรคเพื่อไทยกันเอง!
ว่าไปแล้ว คุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้น ในทาง “นิติศาสตร์-รัฐธรรมนูญ” นั้น สามารถขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เพียงแต่ในทาง “รัฐศาสตร์” นั้น “อารมณ์-ความรู้สึก-ภาพลักษณ์” พร้อมทั้ง “ประวัติ” มีความสำคัญเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาตอบรับจากผู้คนทุกวงการเช่นเดียวกัน
“แสงแดด” มิได้รังเกียจรังงอนแต่ประการใด ทั้งนี้ การพิจารณาองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ให้รอบคอบแล้ว ก็ต้องขอเสียมารยาทว่า “พรรคเพื่อไทย” นั้น “แพ้ตั้งแต่ในมุ้งแล้ว!” ไม่ว่าในกรณีของ “เอกภาพ” ภายในพรรค พร้อมทั้งการเสนอชื่อ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกรัฐมนตรีอีก เท่ากับว่า “ตกม้าตาย ตั้งแต่ยังไม่สตาร์ท”
การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ “พรรคเพื่อไทย-ฝ่ายค้าน” ตระหนักอย่างลึกซึ้งดีว่า “คะแนนเสียงโหวต” ที่จะกำชัยชนะเชิงคณิตศาสตร์นั้น “ปิดประตู!” กันได้เลย ทั้งๆ ที่รู้ว่า “แพ้แน่นอน!” แต่ยังไงๆ ก็ต้องยื่นญัตติ เพื่อหวังผลในการ “เตะขาล่าง!” หรือ “ดิสเครดิต” รัฐบาล ด้วยการ “โจมตี-กล่าวหา” พร้อมหาลีลาในการเปิดโปงด้วยสารพัดวิธี ซึ่งแน่นอน หวังผล “ตีกิน!” ด้วยสารพัด “ข้อกล่าวหา” พร้อมโน้มน้าว “แนวร่วม” ให้เกิดทัศนคติในเชิงลบแก่รัฐบาล
เพียงแค่ได้ทั้ง “ตีกิน-ตีหัวเข้าบ้าน” ตลอดจน “เตะขาล่าง!” ก็น่าจะคุ้มแล้วสำหรับฝ่ายค้าน และที่สำคัญที่สุด ยังสามารถสร้าง “ความปั่นป่วน” และทำให้รัฐบาลต้องเตรียมตัวและไขว้เขวในการตอบโต้ เรียกว่า เป็นการใช้เวทีของสภาฯ เป็นเวทีเชิงตอบโต้ทางวาทศิลป์มากกว่าเชิงบริหาร
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่า “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” ในครั้งนี้ ชาติบ้านเมืองและประชาชนคงจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรใดๆ มากนัก แต่อาจจะได้โจมตีและดิสเครดิตรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้ อาจจะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ในกรณีของการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน “ด้านตรวจสอบ” พร้อมทั้งติติงการทำงานของรัฐบาลเท่านั้น
เพียงแต่ว่า รัฐบาลเพิ่งจะทำงานมาได้เพียงสองเดือน ไม่เกินสามเดือน คำถามสำคัญในการติติงรัฐบาลเชิงบริหารนั้น จะอภิปรายได้เนื้อหนังมากน้อยเพียงใด “การตรวจสอบ-ข้อเสนอแนะ” อาจจะได้บ้างไม่มากก็น้อย รัฐบาลต้อง “ใจกว้าง” เพียงพอในการรับฟัง
อย่างไรก็ตาม ขอฟันธงได้เลยว่า “บรรยากาศ” ของการอภิปรายจะเข้าสู่ทิศทางของ “ความปั่นป่วน” ด้วย “การประท้วง-ตีรวน-ตีกิน” ของทั้งสองฝ่าย เรียกว่า “บรรยากาศน้ำเน่า!” ที่ประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์มรรคผลใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่อาจจะสนุกกับ “ข้อมูลไร้สาระ” ที่แน่นอนต้องมีการฟ้องร้องกันตามมา
ทั้งนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ เราคงจะ “เอือมระอา-เบื่อหน่าย” กับบรรยากาศและสภาพของการอภิปรายที่จะยืดเยื้อยาวนาน และขอย้ำว่า “น้ำเน่า!” ถึง 3 วัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยจะพุ่งเป้าไปที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีฯ ต่างประเทศ คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีฯ คลัง เป็นต้น ส่วนการที่จะเพิ่มรายชื่ออีก 9-10 ท่านหรือไม่นั้น วันนี้ก็จะรู้
เราอย่าเพิ่งเอือมระอาเบื่อหน่าย จนถึงขั้นวิกฤต ทั้งนี้จะ “วิกฤตศรัทธา” ก็จะมีต่อ “นักการเมือง” และ “พฤติกรรม” เท่านั้น ได้โปรดอย่าเลยเถิดไปจนถึงขั้น “วิกฤตศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยฯ” อย่างเด็ดขาด
ปัญหาสำคัญของการอภิปรายไม่ไว้วางใจในระบบการเมืองไทยนั้น มิได้มุ่งเน้น “การตรวจสอบ” เป็น “สรณะ” เพียงแต่ต้องการ “ความสะใจ-ความมัน” พร้อมทั้ง “ข้อกล่าวหา” เท่านั้น เพราะฉะนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่ละครั้ง เราคนไทยมักไม่เคยได้ประโยชน์ใดๆ เลย
คำถามที่อาจจะเป็นคำตอบในตัวของมันเอง ก็คือว่า การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านในครั้งนี้ ใครจะ “ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์” ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
ที่แน่ๆ ประชาชนคนไทยไม่ได้อะไรเลย นอกจากเสียประโยชน์มาโดยตลอด!