นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามในที่ประชุม ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบและนมโรงเรียน โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ไปประชุมร่วมกัน เพื่อหาทางออก และมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ โดยจะมีการประชุมกันในเช้าวันนี้ (4 มี.ค.) จากนั้นช่วงบ่ายของวันเดียวกันตัวแทน ผู้ประกอบธุรกิจนมจะเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้ให้นายกอร์ปศักดิ์ จัดระเบียบปัญหานมทั้งระบบ เพราะเมื่อดูภาพรวมแล้วเห็นว่า ทางรัฐบาลมีความตั้งใจที่กระตุ้นตลาดด้วยการซื้อ โดยเฉพาะเรื่องนมโรงเรียน แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และการขอความร่วมมือจากท้องถิ่น แต่ข้อเท็จจริงคือปัญหานมไม่มีคุณภาพ และการเข้ามาของนมผงนั้นจะทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สัมฤทธ์ผล นอกจากนี้ในช่วงเย็น วันนี้ (4 มี.ค.) จะมีตัวแทนของเกษตรกรมาพบตนที่สภาด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการรื้อระบบนมโรงเรียนใหม่เลยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องแยกกันในส่วนที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายก็ว่าไป แต่ที่จะต้องมาดูระบบใหม่ก็คือ ต้องยกเลิกการจำกัดเรื่องการเข้าไปซื้อขายในส่วนนี้ ซึ่งทำให้มีปัญหานมต่ำกว่ามาตรฐาน และเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำนมดิบด้วย ฉะนั้นโดยหลักต้องรื้ออยู่แล้ว ถ้าขจัดตรงนี้ได้จะแก้ปัญหาได้ 2 ส่วนคือ การซื้อน้ำนมดิบจะง่ายขึ้น และเรื่องคุณภาพจะแก้ไขได้ด้วย
ส่วนสัญญาที่รัฐทำไว้กับเอกชนก่อนหน้านี้ในเรื่องนมโรงเรียนนั้น ตนจะดูรายละเอียดว่าสัญญาผูกมัดแค่ไหนอย่างไรในวันที่ 4 มี.ค.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุม ครม.วานนี้(3 มี.ค.) ระหว่างการหารือ เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบและนมโรงเรียน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อที่ประชุม ครม.ว่า หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขอให้มีการรื้อระบบนมโรงเรียนเพื่อทำการจัดการใหม่ทั้งหมด โดยขอให้ยกเลิกการจัดซื้อน้ำนมดิบทั้งระบบ แล้วหันมาให้ใช้น้ำนมดิบในประเทศแทน
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วย ที่จะให้ยกเลิกการจัดซื้อนมดิบทั้งระบบ แล้วหันมาให้ใช้น้ำนมดิบในประเทศ แต่คงต้อง ให้ฝ่ายที่รับผิดชอบคือทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ดูแล ในเรื่องของโคนม รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ที่นำเข้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดูแลเรื่อง นมโรงเรียนว่ากระบวนการใดที่เป็นปัญหาจนทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น และเชื่อว่าคนทั้งประเทศก็เห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์ต่อเด็กของเรา แต่ทำไมจึงปล่อย ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น
เราต้องยอมรับ พฤติกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง เกือบทุกเรื่อง และมีการฉวยโอกาสทุจริต ทำให้เป็นปัญหาของต้นทุนสินค้านั้น ในที่สุด ต้องไปลดคุณภาพสินค้า เพื่อให้รับได้กับต้นทุนจนกลายเป็นคุณภาพสินค้า ที่ไปถึงเด็กแล้วมีปัญหาเหมือนกรณีนมก็เช่นกัน
ส่วนปัญหาเรื่องการฮั้วประมูลนมโรงเรียนนั้น นายชวน กล่าวว่า ขณะนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่ เพราะฉะนั้นต้องรอสอบข้อเท็จจริงว่า สาเหตุเกิดจากมติ ครม.หรือไม่แต่อย่างน้อย มติ ครม.คงจะเป็นหลักที่วางไว้ แต่หลักการปฏิบัติปัญหาใหญ่คือตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องสมคบกันหาผลประโยชน์นั้น มันก็หนีไม่พ้นที่จะมีเหตุติดตามมา
ผมจึงสนับสนุนให้มีการตรวจสอบทั่วประเทศ เพราะว่าไม่ควรมองข้าม ในเรื่องดังกล่าว เพราะเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก รัฐบาลชุดนี้จะสนับสนุนให้เด็ก ได้ดื่มนมจนถึง ป.6 ด้วยก็จะยิ่งมีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้ให้นายกอร์ปศักดิ์ จัดระเบียบปัญหานมทั้งระบบ เพราะเมื่อดูภาพรวมแล้วเห็นว่า ทางรัฐบาลมีความตั้งใจที่กระตุ้นตลาดด้วยการซื้อ โดยเฉพาะเรื่องนมโรงเรียน แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และการขอความร่วมมือจากท้องถิ่น แต่ข้อเท็จจริงคือปัญหานมไม่มีคุณภาพ และการเข้ามาของนมผงนั้นจะทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สัมฤทธ์ผล นอกจากนี้ในช่วงเย็น วันนี้ (4 มี.ค.) จะมีตัวแทนของเกษตรกรมาพบตนที่สภาด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการรื้อระบบนมโรงเรียนใหม่เลยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องแยกกันในส่วนที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายก็ว่าไป แต่ที่จะต้องมาดูระบบใหม่ก็คือ ต้องยกเลิกการจำกัดเรื่องการเข้าไปซื้อขายในส่วนนี้ ซึ่งทำให้มีปัญหานมต่ำกว่ามาตรฐาน และเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำนมดิบด้วย ฉะนั้นโดยหลักต้องรื้ออยู่แล้ว ถ้าขจัดตรงนี้ได้จะแก้ปัญหาได้ 2 ส่วนคือ การซื้อน้ำนมดิบจะง่ายขึ้น และเรื่องคุณภาพจะแก้ไขได้ด้วย
ส่วนสัญญาที่รัฐทำไว้กับเอกชนก่อนหน้านี้ในเรื่องนมโรงเรียนนั้น ตนจะดูรายละเอียดว่าสัญญาผูกมัดแค่ไหนอย่างไรในวันที่ 4 มี.ค.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุม ครม.วานนี้(3 มี.ค.) ระหว่างการหารือ เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบและนมโรงเรียน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อที่ประชุม ครม.ว่า หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขอให้มีการรื้อระบบนมโรงเรียนเพื่อทำการจัดการใหม่ทั้งหมด โดยขอให้ยกเลิกการจัดซื้อน้ำนมดิบทั้งระบบ แล้วหันมาให้ใช้น้ำนมดิบในประเทศแทน
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วย ที่จะให้ยกเลิกการจัดซื้อนมดิบทั้งระบบ แล้วหันมาให้ใช้น้ำนมดิบในประเทศ แต่คงต้อง ให้ฝ่ายที่รับผิดชอบคือทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ดูแล ในเรื่องของโคนม รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ที่นำเข้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดูแลเรื่อง นมโรงเรียนว่ากระบวนการใดที่เป็นปัญหาจนทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น และเชื่อว่าคนทั้งประเทศก็เห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์ต่อเด็กของเรา แต่ทำไมจึงปล่อย ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น
เราต้องยอมรับ พฤติกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง เกือบทุกเรื่อง และมีการฉวยโอกาสทุจริต ทำให้เป็นปัญหาของต้นทุนสินค้านั้น ในที่สุด ต้องไปลดคุณภาพสินค้า เพื่อให้รับได้กับต้นทุนจนกลายเป็นคุณภาพสินค้า ที่ไปถึงเด็กแล้วมีปัญหาเหมือนกรณีนมก็เช่นกัน
ส่วนปัญหาเรื่องการฮั้วประมูลนมโรงเรียนนั้น นายชวน กล่าวว่า ขณะนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่ เพราะฉะนั้นต้องรอสอบข้อเท็จจริงว่า สาเหตุเกิดจากมติ ครม.หรือไม่แต่อย่างน้อย มติ ครม.คงจะเป็นหลักที่วางไว้ แต่หลักการปฏิบัติปัญหาใหญ่คือตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องสมคบกันหาผลประโยชน์นั้น มันก็หนีไม่พ้นที่จะมีเหตุติดตามมา
ผมจึงสนับสนุนให้มีการตรวจสอบทั่วประเทศ เพราะว่าไม่ควรมองข้าม ในเรื่องดังกล่าว เพราะเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก รัฐบาลชุดนี้จะสนับสนุนให้เด็ก ได้ดื่มนมจนถึง ป.6 ด้วยก็จะยิ่งมีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากขึ้น