ASTVผู้จัดการรายวัน-สหรัฐฯ ร้อง “พาณิชย์” ทบทวนการบังคับใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดให้กรรมการต้องมาประชุมเอง มอบอำนาจไม่ได้ เหตุขัดขวางการลงทุน พร้อมขอโค้ก แป็ปซี่ นำเข้าน้ำตาลทรายเอง เพื่อลดต้นทุน “พรทิวา”ย้ำสหรัฐฯ ห้ามเข้าประเทศเป็นเรื่องเข้าใจผิด เตรียมจับมือ “อลงกรณ์” บินเจรจาสหรัฐฯ ปลายมี.ค.นี้ ถกปลดไทยจากบัญชี PWL และแก้ปัญหาการค้า เล็งทาบ ”การุณ” ร่วมทีมเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และหอการค้าอเมริกันว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่า กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ของไทยเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะไทยมีโครงสร้างภาษีซับซ้อน และเก็บภาษีซ้อนจนต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก และยังมีการบังคับใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทบางมาตรา ที่กำหนดว่า กรรมการผู้มีอำนาจต้องประชุมกรรมการเอง จะมอบอำนาจให้คนอื่นประชุมแทนไม่ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อกรรมการบริษัทที่เป็นต่างชาติมาก ขณะเดียวกัน ได้ขอความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการคุมราคาสินค้า รวมถึงสอบถามความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำอัดลม อย่าง โค้ก และเป็ปซี่ จะขอนำเข้าน้ำตาลทรายเองเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะราคาน้ำตาลทรายในไทยสูงกว่านำเข้า
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอุปสรรคการลงทุนนั้น ขณะนี้ มีนโยบายที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเสนอแนวทางแก้ไขเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา ที่กำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดสามารถตั้งกรรมการสำรองเพื่อทำหน้าที่แทนกรณีที่กรรมการไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รวมทั้งเปิดกว้างในเรื่องวิธีการประชุมกรรมการให้ครอบคลุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือมติเวียน
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ได้ชี้แจงให้สหรัฐฯ ทราบว่าไทยมีมาตรการปราบปรามการละเมิดชัดเจน และดำเนินการเข้มข้น ดังนั้น ในการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ต้องการให้ทูตสหรัฐฯ ชี้แจงกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ให้ปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL)
นางพรทิวากล่าวว่า ส่วนข่าวที่สหรัฐฯ ห้ามเข้าประเทศนั้น วันก่อนท่านทูตได้พูดชัดเจนแล้วว่า เข้าใจผิด ซึ่งมองว่า อาจเป็นเรื่องการเมือง มีคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมไม่ไปสหรัฐฯ เลย ก็ชี้แจงว่า ต้องทำงานเยอะมาก ต้องแบ่งงานกันทำกับท่านรมช.พาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รมช.ดูแลอยู่แล้ว และท่านมาหารือว่า ท่านจะไปสหรัฐฯ ก็ไม่มีปัญหา แต่พอมีข่าวนี้ออกมา ก็คิดว่า น่าจะไปด้วยกันประมาณปลายเดือนมี.ค.นี้
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า เตรียมทาบทาม นายการุณ กิตติสถาพร อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมในทีมเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ ของกระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างที่จะเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ปลายเดือน มี.ค. เพราะนายการุณ เคยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจการค้ากับสหรัฐฯเป็นอย่างดี โดยในการเจรจาจะขอให้สหรัฐฯ ปลดไทยออกจากบัญชี PWL ขอคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) และแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้า รวมทั้งหาทางดึงให้ผู้ประกอบการบันเทิงในสหรัฐฯ ทั้งฮอลลีวูด รายการโทรทัศน์ ละคร มิวสิควีดีโอ ใช้ไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำให้มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศและประชาสัมพันธ์ประเทศไทย
นายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า ได้หารือถึงการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน การสร้างงานเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้บริษัทสหรัฐฯทำธุรกิจในไทยจำนวนมาก และภาคเอกชนสหรัฐฯต้องการให้ไทยปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น เช่น แก้กฎหมาย และกฎระเบียบเกี่ยวกับศุลกากร เพราะไทยใช้มานานกว่า 80 ปีแล้ว จึงมีบางประเด็นที่ล้าสมัย และไทยยังมีโครงสร้างภาษีที่ซับซ้อน ส่วนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้น เป็นสิ่งที่สหรัฐฯกังวลมาก แต่ก็ได้เห็นความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาของไทย แต่สหรัฐฯจะปลดไทยออกจากบัญชี PWL หรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะในการทบทวนสถานะ สหรัฐฯต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของไทยตั้งแต่เดือนก.พ.2551-ก.พ.2552 เพื่อประกาศผลทบทวนในเดือนเม.ย. แต่รัฐบาลชุดนี้เพิ่งทำงานได้เพียงเดือนกว่าเท่านั้น
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และหอการค้าอเมริกันว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่า กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ของไทยเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะไทยมีโครงสร้างภาษีซับซ้อน และเก็บภาษีซ้อนจนต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก และยังมีการบังคับใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทบางมาตรา ที่กำหนดว่า กรรมการผู้มีอำนาจต้องประชุมกรรมการเอง จะมอบอำนาจให้คนอื่นประชุมแทนไม่ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อกรรมการบริษัทที่เป็นต่างชาติมาก ขณะเดียวกัน ได้ขอความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการคุมราคาสินค้า รวมถึงสอบถามความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำอัดลม อย่าง โค้ก และเป็ปซี่ จะขอนำเข้าน้ำตาลทรายเองเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะราคาน้ำตาลทรายในไทยสูงกว่านำเข้า
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอุปสรรคการลงทุนนั้น ขณะนี้ มีนโยบายที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเสนอแนวทางแก้ไขเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา ที่กำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดสามารถตั้งกรรมการสำรองเพื่อทำหน้าที่แทนกรณีที่กรรมการไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รวมทั้งเปิดกว้างในเรื่องวิธีการประชุมกรรมการให้ครอบคลุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือมติเวียน
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ได้ชี้แจงให้สหรัฐฯ ทราบว่าไทยมีมาตรการปราบปรามการละเมิดชัดเจน และดำเนินการเข้มข้น ดังนั้น ในการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ต้องการให้ทูตสหรัฐฯ ชี้แจงกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ให้ปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL)
นางพรทิวากล่าวว่า ส่วนข่าวที่สหรัฐฯ ห้ามเข้าประเทศนั้น วันก่อนท่านทูตได้พูดชัดเจนแล้วว่า เข้าใจผิด ซึ่งมองว่า อาจเป็นเรื่องการเมือง มีคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมไม่ไปสหรัฐฯ เลย ก็ชี้แจงว่า ต้องทำงานเยอะมาก ต้องแบ่งงานกันทำกับท่านรมช.พาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รมช.ดูแลอยู่แล้ว และท่านมาหารือว่า ท่านจะไปสหรัฐฯ ก็ไม่มีปัญหา แต่พอมีข่าวนี้ออกมา ก็คิดว่า น่าจะไปด้วยกันประมาณปลายเดือนมี.ค.นี้
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า เตรียมทาบทาม นายการุณ กิตติสถาพร อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมในทีมเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ ของกระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างที่จะเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ปลายเดือน มี.ค. เพราะนายการุณ เคยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจการค้ากับสหรัฐฯเป็นอย่างดี โดยในการเจรจาจะขอให้สหรัฐฯ ปลดไทยออกจากบัญชี PWL ขอคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) และแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้า รวมทั้งหาทางดึงให้ผู้ประกอบการบันเทิงในสหรัฐฯ ทั้งฮอลลีวูด รายการโทรทัศน์ ละคร มิวสิควีดีโอ ใช้ไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำให้มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศและประชาสัมพันธ์ประเทศไทย
นายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า ได้หารือถึงการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน การสร้างงานเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้บริษัทสหรัฐฯทำธุรกิจในไทยจำนวนมาก และภาคเอกชนสหรัฐฯต้องการให้ไทยปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น เช่น แก้กฎหมาย และกฎระเบียบเกี่ยวกับศุลกากร เพราะไทยใช้มานานกว่า 80 ปีแล้ว จึงมีบางประเด็นที่ล้าสมัย และไทยยังมีโครงสร้างภาษีที่ซับซ้อน ส่วนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้น เป็นสิ่งที่สหรัฐฯกังวลมาก แต่ก็ได้เห็นความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาของไทย แต่สหรัฐฯจะปลดไทยออกจากบัญชี PWL หรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะในการทบทวนสถานะ สหรัฐฯต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของไทยตั้งแต่เดือนก.พ.2551-ก.พ.2552 เพื่อประกาศผลทบทวนในเดือนเม.ย. แต่รัฐบาลชุดนี้เพิ่งทำงานได้เพียงเดือนกว่าเท่านั้น