รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดูออกจะ “ดูเบา” สถานการณ์และ “สำคัญผิด” ในสาระสำคัญของความเป็นรัฐบาลในขณะนี้ไป
ท่านจึงปฏิบัติตัวเหมือนสถานการณ์ปกติ
ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นสถานการณ์วิกฤต!
ทำให้ท่านยังไม่ทำเรื่องสำคัญ 2 ประการเท่าที่ควร ใน 2 วรรคทองที่ท่านกล่าวไว้เมื่อตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
“จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครนำมาสร้างความขัดแย้ง หรือดึงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง...”
“หน้าที่เบื้องต้นของผม คือการยุติการเมืองที่ล้มเหลว...”
ท่านยังเขียนไว้ในนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ข้อ 1.1.3 ว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยเขียนภารกิจของกรรมการชุดนี้ไว้ว่า...
“เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง...”
ถ้าท่านทำไปแล้ว ก็จะมีคำตอบต่อร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติได้ว่าไม่เอา เพราะจะต้องให้ออกมาจากคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่จะต้องทำหน้าที่มองภาพรวมทั้งระบบ
การดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ขณะนี้พิสูจน์ชัดแล้วว่าเป็นส่วนหนึ่งการการมุ่งหวังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐที่ให้ทุกตำแหน่ง – รวมทั้งตำแหน่งประมุข – มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์กับการปฏิรูปการเมืองจึงเป็นประเด็นเดียวกัน
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ออกกฎหมายยกโทษความผิดให้แก่ทั้งฝ่ายพ.ต.ทักษิณ ชินวัตรและฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและทหารตำรวจทั้งหลาย แต่จะต้องเป็นการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เช่นกัน จะพิจารณาแต่ด้านตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายสถานเดียวไม่ได้
ต้องมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป
โดยจะต้องมองว่า จะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงพิสูจน์แล้วว่าเขาไม่เอาส่วนที่ 2 และให้ความสำคัญน้อยกับส่วนที่ 3 โดยพุ่งเป้าไปที่ส่วนที่ 4 มากที่สุด
ส่วนแถลงการณ์สยามแดงของนายใจ อึ๊งภากรณ์นั้นชัดเจนว่าไม่เอาส่วนที่ 1 เลย
ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะต้องเร่งก่อตั้งคณะกรรมการอิสระในทำนอง “คพป. - ภาค 2” ขึ้นมาทันที และส่งมอบโจทย์ข้างต้นให้
คพป.ย่อมาจากคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2537 โดยนายมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแก้วิกฤตการเมืองในขณะนั้นที่เกิดจากการอดข้าวร้องขอรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของร.ต.ฉลาด วรฉัตร ซึ่งพอจะถือได้ว่ากำลังจะเป็นภาคต่อเนื่องของเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่จุดชนวนเป็นครั้งแรกจากการอดข้าวของท่านผู้นี้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2535 ก่อนจะตามสมทบด้วยการอดข้าวชนิดเข้มข้นของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และขยายเป็นการต่อสู้ของพลังประชาธิปไตยทั้งมวล
เรื่องนี้ท่านนายกฯ จำได้ดีกว่าใคร เพราะตั้งแต่ปลายปี 2534 ท่านก็ขึ้นเวทีปราศรัยเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นเหตุการณ์อุ่นเครื่องก่อนเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 แล้ว
หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยมีพล.ต.จำลอง ศรีเมืองนำพรรคพลังธรรมเข้าร่วมด้วย
แต่ไปกันได้ไม่ค่อยสวยงามนัก
การออกมาอดข้าวประท้วงอีกครั้งของร.ต.ฉลาด วรฉัตรทำให้เกิดรอยร้าวใหญ่ระหว่าง 2 พรรค
คพป.ที่ก่อตั้งขึ้นมาแม้ไม่สามารถสมานรอยร้าวระหว่าง 2 พรรคได้มากนัก แต่ก็ทำให้แนวโน้มความรุนแรงยุติลงในระดับสำคัญ และด้วยการทำงานที่มุ่งมั่นของคณะกรรมการส่วนใหญ่ ภายใต้การนำของอาจารย์หมอประเวศ วะสี ประธาน และอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ และบรรดานักกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่กำลังร้อนวิชา เดือนเมษายน 2538 คพป.ก็ได้ข้อสรุปเสนอต่อประธานรัฐสภา
แม้จะไม่สัมฤทธิผลในทันที แต่นี่ก็คือรากฐานที่พัฒนาต่อไปเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 มาตรา 211 ในอีก 18 เดือนต่อมา เป็นต้นกำเนิดของ ส.ส.ร.ที่ทำคลอดรัฐธรรมนูญ 2540
สถานการณ์ในขณะนี้แม้ไม่เหมือนแต่ก็นับว่าละม้ายคล้ายคลึง!
วิกฤตที่เกิดขึ้นอันมีผลทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ไม่ว่าเมื่อปี 2535 หรือ 2551 ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ให้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองโดยพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาลภายใต้โครงสร้างทางการเมืองเดิม และถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงชักช้า ประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อสู้ไม่ว่าเมื่อปี 2535 หรือ 2551 เขาก็ต้องก่อการเคลื่อนไหวอีกอยู่ดี และอย่าคิดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งเขาจะไม่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับพรรคประชาธิปัตย์
ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ณ ปี 2552 ก้าวหน้าไปกว่านายกฯ ชวน หลีกภัย ณ ปี 2535 ขั้นหนึ่งด้วยการประกาศว่าจะยุติการเมืองที่ล้มเหลว และพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์
แต่แค่ประกาศยังไม่พอครับ ต้องเร่งลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย!
ข้อเสนอหลายประการของ คปพ.ภาค 1 เมื่อปี 2537 ใช้เป็นฐานต่อยอดความคิดได้ เป็นต้นว่าเรื่องที่มาของ ส.ส. ที่มาของ ส.ว. การมีสภาที่ 3 หรือการแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ฉบับ และ ฯลฯ ผู้คนในแวดวงการเมืองที่ยังมีหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อ “ข้อเสนอกรอบความคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย” จัดพิมพ์โดย คพป. ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) น่าจะลองย้อนอ่านดู
ถ้าตั้งเสียแต่วันแต่พรุ่ง ภายในเวลาก่อนสิ้นปี 2552 รายงานจาก คพป. ภาค 2 จะเสร็จสมบูรณ์
รู้ครับว่าไม่ง่ายที่จะหาใครมาทำในสภาวะทางการเมืองแบบนี้ รู้ครับว่าไม่ง่ายที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับ
แต่ท่านต้องรีบทำในขณะที่เครดิตทางการเมืองเหลืออยู่!
ท่านจึงปฏิบัติตัวเหมือนสถานการณ์ปกติ
ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นสถานการณ์วิกฤต!
ทำให้ท่านยังไม่ทำเรื่องสำคัญ 2 ประการเท่าที่ควร ใน 2 วรรคทองที่ท่านกล่าวไว้เมื่อตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
“จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครนำมาสร้างความขัดแย้ง หรือดึงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง...”
“หน้าที่เบื้องต้นของผม คือการยุติการเมืองที่ล้มเหลว...”
ท่านยังเขียนไว้ในนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ข้อ 1.1.3 ว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยเขียนภารกิจของกรรมการชุดนี้ไว้ว่า...
“เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง...”
ถ้าท่านทำไปแล้ว ก็จะมีคำตอบต่อร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติได้ว่าไม่เอา เพราะจะต้องให้ออกมาจากคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่จะต้องทำหน้าที่มองภาพรวมทั้งระบบ
การดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ขณะนี้พิสูจน์ชัดแล้วว่าเป็นส่วนหนึ่งการการมุ่งหวังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐที่ให้ทุกตำแหน่ง – รวมทั้งตำแหน่งประมุข – มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์กับการปฏิรูปการเมืองจึงเป็นประเด็นเดียวกัน
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ออกกฎหมายยกโทษความผิดให้แก่ทั้งฝ่ายพ.ต.ทักษิณ ชินวัตรและฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและทหารตำรวจทั้งหลาย แต่จะต้องเป็นการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เช่นกัน จะพิจารณาแต่ด้านตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายสถานเดียวไม่ได้
ต้องมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป
โดยจะต้องมองว่า จะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงพิสูจน์แล้วว่าเขาไม่เอาส่วนที่ 2 และให้ความสำคัญน้อยกับส่วนที่ 3 โดยพุ่งเป้าไปที่ส่วนที่ 4 มากที่สุด
ส่วนแถลงการณ์สยามแดงของนายใจ อึ๊งภากรณ์นั้นชัดเจนว่าไม่เอาส่วนที่ 1 เลย
ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะต้องเร่งก่อตั้งคณะกรรมการอิสระในทำนอง “คพป. - ภาค 2” ขึ้นมาทันที และส่งมอบโจทย์ข้างต้นให้
คพป.ย่อมาจากคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2537 โดยนายมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแก้วิกฤตการเมืองในขณะนั้นที่เกิดจากการอดข้าวร้องขอรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของร.ต.ฉลาด วรฉัตร ซึ่งพอจะถือได้ว่ากำลังจะเป็นภาคต่อเนื่องของเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่จุดชนวนเป็นครั้งแรกจากการอดข้าวของท่านผู้นี้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2535 ก่อนจะตามสมทบด้วยการอดข้าวชนิดเข้มข้นของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และขยายเป็นการต่อสู้ของพลังประชาธิปไตยทั้งมวล
เรื่องนี้ท่านนายกฯ จำได้ดีกว่าใคร เพราะตั้งแต่ปลายปี 2534 ท่านก็ขึ้นเวทีปราศรัยเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นเหตุการณ์อุ่นเครื่องก่อนเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 แล้ว
หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยมีพล.ต.จำลอง ศรีเมืองนำพรรคพลังธรรมเข้าร่วมด้วย
แต่ไปกันได้ไม่ค่อยสวยงามนัก
การออกมาอดข้าวประท้วงอีกครั้งของร.ต.ฉลาด วรฉัตรทำให้เกิดรอยร้าวใหญ่ระหว่าง 2 พรรค
คพป.ที่ก่อตั้งขึ้นมาแม้ไม่สามารถสมานรอยร้าวระหว่าง 2 พรรคได้มากนัก แต่ก็ทำให้แนวโน้มความรุนแรงยุติลงในระดับสำคัญ และด้วยการทำงานที่มุ่งมั่นของคณะกรรมการส่วนใหญ่ ภายใต้การนำของอาจารย์หมอประเวศ วะสี ประธาน และอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ และบรรดานักกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่กำลังร้อนวิชา เดือนเมษายน 2538 คพป.ก็ได้ข้อสรุปเสนอต่อประธานรัฐสภา
แม้จะไม่สัมฤทธิผลในทันที แต่นี่ก็คือรากฐานที่พัฒนาต่อไปเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 มาตรา 211 ในอีก 18 เดือนต่อมา เป็นต้นกำเนิดของ ส.ส.ร.ที่ทำคลอดรัฐธรรมนูญ 2540
สถานการณ์ในขณะนี้แม้ไม่เหมือนแต่ก็นับว่าละม้ายคล้ายคลึง!
วิกฤตที่เกิดขึ้นอันมีผลทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ไม่ว่าเมื่อปี 2535 หรือ 2551 ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ให้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองโดยพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาลภายใต้โครงสร้างทางการเมืองเดิม และถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงชักช้า ประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อสู้ไม่ว่าเมื่อปี 2535 หรือ 2551 เขาก็ต้องก่อการเคลื่อนไหวอีกอยู่ดี และอย่าคิดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งเขาจะไม่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับพรรคประชาธิปัตย์
ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ณ ปี 2552 ก้าวหน้าไปกว่านายกฯ ชวน หลีกภัย ณ ปี 2535 ขั้นหนึ่งด้วยการประกาศว่าจะยุติการเมืองที่ล้มเหลว และพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์
แต่แค่ประกาศยังไม่พอครับ ต้องเร่งลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย!
ข้อเสนอหลายประการของ คปพ.ภาค 1 เมื่อปี 2537 ใช้เป็นฐานต่อยอดความคิดได้ เป็นต้นว่าเรื่องที่มาของ ส.ส. ที่มาของ ส.ว. การมีสภาที่ 3 หรือการแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ฉบับ และ ฯลฯ ผู้คนในแวดวงการเมืองที่ยังมีหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อ “ข้อเสนอกรอบความคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย” จัดพิมพ์โดย คพป. ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) น่าจะลองย้อนอ่านดู
ถ้าตั้งเสียแต่วันแต่พรุ่ง ภายในเวลาก่อนสิ้นปี 2552 รายงานจาก คพป. ภาค 2 จะเสร็จสมบูรณ์
รู้ครับว่าไม่ง่ายที่จะหาใครมาทำในสภาวะทางการเมืองแบบนี้ รู้ครับว่าไม่ง่ายที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับ
แต่ท่านต้องรีบทำในขณะที่เครดิตทางการเมืองเหลืออยู่!