“พีระพันธุ์” หอบข้อมูลอาคารผิดกฎหมายให้ “สุขุมพันธุ์” หวั่นซ้ำรอยผับนรกซานติก้า ชี้อุดช่องโหว่ปลอมลายเซ็นสถาปนิก-วิศวกร ให้เจ้าตัวมาเซ็นเองพร้อมผู้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร พ้อมรวบรวมข้อมูลอาคารสถานบันเทิงที่ผิดกฎหมายส่งกทม.เชือกหวั่นซ้ำรอยซานติก้าหลังส่งจนท.ตรวจพบหลายแห่ง ส่วน 18 ก.พ. นี้นำซานติก้า ผับเข้าที่ประชุมก่อนโอนเป็นคดีพิเศษ
วานนี้(13 ก.พ.)เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เข้าหารือร่วมกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)ถึงเรื่องการตรวจสอบอาคาร และมาตรการจัดการกับอาคารที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ กทม.
นายพีระพันธุ์ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าหารือว่า ได้นำข้อมูลเรื่องการสอบสวนเบื้องต้นกรณีซานติก้า ผับ และให้ข้อมูลหลังจากที่หน่วยงานของ ยธ. ลงพื้นที่สำรวจพบว่าในพื้นที่กทม. มีอาคารอยู่จำนวนมากที่เข้าข่ายลักษณะทำผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับ อาคารซานติก้า ผับ ดังนั้น ตนจึงเข้ามาประสานขอความร่วมมือ กทม.สั่งการให้ผู้อำนวยการเขตเร่งตรวจสอบอาคารในพื้นที่ หากพบอาคารที่ทำผิดกฎหมายก็ให้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะมีเหตุเกิดเพลิงไหม้ซ้ำรอยซานติก้า ผับ ย่านเอกมัย
นอกจากนั้นแล้วยังหารือถึงเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่ควบคุมสถานบริการ เช่น ความหละหลวมของกฎหมายที่ใช้ควบคุมสถานบริการ ความไม่ชัดเจนของกฎหมาย เป็นต้น ซึ่ง ในวันที่ 18 ก.พ. นี้ตนจะนำเรื่องของคดีซานติก้า ผับเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษว่าจะสามารถโอนให้เป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลนั้นคดีซานติก้า ผับ เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ คือ มีการทำผิดที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายรัษฎากรและภาษีสรรพสามิต ซึ่งการโอนคดีซานติก้า ผับ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดูแลนั้น จะไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือแตะถ่วงเวลาในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีฯอย่างแน่นอน
นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนได้เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาให้กับ กทม. โดยให้แก้ไขกฎหมายที่มีช่องโหว่ให้รัดกุมมากขึ้น และในช่วงที่อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายนั้น กทม.สามารถปรับปรุงการบริหารราชการเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนได้ เช่น การให้ข้าราชการเข้มงวดการออกใบอนุญาตและการตรวจสอบการใช้อาคาร นอกจากนี้ในส่วนของปัญหาการปลอมลายเซ็นวิศวกรนั้นน่าจะแก้ปัญหาด้วยการให้เจ้าตัวมาเซ็นต่อหน้าข้าราชการผู้ดำเนินการ เพื่อเป็นการป้องกัน นอกจากนี้ควรปรับปรุงระยะเวลาการออกใบอนุญาต ให้มีอายุเพียง1 ปีเท่านั้น เมื่อมีการต่ออายุครั้งต่อไปต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและการใช้อาคารหากพบว่ามีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้งาน ก็ไม่สมควรต่อใบอนุญาตให้
ด้านม.ร.ว.สุขมพันธุ์ เปิดเผยว่า จากการหารือระหว่าง ยธ.และกทม.มีความเห็นตรงกันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในการจะประสานความร่วมมือ เดินหน้าร่วมกันตรวจสอบอาคาร ซึ่งที่ผ่านมา ยธ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคารขนาดใหญ่พบว่าเข้าข่ายอันตรายเป็นจำนวนมาก โดยในพื้นที่การเลือกตั้งของรมว.ยุติธรรมที่ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง ลาดพร้าว และในพื้นที่ย่านทองหล่อ ก็มีอยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ ยธ.จะทำการรวบรวมรายชื่ออาคารอันตรายดังกล่าวอีกครั้ง เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว กทม.ก็จะสั่งการเขตให้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น หากพบว่าอาคารใดผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสถานบันเทิงที่มีการใช้ผิดประเภทจากที่มีการขออนุญาตเป็นอาคารพาณิชย์ เขตก็สามารถออกคำสั่ง ระงับการใช้งานอาคารได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2535 เพื่อให้เจ้าของทำการแก้ไขปรับปรุง หากไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ก็สามารถสั่งปิดได้ แต่ทั้งนี้ กทม.ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องกลับจากเจ้าของอาคาร
ส่วนเรื่องการปลอมลายเซ็น ได้มอบหมายให้ นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าฯกทม.ให้ไปหารือกับสมาคมวิชาชีพวิศวกร เพื่อให้การเซ็นอนุญาตก่อสร้างเป็นไปอย่างรัดกุมจึงเห็นด้วยในในส่วนนี้ ซึ่งตนจะสั่งการเขตให้ดำเนินการในทันที ส่วนเรื่องที่ ยธ.จะรับไปพิจารณายกร่างแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคารคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานจากนั้นจะส่งมาให้ กทม.รวบรวมและส่งต่อไปยัง ก.มหาดไทย เพื่อเสนอ ครม.เพื่อเข้าสู่สภาฯต่อไป หลังจากกรณี ซานติก้า ผับ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอาคารพบว่าสถานบริการบางแห่ง ทำการปรับปรุงอาคารตบตาเจ้าหน้าที่ เช่น ทำประตูให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มถังดับเพลิง เป็นต้น ซึ่งตนไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ทั้งนี้สำหรับผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการนั้นคาดว่าจะส่งมาให้ กทม.ภายใน 1 สัปดาห์
วานนี้(13 ก.พ.)เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เข้าหารือร่วมกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)ถึงเรื่องการตรวจสอบอาคาร และมาตรการจัดการกับอาคารที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ กทม.
นายพีระพันธุ์ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าหารือว่า ได้นำข้อมูลเรื่องการสอบสวนเบื้องต้นกรณีซานติก้า ผับ และให้ข้อมูลหลังจากที่หน่วยงานของ ยธ. ลงพื้นที่สำรวจพบว่าในพื้นที่กทม. มีอาคารอยู่จำนวนมากที่เข้าข่ายลักษณะทำผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับ อาคารซานติก้า ผับ ดังนั้น ตนจึงเข้ามาประสานขอความร่วมมือ กทม.สั่งการให้ผู้อำนวยการเขตเร่งตรวจสอบอาคารในพื้นที่ หากพบอาคารที่ทำผิดกฎหมายก็ให้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะมีเหตุเกิดเพลิงไหม้ซ้ำรอยซานติก้า ผับ ย่านเอกมัย
นอกจากนั้นแล้วยังหารือถึงเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่ควบคุมสถานบริการ เช่น ความหละหลวมของกฎหมายที่ใช้ควบคุมสถานบริการ ความไม่ชัดเจนของกฎหมาย เป็นต้น ซึ่ง ในวันที่ 18 ก.พ. นี้ตนจะนำเรื่องของคดีซานติก้า ผับเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษว่าจะสามารถโอนให้เป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลนั้นคดีซานติก้า ผับ เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ คือ มีการทำผิดที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายรัษฎากรและภาษีสรรพสามิต ซึ่งการโอนคดีซานติก้า ผับ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดูแลนั้น จะไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือแตะถ่วงเวลาในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีฯอย่างแน่นอน
นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนได้เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาให้กับ กทม. โดยให้แก้ไขกฎหมายที่มีช่องโหว่ให้รัดกุมมากขึ้น และในช่วงที่อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายนั้น กทม.สามารถปรับปรุงการบริหารราชการเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนได้ เช่น การให้ข้าราชการเข้มงวดการออกใบอนุญาตและการตรวจสอบการใช้อาคาร นอกจากนี้ในส่วนของปัญหาการปลอมลายเซ็นวิศวกรนั้นน่าจะแก้ปัญหาด้วยการให้เจ้าตัวมาเซ็นต่อหน้าข้าราชการผู้ดำเนินการ เพื่อเป็นการป้องกัน นอกจากนี้ควรปรับปรุงระยะเวลาการออกใบอนุญาต ให้มีอายุเพียง1 ปีเท่านั้น เมื่อมีการต่ออายุครั้งต่อไปต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและการใช้อาคารหากพบว่ามีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้งาน ก็ไม่สมควรต่อใบอนุญาตให้
ด้านม.ร.ว.สุขมพันธุ์ เปิดเผยว่า จากการหารือระหว่าง ยธ.และกทม.มีความเห็นตรงกันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในการจะประสานความร่วมมือ เดินหน้าร่วมกันตรวจสอบอาคาร ซึ่งที่ผ่านมา ยธ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคารขนาดใหญ่พบว่าเข้าข่ายอันตรายเป็นจำนวนมาก โดยในพื้นที่การเลือกตั้งของรมว.ยุติธรรมที่ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง ลาดพร้าว และในพื้นที่ย่านทองหล่อ ก็มีอยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ ยธ.จะทำการรวบรวมรายชื่ออาคารอันตรายดังกล่าวอีกครั้ง เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว กทม.ก็จะสั่งการเขตให้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น หากพบว่าอาคารใดผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสถานบันเทิงที่มีการใช้ผิดประเภทจากที่มีการขออนุญาตเป็นอาคารพาณิชย์ เขตก็สามารถออกคำสั่ง ระงับการใช้งานอาคารได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2535 เพื่อให้เจ้าของทำการแก้ไขปรับปรุง หากไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ก็สามารถสั่งปิดได้ แต่ทั้งนี้ กทม.ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องกลับจากเจ้าของอาคาร
ส่วนเรื่องการปลอมลายเซ็น ได้มอบหมายให้ นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าฯกทม.ให้ไปหารือกับสมาคมวิชาชีพวิศวกร เพื่อให้การเซ็นอนุญาตก่อสร้างเป็นไปอย่างรัดกุมจึงเห็นด้วยในในส่วนนี้ ซึ่งตนจะสั่งการเขตให้ดำเนินการในทันที ส่วนเรื่องที่ ยธ.จะรับไปพิจารณายกร่างแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคารคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานจากนั้นจะส่งมาให้ กทม.รวบรวมและส่งต่อไปยัง ก.มหาดไทย เพื่อเสนอ ครม.เพื่อเข้าสู่สภาฯต่อไป หลังจากกรณี ซานติก้า ผับ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอาคารพบว่าสถานบริการบางแห่ง ทำการปรับปรุงอาคารตบตาเจ้าหน้าที่ เช่น ทำประตูให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มถังดับเพลิง เป็นต้น ซึ่งตนไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ทั้งนี้สำหรับผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการนั้นคาดว่าจะส่งมาให้ กทม.ภายใน 1 สัปดาห์