ASTVผู้จัดการรายวัน- กกร.เตรียมถกประเด็นนำเสนอนายกฯในเวทีกรอ. 4 มี.ค.เล็งยื่นตั้งคณะทำงานติดตามและทบทวนการทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ หลังยังใช้ศักยภาพไม่เต็มที หวังผลักดันการส่งออกเพิ่ม พร้อมจี้รัฐเร่งสรุปพรบ.ค้าปลีกและค้าส่งโดยเร็วหลังล่าช้ามานาน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) วันที่ 2 มี.ค.จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นที่จะนำเข้าสู่การหารือกับนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) วันที่ 4 มี.ค.โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลตั้งคณะทำงานติดตามและทบทวนเกี่ยวกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอที่ไทยได้ทำกับประเทศต่างๆ ไว้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริงในการส่งเสริมภาคการส่งออกของไทยให้มากขึ้น
“ เอกชนเห็นว่าการทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ นั้นยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดดังนั้นจึงควรตั้งคณะทำงานติดตามและทบทวนการทำเอฟทีเอขึ้นมาดูแล และให้มีการเร่งรัดกรแก้ไขและอุปสรรคกรณีเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่เกี่ยวข้อกับอุตสาหกรรมเหล็กที่ยังไม่มีความชัดเจน เป็นต้น”นายสันติกล่าว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนที่จะหารือเพื่อนำเสนอนายกฯพิจารณาเช่น ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการสรุปว่าด้วยพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งเนื่องจากมีปัญหาความล่าช้ามาค่อนข้างนานแล้วซึ่งหลักการต้องการให้รัฐบาลสรุปเพื่อให้ความชัดเจนว่าค้าปลีกและค้าส่งจะอยู่ด้วยกันอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมสูงสุด รวมไปถึงความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดด้านผังเมืองเพื่อควบคุมการดูแลด้วย
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา ที่พบว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ปี 2484 บังคับให้ผู้ที่จะขนย้ายไม้เพื่อไปแปรรูปจะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ทุกครั้งซึ่งปรากฏว่าไม้ยางพาราแม้จะเป็นไม้พาณิชย์ก็เข้าข่ายนี้ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการนำไปแปรรูปเพื่อป้อนไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงเห็นว่าควรจะทบทวนระเบียบดังกล่าวให้ชัดเจนเพราะเห็นว่าไม้ยางพาราไม่ได้เป็นไม้ที่ต้องสงวนไว้และกฏหมายดังกล่าวก็เก่ามากแล้ว
นายสันติยังกล่าวถึงการหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับการดูแลปัญหาการว่างงานว่า ขณะนี้ได้สรุปแนวทางเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 1,000 ล้านบาทที่จะชะลอการเลิกจ้างงานจำนวน 1.5 แสนคนโดยจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ระยะเวลาการฝึก 7วันต่อคนต่อเดือน ใช้ระยะเวลา 4 เดือน รวมการฝึกอบรม 28 วันต่อคนจ่ายเบี้ยเลี้ยงในวันฝึกอบรมวันละ 200 บาทและค่าบริหารการฝึกเฉลี่ย 1,066 บาทต่อคนซึ่ง ส.อ.ท.จะเป็นหน่วยงานคัดเลือกสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการเลิกจ้าง
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) วันที่ 2 มี.ค.จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นที่จะนำเข้าสู่การหารือกับนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) วันที่ 4 มี.ค.โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลตั้งคณะทำงานติดตามและทบทวนเกี่ยวกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอที่ไทยได้ทำกับประเทศต่างๆ ไว้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริงในการส่งเสริมภาคการส่งออกของไทยให้มากขึ้น
“ เอกชนเห็นว่าการทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ นั้นยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดดังนั้นจึงควรตั้งคณะทำงานติดตามและทบทวนการทำเอฟทีเอขึ้นมาดูแล และให้มีการเร่งรัดกรแก้ไขและอุปสรรคกรณีเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่เกี่ยวข้อกับอุตสาหกรรมเหล็กที่ยังไม่มีความชัดเจน เป็นต้น”นายสันติกล่าว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนที่จะหารือเพื่อนำเสนอนายกฯพิจารณาเช่น ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการสรุปว่าด้วยพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งเนื่องจากมีปัญหาความล่าช้ามาค่อนข้างนานแล้วซึ่งหลักการต้องการให้รัฐบาลสรุปเพื่อให้ความชัดเจนว่าค้าปลีกและค้าส่งจะอยู่ด้วยกันอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมสูงสุด รวมไปถึงความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดด้านผังเมืองเพื่อควบคุมการดูแลด้วย
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา ที่พบว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ปี 2484 บังคับให้ผู้ที่จะขนย้ายไม้เพื่อไปแปรรูปจะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ทุกครั้งซึ่งปรากฏว่าไม้ยางพาราแม้จะเป็นไม้พาณิชย์ก็เข้าข่ายนี้ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการนำไปแปรรูปเพื่อป้อนไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงเห็นว่าควรจะทบทวนระเบียบดังกล่าวให้ชัดเจนเพราะเห็นว่าไม้ยางพาราไม่ได้เป็นไม้ที่ต้องสงวนไว้และกฏหมายดังกล่าวก็เก่ามากแล้ว
นายสันติยังกล่าวถึงการหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับการดูแลปัญหาการว่างงานว่า ขณะนี้ได้สรุปแนวทางเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 1,000 ล้านบาทที่จะชะลอการเลิกจ้างงานจำนวน 1.5 แสนคนโดยจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ระยะเวลาการฝึก 7วันต่อคนต่อเดือน ใช้ระยะเวลา 4 เดือน รวมการฝึกอบรม 28 วันต่อคนจ่ายเบี้ยเลี้ยงในวันฝึกอบรมวันละ 200 บาทและค่าบริหารการฝึกเฉลี่ย 1,066 บาทต่อคนซึ่ง ส.อ.ท.จะเป็นหน่วยงานคัดเลือกสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการเลิกจ้าง