ASTVผู้จัดการรายวัน – สรรพากรดิ้นปิดทางภาษีรั่วไหล เล็งถอนขนห่านวิชาชีพอิสระ ดารา หมอ เข้าระบบภาษีให้ถูกกฎหมายมากขึ้น พร้อมเดินหน้าไล่บี้ภาษีคณะบุคคลหลังพบผู้สอบบัญชีแนะตั้งคณะบุคคลสร้างรายจ่ายเลี่ยงภาษีอื้อ หากตรวจพบว่าจงใจทุจริตใช้กฎหมายเล่นงานแน่นอน ด้านหมอยันไม่หนีภาษี ไม่เลี่ยงภาษี แค่ทำตามกฎหมายเปิดช่องถูกต้องตรวจสอบได้
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากปัญหาการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรที่มีแนวโน้มลดต่ำลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากทั่วโลกนั้นกรมสรรพากรพยายามหาวิธีจัดเก็บรายได้เพิ่มเติมในส่วนของภาษีที่มีการรั่วไหลโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่แล้ว แต่ยังพบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและกลุ่มวิชาชีพอิสระ เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง หมอและทนายความ เป็นต้น ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าสู่ระบบการเสียภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
“เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนควรจะได้รับรู้และรับทราบว่าผู้มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนดทุกคนมีหน้าที่ในการเสียภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการในเชิงรุกโดยการเชิญตัวแทนสมาคมวิชาชีพต่างๆ เข้ามาเพื่อทำความเข้าใจเพื่อให้เห็นความสำคัญของการเสียภาษีและให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ซึ่งจะหาวิธีดึงวิชาชีพอิสระเหล่านี้เข้าสู่ระบบให้ได้มากที่สุด” นายวินัยกล่าว
***เอาจริงฟันคณะบุคคลเลี่ยงภาษี
สำหรับกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มที่กรมสรรพากรกำลังตรวจสอบอย่างใกล้ชิดคือการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อให้ฐานภาษีอยู่ในระดับที่ต่ำและเสียภาษีน้อยกว่าการตั้งเป็นนิติบุคคล อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยว่า มีบางรายได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งเป็นคณะบุคคลมากกว่า 100 ราย โดยมีชื่อบุคคลนี้ซ้ำกันทุกคณะที่ตั้งขึ้นหากพบว่าการจัดตั้งคณะบุคคลดังกล่าวขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกรมสรรพากรก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
หลักการทั่วไปการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรอยู่แล้ว และตั้งแต่ยื่นจัดตั้งคณะบุคคลกับกรมสรรพากรก็จะมีการสอบสวนตามเอกสารของกรมว่าต้องการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ใดและดำเนินกิจการใดบ้าง ซึ่งในระหว่างการยื่นขอจัดตั้งคณะบุคคลนั้นกรมสรรพากรก็จะพยายามสอดแทรกการให้ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีอากรของคณะบุคคลให้อย่างถูกต้องเพื่อคณะบุคคลดังกล่าวจะได้ดำเนินการด้านภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
“เป็นเรื่องที่กรมสรรพากรต้องทำงานในเชิงรุกโดยเชิญคณะบุคคลเข้ามาทำความเข้าใจนอกจากการสอบสวนตามกระบวนการจัดตั้งตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งหลังจากที่คณะบุคคลได้หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้วจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องยื่นจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทุกเดือนด้วย” อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวและว่า และหากเชิญมาทำความเข้าใจและยังเพิกเฉยหรือมีพฤติกรรมส่อไปในทางหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีแล้วกรมสรรพากรคงต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับคณะบุคคลดังกล่าว
***บี้ผู้สอบบัญชีแนะวิธีเลี่ยงภาษี
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบว่ามีการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา โดยให้คณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นมานั้นมารับจ้างผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักฐานให้นิติบุคคลนำไปหักภาษีนิติบุคคล ซึ่งทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินจ้างต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่ง 3% ให้กับกรมสรรพากรแล้วคณะบุคคลไปยื่นขอคืนภาษีส่วนนี้ในภายหลัง จากวิธีการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งนิติบุคคลและคณะบุคคลจะได้ประโยชน์จากการกระทำนี้ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งจากภาระการจ่ายภาษีนิติบุคคลที่ลดลงและขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย เท่าที่ตรวจสอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้นพบว่ามีการกระทำในลักษณะตั้งคณะบุคคลเพื่อสร้างรายได้เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าพันราย
“หากสามารถอุดรูรั่วในส่วนนี้ได้จะทำให้ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมสรรพากรกำลังจับตาสำนักงานผู้สอบบัญชีทั้งหลายที่ให้คำแนะนำนิติบุคคลในการหลีกเลี้ยงภาษีด้วยวิธีนี้หากมีหลักฐานชัดเจนว่าสำนักงานผู้สอบบัญชีเป็นผู้ให้คำแนะนำด้วยวิธีการนี้จริงกรมสรรพากรคงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” นายวินัยกล่าว
**หมอยันไม่หนีภาษี ไม่เลี่ยงภาษี
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือร่วมกันกับแพทยสมาคม และกรมสรรพากรในการจัดเก็บภาษี ซึ่งแพทย์เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่มีข้อกำหนดในการเสียภาษีค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งประเด็นที่มักมีปัญหาคือแพทย์ที่ทำงานนอกเวลาในโรงพยาบาลเอกชน จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(2) เพราะถือเป็นลูกจ้าง ซึ่งจะได้ค่าจ้างเป็นครั้งคราว แต่ถ้าแสดงได้ว่าไม่ได้เป็นลูกจ้าง โดยมีการทำสัญญาเช่าสถานที่ทำคลินิกหรือเช่าห้องพิเศษ แพทย์จะเสียภาษีตามมาตรา 40(6) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเงินได้จากวิชาชีพอิสระ เหมือนกันกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของรายได้ ซึ่งตามมาตรา 40(2) ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้
ส่วนอีกประเด็นเป็นการการตั้งคณะบุคคลเพื่อทำคลินิก ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่กฎหมายเปิดช่องให้สามารถทำได้ และยืนยันว่าไม่มีแพทย์คนใดที่ตั้งใจหนีภาษีหรือเลี่ยงภาษีอยู่แล้ว การตั้งคณะบุคคลถือเป็นการจ่ายภาษีที่ถูกต้องโดยชอบตามกฎหมายแต่อาจไม่ถูกใจสรรพากร ซึ่งหากอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีก็สามารถหารือกันได้
ด้านนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รักษาการผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ด้านกฎหมาย กล่าวว่า แพทย์เสียภาษีตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2541 สรรพากรให้ทำอย่างไร แพทย์ก็ทำอย่างนั้นอยู่แล้ว วิชาชีพอื่นก็สามารถใช้วิธีการเสียภาษีแบบคณะบุคคลได้ และทำกันอยู่แล้ว อาชีพแพทย์ไม่มีเลี่ยงภาษีหรือหนีภาษีแน่ สามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันอาชีพอื่นๆ มีการเลี่ยงภาษีมากกว่า
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากปัญหาการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรที่มีแนวโน้มลดต่ำลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากทั่วโลกนั้นกรมสรรพากรพยายามหาวิธีจัดเก็บรายได้เพิ่มเติมในส่วนของภาษีที่มีการรั่วไหลโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่แล้ว แต่ยังพบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและกลุ่มวิชาชีพอิสระ เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง หมอและทนายความ เป็นต้น ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าสู่ระบบการเสียภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
“เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนควรจะได้รับรู้และรับทราบว่าผู้มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนดทุกคนมีหน้าที่ในการเสียภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการในเชิงรุกโดยการเชิญตัวแทนสมาคมวิชาชีพต่างๆ เข้ามาเพื่อทำความเข้าใจเพื่อให้เห็นความสำคัญของการเสียภาษีและให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ซึ่งจะหาวิธีดึงวิชาชีพอิสระเหล่านี้เข้าสู่ระบบให้ได้มากที่สุด” นายวินัยกล่าว
***เอาจริงฟันคณะบุคคลเลี่ยงภาษี
สำหรับกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มที่กรมสรรพากรกำลังตรวจสอบอย่างใกล้ชิดคือการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อให้ฐานภาษีอยู่ในระดับที่ต่ำและเสียภาษีน้อยกว่าการตั้งเป็นนิติบุคคล อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยว่า มีบางรายได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งเป็นคณะบุคคลมากกว่า 100 ราย โดยมีชื่อบุคคลนี้ซ้ำกันทุกคณะที่ตั้งขึ้นหากพบว่าการจัดตั้งคณะบุคคลดังกล่าวขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกรมสรรพากรก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
หลักการทั่วไปการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรอยู่แล้ว และตั้งแต่ยื่นจัดตั้งคณะบุคคลกับกรมสรรพากรก็จะมีการสอบสวนตามเอกสารของกรมว่าต้องการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ใดและดำเนินกิจการใดบ้าง ซึ่งในระหว่างการยื่นขอจัดตั้งคณะบุคคลนั้นกรมสรรพากรก็จะพยายามสอดแทรกการให้ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีอากรของคณะบุคคลให้อย่างถูกต้องเพื่อคณะบุคคลดังกล่าวจะได้ดำเนินการด้านภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
“เป็นเรื่องที่กรมสรรพากรต้องทำงานในเชิงรุกโดยเชิญคณะบุคคลเข้ามาทำความเข้าใจนอกจากการสอบสวนตามกระบวนการจัดตั้งตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งหลังจากที่คณะบุคคลได้หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้วจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องยื่นจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทุกเดือนด้วย” อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวและว่า และหากเชิญมาทำความเข้าใจและยังเพิกเฉยหรือมีพฤติกรรมส่อไปในทางหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีแล้วกรมสรรพากรคงต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับคณะบุคคลดังกล่าว
***บี้ผู้สอบบัญชีแนะวิธีเลี่ยงภาษี
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบว่ามีการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา โดยให้คณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นมานั้นมารับจ้างผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักฐานให้นิติบุคคลนำไปหักภาษีนิติบุคคล ซึ่งทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินจ้างต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่ง 3% ให้กับกรมสรรพากรแล้วคณะบุคคลไปยื่นขอคืนภาษีส่วนนี้ในภายหลัง จากวิธีการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งนิติบุคคลและคณะบุคคลจะได้ประโยชน์จากการกระทำนี้ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งจากภาระการจ่ายภาษีนิติบุคคลที่ลดลงและขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย เท่าที่ตรวจสอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้นพบว่ามีการกระทำในลักษณะตั้งคณะบุคคลเพื่อสร้างรายได้เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าพันราย
“หากสามารถอุดรูรั่วในส่วนนี้ได้จะทำให้ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมสรรพากรกำลังจับตาสำนักงานผู้สอบบัญชีทั้งหลายที่ให้คำแนะนำนิติบุคคลในการหลีกเลี้ยงภาษีด้วยวิธีนี้หากมีหลักฐานชัดเจนว่าสำนักงานผู้สอบบัญชีเป็นผู้ให้คำแนะนำด้วยวิธีการนี้จริงกรมสรรพากรคงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” นายวินัยกล่าว
**หมอยันไม่หนีภาษี ไม่เลี่ยงภาษี
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือร่วมกันกับแพทยสมาคม และกรมสรรพากรในการจัดเก็บภาษี ซึ่งแพทย์เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่มีข้อกำหนดในการเสียภาษีค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งประเด็นที่มักมีปัญหาคือแพทย์ที่ทำงานนอกเวลาในโรงพยาบาลเอกชน จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(2) เพราะถือเป็นลูกจ้าง ซึ่งจะได้ค่าจ้างเป็นครั้งคราว แต่ถ้าแสดงได้ว่าไม่ได้เป็นลูกจ้าง โดยมีการทำสัญญาเช่าสถานที่ทำคลินิกหรือเช่าห้องพิเศษ แพทย์จะเสียภาษีตามมาตรา 40(6) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเงินได้จากวิชาชีพอิสระ เหมือนกันกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของรายได้ ซึ่งตามมาตรา 40(2) ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้
ส่วนอีกประเด็นเป็นการการตั้งคณะบุคคลเพื่อทำคลินิก ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่กฎหมายเปิดช่องให้สามารถทำได้ และยืนยันว่าไม่มีแพทย์คนใดที่ตั้งใจหนีภาษีหรือเลี่ยงภาษีอยู่แล้ว การตั้งคณะบุคคลถือเป็นการจ่ายภาษีที่ถูกต้องโดยชอบตามกฎหมายแต่อาจไม่ถูกใจสรรพากร ซึ่งหากอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีก็สามารถหารือกันได้
ด้านนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รักษาการผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ด้านกฎหมาย กล่าวว่า แพทย์เสียภาษีตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2541 สรรพากรให้ทำอย่างไร แพทย์ก็ทำอย่างนั้นอยู่แล้ว วิชาชีพอื่นก็สามารถใช้วิธีการเสียภาษีแบบคณะบุคคลได้ และทำกันอยู่แล้ว อาชีพแพทย์ไม่มีเลี่ยงภาษีหรือหนีภาษีแน่ สามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันอาชีพอื่นๆ มีการเลี่ยงภาษีมากกว่า