ASTVผู้จัดการรายวัน-จับตาอาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 เตือน 4 อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการบิน และโลจิสติกส์ ส่อแววพังพาบ เหตุจะถูกเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ตีตลาด แนะรัฐทำแผนคุ้มกันด่วน เตือนรัฐ รับมือสินค้าเกษตรเพื่อนบ้าน แห่สวมสิทธิเข้าโครงการจำนำแน่ ห่วงชาติที่สาม ใช้ช่องว่างผูดขาดธุรกิจไทย
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าและบริการไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ผู้ประกอบการไทยใน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการบิน และโลจิสติกส์ ต้องเร่งปรับตัวรับมือการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย แซงหน้าและยึดตลาดการค้าได้ เพราะปัจจุบันประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมาก ซึ่งไทยยังมีศักยภาพเป็นรองอยู่
“หากไม่เร่งปรับตัว ต่อไปคงสู้ไม่ได้และอาจต้องเสียตลาด รวมถึงจะถูกสินค้าและบริการจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งออกเข้ามาตีตลาดภายในไทย เพราะประเทศเหล่านี้มีสินค้าคุณภาพดีและต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น รัฐบาลต้องวางแผนจัดทำแผนยุทธศาสตร์รับมือ เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 ปี ยังมีเวลาปรับตัวได้ทัน ส่วนอีก 8 อุตสาหกรรมที่จะมีการเปิดเสรีพร้อมกันนั้น ในภาพรวมไทยยังมีศักยภาพแข่งขันได้ดี ทั้งผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม บริการด้านสุขภาพ และบริการการท่องเที่ยว”นายอัทธ์กล่าว
สำหรับนโยบายที่ภาครัฐควรสนับสนุน สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อลดต้นทุนการขนส่งไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง การสนับสนุนกฎหมาย และยกเว้นภาษีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรศึกษาพื้นฐานโครงค่าย (บอร์ดแบรนด์) ของประเทศเพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์ของอาเซียน ขณะที่บริการการบิน รัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ การพัฒนาสถาบันการบินพลเรือน และธุรกิจบริการโลจิสติกส์ แม้ไทยมีความเข็มแข็งด้านขนส่งทางบก แต่มีจุดอ่อนด้านโลจิสติกส์ทางน้ำ รัฐจึงให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยปรับตัว การทำความเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ และปรับปรุงการเดินรถระบบรางให้มีประสิทธิภาพ
นายอัทธ์กล่าวว่า การรวมตัวเป็นเออีซี เป็นทั้งโอกาสและช่องว่างที่กระทบต่ออุตสาหกรรมไทย หากเตรียมพร้อมดีจะมีประโยชน์ต่อการขยายการค้าการลงทุนมาก เพราะเมื่ออาเซียนรวมตัวกันจะมีขนาดเศรษฐกิจ 1,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีการลงทุนปี 50 มูลค่า 2,803 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากร 575 ล้านคน และประเมินว่าหลังความร่วมมือเออีซีมูลค่าการส่งออกไทยไปอาเซียนจะเพิ่มจาก 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน เป็น 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.4%
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนากลุ่มสินค้าเกษตร และการท่องเที่ยว ให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนให้ได้เมื่อมีการเปิดเออีซี เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยพึ่งพาสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้ ต้องการให้รัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบบริหารสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวเพื่อรับการลดภาษีเหลือ 0% ในปีหน้า ทั้งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และการอุดหนุนจากภาครัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่า เข้ามาตีตลาดและสวมสิทธิ์เข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาลไทย เช่น ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน
ส่วนความร่วมมือด้านการลงทุน กังวลว่ามีช่องโหว่ผู้เกี่ยวข้องกับข้อตกลงในอาเซียน เพราะเบื้องต้นอาเซียนกำหนดให้สมาชิกลงทุนระหว่างกันได้โดยมีความเป็นเจ้าของได้ถึง 70% นั้น ส่วนประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ที่กำหนดให้ประเทศที่หนึ่งที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่สองมีสถานะเทียบกับประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งอาจทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ในชาติที่สาม ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน ฉวยโอกาสเข้ามาลงทุนในกลุ่มสมาชิกได้
"ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนนี้ประเทศลงทุนที่หนึ่ง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามได้ ทำให้ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนที่ได้รับสิทธิลงทุนจากสมาชิกอาเซียนบางประเทศสามารถเข้าไปลงทุนในอาเซียนอื่นๆ เช่น สหรัฐ ที่แข็งแกร่งด้านบริการโทรคมนาคม เข้าไปลงทุนในสิงคโปร์ก็มีสถานะเป็นนักลงทุนสิงคโปร์จึง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นได้ด้วย เมื่อถึงเวลานั้นด้วยขีดความสามารถและเม็ดเงินมหาศาลในธุรกิจจากสหรัฐจะทำให้ธุรกิจท้องถิ่นอาเซียนไม่สามารถแข่งขันได้และเกิดการผูกขาดในที่สุด”นายพรศิลป์กล่าว
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าและบริการไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ผู้ประกอบการไทยใน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการบิน และโลจิสติกส์ ต้องเร่งปรับตัวรับมือการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย แซงหน้าและยึดตลาดการค้าได้ เพราะปัจจุบันประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมาก ซึ่งไทยยังมีศักยภาพเป็นรองอยู่
“หากไม่เร่งปรับตัว ต่อไปคงสู้ไม่ได้และอาจต้องเสียตลาด รวมถึงจะถูกสินค้าและบริการจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งออกเข้ามาตีตลาดภายในไทย เพราะประเทศเหล่านี้มีสินค้าคุณภาพดีและต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น รัฐบาลต้องวางแผนจัดทำแผนยุทธศาสตร์รับมือ เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 ปี ยังมีเวลาปรับตัวได้ทัน ส่วนอีก 8 อุตสาหกรรมที่จะมีการเปิดเสรีพร้อมกันนั้น ในภาพรวมไทยยังมีศักยภาพแข่งขันได้ดี ทั้งผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม บริการด้านสุขภาพ และบริการการท่องเที่ยว”นายอัทธ์กล่าว
สำหรับนโยบายที่ภาครัฐควรสนับสนุน สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อลดต้นทุนการขนส่งไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง การสนับสนุนกฎหมาย และยกเว้นภาษีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรศึกษาพื้นฐานโครงค่าย (บอร์ดแบรนด์) ของประเทศเพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์ของอาเซียน ขณะที่บริการการบิน รัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ การพัฒนาสถาบันการบินพลเรือน และธุรกิจบริการโลจิสติกส์ แม้ไทยมีความเข็มแข็งด้านขนส่งทางบก แต่มีจุดอ่อนด้านโลจิสติกส์ทางน้ำ รัฐจึงให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยปรับตัว การทำความเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ และปรับปรุงการเดินรถระบบรางให้มีประสิทธิภาพ
นายอัทธ์กล่าวว่า การรวมตัวเป็นเออีซี เป็นทั้งโอกาสและช่องว่างที่กระทบต่ออุตสาหกรรมไทย หากเตรียมพร้อมดีจะมีประโยชน์ต่อการขยายการค้าการลงทุนมาก เพราะเมื่ออาเซียนรวมตัวกันจะมีขนาดเศรษฐกิจ 1,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีการลงทุนปี 50 มูลค่า 2,803 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากร 575 ล้านคน และประเมินว่าหลังความร่วมมือเออีซีมูลค่าการส่งออกไทยไปอาเซียนจะเพิ่มจาก 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน เป็น 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.4%
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนากลุ่มสินค้าเกษตร และการท่องเที่ยว ให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนให้ได้เมื่อมีการเปิดเออีซี เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยพึ่งพาสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้ ต้องการให้รัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบบริหารสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวเพื่อรับการลดภาษีเหลือ 0% ในปีหน้า ทั้งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และการอุดหนุนจากภาครัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่า เข้ามาตีตลาดและสวมสิทธิ์เข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาลไทย เช่น ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน
ส่วนความร่วมมือด้านการลงทุน กังวลว่ามีช่องโหว่ผู้เกี่ยวข้องกับข้อตกลงในอาเซียน เพราะเบื้องต้นอาเซียนกำหนดให้สมาชิกลงทุนระหว่างกันได้โดยมีความเป็นเจ้าของได้ถึง 70% นั้น ส่วนประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ที่กำหนดให้ประเทศที่หนึ่งที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่สองมีสถานะเทียบกับประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งอาจทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ในชาติที่สาม ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน ฉวยโอกาสเข้ามาลงทุนในกลุ่มสมาชิกได้
"ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนนี้ประเทศลงทุนที่หนึ่ง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามได้ ทำให้ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนที่ได้รับสิทธิลงทุนจากสมาชิกอาเซียนบางประเทศสามารถเข้าไปลงทุนในอาเซียนอื่นๆ เช่น สหรัฐ ที่แข็งแกร่งด้านบริการโทรคมนาคม เข้าไปลงทุนในสิงคโปร์ก็มีสถานะเป็นนักลงทุนสิงคโปร์จึง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นได้ด้วย เมื่อถึงเวลานั้นด้วยขีดความสามารถและเม็ดเงินมหาศาลในธุรกิจจากสหรัฐจะทำให้ธุรกิจท้องถิ่นอาเซียนไม่สามารถแข่งขันได้และเกิดการผูกขาดในที่สุด”นายพรศิลป์กล่าว