ASTVผู้จัดการรายวัน – ททท.-เอกชนท่องเที่ยว มองไทย ยังไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ AEC ทีเอชเอ เสนอกำหนดเขตการลงทุนเฉพาะพื้นที่ที่ขาดแคลน ด้าน สมาคมไกด์ อ้อนรัฐตั้งสภาวิชาชีพ ช่วยคนไทย “มาร์ค” ยังหวัง นักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ แตะ 17 ล้านคน
วานนี้(24 มี.ค.54) งานสัมมนา”ท่องเที่ยวไทย พร้อมแค่ไหน รับมือ AEC” นายอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า ไทยยังไม่มีความพร้อมกับการรับมือเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เพราะ จนถึงขณะนี้ ภาครัฐ ยังไม่มีแผนรองรับกับการแข่งขันแบบเสรีที่จะเกิดขึ้น
ล่าสุด ทีเอชเอเข้าหารือเจรจากับ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ น 2 ประเด็นสำหรับธุรกิจโรงแรม ได้แก่ 1. ให้เปิดเสรีการลงทุนโรงแรมในเฉพาะในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน ห้ามมาลงทุนในพื้นที่ที่โอเวอร์ซัพพลาย 2 . เปิดเสรีเฉพาะเซ็กเมนต์โรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อไม่กระทบต่อผู้ประกอบการโรงแรมในกลุ่ม SME ที่มีมากถึง 70%
ธุรกิจโรงแรมปีนี้คงลำบากและแข่งขันราคาสูง ทำให้ราคาห้องพักอาจตกลงไปอีก 10% จากปีก่อน เป็นผลจาก วิกฤติเศรษฐกิจรอบสองในอเมริกา ปัญหาการเมืองในลิเบีย และตะวันออกกลาง กระทบราคานำมันเชื้อเพลิงแพง , ภัยภิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น จะทำให้จำนวนพักหายไปมากถึง 1 ล้านรูมไนท์
**ปรับตัวเลขนักเที่ยวตปท.
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า จากผลกระทบของวิกฤติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งเกิดจากการเมืองและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้กระทบต่อจำนวนการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ล่าสุด สทท. ได้ปรับตัวเลขใหม่ คาดแล้วเสร็จเม.ย.นี้ จากเดิมที่คาดว่าปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.5 ล้านคน และเตรียมหาตลาดใหม่ เช่น อินเดีย รัสเซีย ขณะที่ตลาด AEC ที่มีศักยภาพเติบโต คือ ตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งปีก่อนมีจำนวนเดินทางมาไทยอยู่ที่ 2 แสนคน
“คาดว่าต้องใช้เวลา 6 เดือนกว่าตลาดญี่ปุ่นจะกลับมา ส่วนปัจจัยลบภายในประเทศ คือเรื่องการเมือง ที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง แต่ในระยะยาว 3 ปี สทท. และ ททท. จะปรับสัดส่วนรายได้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศให้เท่ากัน 50% เพื่อลดความเสี่ยง จากปัจจุบัน ในประเทศอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท ต่างประเทศ 6 แสนล้านบาท”
นายสุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ ที่ปรึกษาระดับ 10 ททท. กล่าวว่า การเปิด AEC จะช่วยเพิ่มโอกาสในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทย แต่สิ่งที่กังวล คือ
ปัญหาด้านการทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ทำเสร็จแล้วมาปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม ตลอดจนความไม่ต่อเนื่องทางการเมืองของประเทศ เพราะประเทศไทย มักคิดได้ก่อน แต่ทำได้ทีหลัง เพราะ No Action Talk Only เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ กล่าวว่า ในส่วนของสมาคม ยังไม่เห็นด้วยกับการเปิดเสรี AEC เพราะมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ควรเป็นอาชีพสงวน แต่หากไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ ก็ควรจะมีการตั้งรับที่ดี โดยจะเสนอให้รัฐ ตั้งสภาวิชาชีพ ในแต่ละ สาขา เพื่อใช้เป็นฐานคัดกรองผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพนั้นๆ
**มาร์คยาหอมไม่เลิก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนาอาเซียน อีทราเวล มาร์ท ว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย และในระดับภูมิภาคอาเซียนภายหลังการเปิดเขตการค้าเสรี ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประสบความสำเร็จอย่างสูง ปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีถึง 15.8 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 5.85 แสนล้านบาท คิดเป็น 7% ของจีดีพี และปีนี้ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ที่ 17 ล้านคน
นายอภิชัย สกุลสุริยเดช ประธานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว กล่าวว่า
ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการท่องเที่ยวผ่านอินเทอร์เน็ต มีประมาณ 50-60% ของยอดจองโดยรวม โดย 80% เป็นการซื้อขายของกลุ่มธุรกิจโรงแรม ส่วนตัวแทนจำหน่ายมีใช้เพียง 20% ซึ่งถ้าไม่ปรับตัวอาจสูญเสียโอกาสในการหาลูกค้าโดยเฉพาะเมื่อเปิดเสรีบริการอาเซียน
การติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เงินลงทุนหลักหมื่นบาท ในธุรกิจขนาดเล็ก และหลักแสนบาทในธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีผู้ประกอบการได้พัฒนาระบบไว้เรียบร้อยแล้ว มีโรงแรมใช้บริการกว่า 400 แห่งจาก 9 ประเทศ แต่ผู้ประกอบการคนไทยกลับยังไม่ใช้บริการ
วานนี้(24 มี.ค.54) งานสัมมนา”ท่องเที่ยวไทย พร้อมแค่ไหน รับมือ AEC” นายอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า ไทยยังไม่มีความพร้อมกับการรับมือเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เพราะ จนถึงขณะนี้ ภาครัฐ ยังไม่มีแผนรองรับกับการแข่งขันแบบเสรีที่จะเกิดขึ้น
ล่าสุด ทีเอชเอเข้าหารือเจรจากับ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ น 2 ประเด็นสำหรับธุรกิจโรงแรม ได้แก่ 1. ให้เปิดเสรีการลงทุนโรงแรมในเฉพาะในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน ห้ามมาลงทุนในพื้นที่ที่โอเวอร์ซัพพลาย 2 . เปิดเสรีเฉพาะเซ็กเมนต์โรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อไม่กระทบต่อผู้ประกอบการโรงแรมในกลุ่ม SME ที่มีมากถึง 70%
ธุรกิจโรงแรมปีนี้คงลำบากและแข่งขันราคาสูง ทำให้ราคาห้องพักอาจตกลงไปอีก 10% จากปีก่อน เป็นผลจาก วิกฤติเศรษฐกิจรอบสองในอเมริกา ปัญหาการเมืองในลิเบีย และตะวันออกกลาง กระทบราคานำมันเชื้อเพลิงแพง , ภัยภิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น จะทำให้จำนวนพักหายไปมากถึง 1 ล้านรูมไนท์
**ปรับตัวเลขนักเที่ยวตปท.
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า จากผลกระทบของวิกฤติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งเกิดจากการเมืองและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้กระทบต่อจำนวนการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ล่าสุด สทท. ได้ปรับตัวเลขใหม่ คาดแล้วเสร็จเม.ย.นี้ จากเดิมที่คาดว่าปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.5 ล้านคน และเตรียมหาตลาดใหม่ เช่น อินเดีย รัสเซีย ขณะที่ตลาด AEC ที่มีศักยภาพเติบโต คือ ตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งปีก่อนมีจำนวนเดินทางมาไทยอยู่ที่ 2 แสนคน
“คาดว่าต้องใช้เวลา 6 เดือนกว่าตลาดญี่ปุ่นจะกลับมา ส่วนปัจจัยลบภายในประเทศ คือเรื่องการเมือง ที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง แต่ในระยะยาว 3 ปี สทท. และ ททท. จะปรับสัดส่วนรายได้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศให้เท่ากัน 50% เพื่อลดความเสี่ยง จากปัจจุบัน ในประเทศอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท ต่างประเทศ 6 แสนล้านบาท”
นายสุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ ที่ปรึกษาระดับ 10 ททท. กล่าวว่า การเปิด AEC จะช่วยเพิ่มโอกาสในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทย แต่สิ่งที่กังวล คือ
ปัญหาด้านการทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ทำเสร็จแล้วมาปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม ตลอดจนความไม่ต่อเนื่องทางการเมืองของประเทศ เพราะประเทศไทย มักคิดได้ก่อน แต่ทำได้ทีหลัง เพราะ No Action Talk Only เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ กล่าวว่า ในส่วนของสมาคม ยังไม่เห็นด้วยกับการเปิดเสรี AEC เพราะมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ควรเป็นอาชีพสงวน แต่หากไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ ก็ควรจะมีการตั้งรับที่ดี โดยจะเสนอให้รัฐ ตั้งสภาวิชาชีพ ในแต่ละ สาขา เพื่อใช้เป็นฐานคัดกรองผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพนั้นๆ
**มาร์คยาหอมไม่เลิก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนาอาเซียน อีทราเวล มาร์ท ว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย และในระดับภูมิภาคอาเซียนภายหลังการเปิดเขตการค้าเสรี ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประสบความสำเร็จอย่างสูง ปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีถึง 15.8 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 5.85 แสนล้านบาท คิดเป็น 7% ของจีดีพี และปีนี้ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ที่ 17 ล้านคน
นายอภิชัย สกุลสุริยเดช ประธานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว กล่าวว่า
ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการท่องเที่ยวผ่านอินเทอร์เน็ต มีประมาณ 50-60% ของยอดจองโดยรวม โดย 80% เป็นการซื้อขายของกลุ่มธุรกิจโรงแรม ส่วนตัวแทนจำหน่ายมีใช้เพียง 20% ซึ่งถ้าไม่ปรับตัวอาจสูญเสียโอกาสในการหาลูกค้าโดยเฉพาะเมื่อเปิดเสรีบริการอาเซียน
การติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เงินลงทุนหลักหมื่นบาท ในธุรกิจขนาดเล็ก และหลักแสนบาทในธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีผู้ประกอบการได้พัฒนาระบบไว้เรียบร้อยแล้ว มีโรงแรมใช้บริการกว่า 400 แห่งจาก 9 ประเทศ แต่ผู้ประกอบการคนไทยกลับยังไม่ใช้บริการ