รอยเตอร์ – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เสนอแผนงบประมาณที่คาดการณ์ว่าจะต้องมีการขาดดุลงบประมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเขาปรเกาศยับยั้งการทรุดตัวทางเศรษฐกิจแ ละปรับโครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพอย่างขนานใหญ่.
แผนงบประมาณฉบับใหม่ของประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี(26)ที่ผ่านมา คาดการณ์ไว้ว่า ปีงบประมาณ 2009 (ต.ค.08-ก.ย.09 ) นี้จะขาดดุลงบประมาณสูงถึง 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 12.3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นยอดการขาดดุลงบประมาณสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา ขณะที่ งบประมาณปี 2010 จะขาดดุลลดลงเหลือเพียง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ .
อย่างไรก็ตาม แผนงบประมาณฉบับแรกของประธานาธิบดีโอบามาสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบาย ให้เป็นไปตามที่เคยประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งก่อนเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โดยจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีจากคนร่ำรวยเพื่อใช้จ่ายในโครงการดูแลสุขภาพ การศึกษา การแก้ไขปัญหาโลกร้อน และโครงการสวัสดิการสังคมอื่น ๆ
คาดกันว่าแผนงบประมาณฉบับนี้จะต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส หลังจากรัฐบาลต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับการให้ความช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งประสบปัญหาจากการทรุดตัวทางเศรษฐกิจ
แม้แผนงบประมาณฉบับใหม่จะมียอดขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ประธานาธิบดีโอบามาก็ยืนยันว่า จะเร่งปรับลดการขาดดุลงบประมาณลงตามที่เคยประกาศนโยบายไว้ ขณะที่ฝ่ายรีพับลิกันเปิดฉากโจมตีว่า เป็นการเริ่มต้นใช้จ่ายอย่างมือเติบตามที่เคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้
จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯกล่าวว่า แผนงบประมาณของประธานาธิบดีโอบามา เป็นการสร้างภาระให้แก่ลูกหลาน เหลน โหลนชาวอเมริกัน โดยไม่ยอมรับความเป็นจริงว่ารัฐบาลกำลังถังแตก
การประกาศแผนงบประมาณฉบับใหม่ทำให้ราคาหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลอ่อนตัวลงทันทีเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับตัวเลขหนี้สาธารณะ ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มธุรกิจประกันสุขภาพและบริษัทผู้ผลิตยา ดิ่งลงอย่างรุนแรงเพราะรัฐบาลมีแผนจะให้สวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม
ทางด้านแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต แสดงความชื่นชมแผนงบประมาณฉบับใหม่ของประธานาธิบดีโอบามา โดยกล่าวตอบโต้การโจมตีของฝ่ายรีพับลิกันว่า รากเหง้าของการขาดดุลงบประมาณเกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
แผนงบประมาณของประธานาธิบดีโอบามา จะขยายโครงการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุมชาวอเมริกัน 46 ล้านคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ โดยจะปรับโครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพด้วยงบประมาณ 634,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี และปรับขึ้นภาษีเงินได้ของคนที่มีรายได้สูงกว่า 250,000 ดอลลาร์ต่อปี เพื่อนำมาใช้อุดหนุนโครงการดังกล่าว
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีแผนจะใช้งบประมาณ 750,000 ล้านดอลลาร์ ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ของพวกแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงเพราะหนี้เสียจากตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์เป็นยอดเงินทั้งสิ้นประมาณ 250,000 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโอบามายังได้เสนองบประมาณสนับสนุนการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นอีก 75,500 ล้านดอลลาร์ สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ยอดงบประมาณทางทหารในปีงบประมาณปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะปรับลดลงเหลือ 130,000 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2010 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคมปีนี้
ในปีงบประมาณ 2008 นั้น รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ใช้งบประมาณสนับสนุนการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานเป็นยอดสูงถึง 190,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายบอกว่า จากยอดงบประมาณ ดูเหมือนโอบามาน่าจะออกคำสั่งให้ทหารหน่วยสู้รบของสหรัฐฯทั้งหมดถอนตัวออกจากอิรักภายในระยะเวลา 18 เดือน โดยในเวลาเดียวกัน เขาก็จะสั่งเพิ่มความพยายามทางทหารในอัฟกานิสถาน
แผนงบประมาณฉบับใหม่ของประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี(26)ที่ผ่านมา คาดการณ์ไว้ว่า ปีงบประมาณ 2009 (ต.ค.08-ก.ย.09 ) นี้จะขาดดุลงบประมาณสูงถึง 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 12.3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นยอดการขาดดุลงบประมาณสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา ขณะที่ งบประมาณปี 2010 จะขาดดุลลดลงเหลือเพียง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ .
อย่างไรก็ตาม แผนงบประมาณฉบับแรกของประธานาธิบดีโอบามาสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบาย ให้เป็นไปตามที่เคยประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งก่อนเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โดยจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีจากคนร่ำรวยเพื่อใช้จ่ายในโครงการดูแลสุขภาพ การศึกษา การแก้ไขปัญหาโลกร้อน และโครงการสวัสดิการสังคมอื่น ๆ
คาดกันว่าแผนงบประมาณฉบับนี้จะต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส หลังจากรัฐบาลต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับการให้ความช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งประสบปัญหาจากการทรุดตัวทางเศรษฐกิจ
แม้แผนงบประมาณฉบับใหม่จะมียอดขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ประธานาธิบดีโอบามาก็ยืนยันว่า จะเร่งปรับลดการขาดดุลงบประมาณลงตามที่เคยประกาศนโยบายไว้ ขณะที่ฝ่ายรีพับลิกันเปิดฉากโจมตีว่า เป็นการเริ่มต้นใช้จ่ายอย่างมือเติบตามที่เคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้
จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯกล่าวว่า แผนงบประมาณของประธานาธิบดีโอบามา เป็นการสร้างภาระให้แก่ลูกหลาน เหลน โหลนชาวอเมริกัน โดยไม่ยอมรับความเป็นจริงว่ารัฐบาลกำลังถังแตก
การประกาศแผนงบประมาณฉบับใหม่ทำให้ราคาหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลอ่อนตัวลงทันทีเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับตัวเลขหนี้สาธารณะ ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มธุรกิจประกันสุขภาพและบริษัทผู้ผลิตยา ดิ่งลงอย่างรุนแรงเพราะรัฐบาลมีแผนจะให้สวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม
ทางด้านแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต แสดงความชื่นชมแผนงบประมาณฉบับใหม่ของประธานาธิบดีโอบามา โดยกล่าวตอบโต้การโจมตีของฝ่ายรีพับลิกันว่า รากเหง้าของการขาดดุลงบประมาณเกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
แผนงบประมาณของประธานาธิบดีโอบามา จะขยายโครงการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุมชาวอเมริกัน 46 ล้านคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ โดยจะปรับโครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพด้วยงบประมาณ 634,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี และปรับขึ้นภาษีเงินได้ของคนที่มีรายได้สูงกว่า 250,000 ดอลลาร์ต่อปี เพื่อนำมาใช้อุดหนุนโครงการดังกล่าว
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีแผนจะใช้งบประมาณ 750,000 ล้านดอลลาร์ ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ของพวกแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงเพราะหนี้เสียจากตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์เป็นยอดเงินทั้งสิ้นประมาณ 250,000 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโอบามายังได้เสนองบประมาณสนับสนุนการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นอีก 75,500 ล้านดอลลาร์ สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ยอดงบประมาณทางทหารในปีงบประมาณปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะปรับลดลงเหลือ 130,000 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2010 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคมปีนี้
ในปีงบประมาณ 2008 นั้น รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ใช้งบประมาณสนับสนุนการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานเป็นยอดสูงถึง 190,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายบอกว่า จากยอดงบประมาณ ดูเหมือนโอบามาน่าจะออกคำสั่งให้ทหารหน่วยสู้รบของสหรัฐฯทั้งหมดถอนตัวออกจากอิรักภายในระยะเวลา 18 เดือน โดยในเวลาเดียวกัน เขาก็จะสั่งเพิ่มความพยายามทางทหารในอัฟกานิสถาน