การที่ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเห็นเสนอให้สถาบันพระปกเกล้า รับเป็นเจ้าภาพในการปฏิรูปการเมือง เพราะเชื่อว่าจะสามารถหาทางออกความขัดแย้งทางการเมืองได้ จะสถาบันไหนก็ตามแต่ หากว่ายังเห็นผิด หลงผิด ไม่สนใจไยดีในข้อเสนอที่เป็นสัจธรรมและบริสุทธิ์นี้ และหากยังจะเดินตามรอยผู้ปกครองไทยในอดีตที่เห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิดอย่างซ้ำซาก ซ้ำรอยเดิม มาแล้วกว่า 76 ปี ใน 5 ประการ อันเป็นวิบากกรรมของชาติ คือ
(1) เข้าใจผิดในการจัดสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับ รัฐธรรมนูญ
(2) เข้าใจผิดเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย
(3) เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญ คือระบอบประชาธิปไตย
(4) เข้าใจผิดว่ารูปการปกครอง (ระบบรัฐสภา) คือระบอบประชาธิปไตย
(5) เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้ง คือระบอบประชาธิปไตย
จึงเป็นภารกิจของรัฐบาลโดย นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องรีบทำภารกิจผลักดันนโยบายในการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม โดยพระเจ้าแผ่นดิน โดยจัดสัมพันธภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนาธรรมใหม่ จึงจะเป็นการเข้ามาแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติอย่างแท้จริง ทั้งจะเป็นการโค่นระบอบเผด็จการทุกรูปแบบลงอย่างสิ้นเชิง หากว่ารัฐบาลนี้ไม่ทำตามที่แนะนำโดยธรรม ก็จะเกิดความระส่ำระสายจากกลุ่มการเมืองมิจฉาทิฐิ ที่หลงผิดเรื่องประชาธิปไตยกันต่อไป อย่างไม่รู้จบสิ้น
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันองค์ประกอบของรัฐ แน่นอนที่สุด ถูกต้องที่สุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไปเป็นปฐมแห่งอำนาจในรัฐ และมีลักษณะแผ่อำนาจกระจายความคุ้มครองด้วยคุณธรรม เป็นความรักความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ประชาชนในแผ่นดิน
ดังนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มสมบูรณ์ในการที่จะจัดการกับความไม่เป็นธรรมใดๆ อันเกิดจากอำนาจที่เป็น
ลักษณะเฉพาะ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรืออำนาจใดๆ ที่เป็นไปในทางบั่นทอน บ่อนทำลาย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน
สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระมหากษัตริย์ เป็นลักษณะทั่วไป (ทรงแผ่ธรรมานุภาพ เมตตา กรุณา โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนโอบอุ้มส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในชาติ) ส่วนพสกนิกรเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลาย ต่างก็ขึ้นตรง (จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์
ท่านทั้งหลายเห็นได้ชัดเจนอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ เลยว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงแผ่ธรรมานุภาพ ด้วยทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พสกนิกรทั้งหลายต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาขึ้นตรงต่อ (จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินีนาถ อย่างมิได้เสื่อมคลาย
กฎธรรมชาติคือ สัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจายกับรวมศูนย์ จึงเป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้องค์พระมหากษัตริย์ทรงตั้งอยู่ในธรรมนั่นเอง
สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับระบอบการเมือง ระบอบการเมืองที่เป็นธรรมนั่น จะเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แต่ขณะเดียวกันระบอบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม ก็จะเป็นปัจจัยให้การปกครองไม่เป็นธรรม คือรัฐบาลจะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นครอบงำประชาชนจากอิทธิพลอำนาจมืดในรูปแบบต่างๆ บ้านเมืองเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ ไม่ปกติสุข จนเกิดความขัดแย้งไปทั่วในหมู่ประชาชน จนบ้านเมืองเสื่อมลงไปมากที่สุดแล้ว
จุดอ่อนของการเมืองไทย คือ การสร้างระบอบการเมืองไม่ถูกต้องโดยธรรม ผิดทำนองครองธรรมมาแล้วถึง 18 ครั้ง ในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อการปกครองไม่เป็นธรรม จะเป็นปัจจัยให้เกิดวิกฤตทางการเมือง มันเป็นเหตุปัจจัยให้มีการทำรัฐประหาร ผู้เสียประโยชน์ก็จะรวมตัวกันโค่นคณะรัฐประหาร แล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญซ้ำรอยเดิม โดยพวกเขาเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ผิดหวังทุกครั้งไปถึง 18 ครั้งแล้ว
การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้องโดยธรรม คือ
1. สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบฯ ด้วยนโยบายที่เป็นธรรม
2. ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ หรือจะปรับปรุงหมวด และมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองหรือระบอบ การสร้างระบอบโดยธรรม ก็จะสำเร็จลงได้อย่างง่ายดาย
ผู้มีอำนาจ หรือใครที่อยากจะคิดแก้ปัญหาบ้านเมืองให้รอดปลอดภัย ชนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเอกภาพและมั่นคง จะต้องอิสระจากระบอบการเมืองปัจจุบัน แล้วสร้างวิธีคิดจากการวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ จากนั้นประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย ด้วยหลักธรรมาธิปไตย 9 โดยมีหลักการที่ท้าทายต่อทุกฝ่ายและปัญญาชนทั้งหลายกล่าวโดยย่อคือ
1. หลักธรรมาธิปไตย
2. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
3. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน
4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์
5. หลักความเสมอภาค
6. หลักภราดรภาพ
7. หลักเอกภาพ
8. หลักดุลยภาพ
9. หลักนิติธรรม
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 นี้จะเป็นหลักประกันสัมพันธภาพของปวงชนในชาติและจะทำให้หมดเงื่อนไขความขัดแย้งภายในชาติและการแบ่งแยกดินแดน
แล้วก็มีทางเดียวเท่านั้น เพื่อความศักดิ์สิทธิ์อันยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ สันติและเพื่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างยั่งยืนชั่วกาลนาน คือ
1. องค์พระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย (หรือนอกเหนือจากหลักธรรมาธิปไตย 9 นี้ก็ได้) ประชาชนเพียงจำหลักการปกครอง 9 นี้ข้อเท่านั้น ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และระหว่างประชาชนกับระบอบการเมืองของรัฐ และความสัมพันธ์ต่อองค์กรต่างๆ ภายในรัฐเป็นอย่างไร เป็นตามหลักการปกครองหรือไม่ และประชาชนก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นๆ ปฏิบัติต่อประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการปกครองหรือไม่
2. ดำเนินการปรับปรุงรัฐธรรมนูญหมวดและมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง 9 เพียงเท่านี้เราก็จะได้ระบอบการเมืองแบบธรรมาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบอย่างถูกต้องเป็นธรรม
3. ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบการต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าไม่ยากเลย
ถ้าทำได้สำเร็จจะสามารถขจัดเงื่อนไขอันเลวร้ายต่างๆ ได้อย่างมากมายในแผ่นดินนี้ ทั้งเป็นการเชิดชูส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ บนฐานแห่งอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป
องค์พระมหากษัตริย์ จะเป็นที่หยุด เป็นที่ดับความสับสนและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ทุกฝ่ายต่างก็พูดว่าจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธงธรรมและได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์ตามพระปฐมบรมราชโองการมาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี
ดังนี้แล้ว ข้อยุติของทุกฝ่ายต้องมาบรรจบที่พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นธงชัยของปวงชนทั้งในหลักการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และวิธีการ คือ “พระองค์ทรงพระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริ 3,000 กว่าโครงการ” หรืออีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงตั้งอยู่ในจุดมุ่งหมายและมรรควิธีโดยธรรม นั่นเอง
(1) เข้าใจผิดในการจัดสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับ รัฐธรรมนูญ
(2) เข้าใจผิดเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย
(3) เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญ คือระบอบประชาธิปไตย
(4) เข้าใจผิดว่ารูปการปกครอง (ระบบรัฐสภา) คือระบอบประชาธิปไตย
(5) เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้ง คือระบอบประชาธิปไตย
จึงเป็นภารกิจของรัฐบาลโดย นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องรีบทำภารกิจผลักดันนโยบายในการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม โดยพระเจ้าแผ่นดิน โดยจัดสัมพันธภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนาธรรมใหม่ จึงจะเป็นการเข้ามาแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติอย่างแท้จริง ทั้งจะเป็นการโค่นระบอบเผด็จการทุกรูปแบบลงอย่างสิ้นเชิง หากว่ารัฐบาลนี้ไม่ทำตามที่แนะนำโดยธรรม ก็จะเกิดความระส่ำระสายจากกลุ่มการเมืองมิจฉาทิฐิ ที่หลงผิดเรื่องประชาธิปไตยกันต่อไป อย่างไม่รู้จบสิ้น
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันองค์ประกอบของรัฐ แน่นอนที่สุด ถูกต้องที่สุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไปเป็นปฐมแห่งอำนาจในรัฐ และมีลักษณะแผ่อำนาจกระจายความคุ้มครองด้วยคุณธรรม เป็นความรักความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ประชาชนในแผ่นดิน
ดังนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มสมบูรณ์ในการที่จะจัดการกับความไม่เป็นธรรมใดๆ อันเกิดจากอำนาจที่เป็น
ลักษณะเฉพาะ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรืออำนาจใดๆ ที่เป็นไปในทางบั่นทอน บ่อนทำลาย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน
สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระมหากษัตริย์ เป็นลักษณะทั่วไป (ทรงแผ่ธรรมานุภาพ เมตตา กรุณา โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนโอบอุ้มส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในชาติ) ส่วนพสกนิกรเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลาย ต่างก็ขึ้นตรง (จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์
ท่านทั้งหลายเห็นได้ชัดเจนอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ เลยว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงแผ่ธรรมานุภาพ ด้วยทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พสกนิกรทั้งหลายต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาขึ้นตรงต่อ (จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินีนาถ อย่างมิได้เสื่อมคลาย
กฎธรรมชาติคือ สัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจายกับรวมศูนย์ จึงเป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้องค์พระมหากษัตริย์ทรงตั้งอยู่ในธรรมนั่นเอง
สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับระบอบการเมือง ระบอบการเมืองที่เป็นธรรมนั่น จะเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แต่ขณะเดียวกันระบอบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม ก็จะเป็นปัจจัยให้การปกครองไม่เป็นธรรม คือรัฐบาลจะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นครอบงำประชาชนจากอิทธิพลอำนาจมืดในรูปแบบต่างๆ บ้านเมืองเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ ไม่ปกติสุข จนเกิดความขัดแย้งไปทั่วในหมู่ประชาชน จนบ้านเมืองเสื่อมลงไปมากที่สุดแล้ว
จุดอ่อนของการเมืองไทย คือ การสร้างระบอบการเมืองไม่ถูกต้องโดยธรรม ผิดทำนองครองธรรมมาแล้วถึง 18 ครั้ง ในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อการปกครองไม่เป็นธรรม จะเป็นปัจจัยให้เกิดวิกฤตทางการเมือง มันเป็นเหตุปัจจัยให้มีการทำรัฐประหาร ผู้เสียประโยชน์ก็จะรวมตัวกันโค่นคณะรัฐประหาร แล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญซ้ำรอยเดิม โดยพวกเขาเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ผิดหวังทุกครั้งไปถึง 18 ครั้งแล้ว
การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้องโดยธรรม คือ
1. สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบฯ ด้วยนโยบายที่เป็นธรรม
2. ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ หรือจะปรับปรุงหมวด และมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองหรือระบอบ การสร้างระบอบโดยธรรม ก็จะสำเร็จลงได้อย่างง่ายดาย
ผู้มีอำนาจ หรือใครที่อยากจะคิดแก้ปัญหาบ้านเมืองให้รอดปลอดภัย ชนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเอกภาพและมั่นคง จะต้องอิสระจากระบอบการเมืองปัจจุบัน แล้วสร้างวิธีคิดจากการวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ จากนั้นประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย ด้วยหลักธรรมาธิปไตย 9 โดยมีหลักการที่ท้าทายต่อทุกฝ่ายและปัญญาชนทั้งหลายกล่าวโดยย่อคือ
1. หลักธรรมาธิปไตย
2. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
3. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน
4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์
5. หลักความเสมอภาค
6. หลักภราดรภาพ
7. หลักเอกภาพ
8. หลักดุลยภาพ
9. หลักนิติธรรม
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 นี้จะเป็นหลักประกันสัมพันธภาพของปวงชนในชาติและจะทำให้หมดเงื่อนไขความขัดแย้งภายในชาติและการแบ่งแยกดินแดน
แล้วก็มีทางเดียวเท่านั้น เพื่อความศักดิ์สิทธิ์อันยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ สันติและเพื่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างยั่งยืนชั่วกาลนาน คือ
1. องค์พระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย (หรือนอกเหนือจากหลักธรรมาธิปไตย 9 นี้ก็ได้) ประชาชนเพียงจำหลักการปกครอง 9 นี้ข้อเท่านั้น ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และระหว่างประชาชนกับระบอบการเมืองของรัฐ และความสัมพันธ์ต่อองค์กรต่างๆ ภายในรัฐเป็นอย่างไร เป็นตามหลักการปกครองหรือไม่ และประชาชนก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นๆ ปฏิบัติต่อประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการปกครองหรือไม่
2. ดำเนินการปรับปรุงรัฐธรรมนูญหมวดและมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง 9 เพียงเท่านี้เราก็จะได้ระบอบการเมืองแบบธรรมาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบอย่างถูกต้องเป็นธรรม
3. ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบการต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าไม่ยากเลย
ถ้าทำได้สำเร็จจะสามารถขจัดเงื่อนไขอันเลวร้ายต่างๆ ได้อย่างมากมายในแผ่นดินนี้ ทั้งเป็นการเชิดชูส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ บนฐานแห่งอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป
องค์พระมหากษัตริย์ จะเป็นที่หยุด เป็นที่ดับความสับสนและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ทุกฝ่ายต่างก็พูดว่าจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธงธรรมและได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์ตามพระปฐมบรมราชโองการมาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี
ดังนี้แล้ว ข้อยุติของทุกฝ่ายต้องมาบรรจบที่พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นธงชัยของปวงชนทั้งในหลักการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และวิธีการ คือ “พระองค์ทรงพระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริ 3,000 กว่าโครงการ” หรืออีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงตั้งอยู่ในจุดมุ่งหมายและมรรควิธีโดยธรรม นั่นเอง