ASTVผู้จัดการรายวัน - สาทิตย์" พร้อมปรับผังใหม่ ช่อง11 เผยดิจิตอลมีเดียขอเลิกสัญญาเอง อ้างเป็นผลดีต่อการรื้อใหญ่ เตรียมหารือ ผอ. เปลี่ยนเอกชนรายใหม่ทำแทน “ดิจิตอลฯ พร้อมเร่งเปลี่ยนโลโก้ 1 เม.ย.นี้ เผย 8 ปีกรมประชาฯอ่อนแอเพราะการเมืองแทรก เปิดไอเดียแยกวิทยุ-ทีวี ออกจากกรมฯตั้งเป็นองค์การมหาชน ตั้ง “วรากรณ์ สามโกเศศ” เป็นประธานปฎิรูปสื่อรัฐ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยกเลิกสัญญาของบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานในการผลิตรายการข่าวให้กับช่องเอ็นบีที ว่า การเลิกสัญญาครั้งนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาจากทางบริษัทเอกชนเอง เนื่องจากบริษัทดิจิตอลฯอ้างว่าได้รับผลกระทบด้านรายได้ จากการเปลี่ยนนโยบายด้านการนำเสนอข่าวของเอ็นบีที ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกรมฯก็ได้ให้เวลากับทางบริษัทดิจิตอลฯไปปรับตัวเป็นเวลา 30 วันแล้ว แต่เมื่อบริษัทดิจิตอลฯไม่สามารถทำได้ ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะเลิกสัญญา และได้ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาขอเลิกสัญญาตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
“การบอกเลิกสัญญาครั้งนี้ความจริงก็ถือเป็นผลดีต่อการปรับผังรายการของเอ็นบีทีเหมือนกัน แต่อาจจะกระทบต่อการนำเสนอข่าวในช่วงระหว่างวันที่ 1 มี.ค.- 1 เม.ย.บ้างเล็กน้อย จึงให้กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการผลิตข่าวเองไปก่อน จากนั้นจะมีการหารือกับนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนายสุริยงค์ หุณฑสาร ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับช่วงเวลาดังกล่าว จะให้กรมประชาสัมพันธ์ผลิตข่าวเอง หรือให้บริษัทเอกชนเข้ามาเช่าช่วงเพื่อร่วมผลิต” รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวยังถามถึงปัญหาเรื่องเงินเดือนของลูกจ้างบริษัทดิติจอลฯ 80 คน จะทำอย่างไร นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่หารือกับนายสุริยงค์ ได้ทราบว่า 8 ปีที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ อ่อนแอลงเพราะเงินส่วนใหญ่ที่ใช้จ้างลูกจ้าง ก็มาจากบริษัทร่วมผลิต ดังนั้นในช่วงบ่ายวันนี้ ( 17 ก.พ.) จะเชิญอธิบดีและรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มาคุยกันว่า จะทำอย่างไรกับลูกจ้างที่รับเงินเดือนของบริษัทดิจิตอลฯ
“สาเหตุที่กรมประชาฯอ่อนแอไปมากในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เพราะการเมืองเข้าไปแทรกแซง ต้องพึ่งพาเอกชนมากขึ้น และข้าราชการก็ถูกลดบทบาทลงไป รวมถึงข้าราชการบางคนก็ไปรับใช้นักการเมือง ซึ่งรัฐบาลนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ โดยให้คณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ ที่มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ทำภารกิจ 2-3 เรื่อง ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือการหาแนวทางป้องกัน ไม่ให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงกรมประชาสัมพันธ์ เช่นหาแนวทางที่จะแยกส่วนวิทยุและโทรทัศน์ออกจากกรมประชาสัมพันธ์ โดยทำเป็นองค์การมหาชนได้หรือไม่” นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ ยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 1 เมษายนนี้ นอกจากการปรับโฉมเอ็นบีที หรือช่อง 11 ด้วยการปรับผังรายการใหม่ทั้งหมดแล้ว ยังจะมีการเปิดตัวโลโก้ที่ชนะการประกวดด้วย ซึ่งจะทำให้ช่อง 11 กลายเป็นโทรทัศน์ของชาติอย่างแท้จริง
นายสุริยงค์ หุณฑสาร ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปในส่วนของการผลิตรายการข่าว ซึ่งต้องรอให้มีการประชุมกับทางผู้ใหญ่และรอนโยบายจากทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก่อน ซึ่งช่วงนี้ก็คงต้องให้ทางบริษัทดิจิตอลฯเดิมทำการผลิตไปก่อนจนกว่าจะถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่จะเลิกสัญญาเป็นทางการ
**“วรากรณ์ สามโกเศศ” ปธ.ปฏิรูปสื่อ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ โดยมีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการนัดแรกในวันศุกร์นี้ (20 ก.พ.)
ทั้งนี้ กรณีบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ได้ยกเลิกสัญญาร่วมผลิตข่าวกับทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยให้เหตุผลว่า นโยบายปรับปรุง NBT ของรัฐบาลกระทบต่อรายได้ของบริษัท ทั้งนี้ การยกเลิกสัญญามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ ซึ่งตนเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ NBT โดยระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 1 เมษายน จะให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ผลิตข่าวเองไปก่อน และจะมีการปรับผังรายการใหม่ให้เดินหน้าและมีรูปแบบเป็นสถานีโทรทัศน์ของชาติ.
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยกเลิกสัญญาของบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานในการผลิตรายการข่าวให้กับช่องเอ็นบีที ว่า การเลิกสัญญาครั้งนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาจากทางบริษัทเอกชนเอง เนื่องจากบริษัทดิจิตอลฯอ้างว่าได้รับผลกระทบด้านรายได้ จากการเปลี่ยนนโยบายด้านการนำเสนอข่าวของเอ็นบีที ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกรมฯก็ได้ให้เวลากับทางบริษัทดิจิตอลฯไปปรับตัวเป็นเวลา 30 วันแล้ว แต่เมื่อบริษัทดิจิตอลฯไม่สามารถทำได้ ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะเลิกสัญญา และได้ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาขอเลิกสัญญาตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
“การบอกเลิกสัญญาครั้งนี้ความจริงก็ถือเป็นผลดีต่อการปรับผังรายการของเอ็นบีทีเหมือนกัน แต่อาจจะกระทบต่อการนำเสนอข่าวในช่วงระหว่างวันที่ 1 มี.ค.- 1 เม.ย.บ้างเล็กน้อย จึงให้กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการผลิตข่าวเองไปก่อน จากนั้นจะมีการหารือกับนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนายสุริยงค์ หุณฑสาร ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับช่วงเวลาดังกล่าว จะให้กรมประชาสัมพันธ์ผลิตข่าวเอง หรือให้บริษัทเอกชนเข้ามาเช่าช่วงเพื่อร่วมผลิต” รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวยังถามถึงปัญหาเรื่องเงินเดือนของลูกจ้างบริษัทดิติจอลฯ 80 คน จะทำอย่างไร นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่หารือกับนายสุริยงค์ ได้ทราบว่า 8 ปีที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ อ่อนแอลงเพราะเงินส่วนใหญ่ที่ใช้จ้างลูกจ้าง ก็มาจากบริษัทร่วมผลิต ดังนั้นในช่วงบ่ายวันนี้ ( 17 ก.พ.) จะเชิญอธิบดีและรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มาคุยกันว่า จะทำอย่างไรกับลูกจ้างที่รับเงินเดือนของบริษัทดิจิตอลฯ
“สาเหตุที่กรมประชาฯอ่อนแอไปมากในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เพราะการเมืองเข้าไปแทรกแซง ต้องพึ่งพาเอกชนมากขึ้น และข้าราชการก็ถูกลดบทบาทลงไป รวมถึงข้าราชการบางคนก็ไปรับใช้นักการเมือง ซึ่งรัฐบาลนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ โดยให้คณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ ที่มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ทำภารกิจ 2-3 เรื่อง ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือการหาแนวทางป้องกัน ไม่ให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงกรมประชาสัมพันธ์ เช่นหาแนวทางที่จะแยกส่วนวิทยุและโทรทัศน์ออกจากกรมประชาสัมพันธ์ โดยทำเป็นองค์การมหาชนได้หรือไม่” นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ ยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 1 เมษายนนี้ นอกจากการปรับโฉมเอ็นบีที หรือช่อง 11 ด้วยการปรับผังรายการใหม่ทั้งหมดแล้ว ยังจะมีการเปิดตัวโลโก้ที่ชนะการประกวดด้วย ซึ่งจะทำให้ช่อง 11 กลายเป็นโทรทัศน์ของชาติอย่างแท้จริง
นายสุริยงค์ หุณฑสาร ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปในส่วนของการผลิตรายการข่าว ซึ่งต้องรอให้มีการประชุมกับทางผู้ใหญ่และรอนโยบายจากทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก่อน ซึ่งช่วงนี้ก็คงต้องให้ทางบริษัทดิจิตอลฯเดิมทำการผลิตไปก่อนจนกว่าจะถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่จะเลิกสัญญาเป็นทางการ
**“วรากรณ์ สามโกเศศ” ปธ.ปฏิรูปสื่อ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ โดยมีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการนัดแรกในวันศุกร์นี้ (20 ก.พ.)
ทั้งนี้ กรณีบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ได้ยกเลิกสัญญาร่วมผลิตข่าวกับทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยให้เหตุผลว่า นโยบายปรับปรุง NBT ของรัฐบาลกระทบต่อรายได้ของบริษัท ทั้งนี้ การยกเลิกสัญญามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ ซึ่งตนเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ NBT โดยระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 1 เมษายน จะให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ผลิตข่าวเองไปก่อน และจะมีการปรับผังรายการใหม่ให้เดินหน้าและมีรูปแบบเป็นสถานีโทรทัศน์ของชาติ.