นายสุธรรม นทีทอง เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการที่ตน ลงพื้นที่ไปเปิดงานล่องแพพะโต๊ะ ที่จ.ชุมพร เพื่อมอบนโยบายเรียนฟรีให้ครูในอ.พะโต๊ะรับทราบ และได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและความทุกข์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยนายบรรยงค์ ณธรรมะ ผอ.โรงเรียนปากเลข อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ได้ร้องเรียนว่า เด็กนักเรียนของโรงเรียนดังกล่าวไม่ดื่มนมในโครงการโรงเรียน ที่ภาครัฐนำมาแจก แม้ครูประจำชั้นจะพยายามขอร้องให้ดื่มเพื่อสุขภาพของเด็ก แต่ก็พบว่าเด็กยังนำไปแอบทิ้ง เมื่อถูกจับได้ก็บอกเหตุผลว่านมมีกลิ่น ไม่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ นายบรรยงค์ได้ตรวจสอบโครงการนมโรงเรียนพบว่า นมดังกล่าวไม่มีคุณภาพจริง ไม่ใช่นมสด 100 % ตามที่ประกาศนโยบายไว้ แต่กลับนำหางนมมาผสมน้ำบรรจุถุงให้นักเรียนกิน สร้างความเดือดร้อนให้กับเด็ก และเยาวชนจนไม่รู้จะพึงพาใคร จึงได้มาร้องทุกข์ในที่ประชุม
หลังจากรับทราบเรื่องได้ถามในที่ประชุม และสอบถามจากนายสมโภชน์ โชติชูช่วง นายอำเภอพะโต๊ะ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าอำนาจการจัดซื้อนมเป็นของ องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พร้อมทั้งได้ตามนายธนยศ พราหมนาเวศ นายกเทศมนตรีเทศบาลพะโต๊ะ และนายสุธรรม ทิพย์มโนสิง นายกอบต.ตังหวาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงมาสอบถามถึงข้อเท็จจริงก็ได้รับการยืนยันว่า เคยได้รับการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวทั้งในเขตเทศบาลและอบต. ซึ่งพบว่านมที่จัดหามาให้นักเรียนดื่มตามโครงการนมโรงเรียนเป็นนมไม่มีคุณภาพจริง ซึ่งทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบก็พบปัญหานี้ แม้ทั้ง 2 คนในฐานะผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อ ได้พยายามเปลี่ยนบริษัทที่จัดหานมมาส่งให้โรงเรียน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีบริษัทอื่นขายให้
แม้นมในโครงการโรงเรียนจะมีราคาใกล้เคียงกับนมที่มีขายตามร้านโชว์ห่วย หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีคุณภาพดีกว่า ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีหนังสือคำสั่งกำชับมาจากกระทรวงมหาดไทยระบุว่า ให้ อปท.จัดซื้อเฉพาะบริษัทที่กำหนดมาให้เท่านั้น โดยนมในโครงการแบ่งเป็น นมพาสเจอไรท์บรรจุถุง ราคาถุงละ 6.50 บาท นมกล่องยูเอชทีขนาดเล็ก กล่องละ 7.86 บาท และนมบรรจุถุงพลาสติก ถุงละ 7.67 บาท เมื่อเทียบราคากับนมที่มีขายในท้องตลาดยังมีราคาถูกว่า
นายสุธรรม กล่าวว่า จากที่ได้สอบถามจากนายสมโภชน์ว่ามีหนังสือสั่งการ มาจากกระทรวงมหาดไทยจริงหรือไม่ ก็พบว่ามีหนังสือคำสั่งเป็นลายลักษ์อักษร ทางราชการจริง เป็นคำสั่งที่ มท.08934/ว. จากกรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 29 ต.ค. 2551 เรื่อง การจัดซื้ออาหารเสริมนมโรงเรียน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ สรุปสาระเหตุผลว่า
1.คณะอนุกรรมการโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนมีมติเห็นชอบรับรองรายชื่อผู้ประกอบการแปรรูปนมที่มีสิทธิจำหน่ายนมในโครงการโรงเรียนจำนวน 68 ราย และให้อปท.ทั่วประเทศที่ได้รับงบประมาณในโครงการดังกล่าวจัดซื้อนมจาก 68 รายนี้เท่านั้น
2.แบ่งพื้นที่ทั่วประเทศออกเป็น 3 โซนคือ 1.พื้นที่ภาคเหนือจัดซื้อได้ 17 จังหวัด 2.พื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ 22 จังหวัด และ3.ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง 37 จังหวัด
3.มีข้อตกลงกำชับมาด้วยว่าผู้ประกอบการนมจะไม่ดำเนินคดี หรือเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากอปท. และ4.ให้อปท.ส่งสำเนาสัญญาการซื้อขายไปให้สำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นประจำจังหวัดรวบรวม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของคณะกรรมการ ซึ่งในท้ายหนังสือคำสั่งดังกล่าวลงชื่อ นายสุกิจ เจริญรัตนกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนายธนยศ และนายสุธรรม ได้บอกข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้จะมีรายชื่อผู้ประกอบการจัดส่งนม 68 ราย แต่ในความจริงในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีการแบ่งพื้นที่ ออกเป็นโซนๆ เพื่อขายนมให้กับโรงเรียนต่างๆ เป็นเขตใครเขตมัน ห้ามซื้อขายข้ามเขต เสมือนเป็นการล็อคสเป็คนม ล็อคบริษัทที่ผลิตนม รวมถึงการแบ่งจัดสรรพื้นที่หากินกับนมโรงเรียน ซึ่งคาดว่าน่าจะทำเป็นกระบวนการเขมือบนมโรงเรียนแล้วแบ่งกันหากินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตั้งแต่นักการเมืองระดับใหญ่ในรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยมีการสั่งการให้ข้าราชการในสังกัดเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินกับนมเด็ก โดยไม่คำนึงถึงการเจริญเติบโต และอนาคตของเด็ก เยาวชนของชาติ
นายสุธรรม กล่าวว่า ภายหลังจากพบข้อมูลดังกล่าว ยังพบอีกว่าขบวนการดังกล่าวพยายามเข้ามาหากินในกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกัน โดยนักการเมืองเก่าๆ พยายามส่งคนของตัวเองเข้ามาติดต่อเสนอโครงการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ โดยได้พยายามเสนอให้กระทรวงศึกษาขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ จัดพิมพ์ทั้งหนังสือเรียน เครื่องแบบนักเรียน โดยเน้นที่จะให้มาตรฐานมอก. หลังจากนั้นก็คงจะใช้วิธีการแบ่งโซนเช่นเดียวกับขบวนการเขมือบนมโรงเรียน แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ รู้ทัน จึงได้มีคำสั่งห้ามผู้บริหารในกระทรวงศึกษาทุกระดับ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง รวมถึงการล็อคสเป็คในทุกเรื่อง โดยปล่อยให้โรงเรียนต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการเอง พร้อมกำชับให้ผู้ปกครองและนักเรียนในโรงเรียนนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมจนทำให้นักการเมืองเก่าๆ ไม่พอใจจึงนำเรื่องนี้ไปอภิปรายในสภาฯ เพราะเป็นการเสียผลประโยชน์
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า ขณะที่ตนอยู่ในพื้นที่จ.ชุมพร ก็ได้มีการตรวจสอบไปยังโรงเรียนในเขตอำเภออื่นๆ ทั้งจังหวัดแล้วก็พบว่า มีพฤติรรมถูกเขมือบนมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า ตนจะตรวจสอบในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป และจะนำเรื่องเรียนต่อรมว.ศึกษาให้รับทราบ เพื่อให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ทำการติดตาม ตรวจสอบกระบวนการทุจริตเขมือบนม โดยจะเสนอกวาดล้างการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ยังมีพฤติกรรมเป็นมรดกบาปตกทอดมาถึงรัฐบาลชุดนี้
ขอเตือนให้ข้าราชการทุกระดับว่า รัฐบาลก็เปลี่ยนแปลงแล้ว ข้าราชการอย่ามัวแต่หากินเปอร์เซ็นต์และส่งผลประโยชน์ให้นักการเมืองเก่าอยู่เลย บุญคุณที่เขาแต่งตั้งให้มีตำแหน่งควรจะจบสิ้นได้แล้ว และควรหันมาทำงานให้ชาติบ้านเมืองพัฒนาก้าวหน้าไปกว่านี้จะดีกว่า
ทั้งนี้ นายบรรยงค์ได้ตรวจสอบโครงการนมโรงเรียนพบว่า นมดังกล่าวไม่มีคุณภาพจริง ไม่ใช่นมสด 100 % ตามที่ประกาศนโยบายไว้ แต่กลับนำหางนมมาผสมน้ำบรรจุถุงให้นักเรียนกิน สร้างความเดือดร้อนให้กับเด็ก และเยาวชนจนไม่รู้จะพึงพาใคร จึงได้มาร้องทุกข์ในที่ประชุม
หลังจากรับทราบเรื่องได้ถามในที่ประชุม และสอบถามจากนายสมโภชน์ โชติชูช่วง นายอำเภอพะโต๊ะ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าอำนาจการจัดซื้อนมเป็นของ องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พร้อมทั้งได้ตามนายธนยศ พราหมนาเวศ นายกเทศมนตรีเทศบาลพะโต๊ะ และนายสุธรรม ทิพย์มโนสิง นายกอบต.ตังหวาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงมาสอบถามถึงข้อเท็จจริงก็ได้รับการยืนยันว่า เคยได้รับการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวทั้งในเขตเทศบาลและอบต. ซึ่งพบว่านมที่จัดหามาให้นักเรียนดื่มตามโครงการนมโรงเรียนเป็นนมไม่มีคุณภาพจริง ซึ่งทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบก็พบปัญหานี้ แม้ทั้ง 2 คนในฐานะผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อ ได้พยายามเปลี่ยนบริษัทที่จัดหานมมาส่งให้โรงเรียน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีบริษัทอื่นขายให้
แม้นมในโครงการโรงเรียนจะมีราคาใกล้เคียงกับนมที่มีขายตามร้านโชว์ห่วย หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีคุณภาพดีกว่า ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีหนังสือคำสั่งกำชับมาจากกระทรวงมหาดไทยระบุว่า ให้ อปท.จัดซื้อเฉพาะบริษัทที่กำหนดมาให้เท่านั้น โดยนมในโครงการแบ่งเป็น นมพาสเจอไรท์บรรจุถุง ราคาถุงละ 6.50 บาท นมกล่องยูเอชทีขนาดเล็ก กล่องละ 7.86 บาท และนมบรรจุถุงพลาสติก ถุงละ 7.67 บาท เมื่อเทียบราคากับนมที่มีขายในท้องตลาดยังมีราคาถูกว่า
นายสุธรรม กล่าวว่า จากที่ได้สอบถามจากนายสมโภชน์ว่ามีหนังสือสั่งการ มาจากกระทรวงมหาดไทยจริงหรือไม่ ก็พบว่ามีหนังสือคำสั่งเป็นลายลักษ์อักษร ทางราชการจริง เป็นคำสั่งที่ มท.08934/ว. จากกรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 29 ต.ค. 2551 เรื่อง การจัดซื้ออาหารเสริมนมโรงเรียน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ สรุปสาระเหตุผลว่า
1.คณะอนุกรรมการโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนมีมติเห็นชอบรับรองรายชื่อผู้ประกอบการแปรรูปนมที่มีสิทธิจำหน่ายนมในโครงการโรงเรียนจำนวน 68 ราย และให้อปท.ทั่วประเทศที่ได้รับงบประมาณในโครงการดังกล่าวจัดซื้อนมจาก 68 รายนี้เท่านั้น
2.แบ่งพื้นที่ทั่วประเทศออกเป็น 3 โซนคือ 1.พื้นที่ภาคเหนือจัดซื้อได้ 17 จังหวัด 2.พื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ 22 จังหวัด และ3.ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง 37 จังหวัด
3.มีข้อตกลงกำชับมาด้วยว่าผู้ประกอบการนมจะไม่ดำเนินคดี หรือเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากอปท. และ4.ให้อปท.ส่งสำเนาสัญญาการซื้อขายไปให้สำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นประจำจังหวัดรวบรวม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของคณะกรรมการ ซึ่งในท้ายหนังสือคำสั่งดังกล่าวลงชื่อ นายสุกิจ เจริญรัตนกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนายธนยศ และนายสุธรรม ได้บอกข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้จะมีรายชื่อผู้ประกอบการจัดส่งนม 68 ราย แต่ในความจริงในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีการแบ่งพื้นที่ ออกเป็นโซนๆ เพื่อขายนมให้กับโรงเรียนต่างๆ เป็นเขตใครเขตมัน ห้ามซื้อขายข้ามเขต เสมือนเป็นการล็อคสเป็คนม ล็อคบริษัทที่ผลิตนม รวมถึงการแบ่งจัดสรรพื้นที่หากินกับนมโรงเรียน ซึ่งคาดว่าน่าจะทำเป็นกระบวนการเขมือบนมโรงเรียนแล้วแบ่งกันหากินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตั้งแต่นักการเมืองระดับใหญ่ในรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยมีการสั่งการให้ข้าราชการในสังกัดเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินกับนมเด็ก โดยไม่คำนึงถึงการเจริญเติบโต และอนาคตของเด็ก เยาวชนของชาติ
นายสุธรรม กล่าวว่า ภายหลังจากพบข้อมูลดังกล่าว ยังพบอีกว่าขบวนการดังกล่าวพยายามเข้ามาหากินในกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกัน โดยนักการเมืองเก่าๆ พยายามส่งคนของตัวเองเข้ามาติดต่อเสนอโครงการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ โดยได้พยายามเสนอให้กระทรวงศึกษาขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ จัดพิมพ์ทั้งหนังสือเรียน เครื่องแบบนักเรียน โดยเน้นที่จะให้มาตรฐานมอก. หลังจากนั้นก็คงจะใช้วิธีการแบ่งโซนเช่นเดียวกับขบวนการเขมือบนมโรงเรียน แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ รู้ทัน จึงได้มีคำสั่งห้ามผู้บริหารในกระทรวงศึกษาทุกระดับ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง รวมถึงการล็อคสเป็คในทุกเรื่อง โดยปล่อยให้โรงเรียนต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการเอง พร้อมกำชับให้ผู้ปกครองและนักเรียนในโรงเรียนนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมจนทำให้นักการเมืองเก่าๆ ไม่พอใจจึงนำเรื่องนี้ไปอภิปรายในสภาฯ เพราะเป็นการเสียผลประโยชน์
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า ขณะที่ตนอยู่ในพื้นที่จ.ชุมพร ก็ได้มีการตรวจสอบไปยังโรงเรียนในเขตอำเภออื่นๆ ทั้งจังหวัดแล้วก็พบว่า มีพฤติรรมถูกเขมือบนมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า ตนจะตรวจสอบในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป และจะนำเรื่องเรียนต่อรมว.ศึกษาให้รับทราบ เพื่อให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ทำการติดตาม ตรวจสอบกระบวนการทุจริตเขมือบนม โดยจะเสนอกวาดล้างการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ยังมีพฤติกรรมเป็นมรดกบาปตกทอดมาถึงรัฐบาลชุดนี้
ขอเตือนให้ข้าราชการทุกระดับว่า รัฐบาลก็เปลี่ยนแปลงแล้ว ข้าราชการอย่ามัวแต่หากินเปอร์เซ็นต์และส่งผลประโยชน์ให้นักการเมืองเก่าอยู่เลย บุญคุณที่เขาแต่งตั้งให้มีตำแหน่งควรจะจบสิ้นได้แล้ว และควรหันมาทำงานให้ชาติบ้านเมืองพัฒนาก้าวหน้าไปกว่านี้จะดีกว่า