ASTVผู้จัดการรายวัน - ไฟเขียวเปิดทางกองทุนรวม ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต หลังวิกฤตการเงินโลกทำพิษ ก.ล.ต. ดึงนวัตกรรมประกันความเสี่ยงคล้าย CDO ให้บริษัทจัดการลงทุนสามารถนำไปใช้ได้ ระบุให้ผู้จัดการกองทุนตัดสินใจเลือกเอง เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่กระทบผลตอบแทน คาด ออกประกาศใช้บังคับได้ภายในไตรมาสแรกนี้ ขณะเดียวกัน ยังแก้ไขข้อจำกัดการจัดตั้งกองทุน ส่งข้อมูลครบเมื่อไหร่ ถือว่าได้รับอนุมัติ เปิดขายได้ทันที
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานก.ล.ต. ได้เพิ่มประเภทหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและทรัพย์สินประเภทใหม่ๆ ให้หลากหลายมาก ซึ่งประกอบด้วย การอนุญาตให้กองทุนรวมใช้ดัชนีเงินเฟ้อและดัชนีกลยุทธ์การลงทุน (ที่สามารถ mark to market โดยบุคคลที่สามได้) เป็นสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ขณะเดียวกัน ยังเปิดทางให้กองทุนรวมเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต (credit derivatives) ได้ แต่ไม่อนุญาตให้กองทุนรวมทำธุรกรรมดังกล่าวเพื่อเก็งกำไร
นอกจากนี้ ยังให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงทุนในสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้เฉพาะในตราสารที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities index) แต่หากเป็นการลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ให้ลงทุนเป็นรายสินค้าได้ โดยต้องไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนด
ทั้งนี้ ในส่วนของการเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตของกองทุนจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หลังจากที่ผ่านมา ความเสี่ยงทางด้านเครดิตเพิ่มมากขึ้น จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก โดยหลักการของการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าว ความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้จะถูกโอนไปจากกองทุนไปยังผู้ขายประกันความเสี่ยง ซึ่งในปัจจุบัน ในส่วนของผู้ขายประกันความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำได้อยู่แล้ว
“การทำสัญญาป้องความเสี่ยงด้านเครดิต จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งในส่วนนี้จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนสำหรับกองทุนใหม่ ส่วนกองทุนเก่าก็ต้องขอมติผู้ถือหน่วยเพื่อขอแก้ไขโครงการต่อไป อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาป้องความเสี่ยงดังกล่าว อาจจะต้องมีต้นทุนเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนนี้อาจจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนลดลงตามไปด้วย ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับบริษัทจัดการเองว่าจะทำหรือไม่ทำ”นายประกิดกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีการต้องข้อสังเกตว่า การที่สัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต ผู้ขายประกันสามารถนำสัญญาเครดิตดังกล่าว ไปขายต่อกับผู้ประกันความเสี่ยงรายอื่นต่อได้เป็นทอดๆ ได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ CDO ที่เป็นต้นตอของปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายประเวศ องอาจสิทธิกุล รองเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ถึงแม้สัญญาดังกล่าวจะสามารถนำไปขายต่อเป็นทอดๆ ได้ แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับ CDO เพราะการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าว อนุญาตให้ทำเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการเก็งกำไร
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าว อยู่ระหว่างการร่างประกาศ และอยู่ระหว่างการสอบถามความคิดเห็นจากบริษัทจัดการกองทุน รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากมีความเห็นตรงกันแล้ว คาดว่าภายในไตรมาสแรก น่าจะสามารถออกเป็นประกาศบังคับใช้ได้
**เดินหน้าแก้ไขข้อจำกัดกองทุนรวม**
ขณะเดียวกัน นอกจากการเพิ่มประเภทหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้แล้ว สำนักงานก.ล.ต. ยังได้แก้ไขข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนอีกหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบอัตโนมัติ เพื่อให้การอนุญาตจัดตั้งกองทุนทำได้รวดเร็วขึ้น และทันต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากบลจ.ยื่นข้อมูลโครงการเข้ามาแล้วครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าได้รับการอนุมัติจัดตั้งกองทุนจากสำนักงานแล้ว ทั้งนี้ กำหนดให้ใช้ได้เฉพาะกองทุนรวมที่ไม่มีความซับซ้อนเท่านั้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยประเด็นที่แก้ไขสำคัญเรื่องหนึ่งคือการกำหนดให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (leasehold) ต้องจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิซึ่งหักรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized loss) จากการประเมินราคาสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แล้ว ทั้งนี้ หาก บลจ.ประสงค์จะนำสภาพคล่องจาก unrealized loss คืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก็สามารถกระทำได้โดยการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนซึ่งได้รับในรูปของเงินปันผลได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นไปบ้างแล้ว ในเบื้องต้นได้กำหนดขนาดกองทุนไว้ที่ 10,000 ล้านบาท โดยให้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะเดียวกัน ยังอนุญาตให้สามารถแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายประเภทได้ พร้อมเปิดทางให้กู้ยืมได้ยืดหยุ่นกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังต้องศึกษารูปแบบกองทุนชัดเจน ก่อนจะออกเป็นประกาศต่อไป
ด้านนางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า ในภาวะที่สถานการณ์ตลาดมีความผันผวนและไม่แน่นอน ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุน และมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ดังนั้น การที่ ก.ล.ต. มีแผนที่จะปรับปรุงกฎเกณฑ์และเพิ่มประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ รวมทั้งได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆ จึงถือเป็นสิ่งที่ดี และสมาชิกสมาคมควรร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ เมื่อ ก.ล.ต. มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานก.ล.ต. ได้เพิ่มประเภทหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและทรัพย์สินประเภทใหม่ๆ ให้หลากหลายมาก ซึ่งประกอบด้วย การอนุญาตให้กองทุนรวมใช้ดัชนีเงินเฟ้อและดัชนีกลยุทธ์การลงทุน (ที่สามารถ mark to market โดยบุคคลที่สามได้) เป็นสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ขณะเดียวกัน ยังเปิดทางให้กองทุนรวมเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต (credit derivatives) ได้ แต่ไม่อนุญาตให้กองทุนรวมทำธุรกรรมดังกล่าวเพื่อเก็งกำไร
นอกจากนี้ ยังให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงทุนในสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้เฉพาะในตราสารที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities index) แต่หากเป็นการลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ให้ลงทุนเป็นรายสินค้าได้ โดยต้องไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนด
ทั้งนี้ ในส่วนของการเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตของกองทุนจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หลังจากที่ผ่านมา ความเสี่ยงทางด้านเครดิตเพิ่มมากขึ้น จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก โดยหลักการของการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าว ความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้จะถูกโอนไปจากกองทุนไปยังผู้ขายประกันความเสี่ยง ซึ่งในปัจจุบัน ในส่วนของผู้ขายประกันความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำได้อยู่แล้ว
“การทำสัญญาป้องความเสี่ยงด้านเครดิต จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งในส่วนนี้จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนสำหรับกองทุนใหม่ ส่วนกองทุนเก่าก็ต้องขอมติผู้ถือหน่วยเพื่อขอแก้ไขโครงการต่อไป อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาป้องความเสี่ยงดังกล่าว อาจจะต้องมีต้นทุนเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนนี้อาจจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนลดลงตามไปด้วย ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับบริษัทจัดการเองว่าจะทำหรือไม่ทำ”นายประกิดกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีการต้องข้อสังเกตว่า การที่สัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิต ผู้ขายประกันสามารถนำสัญญาเครดิตดังกล่าว ไปขายต่อกับผู้ประกันความเสี่ยงรายอื่นต่อได้เป็นทอดๆ ได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ CDO ที่เป็นต้นตอของปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายประเวศ องอาจสิทธิกุล รองเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ถึงแม้สัญญาดังกล่าวจะสามารถนำไปขายต่อเป็นทอดๆ ได้ แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับ CDO เพราะการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าว อนุญาตให้ทำเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการเก็งกำไร
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าว อยู่ระหว่างการร่างประกาศ และอยู่ระหว่างการสอบถามความคิดเห็นจากบริษัทจัดการกองทุน รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากมีความเห็นตรงกันแล้ว คาดว่าภายในไตรมาสแรก น่าจะสามารถออกเป็นประกาศบังคับใช้ได้
**เดินหน้าแก้ไขข้อจำกัดกองทุนรวม**
ขณะเดียวกัน นอกจากการเพิ่มประเภทหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้แล้ว สำนักงานก.ล.ต. ยังได้แก้ไขข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนอีกหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบอัตโนมัติ เพื่อให้การอนุญาตจัดตั้งกองทุนทำได้รวดเร็วขึ้น และทันต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากบลจ.ยื่นข้อมูลโครงการเข้ามาแล้วครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าได้รับการอนุมัติจัดตั้งกองทุนจากสำนักงานแล้ว ทั้งนี้ กำหนดให้ใช้ได้เฉพาะกองทุนรวมที่ไม่มีความซับซ้อนเท่านั้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยประเด็นที่แก้ไขสำคัญเรื่องหนึ่งคือการกำหนดให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (leasehold) ต้องจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิซึ่งหักรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized loss) จากการประเมินราคาสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แล้ว ทั้งนี้ หาก บลจ.ประสงค์จะนำสภาพคล่องจาก unrealized loss คืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก็สามารถกระทำได้โดยการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนซึ่งได้รับในรูปของเงินปันผลได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นไปบ้างแล้ว ในเบื้องต้นได้กำหนดขนาดกองทุนไว้ที่ 10,000 ล้านบาท โดยให้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะเดียวกัน ยังอนุญาตให้สามารถแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายประเภทได้ พร้อมเปิดทางให้กู้ยืมได้ยืดหยุ่นกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังต้องศึกษารูปแบบกองทุนชัดเจน ก่อนจะออกเป็นประกาศต่อไป
ด้านนางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า ในภาวะที่สถานการณ์ตลาดมีความผันผวนและไม่แน่นอน ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุน และมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ดังนั้น การที่ ก.ล.ต. มีแผนที่จะปรับปรุงกฎเกณฑ์และเพิ่มประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ รวมทั้งได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆ จึงถือเป็นสิ่งที่ดี และสมาชิกสมาคมควรร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ เมื่อ ก.ล.ต. มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ