ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เตรียมทบทวนธุรกิจบัญชี 3 ภายใต้กฎหมายคนต่างด้าวเร็วๆ นี้ จ่อเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจได้สูงถึง 39 ธุรกิจ วางเกณฑ์ธุรกิจไหนพร้อมก็ปล่อย ไม่พร้อมมีระยะเวลาให้ปรับตัว ส่วนธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะหรือหน่วยงานเฉพาะดูแล จะเลิกคุม “คณิสสร”ยันไม่มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างด้าวช่วงนี้
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนธุรกิจที่จะเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ ตามบัญชีแนบท้าย 3 ของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในประกอบธุรกิจ และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
โดยการทบทวนธุรกิจตามบัญชี 3 จะมีการพิจารณาข้อเสนอของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ที่กรมฯ ได้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาธุรกิจที่มีความพร้อมในการเปิดเสรี 17 ธุรกิจ ได้แก่ 1.การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม 2.การก่อสร้าง 3.การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน 4.การค้าปลีก 5.การค้าส่ง 6.การทำกิจการโฆษณา 7.การทำกิจการโรงแรม 8.การขายอาหารและเครื่องดื่ม 9.การบริการด้านคอมพิวเตอร์ 10.การบริหารงานควบคุมคลังสินค้าและบริหารงานขนส่งภายใน 11.การบริหารให้คำปรึกษาทางธุรกิจและการจัดการ 12.ธุรกิจโรงเรียน 13.ธุรกิจด้านบันเทิงหรือโรงมหรสพ 14.การขายทอดตลาด 15.การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช 16.การค้าภายในผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และ 17.ธุรกิจโรงรับจำนำ
“ใน 17 ธุรกิจนี้ จะมีการพิจารณาว่าจะมีการเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจได้หรือไม่ หรือยังไม่ควรอนุญาต ซึ่งตามข้อเสนอของสวค. ได้เสนอแนวทางในการเปิดเสรีไว้ 3-4 แนวทาง คือ ธุรกิจ 1-13 พร้อมจะเปิดเสรีภายใน 3 ปี ธุรกิจลำดับที่ 14-15 พร้อมใน 4-6 ปี ธุรกิจลำดับที่ 16 พร้อมภายใน 7 ปีหรือมากกว่า และธุรกิจลำดับที่ 17 ไม่ควรเปิดเสรีเลย ซึ่งในการพิจารณาธุรกิจที่จะเปิดเสรีนี้ ได้ยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความสามารถของผู้ประกอบการ และข้อตกลงที่ไทยได้ไปเจรจาการค้าภายในกรอบการค้าต่างๆ ประกอบ ส่วนการพิจารณาจะอนุญาตตามที่มีการเสนอมาหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณา”นายคณิสสรกล่าว
ขณะเดียวกัน จะมีอีก 5 ธุรกิจที่กรมฯ ได้ขอให้สวค. ทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าควรจะมีการเปิดเสรีหรือไม่ ได้แก่ สำนักงานผู้แทนสำนักงานภูมิภาค บริการให้คำปรึกษาการบริหารจัดการธุรกิจ บริษัทในกลุ่มในเครือ ธุรกิจรับจ้างผลิต และธุรกิจทุนออกเงินกู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษา
สำหรับธุรกิจธุรกิจที่มีหน่วยงานเฉพาะ หรือมีกฎหมายเฉพาะดูแลอยู่ จะให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเป็นผู้พิจารณา และอนุญาต ไม่ต้องมาขออนุญาตกับกรมฯ อีก เหลือเพียงแค่แจ้งให้กรมฯ รับทราบ เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อน จำนวน 20 ธุรกิจ ได้แก่ 1.การธนาคารพาณิชย์ 2.การทำกิจการให้กู้ยืม 3.การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย 4.การทำกิจการโรงรับจำนำ 5.การทำกิจการคลังสินค้า 6.การทำกิจการโรงเรียน 7.การทำกิจการโรงมหรสพ 8.การค้าหลักทรัพย์ 9.การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 10.การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน 11.การจัดการกองทุนรวม 12.การจัดการกองทุนส่วนบุคคล 13.การเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 14.การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ 15.การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ 16.การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ 17.การเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ และการเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด 18.การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 19.การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และ20. การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ทั้งนี้ ธุรกิจในบัญชี 3 ที่จะมีการพิจารณาเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ แยกเป็นธุรกิจที่สวค.ศึกษาครั้งแรก 17 ธุรกิจ ครั้งที่ 2 จำนวน 5 ธุรกิจ และธุรกิจที่มีกฎหมายหรือหน่วยงานเฉพาะดูแล 20 ธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 42 ธุรกิจ แต่ในจำนวนนี้มีธุรกิจที่ซ้ำกัน 3 ธุรกิจ ทำให้มีธุรกิจที่จะพิจาณาเปิดเสรีเหลือเพียงแค่ 39 ธุรกิจ
นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในบัญชีแนบท้ายใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในแต่ละธุรกิจ เพราะหากกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เพียงหลักเกณฑ์เดียว จะทำให้ทุกธุรกิจอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันหมด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุน
นายคณิสสรกล่าวว่า ส่วนการปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 นั้น จะยังไม่มีการพิจารณาแก้ไขในขณะนี้ แต่จะมีการปรับปรุงบัญชีแนบท้าย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมทั้งการปรับปรุงเงื่อนไขในการเข้ามาประกอบธุรกิจ และการขออนุญาตให้กระทำได้ง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น แต่ทั้งนี้ จะยึดหลักการพิจารณาที่ว่าธุรกิจที่จะเปิดเสรี จะต้องเป็นธุรกิจที่คนไทยแข่งขันได้แล้ว ส่วนที่ยังแข่งขันไม่ได้ จะยังไม่มีการเปิดเสรี
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนธุรกิจที่จะเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ ตามบัญชีแนบท้าย 3 ของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในประกอบธุรกิจ และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
โดยการทบทวนธุรกิจตามบัญชี 3 จะมีการพิจารณาข้อเสนอของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ที่กรมฯ ได้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาธุรกิจที่มีความพร้อมในการเปิดเสรี 17 ธุรกิจ ได้แก่ 1.การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม 2.การก่อสร้าง 3.การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน 4.การค้าปลีก 5.การค้าส่ง 6.การทำกิจการโฆษณา 7.การทำกิจการโรงแรม 8.การขายอาหารและเครื่องดื่ม 9.การบริการด้านคอมพิวเตอร์ 10.การบริหารงานควบคุมคลังสินค้าและบริหารงานขนส่งภายใน 11.การบริหารให้คำปรึกษาทางธุรกิจและการจัดการ 12.ธุรกิจโรงเรียน 13.ธุรกิจด้านบันเทิงหรือโรงมหรสพ 14.การขายทอดตลาด 15.การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช 16.การค้าภายในผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และ 17.ธุรกิจโรงรับจำนำ
“ใน 17 ธุรกิจนี้ จะมีการพิจารณาว่าจะมีการเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจได้หรือไม่ หรือยังไม่ควรอนุญาต ซึ่งตามข้อเสนอของสวค. ได้เสนอแนวทางในการเปิดเสรีไว้ 3-4 แนวทาง คือ ธุรกิจ 1-13 พร้อมจะเปิดเสรีภายใน 3 ปี ธุรกิจลำดับที่ 14-15 พร้อมใน 4-6 ปี ธุรกิจลำดับที่ 16 พร้อมภายใน 7 ปีหรือมากกว่า และธุรกิจลำดับที่ 17 ไม่ควรเปิดเสรีเลย ซึ่งในการพิจารณาธุรกิจที่จะเปิดเสรีนี้ ได้ยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความสามารถของผู้ประกอบการ และข้อตกลงที่ไทยได้ไปเจรจาการค้าภายในกรอบการค้าต่างๆ ประกอบ ส่วนการพิจารณาจะอนุญาตตามที่มีการเสนอมาหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณา”นายคณิสสรกล่าว
ขณะเดียวกัน จะมีอีก 5 ธุรกิจที่กรมฯ ได้ขอให้สวค. ทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าควรจะมีการเปิดเสรีหรือไม่ ได้แก่ สำนักงานผู้แทนสำนักงานภูมิภาค บริการให้คำปรึกษาการบริหารจัดการธุรกิจ บริษัทในกลุ่มในเครือ ธุรกิจรับจ้างผลิต และธุรกิจทุนออกเงินกู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษา
สำหรับธุรกิจธุรกิจที่มีหน่วยงานเฉพาะ หรือมีกฎหมายเฉพาะดูแลอยู่ จะให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเป็นผู้พิจารณา และอนุญาต ไม่ต้องมาขออนุญาตกับกรมฯ อีก เหลือเพียงแค่แจ้งให้กรมฯ รับทราบ เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อน จำนวน 20 ธุรกิจ ได้แก่ 1.การธนาคารพาณิชย์ 2.การทำกิจการให้กู้ยืม 3.การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย 4.การทำกิจการโรงรับจำนำ 5.การทำกิจการคลังสินค้า 6.การทำกิจการโรงเรียน 7.การทำกิจการโรงมหรสพ 8.การค้าหลักทรัพย์ 9.การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 10.การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน 11.การจัดการกองทุนรวม 12.การจัดการกองทุนส่วนบุคคล 13.การเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 14.การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ 15.การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ 16.การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ 17.การเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ และการเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด 18.การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 19.การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และ20. การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ทั้งนี้ ธุรกิจในบัญชี 3 ที่จะมีการพิจารณาเปิดเสรีให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจ แยกเป็นธุรกิจที่สวค.ศึกษาครั้งแรก 17 ธุรกิจ ครั้งที่ 2 จำนวน 5 ธุรกิจ และธุรกิจที่มีกฎหมายหรือหน่วยงานเฉพาะดูแล 20 ธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 42 ธุรกิจ แต่ในจำนวนนี้มีธุรกิจที่ซ้ำกัน 3 ธุรกิจ ทำให้มีธุรกิจที่จะพิจาณาเปิดเสรีเหลือเพียงแค่ 39 ธุรกิจ
นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในบัญชีแนบท้ายใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในแต่ละธุรกิจ เพราะหากกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เพียงหลักเกณฑ์เดียว จะทำให้ทุกธุรกิจอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันหมด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุน
นายคณิสสรกล่าวว่า ส่วนการปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 นั้น จะยังไม่มีการพิจารณาแก้ไขในขณะนี้ แต่จะมีการปรับปรุงบัญชีแนบท้าย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมทั้งการปรับปรุงเงื่อนไขในการเข้ามาประกอบธุรกิจ และการขออนุญาตให้กระทำได้ง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น แต่ทั้งนี้ จะยึดหลักการพิจารณาที่ว่าธุรกิจที่จะเปิดเสรี จะต้องเป็นธุรกิจที่คนไทยแข่งขันได้แล้ว ส่วนที่ยังแข่งขันไม่ได้ จะยังไม่มีการเปิดเสรี