ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.มึนสูตรคำนวณราคาหุ้นกู้เอกชนทำพิษ ฉุดราคาเอ็นเอวีต่ำกว่าความเป็นจริง "วรวรรณ"เผยอยู่ในระหว่างหารือเพื่อแก้ไข หลังพบมีปัญหาจริงในบ้างครั้ง ด้านผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ ยืนยันเป็นไปตามภาวะตลาด เหตุการซื้อขายน้อยส่งผลต่อการกำหนดราคา แต่มั่นใจสูตรที่นำมาใช้เหมาะสมและเป็นมาตรฐานสากล
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมจัดการลงทุน เปิดเผยว่า การกำหนดราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ผ่านมา เท่าที่ทราบมีการปรึกษากันในส่วนของสมาคมว่ามีบ้างครั้งที่การกำหนดราคาผิดเพี้ยนไปบ้างจนทำให้กองทุนได้รับผลกระทบ โดยในส่วนของบลจ.บัวหลวงเองก็เคยประสบปัญหานี้เช่นกันแต่ไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทไม่ค่อยมีการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนมากนัก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสมาคมได้มอบหมายให้ กรรมการในสมาเร่งหาทางออกในเรื่องนี้แล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรคงต้องรอคำตอบอีกครั้งหลังจากนี้
“ตอนนี้ได้มีการมอบหมายให้ กรรมการในสมาคมท่านหนึ่งดูแล ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีการประชุมกับทางก.ล.ต.ไปแล้ว แต่ยังไม่ทราบผลสรุปว่าเป็นอย่างไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง “นางวรวรรณกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายว่า ความสับสนในการกำหนดราคาตราสารหนี้ของภาคเอกชนในครั้งนี้เกิดจากผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน(เอ็นเอวี) ในกรณีที่มีการกำหนดราคาของตราสารหนี้สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมากเกิดขึ้น มูลค่าหน่วยลงทุนจะลดลงมากกว่าความเป็นจริง
ทั้งนี้ มีการเปิดเผยอีกว่า ปัญหาความผิดพลาดในการกำหนดราคาที่กล่าวมาข้างต้นมักจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง โดยเบื้องต้นพบว่า การกำหนดสเปรด(ส่วนต่าง) ของตราสารหนี้มักจะกำหนดจาก เส้นยิลด์เคิฟ (เส้นอัตราผลตอบแทน) ของพันธบัตรรัฐบาลตามอายุของตราสารหนี้ บวกกับ ส่วนต่างหรือคูปอง ของตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาด แต่มีการทราบภายหลังว่า การคำนวณของสมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) จะมีสูตรที่แตกต่างออกไป โดยบางครั้งสูตรที่นำมาคำนวณเส้นอัตราผลตอบแทนจะต่ำกว่า เส้นยิลด์เคิฟ เป็นผลให้ราคาตราสารหนี้เอกชนสูงกว่าความเป็นจริงจนส่งผลกระทบต่อเอ็นเอวีลดต่ำลงกว่าที่กำหนดไว้
“เข้าใจว่ามีการประนีประนอมเพื่อไม่ให้ราคามันสวิงมากเกินไปหรือไม่ แต่เมื่อราคาสูงเกินไปเมื่อนักลงทุนขายหน่วยลงทุนมากๆ มันจะกระทบต่อเอ็นเอวีที่จะลดลงมากกว่าปกติ ขนาดหุ้นกูปตท.รุ่นเดียวกัน เอกับบีแต่ออกมาคนละวันยิลด์ยังแตกต่างกันก็ไม่เข้าใจว่าสูตรที่ใช้กำหนดจากพื้นฐานอะไร”แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน นายวรรธนะ วงศ์ศรีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ตนเองได้รับมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ โดยเมื่อวันพุธ(25 ก.พ.51) ที่ผ่านมาได้เข้าทำการหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับทาง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งได้มีการชี้แจงเบื้องต้น และยืนยันว่าสูตรที่นำมาใช้คำนวณได้พิจารณาอย่างถูกต้องแล้ว โดยเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของทางสมาคมหลังจากการชี้แจงครั้งนี้คงต้องมีการปรึกษากันอีกครั้ง โดยจะนำเรื่องนี้เข้าไปชี้แจงอีกครั้งในการประชุมใหญ่ของสมาคมจัดการลงทุนในวันที่ 11 มีนาคมนี้
“ผมได้รับมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ แต่บลจ.ฟิลลิปที่ผ่านมาไม่มีปัญหาเพราะไม่มีกองทุนไหนลงทุนในหุ้นกูเอกชนเลย แต่ก็ได้ทราบเรื่องมาพอสมควร และพอเข้าใจในสิ่งที่มีการชี้แจง แต่เชื่อว่าปัญหายังต้องมีอยู่ และไม่รู้ว่าจะต้องปล่อยให้เกิดขึ้นแบบตรงๆ แล้วค่อยมาแก้ไขหรืออย่างไร”นายวรรธนะกล่าว
ด้าน นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า เรื่องที่เกิดขึ้นต้องชี้แจง น่าจะเป็นเรื่องของสภาวะตลาดเนื่องจากสภาพคล่องของหุ้นกูเอกชนในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย ทำให้กำหนดราคาในการซื้อขายตราสารหนี้ลำบาก ซึ่งแต่เดิมดีลเลอร์แต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดราคาซึ่งอาจทำให้ราคาสวิง หรือ ผันผวนมากเกินไป
“ปัญหาของบอนด์เอกชนคือมันจะไม่เพอร์เฟ็กต์ ซึ่งหุ้นกูบ้านเรามีน้อยออกมาแค่ 2-3 พันล้าน และอยู่ในมือนักลงทุนหมด โดยไม่ค่อยมีการซื้อขายซึ่งจะทำให้ยากต่อการกำหนดราคามาก แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาแค่เพียงในประเทศไทย เพราะเป็นปัญหาของทั่วโลก ซื่งในสหรัฐมีหุ้นกู้เป็นพันล้านตัว แต่ซื้อขายกันแค่ 2 หมื่นกว่าตัวทำให้โค้ตราคายากกว่าบ้านเราเสียอีก”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับการกำหนดราคาหุ้นกู้ในประเทศไทย ทางสมาคมฯจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งสูตรที่นำมาใช้คำนวณเป็นสูตรสากลที่ทั่วโลกใช้ และเชื่อว่าน่าจะมีความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยต้องยอมรับด้วยว่าตามธรรมชาติแล้วมันคงไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ แต่คาดว่าน่าจะเป็นการดีกว่าเดิมที่ต่างคนต่างโค้ตราคา ที่อาจความผิดพลาดได้มากกว่า
“มันเป็นไปตามสภาวะตลาดซึ่งหากกำหนดวันนี้แล้วจะมาขายพรุ่งนี้โดยที่จะได้ราคาเดิมคงเป็นไปไม่ได้ มันต้องไปตามนั้นซี่งเราเชื่อว่าน่าจะมีความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการชี้แจงเรื่องนี้ให้ทราบไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา”นายณัฐพลกล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมจัดการลงทุน เปิดเผยว่า การกำหนดราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ผ่านมา เท่าที่ทราบมีการปรึกษากันในส่วนของสมาคมว่ามีบ้างครั้งที่การกำหนดราคาผิดเพี้ยนไปบ้างจนทำให้กองทุนได้รับผลกระทบ โดยในส่วนของบลจ.บัวหลวงเองก็เคยประสบปัญหานี้เช่นกันแต่ไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทไม่ค่อยมีการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนมากนัก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสมาคมได้มอบหมายให้ กรรมการในสมาเร่งหาทางออกในเรื่องนี้แล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรคงต้องรอคำตอบอีกครั้งหลังจากนี้
“ตอนนี้ได้มีการมอบหมายให้ กรรมการในสมาคมท่านหนึ่งดูแล ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีการประชุมกับทางก.ล.ต.ไปแล้ว แต่ยังไม่ทราบผลสรุปว่าเป็นอย่างไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง “นางวรวรรณกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายว่า ความสับสนในการกำหนดราคาตราสารหนี้ของภาคเอกชนในครั้งนี้เกิดจากผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน(เอ็นเอวี) ในกรณีที่มีการกำหนดราคาของตราสารหนี้สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมากเกิดขึ้น มูลค่าหน่วยลงทุนจะลดลงมากกว่าความเป็นจริง
ทั้งนี้ มีการเปิดเผยอีกว่า ปัญหาความผิดพลาดในการกำหนดราคาที่กล่าวมาข้างต้นมักจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง โดยเบื้องต้นพบว่า การกำหนดสเปรด(ส่วนต่าง) ของตราสารหนี้มักจะกำหนดจาก เส้นยิลด์เคิฟ (เส้นอัตราผลตอบแทน) ของพันธบัตรรัฐบาลตามอายุของตราสารหนี้ บวกกับ ส่วนต่างหรือคูปอง ของตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาด แต่มีการทราบภายหลังว่า การคำนวณของสมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) จะมีสูตรที่แตกต่างออกไป โดยบางครั้งสูตรที่นำมาคำนวณเส้นอัตราผลตอบแทนจะต่ำกว่า เส้นยิลด์เคิฟ เป็นผลให้ราคาตราสารหนี้เอกชนสูงกว่าความเป็นจริงจนส่งผลกระทบต่อเอ็นเอวีลดต่ำลงกว่าที่กำหนดไว้
“เข้าใจว่ามีการประนีประนอมเพื่อไม่ให้ราคามันสวิงมากเกินไปหรือไม่ แต่เมื่อราคาสูงเกินไปเมื่อนักลงทุนขายหน่วยลงทุนมากๆ มันจะกระทบต่อเอ็นเอวีที่จะลดลงมากกว่าปกติ ขนาดหุ้นกูปตท.รุ่นเดียวกัน เอกับบีแต่ออกมาคนละวันยิลด์ยังแตกต่างกันก็ไม่เข้าใจว่าสูตรที่ใช้กำหนดจากพื้นฐานอะไร”แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน นายวรรธนะ วงศ์ศรีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ตนเองได้รับมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ โดยเมื่อวันพุธ(25 ก.พ.51) ที่ผ่านมาได้เข้าทำการหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับทาง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งได้มีการชี้แจงเบื้องต้น และยืนยันว่าสูตรที่นำมาใช้คำนวณได้พิจารณาอย่างถูกต้องแล้ว โดยเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของทางสมาคมหลังจากการชี้แจงครั้งนี้คงต้องมีการปรึกษากันอีกครั้ง โดยจะนำเรื่องนี้เข้าไปชี้แจงอีกครั้งในการประชุมใหญ่ของสมาคมจัดการลงทุนในวันที่ 11 มีนาคมนี้
“ผมได้รับมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ แต่บลจ.ฟิลลิปที่ผ่านมาไม่มีปัญหาเพราะไม่มีกองทุนไหนลงทุนในหุ้นกูเอกชนเลย แต่ก็ได้ทราบเรื่องมาพอสมควร และพอเข้าใจในสิ่งที่มีการชี้แจง แต่เชื่อว่าปัญหายังต้องมีอยู่ และไม่รู้ว่าจะต้องปล่อยให้เกิดขึ้นแบบตรงๆ แล้วค่อยมาแก้ไขหรืออย่างไร”นายวรรธนะกล่าว
ด้าน นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า เรื่องที่เกิดขึ้นต้องชี้แจง น่าจะเป็นเรื่องของสภาวะตลาดเนื่องจากสภาพคล่องของหุ้นกูเอกชนในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย ทำให้กำหนดราคาในการซื้อขายตราสารหนี้ลำบาก ซึ่งแต่เดิมดีลเลอร์แต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดราคาซึ่งอาจทำให้ราคาสวิง หรือ ผันผวนมากเกินไป
“ปัญหาของบอนด์เอกชนคือมันจะไม่เพอร์เฟ็กต์ ซึ่งหุ้นกูบ้านเรามีน้อยออกมาแค่ 2-3 พันล้าน และอยู่ในมือนักลงทุนหมด โดยไม่ค่อยมีการซื้อขายซึ่งจะทำให้ยากต่อการกำหนดราคามาก แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาแค่เพียงในประเทศไทย เพราะเป็นปัญหาของทั่วโลก ซื่งในสหรัฐมีหุ้นกู้เป็นพันล้านตัว แต่ซื้อขายกันแค่ 2 หมื่นกว่าตัวทำให้โค้ตราคายากกว่าบ้านเราเสียอีก”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับการกำหนดราคาหุ้นกู้ในประเทศไทย ทางสมาคมฯจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งสูตรที่นำมาใช้คำนวณเป็นสูตรสากลที่ทั่วโลกใช้ และเชื่อว่าน่าจะมีความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยต้องยอมรับด้วยว่าตามธรรมชาติแล้วมันคงไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ แต่คาดว่าน่าจะเป็นการดีกว่าเดิมที่ต่างคนต่างโค้ตราคา ที่อาจความผิดพลาดได้มากกว่า
“มันเป็นไปตามสภาวะตลาดซึ่งหากกำหนดวันนี้แล้วจะมาขายพรุ่งนี้โดยที่จะได้ราคาเดิมคงเป็นไปไม่ได้ มันต้องไปตามนั้นซี่งเราเชื่อว่าน่าจะมีความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการชี้แจงเรื่องนี้ให้ทราบไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา”นายณัฐพลกล่าว