“สาทิตย์” เผยสัปดาห์หน้าเตรียมตั้งคณะกรรมการปฎิรูปสื่อภาครัฐ พร้อมวางกรอบ รื้อกรมประชาสัมพันธ์ ช่องเอ็นบีที 2 ระยะ “สั้น-ยาว” ย้ำต้องเปลี่ยนโลโก้เอ็นบีที เพราะเป็นตัวชี้ความแตกแยก มุ่งมั่นให้ช่อง 11 เป็นทีวีแห่งชาติ เผยผู้จัดวิ่งโร่เอารายการมาเสนอขอเข้าผังใหม่มากกว่าเวลาที่มีอยู่
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารัฐบาลจะทำการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อของภาครัฐ ซึ่งจะมีคณะกรรมการฯรวมกว่า 10 ท่าน โดยมีตนเองและคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นที่ปรึกษา ของคณะกรรมการฯชุดนี้
ทั้งนี้ บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกมาจากทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมกับการปฏิรูปสื่อ ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นักวิชาชีพทางด้านสื่อสารมวลชน องค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ ภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีบุคคลที่ได้รับการทาบทามไว้บ้างแล้วเช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากทีดีอาร์ไอ, นายภัทระ คำพิทักษ์ , ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ , ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์, ดร.วิลาสินี พิพิธกุล และนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นต้น
สำหรับหน้าที่ของคณะกรมการฯดังกล่าว จะต้องทำการศึกษาโครงสร้างการปฏิรูปสื่อของรัฐในระยะยาว 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การศึกษาโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ แนวทางการนำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ออกมาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ ว่าจะมีแนวทางการดำเนินงาอย่างไร 2.การศึกษาโครงสร้างการบริหารคลื่นความถี่ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในอนาคต และ 3.ศึกษาหาแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของหน่วยงานต่างๆ หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับแก้ไขปี 2543 ไปแล้ว ซึ่งทำให้เกิดคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ กสทช.ว่าจะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ของหน่วยงานต่างๆ อย่างไร
นายสาทิตย์กล่าวต่อถึงนโยบายการปรับเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์หรือช่องเอ็นบีทีในขณะนี้รัฐบาลวางไว้ 2 ระยะ คือ 1.ระยะสั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องปฎิบัติได้ทันที และ 2.ระยะยาว ซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนี้ไปอีกอย่างต่ำ 1 ปี
ทั้งนี้ นโยบายในระยะสั้นนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น รัฐบาลต้องการวางตำแหน่งของช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะกับสถานีที่เป็นประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ควบคู่กันไป โดยเน้นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในสังคม ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
อย่างไรก็ตาม ช่อง 11 จะไม่ใช่เป็นทีวีสาธารณะเต็มตัว เนื่องจากว่า มีช่องไทยพีบีเอสอยู่แล้วที่เป็นช่องทีวีสาธารณะ เพราะมีเงินจากภาษีบาปแต่ละปีกว่า 1,700-2,000 ล้านบาทที่ภาครัฐเข้ามาช่วยในด้านค่าใช้จ่าย
“ช่อง 11 จะต้องมีพื้นที่เพื่อข่าวสาธารณะประมาณ 40-50% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นรายการบันเทิง” นายสาทิตย์กล่าว
สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงก่อนอย่างเร่งด่วนของช่องเอ็นบีที ก็คือ เรื่องของโลโก้ เอ็นบีที เนื่องจาก ช่องเอ็นบีทีเกิดขึ้นมาท่ามกลางวิกฤติการขัดแย้งทางการเมืองและถูกจำกัดว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน และคนที่คิดโลโก้เอ็นบีทีก็เป็นคนภายในองค์กรช่อง 11 เอง ซึ่งแบรนด์นี้ถูกนิยามแล้วว่า มีความขัดแย้งกับอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการเปลี่ยนโลโก้เพื่ภาภาพลักษณ์ใหม่ของช่อง 11 ตอนนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแข่งขันจัดประกวดโลโก้ใหม่
จุดยืนจริงๆ ของรัฐบาลต้องการให้ช่อง 11 เป็นทีวีแห่งชาติจริงๆ ดังนั้นจึงต้องทำอะไรบางอย่างที่เพิ่มความน่าเชื่อถือได้ อย่างเป็นทางการ ต้องสร้างเสริมความสามัคคี มีความเที่ยงตรง เสนอข่าวรอบด้านให้ผู้ชมได้ใช้ดุลยพินิจของตัวเองในการตัดสินใจ
ส่วนเรื่องของผังรายการนั้นอยู่ระหว่างการปรับผังใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เนื่องจากข่าวสารสาระยังคงเป็นจุดแข็งของการนำเสนอของทีวีอยู่ ขณะนี้ช่อง 11 มีเวลาของข่าวประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน นโยบายที่จะปรับให้ข่าวต้องเป็นจุดแข็ง ต้องปรับให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องแยกความคิดเห็นส่วนตัวออกจากการรายงานข่าว ซึ่งตอนนี้ช่องเอ็นบีที ใช้บริษัทเอกชนเข้ามารับผิดชอบในการร่วมผลิตข่าว 1 ราย (ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทดังกล่าวคือ ดิจิตอล มีเดียโฮลดิ้ง จำกัด) จากสัญญาที่เอกชนทำกับช่องเอ็นบีที มีทั้งหมด 51 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาร่วมผลิตรายการ 14 สัญญาซึ่งบริษัทดังกล่าวอยู่ในส่วนนี้ ที่เหลือเป็นการรับจ้างผลิต
“แต่น่าตกใจเหมือนกัน เพราะว่าถ้าหากมองว่าบริษัทนั้นทำข่าวไม่เป็นกลาง แล้วบอกเลิกสัญญา แล้วให้ช่อง 11 ทำข่าวเอง จะไหวไหม ซึ่งช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์อ่อนแอมาก การที่จะให้ช่อง 11 ทำข่าวเอง กรมฯบอกว่าต้องลดเวลาการนำเสนอข่าวลงบ้างจากเดิม เพราะจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ซึ่งสถานะของทีวีตอนนี้ติดลบ จากหลายสาเหตุ เช่น สถานะที่ติดลบของช่องเอ็นบีทีนั้น เพราะว่ามีหน่วยงานราชการจำนวนมากที่เข้ามาขอใช้บริการถ่ายทอดสดหรืออออกรายากร แล้วบางครั้งไม่ยอมจ่ายเงินหรือมาใช้ฟรี หากเอาบริษัทที่ร่วมผลิตรายการข่าวนั้นออกไป ลูกจ้างของกรมฯจะเดือดร้อน เพราะมีจำนวนหลายคนที่รับเงินค่าจ้างจากบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มาก คนภายนอกไม่ค่อยมีใครรู้เลย
นายสาทิตย์กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ที่ต้องตอบคำถามให้ได้ในเวลานี้คือว่า 1.จะให้กรมประชาสัมพันธ์ หรือเอ็นบีทีเป็นเอสดียูเลี้ยงตัวเองต่อไปอีกหรือไม่ หรือ 2. รัฐบาลจะต้องเข้าไปสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เอ็นบีทีอยู่รอดต่อหรือไม่
เพราะว่าในยุคหนึ่งมีคนต้องการทำให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นเอสดียู คือหากินเองเลี้ยงตัวเอง แต่ก็เหมือนบุฟเฟต์ ก่อนหน้านี้โฆษณาไม่เคยมี พอมีโฆษณาได้ เป็นแค่โฆษณาภาพลักษณ์ แต่ว่าตอนนี้โฆษณาภาพลักษณ์มันหมิ่นเหม่มาก” นายสาทิตย์กล่าว
ส่วนกรณที่ว่าเอ็นบีทีจะปรับผังรายการใหม่นั้น ปรากฎว่า มีรายการใหม่ที่ขอให้ช่วยมากกว่ารายการและเวลาของสถานีที่มีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งนายสาทิตย์กล่าวตลกว่า คงจะต้องทำเรื่องขอคณะรัฐมนตรีให้วันหนึ่งมีเวลาเพิ่มเป็น 28 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้มีรายการลงผังได้หมด
นายสาทิตย์ยังได้กล่าวถึงภาพรวมของสื่อด้วยว่า ช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาสื่อประสบปัญหาถูกครอบงำและแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ซึ่งก่อนหน้านั้นถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐเป็นหลัก การนำเสนอของสื่อบิดเบียนจากทิศทางที่ควรจะเป็น บทบาทสื่อของภาครัฐถูกกระทบอย่างชัดเจนทั้งช่อง 11 ช่องอสมท รวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ที่มีสื่อใหม่ๆเกิดขึ้นเช่น สื่อออนไลน์ อินเทอร์เน็ต วิทยุชุมชน ซึ่งกฎหมายตามไม่ทัน ก็อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เอกชนพยายามหาทางต่อสู้เมื่อถูกกดดันและการคุกคามจากภาครัฐ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารัฐบาลจะทำการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อของภาครัฐ ซึ่งจะมีคณะกรรมการฯรวมกว่า 10 ท่าน โดยมีตนเองและคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นที่ปรึกษา ของคณะกรรมการฯชุดนี้
ทั้งนี้ บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกมาจากทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมกับการปฏิรูปสื่อ ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นักวิชาชีพทางด้านสื่อสารมวลชน องค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ ภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีบุคคลที่ได้รับการทาบทามไว้บ้างแล้วเช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากทีดีอาร์ไอ, นายภัทระ คำพิทักษ์ , ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ , ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์, ดร.วิลาสินี พิพิธกุล และนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นต้น
สำหรับหน้าที่ของคณะกรมการฯดังกล่าว จะต้องทำการศึกษาโครงสร้างการปฏิรูปสื่อของรัฐในระยะยาว 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การศึกษาโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ แนวทางการนำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ออกมาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ ว่าจะมีแนวทางการดำเนินงาอย่างไร 2.การศึกษาโครงสร้างการบริหารคลื่นความถี่ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในอนาคต และ 3.ศึกษาหาแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของหน่วยงานต่างๆ หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับแก้ไขปี 2543 ไปแล้ว ซึ่งทำให้เกิดคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ กสทช.ว่าจะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ของหน่วยงานต่างๆ อย่างไร
นายสาทิตย์กล่าวต่อถึงนโยบายการปรับเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์หรือช่องเอ็นบีทีในขณะนี้รัฐบาลวางไว้ 2 ระยะ คือ 1.ระยะสั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องปฎิบัติได้ทันที และ 2.ระยะยาว ซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนี้ไปอีกอย่างต่ำ 1 ปี
ทั้งนี้ นโยบายในระยะสั้นนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น รัฐบาลต้องการวางตำแหน่งของช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะกับสถานีที่เป็นประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ควบคู่กันไป โดยเน้นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในสังคม ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
อย่างไรก็ตาม ช่อง 11 จะไม่ใช่เป็นทีวีสาธารณะเต็มตัว เนื่องจากว่า มีช่องไทยพีบีเอสอยู่แล้วที่เป็นช่องทีวีสาธารณะ เพราะมีเงินจากภาษีบาปแต่ละปีกว่า 1,700-2,000 ล้านบาทที่ภาครัฐเข้ามาช่วยในด้านค่าใช้จ่าย
“ช่อง 11 จะต้องมีพื้นที่เพื่อข่าวสาธารณะประมาณ 40-50% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นรายการบันเทิง” นายสาทิตย์กล่าว
สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงก่อนอย่างเร่งด่วนของช่องเอ็นบีที ก็คือ เรื่องของโลโก้ เอ็นบีที เนื่องจาก ช่องเอ็นบีทีเกิดขึ้นมาท่ามกลางวิกฤติการขัดแย้งทางการเมืองและถูกจำกัดว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน และคนที่คิดโลโก้เอ็นบีทีก็เป็นคนภายในองค์กรช่อง 11 เอง ซึ่งแบรนด์นี้ถูกนิยามแล้วว่า มีความขัดแย้งกับอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการเปลี่ยนโลโก้เพื่ภาภาพลักษณ์ใหม่ของช่อง 11 ตอนนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแข่งขันจัดประกวดโลโก้ใหม่
จุดยืนจริงๆ ของรัฐบาลต้องการให้ช่อง 11 เป็นทีวีแห่งชาติจริงๆ ดังนั้นจึงต้องทำอะไรบางอย่างที่เพิ่มความน่าเชื่อถือได้ อย่างเป็นทางการ ต้องสร้างเสริมความสามัคคี มีความเที่ยงตรง เสนอข่าวรอบด้านให้ผู้ชมได้ใช้ดุลยพินิจของตัวเองในการตัดสินใจ
ส่วนเรื่องของผังรายการนั้นอยู่ระหว่างการปรับผังใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เนื่องจากข่าวสารสาระยังคงเป็นจุดแข็งของการนำเสนอของทีวีอยู่ ขณะนี้ช่อง 11 มีเวลาของข่าวประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน นโยบายที่จะปรับให้ข่าวต้องเป็นจุดแข็ง ต้องปรับให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องแยกความคิดเห็นส่วนตัวออกจากการรายงานข่าว ซึ่งตอนนี้ช่องเอ็นบีที ใช้บริษัทเอกชนเข้ามารับผิดชอบในการร่วมผลิตข่าว 1 ราย (ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทดังกล่าวคือ ดิจิตอล มีเดียโฮลดิ้ง จำกัด) จากสัญญาที่เอกชนทำกับช่องเอ็นบีที มีทั้งหมด 51 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาร่วมผลิตรายการ 14 สัญญาซึ่งบริษัทดังกล่าวอยู่ในส่วนนี้ ที่เหลือเป็นการรับจ้างผลิต
“แต่น่าตกใจเหมือนกัน เพราะว่าถ้าหากมองว่าบริษัทนั้นทำข่าวไม่เป็นกลาง แล้วบอกเลิกสัญญา แล้วให้ช่อง 11 ทำข่าวเอง จะไหวไหม ซึ่งช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์อ่อนแอมาก การที่จะให้ช่อง 11 ทำข่าวเอง กรมฯบอกว่าต้องลดเวลาการนำเสนอข่าวลงบ้างจากเดิม เพราะจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ซึ่งสถานะของทีวีตอนนี้ติดลบ จากหลายสาเหตุ เช่น สถานะที่ติดลบของช่องเอ็นบีทีนั้น เพราะว่ามีหน่วยงานราชการจำนวนมากที่เข้ามาขอใช้บริการถ่ายทอดสดหรืออออกรายากร แล้วบางครั้งไม่ยอมจ่ายเงินหรือมาใช้ฟรี หากเอาบริษัทที่ร่วมผลิตรายการข่าวนั้นออกไป ลูกจ้างของกรมฯจะเดือดร้อน เพราะมีจำนวนหลายคนที่รับเงินค่าจ้างจากบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มาก คนภายนอกไม่ค่อยมีใครรู้เลย
นายสาทิตย์กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ที่ต้องตอบคำถามให้ได้ในเวลานี้คือว่า 1.จะให้กรมประชาสัมพันธ์ หรือเอ็นบีทีเป็นเอสดียูเลี้ยงตัวเองต่อไปอีกหรือไม่ หรือ 2. รัฐบาลจะต้องเข้าไปสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เอ็นบีทีอยู่รอดต่อหรือไม่
เพราะว่าในยุคหนึ่งมีคนต้องการทำให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นเอสดียู คือหากินเองเลี้ยงตัวเอง แต่ก็เหมือนบุฟเฟต์ ก่อนหน้านี้โฆษณาไม่เคยมี พอมีโฆษณาได้ เป็นแค่โฆษณาภาพลักษณ์ แต่ว่าตอนนี้โฆษณาภาพลักษณ์มันหมิ่นเหม่มาก” นายสาทิตย์กล่าว
ส่วนกรณที่ว่าเอ็นบีทีจะปรับผังรายการใหม่นั้น ปรากฎว่า มีรายการใหม่ที่ขอให้ช่วยมากกว่ารายการและเวลาของสถานีที่มีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งนายสาทิตย์กล่าวตลกว่า คงจะต้องทำเรื่องขอคณะรัฐมนตรีให้วันหนึ่งมีเวลาเพิ่มเป็น 28 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้มีรายการลงผังได้หมด
นายสาทิตย์ยังได้กล่าวถึงภาพรวมของสื่อด้วยว่า ช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาสื่อประสบปัญหาถูกครอบงำและแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ซึ่งก่อนหน้านั้นถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐเป็นหลัก การนำเสนอของสื่อบิดเบียนจากทิศทางที่ควรจะเป็น บทบาทสื่อของภาครัฐถูกกระทบอย่างชัดเจนทั้งช่อง 11 ช่องอสมท รวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ที่มีสื่อใหม่ๆเกิดขึ้นเช่น สื่อออนไลน์ อินเทอร์เน็ต วิทยุชุมชน ซึ่งกฎหมายตามไม่ทัน ก็อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เอกชนพยายามหาทางต่อสู้เมื่อถูกกดดันและการคุกคามจากภาครัฐ